วันนี้ (3 ก.ย.49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวเกี่ยวกับการที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีเรียกประชุมทีมเศรษฐกิจเพื่อประเมินภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยโดยระบุว่า เศรษฐกิจไทยจะดีขึ้นในปีหน้านั้น พรรคประชาธิปัตย์มีความเห็นว่าเศรษฐไทยในปี 2550 ไม่น่าจะเติบโตตามที่รัฐบาลกล่าวอ้าง ในทางตรงกันข้ามเศรษฐกิจไทยยังน่าจะเป็นเศรษฐกิจที่ชะลอตัว โดยมี 2 ปัจจัยที่สำคัญดังนี้
1. ปัจจัยจากภายนอกประเทศ โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่า การขยายตัวในประเทศคู่ค้าหลักของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากสภาวะน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา การขาดดุลบัญชีคู่ที่ต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศจีนคู่ค้าสำคัญของไทยมีการปรับขึ้นค่าเงินส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งขึ้นรวมทั้งประเทศไทยด้วย และประเทศเวียดนามก็มีการพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าอันจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย
2.ปัจจัยภายในประเทศ ก็คือ ปัญหาความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุน เพราะจากการบริหารประเทศของรัฐบาล ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น นอกจากนี้จากปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าเป็นข่าวที่กระทบต่อการท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนั้นก็คือปัญหาความไม่มั่นใจตัวรักษาการนายกรัฐมนตรีสังเกตได้จากการตั้งเป้าส่งออกไว้ 400,000 — 500,000 ล้านบาท 6 เดือนแรกของปี 49 ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ หากรัฐบาลยังคงนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังได้” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นอกจากนี้นายองอาจยังกล่าวต่อไปว่า แทนที่รัฐบาลจะมาคุยโม้โอ้อวดว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโต รัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่นมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและไม่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายในประเทศ
ต่อข้อถามถึง การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารซึ่งกำลังมีการดำเนินการภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารที่ผ่านมาจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่การโยกย้ายครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเริ่มมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นและไม่ใช่เฉพาะปัญหาการเมืองลงไปล้วงลูกทำให้ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมกลายเป็นระบบพวกพ้อง
นายองอาจ กล่าวว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวลว่า อาจจะมีการโยกย้ายเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า นายทหารที่อยู่ข้างระบอบประชาธิปไตยหลายคนที่ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไม่ดีในประเทศมีข่าวโยกย้ายบ่อยครั้ง ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารที่อยู่ในช่วงกฤษฎีกาการเลือกตั้ง
