นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง ได้แถลงผลการจัดเก็บรายได้รวมของรัฐบาลประจำเดือนเมษายน 2549 และในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 - เมษายน 2549) ซึ่งสูงกว่าประมาณการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งแนวโน้มการจัดเก็บรายได้รัฐบาลทั้งปีงบประมาณ 2549 ดังนี้
1. เดือนเมษายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 115,119 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.5) โดยหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากกรมจัดเก็บภาษีจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 39.9
การจัดเก็บรายได้จากกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการเล็กน้อย โดยภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้ สูงกว่าประมาณการ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,046 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการนำเข้าต่ำกว่าประมาณการถึง 2,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 เนื่องจากการชะลอตัวของการนำเข้าและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราที่สูง โดยสูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 9.5 และสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 19.4 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 22,812 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 151.3) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง 13,577 4,500 2,000 และ 1,300 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับรายได้จากกรมสรรพสามิตที่จัดเก็บได้ 24,002 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 4,028 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีเบียร์และภาษีสุรา และภาษีรถยนต์ โดยภาษีน้ำมันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนภาษีเบียร์และภาษีสุรา ได้รับผลกระทบจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง รวมทั้ง เกิดจากผลของการมีวันหยุดมากในเดือนเมษายนด้วย ในขณะที่ภาษีรถยนต์ เป็นผลจากการขยายตัวของปริมาณรถยนต์ที่เสียภาษีไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — เมษายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 682,914 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,207 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 7.3 และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 42.2
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 478,917 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 32,714 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.7) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,508 และ 11,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 และ 4.9 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.4 และ 11.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 156,745 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 22,804 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 12,230 ล้านบาท (เฉพาะปีงบประมาณ 2549 สูญเสียประมาณ 6,428 ล้านบาท)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 57,103 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 12,397 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด ทั้งนี้ มีสาเหตุจากการชะลอตัวลงของการนำเข้าและค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และจากมาตรการลดอากรขาเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ และการลดอากรขาเข้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 88,983 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,185 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.9 รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารออมสิน โรงงานยาสูบ โดยนำส่งรายได้จำนวน 13,577 6,529 6,000 และ 5,835 ล้านบาท ตามลำดับ
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่ยังสูงกว่าประมาณการ จำนวน 10,207 ล้านบาท กระทรวงการคลังจึงคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ได้ตามประมาณการ 1,360,000 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 45/2549 10 พฤษภาคม 49--
1. เดือนเมษายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 115,119 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 1,878 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.7 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.5) โดยหน่วยงานอื่นนอกเหนือจากกรมจัดเก็บภาษีจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการร้อยละ 39.9
การจัดเก็บรายได้จากกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการเล็กน้อย โดยภาษีทุกประเภทจัดเก็บได้ สูงกว่าประมาณการ ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 1,046 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 เป็นผลมาจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการนำเข้าต่ำกว่าประมาณการถึง 2,826 ล้านบาท หรือร้อยละ 16.1 เนื่องจากการชะลอตัวของการนำเข้าและค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในส่วนของการบริโภคภายในประเทศยังคงขยายตัวในอัตราที่สูง โดยสูงกว่าประมาณการ ร้อยละ 9.5 และสูงกว่าปีที่แล้วถึงร้อยละ 19.4 สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี
นอกจากนี้ รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ 22,812 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 7,525 ล้านบาท หรือร้อยละ 49.2 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 151.3) โดยรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้านครหลวง 13,577 4,500 2,000 และ 1,300 ล้านบาท ตามลำดับ
สำหรับรายได้จากกรมสรรพสามิตที่จัดเก็บได้ 24,002 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมาย 4,028 ล้านบาท โดยภาษีที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ ภาษีน้ำมัน ภาษีเบียร์และภาษีสุรา และภาษีรถยนต์ โดยภาษีน้ำมันได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่วนภาษีเบียร์และภาษีสุรา ได้รับผลกระทบจากการบริโภคที่ชะลอตัวลง รวมทั้ง เกิดจากผลของการมีวันหยุดมากในเดือนเมษายนด้วย ในขณะที่ภาษีรถยนต์ เป็นผลจากการขยายตัวของปริมาณรถยนต์ที่เสียภาษีไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้
2. ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — เมษายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 682,914 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 10,207 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 5.9) เนื่องจากการจัดเก็บภาษีของกรมสรรพากรสูงกว่าประมาณการถึงร้อยละ 7.3 และรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าเป้าหมายถึงร้อยละ 42.2
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 478,917 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 32,714 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 7.3 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 13.7) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่สามารถจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 12,508 และ 11,160 ล้านบาท หรือร้อยละ 13.2 และ 4.9 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 15.4 และ 11.8 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 156,745 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 22,804 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.7 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 7.6) โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมันที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ซึ่งทำให้รัฐบาลสูญเสียรายได้ทั้งสิ้นประมาณ 12,230 ล้านบาท (เฉพาะปีงบประมาณ 2549 สูญเสียประมาณ 6,428 ล้านบาท)
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 57,103 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 12,397 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 17.8 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.0) โดยอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการมาโดยตลอด ทั้งนี้ มีสาเหตุจากการชะลอตัวลงของการนำเข้าและค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น และจากมาตรการลดอากรขาเข้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากรทั้งระบบ และการลดอากรขาเข้าอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 88,983 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 17,185 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 23.9 รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้ที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ธนาคารออมสิน โรงงานยาสูบ โดยนำส่งรายได้จำนวน 13,577 6,529 6,000 และ 5,835 ล้านบาท ตามลำดับ
3. การคาดการณ์แนวโน้มการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลปีงบประมาณ 2549
จากผลการจัดเก็บรายได้ในช่วง 7 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2549 ที่ยังสูงกว่าประมาณการ จำนวน 10,207 ล้านบาท กระทรวงการคลังจึงคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ในปีงบประมาณ 2549 ได้ตามประมาณการ 1,360,000 ล้านบาท
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 45/2549 10 พฤษภาคม 49--