“อลงกรณ์”เรียกร้อง คตส.สอบสวนบริษัทแท็กส์กรณีการเข้าเทคโอเวอร์ของบริษัทสิงคโปร์และกรณีการจ้างบริษัทที่ปรึกษาจดทะเบียนเกาะฟอกเงินบริติชเวอร์จินไอส์แลนด์ 400 ล้านบาทส่อพฤติกรรมฉ้อฉลภายในบริษัทลูกของทอท.โดยการไซฟ่อนเงินแบบอัฐยายซื้อขนมยายเกี่ยวข้องกับคนในรัฐบาลทักษิณ ตั้งข้อสังเกตหลังการฮุบกิจการ”แท็กส์”ฟันงานในสนามบินสุวรรณภูมิหลายโครงการ
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตแถลงที่พรรคประชาธิปัตย์วันนี้(28ต.ค.)ว่า ขอเรียกร้องให้ คตส.สอบสวนบริษัทไทยแอร์พอร์ทกราวด์เซอร์วิสเซส(Tags)หรือบริษัทแท็กส์ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.)กรณีการเข้าเทคโอเวอร์ของบริษัทโฟรบิเชอร์และกรณีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดีเทค(Detek) 400ล้านบาทซึ่งน่าสงสัยว่ามีการฉ้อฉลในการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ในลักษณะอัฐยายซื้อขนมยายโดยส่อว่ามีการไซฟ่อนเงินออกจากแท็กส์ 400 ล้านบาทเป็นค่าที่ปรึกษาบริษัทดีเทคแล้วนำเงินดังกล่าวเข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 48 เปอร์เซ็นต์ในนามบริษัทโฟรบิเชอร์ซึ่งจดทะเบียนที่เกาะฟอกเงินบริติชเวอร์จินไอส์แลนด์ เนื่องจากตรวจพบว่า กรรมการและเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาดีเทคกับบริษัทโฟรบิเชอร์เป็นกลุ่มเดียวกันและโยงใยกับคนในรัฐบาลทักษิณ
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าหลังจากบริษัทโฟรบิเชอร์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในแท็กส์ ปรากฏว่าแท็กส์ได้งานหลายโครงการในสนามบินสุวรรณภูมิเช่นโครงการบริหารคลังสินค้าปลอดภาษี(Free trade zone) โครงการบริการรถเข็นสัมภาระ โครงการลอจิสติกส์เซนเตอร์ โครงการ เป็นต้น
“จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า แท็กส์ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ชื่อ”ดีเทค
(Detek)เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 วงเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (400 ล้านบาท-อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น)ต่อมามีการโอนเงินให้ดีเทคในเดือนธันวาคม 2547 และกุมภาพันธ์ 2548 จำนวน 280 ล้านบาทแต่ในเอกสารการโอนเงินกลับระบุว่าเป็นค่านายหน้าหลังจากนั้นบริษัทดีเทคแนะนำให้บริษัทสิงคโปร์ชื่อโฟรบิเชอร์เข้ามาเทคโอเวอร์แท็กส์โดยถือหุ้นใหญ่ถึง 48.5 เปอร์เซ็นต์ เราตรวจพบหลักฐานว่า กรรมการและเจ้าของบริษัทดีเทคชื่อนาย เจอร์เก้น มอชเนอร์ มีนายธีรวุฒิ เหลืองอนันต์เป็นตัวแทนประจำประเทศไทย ส่วนบริษัทโฟรบิเชอร์มีกรรมการและเจ้าของคือนาย ลีซูจางและนางเรวดี จันทวิช ซึ่งทั้งนายมอชเนอร์ นายธีรวุฒิ เหลืองอนันต์ นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตรและนางเรวดีมีชื่อเป็นกรรมการของบริษัทพานาเนียจำกัด แสดงว่ากลุ่มคนดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกัน นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตรมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณโดยมีตำแหน่งเป็น ประธานคณะที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมเอสเอ็มอี.ภูมิภาคแห่งชาติในรัฐบาลทักษิณและได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางตามการเสนอของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549”