“พรรคประชาธิปัตย์รู้สึกไม่สบายใจที่ผู้ใหญ่ในรัฐบาลบอกว่า การแต่งตั้งโยกย้าย นายทหารช่วงที่มีกฤษฎีกาโยกย้ายสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ผมขอบอกว่าไม่เป็นความจริงในรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 215 วรรค 2 ระบุว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและอยู่ในช่วงรักษาการไม่ว่าจะเป็นการยุบสภาหรือครบวาระก็ตาม รัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือน ตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่ารัฐธรรมนูญ ม.215 วรรค 2 ชัดเจนมาก ถ้ารัฐบาลจะแต่งตั้งโยกย้ายในช่วงที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งนั้นไม่มีใครว่าอะไร แต่ขณะนี้อยู่ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีการการเลือกตั้ง รัฐบาลจะต้องคำนึงถึง ม.215 วรรค 2 เพราะรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้รัฐบาลรักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตัวเองในการเลือกตั้งจะต้องได้รับการเห็นชอบจาก กกต.เสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
“สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงอย่างมากคือ รัฐบาลจะใช้โอกาสนี้เพื่อใช้ทหารเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลในการเลือกตั้งซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 พยายามทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม และ กกต.ชุดนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ ผมอยากเรียกร้องรัฐบาลว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารนั้นต้องไปเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.215 วรรค 2 ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจอยากจะเห็นการเลือกตั้งบริสุทธิ์ รัฐบาลต้องดำเนินตามรัฐธรรมนูญ” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ส่วนกรณีความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากที่ พล.อ.สนธิ บุญรัตยกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พูดความในใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภาคใต้ปรากฎว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีออกมาอ้างว่า พล.อ.สนธิ พูดถึงการเมืองการหาประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาลนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความคิดเห็นของ น.พ.สุรพงษ์ได้พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่า ถ้ารัฐบาลไม่ได้มีความรู้สึกว่ากำลังถูกต่อว่า ในเรื่องการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดภาคใต้ไม่บรรลุผล ถามว่าทำไมรัฐบาลจะใช้โฆษกรัฐบาลออกมาแก้ตัวทำไม
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า ตนคิดว่า พล.อ.สนธิไม่ได้ตำหนิหรือติเตียนใคร แต่กำลังพูดความจริงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ว่าอะไรเกิดขึ้นและ ตนคิดว่าความจริงที่ ผบ.ทบ.พูดหลายเรื่องเป็นข้อพิสูจน์ โดยเฉพาะ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมเปิดเผยชัดเจนเมื่อวานนี้ (2 ก.ย.49) ว่า รู้สึกอึดอัดที่ ผบ.ทบ.ไม่มีอำนาจในการสั่งการทำให้เห็นความจริงที่ พล.อ.สนธิพูดออกมาว่า ปัญหาการแก้ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือการไม่เป็นเอกภาพของการเข้าไปแก้ไขปัญหา
