โครงสร้างการผลิต
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลงทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายก็มีการใช้ต้นทุนวัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซัก
ฟอก และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
การที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีต้นทุนวัตถุดิบสูงนั้น เนื่องจาก วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนต้นทุนพลังงานที่สูงนั้นเป็น
เพราะว่าการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นประเภทที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2548 คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 —15 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากความต้องการของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องสำอาง เป็นต้น แหล่งนำเข้าเคมีภัณฑ์ที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ สำหรับ
การส่งออกคาดว่าในปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 27.19 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกเริ่มปรับตัวดี
ขึ้นประกอบกับการทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ ของไทย ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การส่งออก
ในปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 18,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 8,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.45 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 26,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,551 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.43 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากราคาปุ๋ยใน
ตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548/
2548 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 5,459 1,760 1,550 6,201 -11.91 13.6
1.2 อินทรีย์ * 29 16,610 5,458 4,698 18,793 -13.92 13.14
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 2,424 2,237 8,947 -7.73 27.45
7,020
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 1,610 969 638 2,551 -34.19 58.43
2.2 สี 32 6,698 2,276 2,064 8,256 -9.31 23.26
2.3 เครื่องสำอาง 33 21,364 7,662 6,610 26,439 -13.73 23.75
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 7,131 3,280 2,364 9,455 -27.94 32.59
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2548 มีมูลค่าประมาณ 36,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.32 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์
เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 54,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 42,648 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การนำเข้าปุ๋ยในปี 2548 เพิ่มขึ้น เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินมาตรการกวาดล้างปุ๋ยปลอมออกจากตลาด จึงส่งผล
ให้ความต้องการภายในประเทศสำหรับปุ๋ยคุณภาพดีเพิ่มสูงขึ้นและบางส่วนต้องมีการนำเข้า
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548/
2548* 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 30,085 9,395 9,049 36,197 -3.68 20.32
1.2 อินทรีย์ C 29 68,542 21,452 21,446 85,785 -0.03 25.16
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 49,849 13,611 13,551 54,205 -0.44 8.74
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 33,245 11,197 10,662 42,648 -4.78 28.28
2.2 สี 32 32,945 8,551 8,353 33,412 -2.32 1.42
2.3 เครื่องสำอาง 33 16,586 4,276 4,273 17,093 -0.06 3.06
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 14,158 3,937 3,746 14,984 -4.85 5.83
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีนซึ่ง
มีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่ง
ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการ
ผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น
การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลาย โดยคิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ
75 สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เงินลงทุนต่ำ ในขณะที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้เงินลงทุนสูง
โครงสร้างต้นทุนการผลิต
อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานใช้วัตถุดิบและพลังงานค่อนข้างสูง แต่มีการใช้แรงงานต่ำ เช่น ในการผลิตโซเดียมไฮดรอกไซด์ และ
คลอรีนเหลว มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 45 พลังงานร้อยละ 50 และแรงงานร้อยละ 5 เป็นต้น
สำหรับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ขั้นปลายก็มีการใช้ต้นทุนวัตถุดิบค่อนข้างสูง เช่นในการผลิต สี สารเคมีกำจัดศัตรูพืช ปุ๋ยเคมี ผงซัก
