ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น 1% เทียบต่อเดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศเดือน มี.ค.49 มีค่าเท่ากับ 113 เพิ่มขึ้น 5.7% เทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้น 2.1% จากสภาพอากาศร้อนมาเร็วกกว่าปกติ ทำให้ราคาผักสดสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นผลกระทบระยะ
สั้นที่จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ที่เข้าสู่ภาวะอากาศร้อนเท่านั้น นอกจากนี้ ดัชนีหมวดสินค้าที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.3% จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไตรมาส
แรก (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
เพิ่มขึ้น 4.1% และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 6.8% จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็น
ปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ ก.พาณิชย์เชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อทั้งปียังอยู่ในอัตรา 3.5-4.3% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ
เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 55-60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยที่อัตรา 4.5-5.5%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มี.ค.มีค่าเท่ากับ 103.8 เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อนึ่ง สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการบริโภค
โดยตรง ซึ่งเป็นการใช้จ่ายจริง เพราะราคาสินค้ายังไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีผลกระทบด้านการชะลอการลงทุน
ที่จะมีผลต่อราคาสินค้าภายหลังเดือน มิ.ย. (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.เน้นรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ความไม่ชัดเจนทางการเมือง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความไม่ชัดเจนทางการเมืองคาดว่าจะล่าช้าออกไปอีก
แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาแล้วก็ตาม โดยในส่วนของการดูแลเศรษฐกิจ ธปท.จะเน้นรักษาเสถียรภาพให้ดีที่สุด
นอกจากนี้ การรักษาบรรยากาศให้ดีก็จะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ สำหรับการปล่อยสินเชื่อของ
ธพ.ขณะนี้ยังขยายตัวได้ โดยสิ้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สินเชื่อภาคเอกชนของ ธพ.ขยายตัว 7.6% จากระยะเดียว
กันของปีก่อน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. รมว.คลังเชื่อมั่นสถานการณ์การเมืองไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากนัก รมว.คลัง
เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งว่าจะดีขึ้น เพราะการเลือกตั้งทำให้ความกังวลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ภาวะเศรษฐกิจลดลง โดยเชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ 5% เนื่องจากภาคธุรกิจยังคงเดินหน้า การ
ลงทุนใหม่จากนักลงทุนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะ
ตัวเลขการค้า การส่งออก ประกอบกับค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะตลาดหลักทรัพย์ยังไม่
สามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ เนื่องจากต้องรอฟังผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนก่อน อย่างไรก็ตาม มองว่าการเมือง
ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากนัก (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น รายงานจากกรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 4 เม.ย.49 Sadakazu Tanigaki รมว.คลัง ของญี่ปุ่น กล่าวว่า ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจ
ของประเทศยังคงอยู่ในช่วงภาวะเงินฝืดในระดับปานกลาง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของญี่ปุ่นในลักษณะที่
รวดเร็วเกินไปจะส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจับตามองการ
เคลื่อนไหวของปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดก่อนมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เม.ย.
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะเวลา 10 ปี (ซึ่งใช้เป็นอัตราอ้างอิง) เพิ่มขึ้น 8 basis points อยู่ที่ร้อยละ
1.845 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 basis points นับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค.49
เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. จีนตั้งเป้าหมายการขยายตัวของยอดค้าปลีกในปี 49 ไว้ที่ร้อยละ 13 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ
วันที่ 3 เม.ย. 49 กระทรวงการค้าของจีนเปิดเผยว่า ในปี 49 จีนได้ตั้งเป้าหมายการขยายตัวของยอดค้าปลีก
ไว้ที่ร้อยละ 13 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคในชนบท และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่า
แนวโน้มการบริโภคในประเทศ และแนวโน้มระยะเวลาอันใกล้นี้ ยอดค้าปลีกจะสูงถึง 7.5 ล้าน ล้าน หยวน
(935 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ช่วงห่างระหว่างการบริโภคในเมือง และท้องถิ่นลดลง ซึ่งที่ผ่านมาจีนดำเนิน
นโยบายทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้เอื้อต่อการค้าปลีก ส่งผลให้ยอด
