สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 เผย สับปะรดผ่านพ้นวิกฤตแล้ว หลังจากที่ผลผลิตออกสู่ตลาดมากเกินความต้องการในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เกษตรกรเตรียมรับข่าวดี หลังโรงงานรวมทั้งแผงรับซื้อขยายการผลิตและมีความต้องการเพิ่มมากขึ้น ผลักดันให้ราคาสับปะรดปรับตัวสูงขึ้นอีก
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากสับปะรดผ่านช่วงวิกฤตราคาที่ผลผลิตสู่ตลาดมากหรือกระจุกตัวในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิตเกินความต้องการ เนื่องจากปีนี้สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ยากต่อการบริหารจัดการควบคุมการเร่งบังคับผล ส่งผลให้ผลผลิตออกเองตามธรรมชาติเกินความต้องการของตลาด
รัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีมาตรการแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยขออนุมัติเงินจากคณะกรรมการนโยบายและแผนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 80 ล้านบาท สร้างอุปสงค์เทียมให้กับผลผลิต รับซื้อผลผลิตที่เกินความต้องการจำนวน 60,000 ตัน เพื่อตัดผลผลิตส่วนเกินของตลาดเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคา ในแหล่งผลิตที่สำคัญทั่วประเทศ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด อุทัยธานี ลำปาง หนองคาย และนครพนม
สำหรับพื้นที่ในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของ สศข.6 เป็นแหล่งผลิตสับปะรดที่สำคัญของประเทศและเป็นอันดับที่ 2 รองจากภาคตะวันตก มีแหล่งปลูกสำคัญคือ จังหวัดชลบุรี ระยอง ตราด และฉะเชิงเทรา ก็ประสบปัญหาราคาเช่นเดียวกัน แม้รัฐจะเข้าแทรกแซงแต่ก็เริ่มเข้าสู่ในช่วงกลาง-ปลายฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากผ่านพ้นช่วงวิฤตไปแล้ว ราคาสับปะรดได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนกรกฎาคม ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงโรงงานผลิตในจังหวัดชลบุรี (บริษัท อาหารสยาม จำกัด) จะปิดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรประจำปีก็ตาม ประกอบกับผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง และมีแผงรับซื้อเพื่อส่งโรงงานต่างจังหวัดในภาคตะวันตก ก็ยังมีความต้องการอยู่มาก ส่งผลให้ภาวะตลาดคล่องตัว ราคาสับปะรดขนาดใหญ่ที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 1.63-2.08 บาทต่อกิโลกรัม และในเดือนสิงหาคม เมื่อโรงงานดังกล่าวเปิดการผลิตตามปกติ ไม้ผลต่าง ๆ หมด ไม่มีออกสู่ตลาด ทำให้ตลาดการซื้อขายคึกคักคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 2.20-2.70 บาทต่อกิโลกรัม
นางสุวคนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เดือนกันยายน-ตุลาคม นี้ โรงงานได้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตออก สู่ตลาดน้อย ทั้งนี้เนื่องจากฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถนำผลผลิตออกจากไร่ได้ ขณะเดียวกันแผงรับซื้อและโรงงานในพื้นที่มีความต้องการต้องการเพิ่มขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้เดือนกันยาน กิโลกรัมละ 2.59-2.95 บาท และปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.00-3.35 บาทต่อกิโลกรัม ในต้นเดือนตุลาคม เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่า คาดว่าราคาน่าจะยังคงสดใสอยู่ในระดับดีต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นางสุวคนธ์ ทรงแสงธรรม ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 6 (สศข.6) จังหวัดชลบุรี สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า หลังจากสับปะรดผ่านช่วงวิกฤตราคาที่ผลผลิตสู่ตลาดมากหรือกระจุกตัวในช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลผลิตเกินความต้องการ เนื่องจากปีนี้สภาพภูมิอากาศเอื้ออำนวย ยากต่อการบริหารจัดการควบคุมการเร่งบังคับผล ส่งผลให้ผลผลิตออกเองตามธรรมชาติเกินความต้องการของตลาด
รัฐ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงได้มีมาตรการแทรกแซงเพื่อแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยขออนุมัติเงินจากคณะกรรมการนโยบายและแผนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) จำนวน 80 ล้านบาท สร้างอุปสงค์เทียมให้กับผลผลิต รับซื้อผลผลิตที่เกินความต้องการจำนวน 60,000 ตัน เพื่อตัดผลผลิตส่วนเกินของตลาดเป็นการรักษาเสถียรภาพของราคา ในแหล่งผลิตที่สำคัญทั่วประเทศ 13 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดชุมพร ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี กาญจนบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ตราด อุทัยธานี ลำปาง หนองคาย และนครพนม
สำหรับพื้นที่ในภาคตะวันออก ซึ่งเป็นพื้นที่รับผิดชอบของ สศข.6 เป็นแหล่งผลิตสับปะรดที่สำคัญของประเทศและเป็นอันดับที่ 2 รองจากภาคตะวันตก มีแหล่งปลูกสำคัญคือ จังหวัดชลบุรี ระยอง ตราด และฉะเชิงเทรา ก็ประสบปัญหาราคาเช่นเดียวกัน แม้รัฐจะเข้าแทรกแซงแต่ก็เริ่มเข้าสู่ในช่วงกลาง-ปลายฤดูกาลที่ผลผลิตออกสู่ตลาดแล้ว
อย่างไรก็ตามหลังจากผ่านพ้นช่วงวิฤตไปแล้ว ราคาสับปะรดได้ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเดือนกรกฎาคม ถึงแม้ว่าจะอยู่ในช่วงโรงงานผลิตในจังหวัดชลบุรี (บริษัท อาหารสยาม จำกัด) จะปิดเพื่อซ่อมแซมเครื่องจักรประจำปีก็ตาม ประกอบกับผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง และมีแผงรับซื้อเพื่อส่งโรงงานต่างจังหวัดในภาคตะวันตก ก็ยังมีความต้องการอยู่มาก ส่งผลให้ภาวะตลาดคล่องตัว ราคาสับปะรดขนาดใหญ่ที่เกษตรกรขายได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอยู่ระหว่าง 1.63-2.08 บาทต่อกิโลกรัม และในเดือนสิงหาคม เมื่อโรงงานดังกล่าวเปิดการผลิตตามปกติ ไม้ผลต่าง ๆ หมด ไม่มีออกสู่ตลาด ทำให้ตลาดการซื้อขายคึกคักคล่องตัวมากยิ่งขึ้น ซึ่งราคาที่เกษตรกรขายได้อยู่ที่ 2.20-2.70 บาทต่อกิโลกรัม
นางสุวคนธ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เดือนกันยายน-ตุลาคม นี้ โรงงานได้ขยายการผลิตเพิ่มขึ้น ในขณะที่ผลผลิตออก สู่ตลาดน้อย ทั้งนี้เนื่องจากฝนตกชุก เกษตรกรไม่สามารถนำผลผลิตออกจากไร่ได้ ขณะเดียวกันแผงรับซื้อและโรงงานในพื้นที่มีความต้องการต้องการเพิ่มขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้เดือนกันยาน กิโลกรัมละ 2.59-2.95 บาท และปรับตัวสูงขึ้นเป็น 3.00-3.35 บาทต่อกิโลกรัม ในต้นเดือนตุลาคม เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยกว่า คาดว่าราคาน่าจะยังคงสดใสอยู่ในระดับดีต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-