นายอลงกรณ์แถลงว่า ทอท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ 28 เปอร์เซ็นต์ถือว่าแท็กส์เป็นบริษัทลูกแต่ไม่ได้ดำเนินการใดๆและผลการสอบสวนก็ปิดเงียบไม่มีการแถลงหรือกล่าวโทษผู้ใดจึงขอให้คตส.เข้าตรวจสอบสอบสวนและแกะรอยเส้นทางการเงิน 400 ล้านบาทที่เอาออกไปจากแท็กส์แบบมีเงื่อนงำส่อว่ามีการฉ้อฉลครั้งใหญ่และอาจสาวถึงคนในรัฐบาลทักษิณที่อยู่เบื้องหลังกรณีนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ต.ค. 2549--จบ--
นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจสอบการทุจริตแถลงที่พรรคประชาธิปัตย์วันนี้(28ต.ค.)ว่า ขอเรียกร้องให้ คตส.สอบสวนบริษัทไทยแอร์พอร์ทกราวด์เซอร์วิสเซส(Tags)หรือบริษัทแท็กส์ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบริษัทท่าอากาศยานไทย(ทอท.)กรณีการเข้าเทคโอเวอร์ของบริษัทโฟรบิเชอร์และกรณีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาดีเทค(Detek) 400ล้านบาทซึ่งน่าสงสัยว่ามีการฉ้อฉลในการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ในลักษณะอัฐยายซื้อขนมยายโดยส่อว่ามีการไซฟ่อนเงินออกจากแท็กส์ 400 ล้านบาทเป็นค่าที่ปรึกษาบริษัทดีเทคแล้วนำเงินดังกล่าวเข้ามาซื้อหุ้นจำนวน 48 เปอร์เซ็นต์ในนามบริษัทโฟรบิเชอร์ซึ่งจดทะเบียนที่เกาะฟอกเงินบริติชเวอร์จินไอส์แลนด์ เนื่องจากตรวจพบว่า กรรมการและเจ้าของบริษัทที่ปรึกษาดีเทคกับบริษัทโฟรบิเชอร์เป็นกลุ่มเดียวกันและโยงใยกับคนในรัฐบาลทักษิณ
นายอลงกรณ์ กล่าวว่า มีข้อสังเกตว่าหลังจากบริษัทโฟรบิเชอร์เข้ามาถือหุ้นใหญ่ในแท็กส์ ปรากฏว่าแท็กส์ได้งานหลายโครงการในสนามบินสุวรรณภูมิเช่นโครงการบริหารคลังสินค้าปลอดภาษี(Free trade zone) โครงการบริการรถเข็นสัมภาระ โครงการลอจิสติกส์เซนเตอร์ โครงการ เป็นต้น
“จากการสอบสวนเบื้องต้นพบว่า แท็กส์ทำสัญญาว่าจ้างบริษัทสัญชาติสิงคโปร์ชื่อ”ดีเทค
(Detek)เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2547 วงเงิน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (400 ล้านบาท-อัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น)ต่อมามีการโอนเงินให้ดีเทคในเดือนธันวาคม 2547 และกุมภาพันธ์ 2548 จำนวน 280 ล้านบาทแต่ในเอกสารการโอนเงินกลับระบุว่าเป็นค่านายหน้าหลังจากนั้นบริษัทดีเทคแนะนำให้บริษัทสิงคโปร์ชื่อโฟรบิเชอร์เข้ามาเทคโอเวอร์แท็กส์โดยถือหุ้นใหญ่ถึง 48.5 เปอร์เซ็นต์ เราตรวจพบหลักฐานว่า กรรมการและเจ้าของบริษัทดีเทคชื่อนาย เจอร์เก้น มอชเนอร์ มีนายธีรวุฒิ เหลืองอนันต์เป็นตัวแทนประจำประเทศไทย ส่วนบริษัทโฟรบิเชอร์มีกรรมการและเจ้าของคือนาย ลีซูจางและนางเรวดี จันทวิช ซึ่งทั้งนายมอชเนอร์ นายธีรวุฒิ เหลืองอนันต์ นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตรและนางเรวดีมีชื่อเป็นกรรมการของบริษัทพานาเนียจำกัด แสดงว่ากลุ่มคนดังกล่าวเป็นกลุ่มเดียวกัน นายทนงศักดิ์ หุตานุวัตรมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลทักษิณโดยมีตำแหน่งเป็น ประธานคณะที่ปรึกษาโครงการส่งเสริมเอสเอ็มอี.ภูมิภาคแห่งชาติในรัฐบาลทักษิณและได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการจัดรูปที่ดินกลางตามการเสนอของคุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2549”
นายอลงกรณ์แถลงว่า ทอท.ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจถือหุ้นในบริษัทแท็กส์ 28 เปอร์เซ็นต์ถือว่าแท็กส์เป็นบริษัทลูกแต่ไม่ได้ดำเนินการใดๆและผลการสอบสวนก็ปิดเงียบไม่มีการแถลงหรือกล่าวโทษผู้ใดจึงขอให้คตส.เข้าตรวจสอบสอบสวนและแกะรอยเส้นทางการเงิน 400 ล้านบาทที่เอาออกไปจากแท็กส์แบบมีเงื่อนงำส่อว่ามีการฉ้อฉลครั้งใหญ่และอาจสาวถึงคนในรัฐบาลทักษิณที่อยู่เบื้องหลังกรณีนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 28 ต.ค. 2549--จบ--