ค้าปลีกเมื่อปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 12.9 โดยกระทรวงการค้าเห็นว่า ในปีนี้อุปสงค์ในประเทศค่อนข้างจะแข็งแกร่ง
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับตลาดการบริโภคในประเทศที่จะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ โดยอุปสงค์ใน
ประเทศจะได้รับการส่งเสริมโดยรัฐบาลที่พยายามขยายบทบาทการบริโภคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มรายได้
ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาวัตถุดิบของโลกมีเสถียรภาพ ล้วนเป็นส่วน
ที่ช่วยสนับสนุนดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ร้อยละ 15.1 เทียบ
ต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 3 เม.ย.49 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า การส่งออกของมาเลเซีย ซึ่งมี
สัดส่วนเกือบร้อยละ 100 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี
(ตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.3) ที่ร้อยละ 15.1 เทียบต่อปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์
คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และสูงกว่าเดือน ม.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุ
สำคัญที่การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยอดขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.และ ก.พ.ปีนี้มีการบิดเบือนเล็กน้อย
เนื่องจากวันหยุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีก่อนอยู่ในเดือน ก.พ.ขณะที่ปีนี้อยู่ในช่วงปลายเดือน ม.ค. อนึ่ง สินค้า
หมวดอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการส่งออกโดยรวมของมาเลเซีย รวมถึงเซมิคอนดัคเตอร์ เครื่องดีวีดี
เครื่องรับวิทยุ อุปกรณ์โทรทัศน์ สายเคเบิลและสายไฟฟ้า โดยมีประเทศจีนและไต้หวันเป็นผู้แข่งขันสำคัญ ทั้งนี้ การ
ส่งออกของไต้หวันในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 26 เมื่อเทียบต่อปี ขณะที่การส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นมาก
กว่าร้อยละ 22 นอกจากนี้ การนำเข้าของมาเลเซียในเดือน ก.พ.49 ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.9 จากปีก่อนหน้า
ซึ่งขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 และแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ11.1 ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า สาเหตุที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการสินค้าระหว่างผลิตของภาค
อุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ จากตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าส่งผลให้มาเลเซียเกินดุลการค้า
ในเดือน ก.พ.49 จำนวน 7.42 พัน ล.ริงกิต (2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการ
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 8.7 พัน ล.ริงกิต แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุลจำนวน 7.2 พัน ล.
ริงกิต (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรกปีนี้จากไตรมาสก่อนสูงสุดนับตั้งแต่
ไตรมาสแรกปี 43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 3 เม.ย.49 องค์การพัฒนาเมืองของสิงคโปร์หรือ URA รายงาน
ประมาณการเบื้องต้นดัชนีชี้วัดราคาบ้านในสิงคโปร์ซึ่งมีประชากร 4.4 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 มาอยู่ที่ระดับ
120 จุดในไตรมาสแรกปีนี้จากระดับ 118.2 จุดในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรก
ปี 43 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เมื่อนักลงทุนยังมองว่าสิงคโปร์มีบรรยากาศการลงทุน
ที่ดี และจากการผ่อนคลายกฎการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์เมื่อ
ปีที่แล้วสูงขึ้นร้อยละ 3.9 แต่ราคาบ้านในสิงคโปร์ในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่มีราคาสูงสุดในปี 39 ซึ่งเป็น
ช่วงก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียถึงร้อยละ 30 โดยอยู่ในภาวะตกต่ำหลังจากนั้นเป็นเวลา 4 ปีก่อนที่
จะเริ่มฟื้นตัวโดยมีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ในปี 47 นอกจากนี้ยังคาดว่าเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างคาสิโน
รีสอร์ทริมน้ำซึ่งเป็นโครงการระดับหรูถึง 2 แห่ง โดยมีกำหนดจะประกาศผลการประกวดราคาคัดเลือกผู้ลงทุน
ก่อสร้างและบริหารในกลางปีนี้ที่ช่วยยกระดับภาพพจน์อสังหาริมทรัพย์ในระดับประเทศของสิงคโปร์ ทั้งนี้ URA มี
กำหนดจะประกาศดัชนีชี้วัดราคาบ้านอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 เม.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 เม.ย. 49 3 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.916 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7193/39.0041 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64766 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.67/ 14.79 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,550/10,650 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.97 62.25 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 เม.ย. 49 27.54*/25.89* 27.54*/25.89* 19.69/14.59 ปตท.