“ผมถามว่าวันนี้ ผบ.ทบ.มีอำนาจจริงหรือในทางปฏิบัติใช้อำนาจไปควบคุมสั่งการใครได้บ้าง ขณะที่รัฐบาลลอยตัวอยู่เหนือปัญหาพยายามแก้ปัญหาให้พ้นตัวเอง และพยายามโยนปัญหาไปให้คนอื่นทั้งๆที่ในความเป็นจริงรัฐบาลหนีความไม่ผิดชอบในปัญหาภาคใต้ไม่ได้ รัฐบาลจะต้องฟัง ผบ.ทบ.ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจฝากความห่วงใยถึง พล.อ.ธรรมรักษ์ ว่า อย่าเพียงแต่แสดงความอึดอัดว่า ทหารบกไร้อำนาจสั่งใครไม่ได้เท่านั้น พล.อ.ธรรมรักษ์ ควรพูดสิ่งเหล่านี้ให้คณะรัฐมนตรีได้ฟังเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับรู้ที่หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่สามารถที่จะสั่งใครได้ อย่าลงไปแย่งกันสั่งงาน อย่าลงไปแย่งกันเอาความดีความชอบโดยไม่ถูกต้องฝาก พล.อ.ธรรมรักษ์พูดเรื่องนี้ในคณะรัฐมนตรีด้วยแทนที่จะพูดนอกคณะรัฐมนตรี
“ผมเพิ่มเติมอีกข้อที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ สิ่งที่ พล.ท.องค์กร ทองประสม แม่ทัพภาคที่ 4 ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลไม่ได้ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาภาคมต้อย่างแท้จริงและเปิดเผยอีกว่า ขอกำลังเสริมจากส่วนกลางแล้ว 2,000 นายเพื่อให้มาช่วยในการในการคุ้มกัน แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการจัดส่งมาเพราะประเมินแล้วว่า กำลังที่มีอยู่ขณะนี้ดูแลไม่ทั่วถึงขอไป 5 — 6 เดือนแล้วกำลังพลที่ขอไปยังไม่มีอะไรคืบหน้า” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวต่อไปว่า ตรงนี้เป็นข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา อย่างนี้จะไปแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้อย่างไร ในเมื่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาล ถึงวันนี้ รัฐบาลอย่าปฏิเสธ อย่าหนีปัญหา และต้องยอมรับความจริงว่ารัฐบาลกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง เพราะว่าสิ่งที่หลายฝ่ายออกมามันพิสูจน์ให้เห็นได้เปิดโปงความผิดพลาดของรัฐบาลอย่าล่อนจ้อน รัฐบาลความยุติที่จะออกมาแก้ตัวและเริ่มต้นแก้ไขปัญหาไปในทิศทางที่ถูกต้องจึงจะช่วยบรรเทาความรุนแรงได้
ส่วนกรณีที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยออกมาพูดเมื่อวานนี้ว่า กลุ่มที่ต้องการล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีคือกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งและต้องการนายกฯที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตย ม.7 นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้มีการเลือกตั้งและพร้อมที่จะเลือกตั้ง ไม่ได้คิดว่าจะไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง และไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ ที่จะให้มีการใช้ ม.7 แทนการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ตนคิดว่า ขณะนี้แกนนำของพรรคไทยรักไทยไม่ควรหยิบยก ม.7 มาใส่ร้ายป้ายสีใครทั้งสิ้น
“ผมคิดว่าที่ร้ายกว่า ม.7 คือ ม.8 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่า ม.8 ร้ายกว่าอย่างไร สิ่งที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เคยพูดเรื่อง ม.7 พูดแบบมีเงื่อนไขชัดเจนว่าคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีรักษาการในขณะนั้นทั้งคณะต้องกราบบังคมทูลขอสละตำแหน่งลาออกจากตำแหน่งถึงจะเข้าสู่กระบวนการของ ม.7ได้ แต่ถ้าตราบใดที่คณะรัฐมนตรียังอยู่นั้นยังไม่สามารถดำเนินการตามนั้นได้ และข้อเสนอของพรรคก็เป็นช่วงที่ประเทศเกิดวิกฤตและไม่มีทางออกเมื่อหลายเดือนก่อนที่ผ่านมา” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ได้เลยขั้นตอนของการเสนอ ม.7ไปแล้ว รัฐบาลรักษาการก็ยังอยู่ และกำลังเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้ง การที่พรรคไทยรักไทยพยายามพูดในเรื่อง ม.7นั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องของการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้และทำให้ประชาชนสับสนไขว้เขว พรรคไทยรักไทยควรเตรียมตัวเข้าสู่สนามการเลือกตั้งน่าจะเหมาะสมกว่าที่จะมากล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีพรรคการเมืองอื่นในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--