ฟอก และเครื่องสำอาง มีสัดส่วนต้นทุนวัตถุดิบร้อยละ 82, 80-90, 85, 73 และ 70 ตามลำดับ
การที่อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์มีต้นทุนวัตถุดิบสูงนั้น เนื่องจาก วัตถุดิบส่วนใหญ่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนต้นทุนพลังงานที่สูงนั้นเป็น
เพราะว่าการผลิตเคมีภัณฑ์ขั้นพื้นฐานเป็นประเภทที่ต้องผลิตตลอด 24 ชั่วโมง
การตลาด
ในปี 2548 คาดว่ามูลค่าการนำเข้าเคมีภัณฑ์เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 10 —15 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากความต้องการของ
อุตสาหกรรมต่อเนื่องมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เช่น
อุตสาหกรรมยานยนต์ เครื่องสำอาง เป็นต้น แหล่งนำเข้าเคมีภัณฑ์ที่สำคัญของไทยคือ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์ สำหรับ
การส่งออกคาดว่าในปี 2548 มูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 27.19 เมื่อเทียบกับปี 2547 เนื่องจากสภาวะเศรษฐกิจของโลกเริ่มปรับตัวดี
ขึ้นประกอบกับการทำ FTA กับประเทศต่าง ๆ ของไทย ตลาดส่งออกที่สำคัญของไทยได้แก่ จีน อินโดนีเซีย และมาเลเซีย
การส่งออก
ในปี 2548 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าประมาณ 18,793 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.14 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์เบ็ด
เตล็ดมีมูลค่าส่งออกประมาณ 8,947 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 27.45 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมี
มูลค่าส่งออกประมาณ 26,439 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 23.75 เมื่อเทียบกับปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในปี 2548 มีมูลค่าการส่งออกประมาณ 2,551 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 58.43 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากราคาปุ๋ยใน
ตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ประเทศส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
ประเภท พิกัด มูลค่าการส่งออก(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548/
2548 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 5,459 1,760 1,550 6,201 -11.91 13.6
1.2 อินทรีย์ * 29 16,610 5,458 4,698 18,793 -13.92 13.14
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 2,424 2,237 8,947 -7.73 27.45
7,020
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 1,610 969 638 2,551 -34.19 58.43
2.2 สี 32 6,698 2,276 2,064 8,256 -9.31 23.26
2.3 เครื่องสำอาง 33 21,364 7,662 6,610 26,439 -13.73 23.75
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 7,131 3,280 2,364 9,455 -27.94 32.59
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
การนำเข้า
การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์ในปี 2548 มีมูลค่าประมาณ 36,197 ล้านบาท เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 20.32 เมื่อเทียบกับปีก่อน เคมีภัณฑ์
เบ็ดเตล็ดมีมูลค่านำเข้าประมาณ 54,205 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.74 เมื่อเทียบกับปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้าประมาณ 42,648 ล้านบาท
เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.28 เมื่อเทียบกับปีก่อน
การนำเข้าปุ๋ยในปี 2548 เพิ่มขึ้น เนื่องจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินมาตรการกวาดล้างปุ๋ยปลอมออกจากตลาด จึงส่งผล
ให้ความต้องการภายในประเทศสำหรับปุ๋ยคุณภาพดีเพิ่มสูงขึ้นและบางส่วนต้องมีการนำเข้า
ประเภท พิกัด มูลค่าการนำเข้า(ล้านบาท) เปลี่ยนแปลง (ร้อยละ)
2547 Q3/2548 Q4*/2548 2548* Q4/Q3 2548/
2548* 2547
1. เคมีภัณฑ์พื้นฐาน
1.1 อนินทรีย์ 28 30,085 9,395 9,049 36,197 -3.68 20.32
1.2 อินทรีย์ C 29 68,542 21,452 21,446 85,785 -0.03 25.16
1.3 เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด 38 49,849 13,611 13,551 54,205 -0.44 8.74
2. เคมีภัณฑ์ขั้นปลาย
2.1 ปุ๋ย 31 33,245 11,197 10,662 42,648 -4.78 28.28
2.2 สี 32 32,945 8,551 8,353 33,412 -2.32 1.42
2.3 เครื่องสำอาง 33 16,586 4,276 4,273 17,093 -0.06 3.06
2.4 สารลดแรงตึงผิว 34 14,158 3,937 3,746 14,984 -4.85 5.83
ที่มา : ข้อมูลจากกรมศุลกากร
C เคมีภัณฑ์อินทรีย์ไม่รวมปิโตรเคมีขั้นต้นและขั้นกลาง
หมายเหตุ: * ตัวเลขประมาณการ
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีนซึ่ง
มีความได้เปรียบด้านการผลิตและมีต้นทุนที่ต่ำกว่าไทย นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงค์โปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่ง
ประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการ
ผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น
การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-