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค.49 เพิ่มขึ้น 1% เทียบต่อเดือน นายการุณ กิตติสถาพร ปลัด
ก.พาณิชย์ เปิดเผยว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของประเทศเดือน มี.ค.49 มีค่าเท่ากับ 113 เพิ่มขึ้น 5.7% เทียบกับ
เดือนเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 1% เมื่อเทียบกับเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา เนื่องจากสินค้าในหมวดอาหารและ
เครื่องดื่มสูงขึ้น 2.1% จากสภาพอากาศร้อนมาเร็วกกว่าปกติ ทำให้ราคาผักสดสูงขึ้น ซึ่งถือเป็นผลกระทบระยะ
สั้นที่จะเกิดขึ้นเฉพาะช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.ที่เข้าสู่ภาวะอากาศร้อนเท่านั้น นอกจากนี้ ดัชนีหมวดสินค้าที่ไม่ใช่
อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 0.3% จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ส่วนอัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยไตรมาส
แรก (ม.ค.-มี.ค.) เพิ่มขึ้น 5.7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากสินค้าอาหารและเครื่องดื่ม
เพิ่มขึ้น 4.1% และหมวดอื่นๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มสูงขึ้น 6.8% จากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเป็น
ปัจจัยสำคัญ ทั้งนี้ ก.พาณิชย์เชื่อมั่นว่า เงินเฟ้อทั้งปียังอยู่ในอัตรา 3.5-4.3% ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ
เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 55-60 ดอลลาร์ สรอ.ต่อบาร์เรล และอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ยที่อัตรา 4.5-5.5%
สำหรับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานเดือน มี.ค.มีค่าเท่ากับ 103.8 เพิ่มขึ้น 2.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
และเพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า อนึ่ง สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบต่อการบริโภค
โดยตรง ซึ่งเป็นการใช้จ่ายจริง เพราะราคาสินค้ายังไม่เปลี่ยนแปลง แต่จะมีผลกระทบด้านการชะลอการลงทุน
ที่จะมีผลต่อราคาสินค้าภายหลังเดือน มิ.ย. (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน, ไทยโพสต์)
2. ธปท.เน้นรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจภายใต้สถานการณ์ความไม่ชัดเจนทางการเมือง
ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ความไม่ชัดเจนทางการเมืองคาดว่าจะล่าช้าออกไปอีก
แม้ว่าผลการเลือกตั้งจะออกมาแล้วก็ตาม โดยในส่วนของการดูแลเศรษฐกิจ ธปท.จะเน้นรักษาเสถียรภาพให้ดีที่สุด
นอกจากนี้ การรักษาบรรยากาศให้ดีก็จะช่วยลดผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ สำหรับการปล่อยสินเชื่อของ
ธพ.ขณะนี้ยังขยายตัวได้ โดยสิ้นเดือน ก.พ.ที่ผ่านมา สินเชื่อภาคเอกชนของ ธพ.ขยายตัว 7.6% จากระยะเดียว
กันของปีก่อน (โลกวันนี้, กรุงเทพธุรกิจ)
3. รมว.คลังเชื่อมั่นสถานการณ์การเมืองไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากนัก รมว.คลัง
เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจหลังการเลือกตั้งว่าจะดีขึ้น เพราะการเลือกตั้งทำให้ความกังวลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
ภาวะเศรษฐกิจลดลง โดยเชื่อว่าในปีนี้เศรษฐกิจสามารถขยายตัวได้ 5% เนื่องจากภาคธุรกิจยังคงเดินหน้า การ
ลงทุนใหม่จากนักลงทุนก็ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง สำหรับการขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจยังคงมีทิศทางที่ดี โดยเฉพาะ
ตัวเลขการค้า การส่งออก ประกอบกับค่าเงินบาทปรับตัวแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้านภาวะตลาดหลักทรัพย์ยังไม่
สามารถคาดเดาสถานการณ์ได้ เนื่องจากต้องรอฟังผลการเลือกตั้งที่ชัดเจนก่อน อย่างไรก็ตาม มองว่าการเมือง
ไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นฐานทางเศรษฐกิจมากนัก (โลกวันนี้, ผู้จัดการรายวัน)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจจะส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น รายงานจากกรุงโตเกียว
ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 4 เม.ย.49 Sadakazu Tanigaki รมว.คลัง ของญี่ปุ่น กล่าวว่า ในขณะที่ภาวะเศรษฐกิจ
ของประเทศยังคงอยู่ในช่วงภาวะเงินฝืดในระดับปานกลาง การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยระยะยาวของญี่ปุ่นในลักษณะที่
รวดเร็วเกินไปจะส่งผลกระทบด้านลบต่อระบบเศรษฐกิจของญี่ปุ่น ดังนั้น รัฐบาลจึงจำเป็นต้องจับตามองการ
เคลื่อนไหวของปัจจัยต่าง ๆ อย่างใกล้ชิดก่อนมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยดังกล่าว ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 เม.ย.
อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรระยะเวลา 10 ปี (ซึ่งใช้เป็นอัตราอ้างอิง) เพิ่มขึ้น 8 basis points อยู่ที่ร้อยละ
1.845 สูงสุดนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 และเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 basis points นับตั้งแต่ต้นเดือน มี.ค.49
เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
2. จีนตั้งเป้าหมายการขยายตัวของยอดค้าปลีกในปี 49 ไว้ที่ร้อยละ 13 รายงานจากปักกิ่งเมื่อ
วันที่ 3 เม.ย. 49 กระทรวงการค้าของจีนเปิดเผยว่า ในปี 49 จีนได้ตั้งเป้าหมายการขยายตัวของยอดค้าปลีก
ไว้ที่ร้อยละ 13 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของการบริโภคในชนบท และรายได้ที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้คาดว่า
แนวโน้มการบริโภคในประเทศ และแนวโน้มระยะเวลาอันใกล้นี้ ยอดค้าปลีกจะสูงถึง 7.5 ล้าน ล้าน หยวน
(935 พัน ล. ดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ช่วงห่างระหว่างการบริโภคในเมือง และท้องถิ่นลดลง ซึ่งที่ผ่านมาจีนดำเนิน
นโยบายทางเศรษฐกิจอย่างมีเสถียรภาพ และดูแลอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินหยวนให้เอื้อต่อการค้าปลีก ส่งผลให้ยอด
ค้าปลีกเมื่อปีที่แล้วขยายตัวร้อยละ 12.9 โดยกระทรวงการค้าเห็นว่า ในปีนี้อุปสงค์ในประเทศค่อนข้างจะแข็งแกร่ง
อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับตลาดการบริโภคในประเทศที่จะขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ โดยอุปสงค์ใน
ประเทศจะได้รับการส่งเสริมโดยรัฐบาลที่พยายามขยายบทบาทการบริโภคเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ รวมทั้งเพิ่มรายได้
ในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และราคาวัตถุดิบของโลกมีเสถียรภาพ ล้วนเป็นส่วน
ที่ช่วยสนับสนุนดังกล่าว (รอยเตอร์)
3. การส่งออกของมาเลเซียในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปีที่ร้อยละ 15.1 เทียบ
ต่อปี รายงานจากกัวลาลัมเปอร์ เมื่อ 3 เม.ย.49 รัฐบาลมาเลเซีย เปิดเผยว่า การส่งออกของมาเลเซีย ซึ่งมี
สัดส่วนเกือบร้อยละ 100 ของผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบเกือบ 1 ปี
(ตั้งแต่เดือน มี.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 16.3) ที่ร้อยละ 15.1 เทียบต่อปี สูงกว่าที่นักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์
คาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และสูงกว่าเดือน ม.ค.49 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 เทียบต่อปี ทั้งนี้ สาเหตุ
สำคัญที่การส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างแข็งแกร่งเนื่องจากการส่งออกสินค้าหมวดอิเล็กทรอนิกส์และยอดขายน้ำมันที่เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์บางคนเห็นว่า ตัวเลขการส่งออกในเดือน ม.ค.และ ก.พ.ปีนี้มีการบิดเบือนเล็กน้อย
เนื่องจากวันหยุดในช่วงเทศกาลตรุษจีนปีก่อนอยู่ในเดือน ก.พ.ขณะที่ปีนี้อยู่ในช่วงปลายเดือน ม.ค. อนึ่ง สินค้า
หมวดอิเล็กทรอนิกส์มีสัดส่วนถึงครึ่งหนึ่งของการส่งออกโดยรวมของมาเลเซีย รวมถึงเซมิคอนดัคเตอร์ เครื่องดีวีดี
เครื่องรับวิทยุ อุปกรณ์โทรทัศน์ สายเคเบิลและสายไฟฟ้า โดยมีประเทศจีนและไต้หวันเป็นผู้แข่งขันสำคัญ ทั้งนี้ การ
ส่งออกของไต้หวันในเดือน ก.พ.49 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 26 เมื่อเทียบต่อปี ขณะที่การส่งออกของจีนเพิ่มขึ้นมาก