1. ปัจจัยจากภายนอกประเทศ โดยจะเห็นได้ชัดเจนว่า การขยายตัวในประเทศคู่ค้าหลักของไทยจะขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่องจากสภาวะน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการชะลอตัวทางเศรษฐกิจของประเทศสหรัฐอเมริกา การขาดดุลบัญชีคู่ที่ต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศจีนคู่ค้าสำคัญของไทยมีการปรับขึ้นค่าเงินส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเชียแข็งขึ้นรวมทั้งประเทศไทยด้วย และประเทศเวียดนามก็มีการพัฒนาศักยภาพในการผลิตสินค้าอันจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของประเทศไทย
2.ปัจจัยภายในประเทศ ก็คือ ปัญหาความเชื่อมั่นของประชาชนและนักลงทุน เพราะจากการบริหารประเทศของรัฐบาล ทำให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่น นอกจากนี้จากปัญหาความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ถือว่าเป็นข่าวที่กระทบต่อการท่องเที่ยวและนักลงทุนต่างชาติ นอกจากนั้นก็คือปัญหาความไม่มั่นใจตัวรักษาการนายกรัฐมนตรีสังเกตได้จากการตั้งเป้าส่งออกไว้ 400,000 — 500,000 ล้านบาท 6 เดือนแรกของปี 49 ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจัดเก็บรายได้ หากรัฐบาลยังคงนโยบายการคลังแบบขาดดุลจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพการคลังได้” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นอกจากนี้นายองอาจยังกล่าวต่อไปว่า แทนที่รัฐบาลจะมาคุยโม้โอ้อวดว่าปีหน้าเศรษฐกิจจะเติบโต รัฐบาลควรสร้างความเชื่อมั่นมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาและไม่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นภายในประเทศ
ต่อข้อถามถึง การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารซึ่งกำลังมีการดำเนินการภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า การแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารที่ผ่านมาจะไม่ค่อยมีปัญหา แต่การโยกย้ายครั้งนี้เห็นได้ชัดเจนว่าเริ่มมีปัญหาเพิ่มมากขึ้นและไม่ใช่เฉพาะปัญหาการเมืองลงไปล้วงลูกทำให้ไม่เป็นไปตามระบบคุณธรรมกลายเป็นระบบพวกพ้อง
นายองอาจ กล่าวว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์มีความวิตกกังวลว่า อาจจะมีการโยกย้ายเพื่อหวังผลทางการเมือง โดยเฉพาะเรื่องการเลือกตั้งยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนว่า นายทหารที่อยู่ข้างระบอบประชาธิปไตยหลายคนที่ไม่ยอมตกเป็นเครื่องมือของนักการเมืองที่ไม่ดีในประเทศมีข่าวโยกย้ายบ่อยครั้ง ตนคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารที่อยู่ในช่วงกฤษฎีกาการเลือกตั้ง
“พรรคประชาธิปัตย์รู้สึกไม่สบายใจที่ผู้ใหญ่ในรัฐบาลบอกว่า การแต่งตั้งโยกย้าย นายทหารช่วงที่มีกฤษฎีกาโยกย้ายสามารถดำเนินการได้ตามปกติ ผมขอบอกว่าไม่เป็นความจริงในรัฐธรรมนูญปี 2540 มาตรา 215 วรรค 2 ระบุว่า เมื่อคณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งและอยู่ในช่วงรักษาการไม่ว่าจะเป็นการยุบสภาหรือครบวาระก็ตาม รัฐมนตรีจะใช้อำนาจแต่งตั้งหรือย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งเงินเดือน ตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากตำแหน่งมิได้ เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่ารัฐธรรมนูญ ม.215 วรรค 2 ชัดเจนมาก ถ้ารัฐบาลจะแต่งตั้งโยกย้ายในช่วงที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาการเลือกตั้งนั้นไม่มีใครว่าอะไร แต่ขณะนี้อยู่ในช่วงที่มีพระราชกฤษฎีการการเลือกตั้ง รัฐบาลจะต้องคำนึงถึง ม.215 วรรค 2 เพราะรัฐธรรมนูญไม่ต้องการให้รัฐบาลรักษาการใช้อำนาจแต่งตั้งโยกย้ายข้าราชการเพื่อประโยชน์ของตัวเองในการเลือกตั้งจะต้องได้รับการเห็นชอบจาก กกต.เสียก่อนจึงจะดำเนินการได้
“สิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์เป็นห่วงอย่างมากคือ รัฐบาลจะใช้โอกาสนี้เพื่อใช้ทหารเป็นเครื่องมือสร้างความชอบธรรมให้รัฐบาลในการเลือกตั้งซึ่งเหตุการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นมาแล้วในช่วงการเลือกตั้งปี 2548 พยายามทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นไปด้วยความไม่สุจริต ไม่เที่ยงธรรม และ กกต.ชุดนั้นก็ทำอะไรไม่ได้ ผมอยากเรียกร้องรัฐบาลว่าการแต่งตั้งโยกย้ายนายทหารนั้นต้องไปเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ ม.215 วรรค 2 ถ้ารัฐบาลมีความจริงใจอยากจะเห็นการเลือกตั้งบริสุทธิ์ รัฐบาลต้องดำเนินตามรัฐธรรมนูญ” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
ส่วนกรณีความรุนแรงใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังจากที่ พล.อ.สนธิ บุญรัตยกลิน ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) พูดความในใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหาภาคใต้ปรากฎว่า น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี รักษาการโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีออกมาอ้างว่า พล.อ.สนธิ พูดถึงการเมืองการหาประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายตรงกันข้ามรัฐบาลนั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ความคิดเห็นของ น.พ.สุรพงษ์ได้พิสูจน์ให้เห็นได้ชัดเจนว่า ถ้ารัฐบาลไม่ได้มีความรู้สึกว่ากำลังถูกต่อว่า ในเรื่องการแก้ไขปัญหาใน 3 จังหวัดภาคใต้ไม่บรรลุผล ถามว่าทำไมรัฐบาลจะใช้โฆษกรัฐบาลออกมาแก้ตัวทำไม
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า ตนคิดว่า พล.อ.สนธิไม่ได้ตำหนิหรือติเตียนใคร แต่กำลังพูดความจริงที่เกิดขึ้นใน 3 จังหวัดภาคใต้ว่าอะไรเกิดขึ้นและ ตนคิดว่าความจริงที่ ผบ.ทบ.พูดหลายเรื่องเป็นข้อพิสูจน์ โดยเฉพาะ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา รักษาการรัฐมนตรีว่ากระทรวงกลาโหมเปิดเผยชัดเจนเมื่อวานนี้ (2 ก.ย.49) ว่า รู้สึกอึดอัดที่ ผบ.ทบ.ไม่มีอำนาจในการสั่งการทำให้เห็นความจริงที่ พล.อ.สนธิพูดออกมาว่า ปัญหาการแก้ความไม่สงบใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ก็คือการไม่เป็นเอกภาพของการเข้าไปแก้ไขปัญหา
“ผมถามว่าวันนี้ ผบ.ทบ.มีอำนาจจริงหรือในทางปฏิบัติใช้อำนาจไปควบคุมสั่งการใครได้บ้าง ขณะที่รัฐบาลลอยตัวอยู่เหนือปัญหาพยายามแก้ปัญหาให้พ้นตัวเอง และพยายามโยนปัญหาไปให้คนอื่นทั้งๆที่ในความเป็นจริงรัฐบาลหนีความไม่ผิดชอบในปัญหาภาคใต้ไม่ได้ รัฐบาลจะต้องฟัง ผบ.ทบ.ว่าขณะนี้เกิดอะไรขึ้นในพื้นที่” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจฝากความห่วงใยถึง พล.อ.ธรรมรักษ์ ว่า อย่าเพียงแต่แสดงความอึดอัดว่า ทหารบกไร้อำนาจสั่งใครไม่ได้เท่านั้น พล.อ.ธรรมรักษ์ ควรพูดสิ่งเหล่านี้ให้คณะรัฐมนตรีได้ฟังเพื่อให้ พ.ต.ท.ทักษิณได้รับรู้ที่หน่วยงานหลายหน่วยงานไม่สามารถที่จะสั่งใครได้ อย่าลงไปแย่งกันสั่งงาน อย่าลงไปแย่งกันเอาความดีความชอบโดยไม่ถูกต้องฝาก พล.อ.ธรรมรักษ์พูดเรื่องนี้ในคณะรัฐมนตรีด้วยแทนที่จะพูดนอกคณะรัฐมนตรี
