ประเทศผู้เจรจายังยืนยันท่าทีเดิม แม้สหภาพยุโรปจะยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ใกล้เคียงกับข้อเสนอของ G20 พร้อมกับลดภาษีสินค้าเกษตรในภาพรวมเหลือร้อยละ 51 ก็ตาม หวั่นส่งผลกระทบต่อการเจรจาพหุภาคีรอบโดฮา ด้าน ผอ.WTO เร่งหารือกับประเทศสมาชิกเป็นการด่วน
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.- 2 ก.ค.ที่ผ่านมา นายปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก จัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อย WTO อย่างไม่เป็นทางการขึ้น ณ สำนักงาน WTO ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีการค้าของ 30 ประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาของ WTO รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งคณะผู้แทนไทยในการประชุมครั้งนี้ มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะ และมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมการประชุมด้วย
การประชุมครั้งนี้แบ่งเป็น 2 การประชุมใหญ่ คือ การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อยอย่างไม่เป็นทางการประกอบด้วยรัฐมนตรีการค้า 30 ประเทศ และการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee:TNC) ซึ่งมีสมาชิก WTO เข้าร่วมทุกประเทศ ซึ่งได้มีการเจรจาในสองเรื่องที่มีข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอยู่มาก ได้แก่ เรื่องการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (Non-Agriculture Market Access: NAMA) โดยผู้อำนวยการ WTO ได้ตั้งเป้าหมายของการเจรจาครั้งนี้ไว้สองเป้าหมายคือ ต้องให้เกิดกระแสการค้าใหม่ (New Trade Flow) ทั้งในการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนต้องให้เกิดการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนลงอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมครั้งนี้ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการที่ประเทศผู้เจรจายังคงยืนยันท่าทีเดิม โดยยังไม่ยอมผ่อนปรนให้ได้ผลการเจรจาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปเสนอว่าจะยินยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ใกล้เคียงกับข้อเสนอของ G20 และบอกว่าจะลดภาษีสินค้าเกษตรในภาพรวมลงร้อยละ 51 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวที่เป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกต้องการเท่าไรและอย่างไร ประกอบกับมีเงื่อนไขว่าการเปิดตลาดตามข้อเสนอดังกล่าว จะกระทำก็ต่อเมื่อสหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนที่บิดเบือนลงให้ใกล้เคียงกับข้อเสนอของ G20 ด้วยเช่นกัน (G20 เสนอให้สหรัฐฯ ลดการอุดหนุนภายในลงเหลือไม่เกิน 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในขณะที่สหรัฐอเมริกายังอ้างข้อเสนอการลดการอุดหนุนของตนเอง (ลดเหลือไม่เกิน 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถลดลงได้อีกแล้วและยังแสดงความเห็นว่ายังไม่พอใจในข้อเสนอเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสหภาพยุโรปและข้อเสนอการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา
ความล้มเหลวในการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาที่มีเป้าหมายต้องการให้เจรจาเสร็จสิ้นภายในปี 2549 นี้เกิดภาวะวิกฤตว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ที่ประชุม TNC จึงได้หาทางออกให้โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการ WTO กลับไปหารือกับประเทศสมาชิกอีกครั้ง แล้วจัดทำเป็นร่างข้อผูกพัน เพื่อนำเสนอที่ประชุม TNC ต่อไป ความสำเร็จของการเจรจาครั้งนี้ขึ้นอยู่กับท่าทีของ 6 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อียู ออสเตรเลีย บราซิลและอินเดีย
ซึ่งหากการเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาล้มเหลวหรือล่าช้าออกไป จะส่งผลให้เกิดการชะงักงันของการค้าโลก รวมทั้งอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศไม่ได้รับการแก้ไข คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยผลิต/ส่งออก ต้องประสบกับการแข่งขันกับสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ถั่วเหลือง นมและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจถูกประเทศที่พัฒนาแล้วกดดันให้ใช้การเจรจาภายใต้ระบบทวิภาคีหรือ FTA มาทดแทนระบบพหุภาคี โดยประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กจะมีข้อเสียเปรียบเนื่องอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่ อาจทำให้ผลการเจรจาการค้าไม่ได้ประโยชน์แก่ประเทศไทยเท่าที่ควรและอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการผลิตภายในประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายพินิจ กอศรีพร รองเลขาธิการและโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 มิ.