กว่าร้อยละ 22 นอกจากนี้ การนำเข้าของมาเลเซียในเดือน ก.พ.49 ก็เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 17.9 จากปีก่อนหน้า
ซึ่งขยายตัวสูงสุดตั้งแต่เดือน พ.ค.48 ที่เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 และแข็งแกร่งกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้น
ร้อยละ11.1 ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า สาเหตุที่การนำเข้าเพิ่มขึ้นเนื่องจากความต้องการสินค้าระหว่างผลิตของภาค
อุตสาหกรรมการผลิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้ จากตัวเลขการส่งออกและการนำเข้าส่งผลให้มาเลเซียเกินดุลการค้า
ในเดือน ก.พ.49 จำนวน 7.42 พัน ล.ริงกิต (2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) ต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์ประมาณการ
ไว้ก่อนหน้านี้ว่าจะเกินดุลจำนวน 8.7 พัน ล.ริงกิต แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุลจำนวน 7.2 พัน ล.
ริงกิต (รอยเตอร์)
4. ราคาบ้านในสิงคโปร์เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ในไตรมาสแรกปีนี้จากไตรมาสก่อนสูงสุดนับตั้งแต่
ไตรมาสแรกปี 43 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อ 3 เม.ย.49 องค์การพัฒนาเมืองของสิงคโปร์หรือ URA รายงาน
ประมาณการเบื้องต้นดัชนีชี้วัดราคาบ้านในสิงคโปร์ซึ่งมีประชากร 4.4 ล้านคนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 มาอยู่ที่ระดับ
120 จุดในไตรมาสแรกปีนี้จากระดับ 118.2 จุดในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่ไตรมาสแรก
ปี 43 หลังจากเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4 ในไตรมาสสุดท้ายปี 48 เมื่อนักลงทุนยังมองว่าสิงคโปร์มีบรรยากาศการลงทุน
ที่ดี และจากการผ่อนคลายกฎการถือครองอสังหาริมทรัพย์ของชาวต่างชาติทำให้ราคาอสังหาริมทรัพย์ในสิงคโปร์เมื่อ
ปีที่แล้วสูงขึ้นร้อยละ 3.9 แต่ราคาบ้านในสิงคโปร์ในปัจจุบันยังอยู่ในระดับต่ำกว่าช่วงที่มีราคาสูงสุดในปี 39 ซึ่งเป็น
ช่วงก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางการเงินในเอเชียถึงร้อยละ 30 โดยอยู่ในภาวะตกต่ำหลังจากนั้นเป็นเวลา 4 ปีก่อนที่
จะเริ่มฟื้นตัวโดยมีราคาสูงขึ้นร้อยละ 0.9 ในปี 47 นอกจากนี้ยังคาดว่าเป็นผลมาจากโครงการก่อสร้างคาสิโน
รีสอร์ทริมน้ำซึ่งเป็นโครงการระดับหรูถึง 2 แห่ง โดยมีกำหนดจะประกาศผลการประกวดราคาคัดเลือกผู้ลงทุน
ก่อสร้างและบริหารในกลางปีนี้ที่ช่วยยกระดับภาพพจน์อสังหาริมทรัพย์ในระดับประเทศของสิงคโปร์ ทั้งนี้ URA มี
กำหนดจะประกาศดัชนีชี้วัดราคาบ้านอย่างเป็นทางการในวันที่ 28 เม.ย.49 นี้ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 4 เม.ย. 49 3 เม.ย. 49 31 ม.ค. 48 แหล่งข้อ
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 38.916 38.557 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 38.7193/39.0041 38.3598/38.6471 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 4.64766 2..1875 - 2.2000 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 738.67/ 14.79 701.91/15.60 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,600/10,700 10,550/10,650 7,750/7,850 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 59.97 62.25 38.15 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท)
* ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 เม.ย. 49 27.54*/25.89* 27.54*/25.89* 19.69/14.59 ปตท.
-ธนาคารแห่งประเทศไทย--