“ผมเพิ่มเติมอีกข้อที่ทำให้เห็นภาพชัดเจนที่สุดคือ สิ่งที่ พล.ท.องค์กร ทองประสม แม่ทัพภาคที่ 4 ออกมาเปิดเผยว่า รัฐบาลไม่ได้ความจริงใจในการแก้ไขปัญหาภาคมต้อย่างแท้จริงและเปิดเผยอีกว่า ขอกำลังเสริมจากส่วนกลางแล้ว 2,000 นายเพื่อให้มาช่วยในการในการคุ้มกัน แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีการจัดส่งมาเพราะประเมินแล้วว่า กำลังที่มีอยู่ขณะนี้ดูแลไม่ทั่วถึงขอไป 5 — 6 เดือนแล้วกำลังพลที่ขอไปยังไม่มีอะไรคืบหน้า” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ ยังกล่าวต่อไปว่า ตรงนี้เป็นข้อพิสูจน์อย่างชัดเจนว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจในการแก้ไขปัญหา อย่างนี้จะไปแก้ไขปัญหาความรุนแรงได้อย่างไร ในเมื่อผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างจริงจังจากรัฐบาล ถึงวันนี้ รัฐบาลอย่าปฏิเสธ อย่าหนีปัญหา และต้องยอมรับความจริงว่ารัฐบาลกลายเป็นตัวปัญหาเสียเอง เพราะว่าสิ่งที่หลายฝ่ายออกมามันพิสูจน์ให้เห็นได้เปิดโปงความผิดพลาดของรัฐบาลอย่าล่อนจ้อน รัฐบาลความยุติที่จะออกมาแก้ตัวและเริ่มต้นแก้ไขปัญหาไปในทิศทางที่ถูกต้องจึงจะช่วยบรรเทาความรุนแรงได้
ส่วนกรณีที่ ร.ต.ไพโรจน์ สุวรรณฉวี กรรมการบริหารพรรคไทยรักไทยออกมาพูดเมื่อวานนี้ว่า กลุ่มที่ต้องการล้ม พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรีคือกลุ่มที่ไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้งและต้องการนายกฯที่ไม่ได้มาจากระบอบประชาธิปไตย ม.7 นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าวว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องการให้มีการเลือกตั้งและพร้อมที่จะเลือกตั้ง ไม่ได้คิดว่าจะไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง และไม่มีวัตถุประสงค์ใดๆ ที่จะให้มีการใช้ ม.7 แทนการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น ตนคิดว่า ขณะนี้แกนนำของพรรคไทยรักไทยไม่ควรหยิบยก ม.7 มาใส่ร้ายป้ายสีใครทั้งสิ้น
“ผมคิดว่าที่ร้ายกว่า ม.7 คือ ม.8 ที่ พ.ต.ท.ทักษิณ เคยเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องจะเห็นได้ว่า ม.8 ร้ายกว่าอย่างไร สิ่งที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เคยพูดเรื่อง ม.7 พูดแบบมีเงื่อนไขชัดเจนว่าคณะรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีรักษาการในขณะนั้นทั้งคณะต้องกราบบังคมทูลขอสละตำแหน่งลาออกจากตำแหน่งถึงจะเข้าสู่กระบวนการของ ม.7ได้ แต่ถ้าตราบใดที่คณะรัฐมนตรียังอยู่นั้นยังไม่สามารถดำเนินการตามนั้นได้ และข้อเสนอของพรรคก็เป็นช่วงที่ประเทศเกิดวิกฤตและไม่มีทางออกเมื่อหลายเดือนก่อนที่ผ่านมา” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์กล่าว
นายองอาจ กล่าวต่อไปว่า สถานการณ์ได้เลยขั้นตอนของการเสนอ ม.7ไปแล้ว รัฐบาลรักษาการก็ยังอยู่ และกำลังเข้าสู่บรรยากาศของการเลือกตั้ง การที่พรรคไทยรักไทยพยายามพูดในเรื่อง ม.7นั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องของการบิดเบือนข้อเท็จจริงที่กำลังเกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้และทำให้ประชาชนสับสนไขว้เขว พรรคไทยรักไทยควรเตรียมตัวเข้าสู่สนามการเลือกตั้งน่าจะเหมาะสมกว่าที่จะมากล่าวหาใส่ร้ายป้ายสีพรรคการเมืองอื่นในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 3 ก.ย. 2549--จบ--