ย.- 2 ก.ค.ที่ผ่านมา นายปาสกาล ลามี ผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก จัดให้มีการประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อย WTO อย่างไม่เป็นทางการขึ้น ณ สำนักงาน WTO ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ประกอบไปด้วยรัฐมนตรีการค้าของ 30 ประเทศ ที่มีบทบาทสำคัญในการเจรจาของ WTO รวมทั้งประเทศไทย ซึ่งคณะผู้แทนไทยในการประชุมครั้งนี้ มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ เป็นหัวหน้าคณะ และมีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นผู้แทนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้าร่วมการประชุมด้วย
การประชุมครั้งนี้แบ่งเป็น 2 การประชุมใหญ่ คือ การประชุมรัฐมนตรีกลุ่มย่อยอย่างไม่เป็นทางการประกอบด้วยรัฐมนตรีการค้า 30 ประเทศ และการประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Trade Negotiation Committee:TNC) ซึ่งมีสมาชิก WTO เข้าร่วมทุกประเทศ ซึ่งได้มีการเจรจาในสองเรื่องที่มีข้อขัดแย้งระหว่างประเทศสมาชิกอยู่มาก ได้แก่ เรื่องการเจรจาเปิดเสรีสินค้าเกษตรและการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (Non-Agriculture Market Access: NAMA) โดยผู้อำนวยการ WTO ได้ตั้งเป้าหมายของการเจรจาครั้งนี้ไว้สองเป้าหมายคือ ต้องให้เกิดกระแสการค้าใหม่ (New Trade Flow) ทั้งในการค้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรม ตลอดจนต้องให้เกิดการลดการอุดหนุนสินค้าเกษตรที่บิดเบือนลงอย่างแท้จริง
อย่างไรก็ตาม ผลของการประชุมครั้งนี้ไม่สามารถบรรลุตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ โดยสาเหตุสำคัญน่าจะมาจากการที่ประเทศผู้เจรจายังคงยืนยันท่าทีเดิม โดยยังไม่ยอมผ่อนปรนให้ได้ผลการเจรจาที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ ถึงแม้ว่าสหภาพยุโรปเสนอว่าจะยินยอมเปิดตลาดสินค้าเกษตรให้ใกล้เคียงกับข้อเสนอของ G20 และบอกว่าจะลดภาษีสินค้าเกษตรในภาพรวมลงร้อยละ 51 ก็ตาม แต่ก็ไม่ได้กล่าวถึงการเปิดตลาดสินค้าอ่อนไหวที่เป็นสิ่งที่ประเทศสมาชิกต้องการเท่าไรและอย่างไร ประกอบกับมีเงื่อนไขว่าการเปิดตลาดตามข้อเสนอดังกล่าว จะกระทำก็ต่อเมื่อสหรัฐอเมริกาลดการอุดหนุนที่บิดเบือนลงให้ใกล้เคียงกับข้อเสนอของ G20 ด้วยเช่นกัน (G20 เสนอให้สหรัฐฯ ลดการอุดหนุนภายในลงเหลือไม่เกิน 12.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในขณะที่สหรัฐอเมริกายังอ้างข้อเสนอการลดการอุดหนุนของตนเอง (ลดเหลือไม่เกิน 20 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ) เป็นสิ่งที่ไม่สามารถลดลงได้อีกแล้วและยังแสดงความเห็นว่ายังไม่พอใจในข้อเสนอเรื่องการเปิดตลาดสินค้าเกษตรของสหภาพยุโรปและข้อเสนอการเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรมของประเทศกำลังพัฒนา
ความล้มเหลวในการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้การเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาที่มีเป้าหมายต้องการให้เจรจาเสร็จสิ้นภายในปี 2549 นี้เกิดภาวะวิกฤตว่าจะประสบความสำเร็จหรือไม่ ที่ประชุม TNC จึงได้หาทางออกให้โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการ WTO กลับไปหารือกับประเทศสมาชิกอีกครั้ง แล้วจัดทำเป็นร่างข้อผูกพัน เพื่อนำเสนอที่ประชุม TNC ต่อไป ความสำเร็จของการเจรจาครั้งนี้ขึ้นอยู่กับท่าทีของ 6 ประเทศ คือ ญี่ปุ่น สหรัฐฯ อียู ออสเตรเลีย บราซิลและอินเดีย
ซึ่งหากการเจรจาพหุภาคีรอบโดฮาล้มเหลวหรือล่าช้าออกไป จะส่งผลให้เกิดการชะงักงันของการค้าโลก รวมทั้งอุปสรรคทางการค้าระหว่างประเทศไม่ได้รับการแก้ไข คาดว่าจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องการค้าสินค้าเกษตรที่ไทยผลิต/ส่งออก ต้องประสบกับการแข่งขันกับสินค้าที่ได้รับการอุดหนุนจากประเทศพัฒนาแล้ว ได้แก่ ข้าว น้ำตาล ถั่วเหลือง นมและผลิตภัณฑ์ เนื้อสัตว์ เป็นต้น นอกจากนี้อาจถูกประเทศที่พัฒนาแล้วกดดันให้ใช้การเจรจาภายใต้ระบบทวิภาคีหรือ FTA มาทดแทนระบบพหุภาคี โดยประเทศไทยเป็นประเทศกำลังพัฒนาขนาดเล็กจะมีข้อเสียเปรียบเนื่องอำนาจต่อรองกับประเทศพัฒนาแล้วขนาดใหญ่ อาจทำให้ผลการเจรจาการค้าไม่ได้ประโยชน์แก่ประเทศไทยเท่าที่ควรและอาจส่งผลกระทบด้านลบต่อการผลิตภายในประเทศได้
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-