นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ (คต.) เปิดเผยว่า ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ( พณ. ) ได้ลงนามในระเบียบกระทรวงพาณิชย์ ว่าด้วย การออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาภายใต้ WTO สำหรับสินค้าไหมดิบ ปี 2549 โดยได้กำหนดหลักเกณฑ์ และปริมาณการนำเข้ารวม 483 ตัน มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2549
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกระเบียบการขอหนังสือรับรองการนำเข้าไหมดิบโดยกำหนดให้ผู้นำเข้าไหมดิบในโควตาภายใต้WTO ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 5002.00 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรการนำเข้าจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 226 มีหลักเกณฑ์ในการนำเข้าคือ ต้องมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO) หรือภาคีแกตต์ 1947 และประเทศสปป.ลาว
ผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรการนำเข้าเส้นไหมดิบ ประจำปี 2549 งวดที่ 1 ( มกราคม-มิถุนายน) ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริมาณ 176 ตัน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทงเซ้ง ปริมาณ 12 ตัน บริษัทโค้วเม่งฮวด จำกัด ปริมาณ 15 ตัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจชัย ปริมาณ 30 ตัน บริษัท เค เอ็ม เอส อินเตอร์ซิลค์ จำกัด ปริมาณ 22 ตัน บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด ปริมาณ 72 ตัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีไทยรุ้ง ปริมาณ 25 ตัน ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำร้องและขอหนังสือรับรองได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ หนังสือรับรองมีอายุหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ออกแต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และต้องรายงานการนำเข้าให้กรมฯทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่ละครั้ง อนึ่ง หากประสงค์ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ โทร.0-25474771-86 สายด่วน 1385 หรือ www.dft.moc.go.th
สถิติการนำเข้าเส้นไหมดิบ ปี 2547 มีปริมาณ 192 ตัน คิดเป็นมูลค่า 137.4 ล้านบาท ปี 2548 มีปริมาณการนำเข้า 255 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.8 ล้านบาท ตลาดนำเข้าเส้นไหมดิบที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศจีน เวียดนาม ญี่ปุ่น
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
กระทรวงพาณิชย์ได้ออกระเบียบการขอหนังสือรับรองการนำเข้าไหมดิบโดยกำหนดให้ผู้นำเข้าไหมดิบในโควตาภายใต้WTO ตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 5002.00 ต้องเป็นผู้ที่ได้รับการจัดสรรการนำเข้าจากสถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ อัตราภาษีในโควตาร้อยละ 20และอัตราภาษีนอกโควตาร้อยละ 226 มีหลักเกณฑ์ในการนำเข้าคือ ต้องมาจากประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลก ( WTO) หรือภาคีแกตต์ 1947 และประเทศสปป.ลาว
ผู้ประกอบการที่ได้รับการจัดสรรการนำเข้าเส้นไหมดิบ ประจำปี 2549 งวดที่ 1 ( มกราคม-มิถุนายน) ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปริมาณ 176 ตัน ได้แก่ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทงเซ้ง ปริมาณ 12 ตัน บริษัทโค้วเม่งฮวด จำกัด ปริมาณ 15 ตัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด กิจชัย ปริมาณ 30 ตัน บริษัท เค เอ็ม เอส อินเตอร์ซิลค์ จำกัด ปริมาณ 22 ตัน บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด ปริมาณ 72 ตัน ห้างหุ้นส่วนจำกัด ศรีไทยรุ้ง ปริมาณ 25 ตัน ผู้ประกอบการสามารถยื่นคำร้องและขอหนังสือรับรองได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ หนังสือรับรองมีอายุหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ออกแต่ไม่เกินวันที่ 31 ธันวาคม 2549 และต้องรายงานการนำเข้าให้กรมฯทราบภายใน 30 วันนับแต่วันที่นำสินค้าเข้าแต่ละครั้ง อนึ่ง หากประสงค์ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถติดต่อได้ที่กรมการค้าต่างประเทศ โทร.0-25474771-86 สายด่วน 1385 หรือ www.dft.moc.go.th
สถิติการนำเข้าเส้นไหมดิบ ปี 2547 มีปริมาณ 192 ตัน คิดเป็นมูลค่า 137.4 ล้านบาท ปี 2548 มีปริมาณการนำเข้า 255 ตัน คิดเป็นมูลค่า 212.8 ล้านบาท ตลาดนำเข้าเส้นไหมดิบที่สำคัญของประเทศไทย คือ ประเทศจีน เวียดนาม ญี่ปุ่น
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-