สุกร
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการบริโภค ซึ่งชะลอตัวตัวลงในช่วงปิดภาคการศึกษา แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในยุโรปและแอฟริกา ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค อีกทั้งอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนการที่ผู้ประกอบการแข่งกันลดราคาเพื่อระบายไก่ในสต็อก แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า จากสาเหตุปัญหาไข้หวัดนกระบาดในสหภาพยุโรป (อียู) และประเทศต่าง ๆ ทำให้ประเทศสมาชิกออกประกาศห้ามนำเข้าไก่สด และหันมาสั่งนำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทน โดยเฉพาะ 2 ตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่นและอียู แม้จะส่งผลให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่มีปัญหาในด้านมาตรฐานความเข้มงวด ในการตรวจสอบกระบวนการผลิตของญี่ปุ่นที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นเข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปทุกครั้งที่ผู้ประกอบการไทยปรับปรุงโรงงานเพื่อขยายกำลังการผลิต
นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้ประสานงานกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ของไทยในขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ถ้าหากไทยสามารถเปิดตลาดที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ จะเป็นประตูส่งออกไก่ไปยังตลาดตะวันออกกลางได้ เพราะปัจจุบันไทยส่งออกได้น้อยมาก เนื่องจากติดปัญหาการรับรองเครื่องหมายฮาลาล
นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ โดยผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปบางรายได้ชะลอคำสั่งซื้อใหม่ และขอเลื่อนการส่งมอบออกไป เพื่อรอดูสถานการณ์ เนื่องจากประชาชนหลายประเทศลดการบริโภคเนื้อไก่ลง โดยภาพรวมทั้งสหภาพยุโรป ลดการบริโภคเนื้อไก่ลงไป 50% ส่งผลให้การส่งออกเนื้อไก่ในเดือนมกราคม 2549 ที่คาดว่าจะส่งออกได้ 26,000 ตัน แต่ส่งออกได้จริงเพียง 18,000 ตัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.51 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.32 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 8.50 บาท ลดลงจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 19.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.16 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.56
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวลดลงแทบทุกพื้น เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่ปิดภาคเรียน ทำให้ปริมาณความต้องการบริโภคไข่ไก่น้อยกว่าปริมาณผลผลิตไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 201 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 191 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 213 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 246 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 247 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 266 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.46 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.02 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 27-5 มีนาคม 2549--
-พห-
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาสุกรที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลง เนื่องจากปริมาณสุกรที่ออกสู่ตลาดมากกว่าความต้องการบริโภค ซึ่งชะลอตัวตัวลงในช่วงปิดภาคการศึกษา แนวโน้มคาดว่าราคาจะลดลง
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
สุกรมีชีวิตพันธุ์ผสมน้ำหนัก 100 กิโลกรัมขึ้นไป ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 48.69 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 48.96 บาท ของสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.55 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 49.61 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 45.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 49.53 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.48 บาท ส่วนราคาลูกสุกรตามประกาศของบริษัท ซี.พี ในสัปดาห์นี้ตัวละ 1,500 บาท (บวกลบ 50 บาท) ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งสุกรมีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยกิโลกรัมละ 48.00 บาท และราคาขายส่งสุกรชำแหละเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.50 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไก่เนื้อ
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้ปรับตัวลดลงจากสัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากข่าวการแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดนกในยุโรปและแอฟริกา ส่งผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค อีกทั้งอยู่ในช่วงปิดภาคการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ตลอดจนการที่ผู้ประกอบการแข่งกันลดราคาเพื่อระบายไก่ในสต็อก แนวโน้มคาดว่าราคาจะอ่อนตัว
อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่า จากสาเหตุปัญหาไข้หวัดนกระบาดในสหภาพยุโรป (อียู) และประเทศต่าง ๆ ทำให้ประเทศสมาชิกออกประกาศห้ามนำเข้าไก่สด และหันมาสั่งนำเข้าไก่แปรรูปจากไทยแทน โดยเฉพาะ 2 ตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่นและอียู แม้จะส่งผลให้ยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น แต่มีปัญหาในด้านมาตรฐานความเข้มงวด ในการตรวจสอบกระบวนการผลิตของญี่ปุ่นที่กำหนดให้เจ้าหน้าที่ของญี่ปุ่นเข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปทุกครั้งที่ผู้ประกอบการไทยปรับปรุงโรงงานเพื่อขยายกำลังการผลิต
นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้ประสานงานกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ให้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาตรวจสอบโรงงานแปรรูปไก่ของไทยในขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการส่งเจ้าหน้าที่มาตรวจสอบ ถ้าหากไทยสามารถเปิดตลาดที่สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้ จะเป็นประตูส่งออกไก่ไปยังตลาดตะวันออกกลางได้ เพราะปัจจุบันไทยส่งออกได้น้อยมาก เนื่องจากติดปัญหาการรับรองเครื่องหมายฮาลาล
นายกสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทยเปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกเนื้อไก่ปรุงสุกของไทยไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในหลายประเทศ โดยผู้นำเข้าในสหภาพยุโรปบางรายได้ชะลอคำสั่งซื้อใหม่ และขอเลื่อนการส่งมอบออกไป เพื่อรอดูสถานการณ์ เนื่องจากประชาชนหลายประเทศลดการบริโภคเนื้อไก่ลง โดยภาพรวมทั้งสหภาพยุโรป ลดการบริโภคเนื้อไก่ลงไป 50% ส่งผลให้การส่งออกเนื้อไก่ในเดือนมกราคม 2549 ที่คาดว่าจะส่งออกได้ 26,000 ตัน แต่ส่งออกได้จริงเพียง 18,000 ตัน
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไก่เนื้อที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 32.71 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 33.21 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 1.51 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือ กิโลกรัมละ 34.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิโลกรัมละ 34.49 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 27.51 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 38.32 บาท ส่วนราคาลูกไก่เนื้อตามประกาศของบริษัท ซี.พี ตัวละ 8.50 บาท ลดลงจากตัวละ 10.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 19.05
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งไก่มีชีวิตในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายในเฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 24.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 8.16 และราคาขายส่งไก่สดกิโลกรัมละ 34.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 36.00 ของสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 5.56
ไข่ไก่
สรุปภาวะการผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
ในสัปดาห์นี้ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้โดยรวมปรับตัวลดลงแทบทุกพื้น เนื่องจากสถานศึกษาต่าง ๆ ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ของไข่ไก่ปิดภาคเรียน ทำให้ปริมาณความต้องการบริโภคไข่ไก่น้อยกว่าปริมาณผลผลิตไข่ไก่ แนวโน้มคาดว่าราคาจะทรงตัว
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่ไก่ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ เฉลี่ยร้อยฟองละ 198 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 201 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 1.44 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 179 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือร้อยฟองละ 218 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 191 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 213 บาท ส่วนราคาลูกไก่ไข่ตามประกาศของบริษัท ซี.พี.ตัวละ 13 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯจากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 172 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
ไข่เป็ด
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาไข่เป็ดที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ ร้อยฟองละ 246 บาท ลดลงจากร้อยฟองละ 247 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.34 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือร้อยฟองละ 225 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยฟองละ 266 บาท ภาคกลางร้อยฟองละ 250 บาท และภาคใต้ ร้อยฟองละ 184 บาท
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ
ราคาขายส่งในตลาดกรุงเทพฯ จากกรมการค้าภายใน เฉลี่ยร้อยฟองละ 302 ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ที่ผ่านมา
โค
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคาโค (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 50.55 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 50.46 บาท จากสัปดาห์ก่อน ร้อยละ 0.18 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 42.50 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 56.74 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 48.01 บาท และภาคใต้กิโลกรัมละ 50.05 บาท
กระบือ
ราคาที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ
ราคากระบือ (ขนาดกลาง) ที่เกษตรกรขายได้เฉลี่ยทั้งประเทศ กิโลกรัมละ 38.67 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 39.02 บาท จากสัปดาห์ก่อนร้อยละ 0.88 โดยแยกเป็นรายภาคดังนี้ ภาคเหนือกิโลกรัมละ 40.00 บาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือกิโลกรัมละ 36.90 บาท ภาคกลางกิโลกรัมละ 51.50 บาท ส่วนภาคใต้ไม่มีรายงานราคา
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 9 ประจำวันที่ 27-5 มีนาคม 2549--
-พห-