พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร
วัน ศุกร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ฉบับที่ 66/2549
คาดหมายลักษณะอากาศเพื่อการเกษตรใน 7 วันข้างหน้า
ตั้งแต่วันที่ 2 - 8 มิถุนายน 2549
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทยจะมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้ทุกภาคของประเทศมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ อนึ่ง หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีฝนลดน้อยลง เว้นแต่บริเวณภาคเหนือด้านตะวันตกบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเชียงใหม่ มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ทำให้มีฝนตกหนักบางแห่งเกิดขึ้นในช่วงนี้
ข้อควรระวัง
ในระยะนี้ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเชียงใหม่ระวังภัยจากฝนตกหนัก ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. ขอให้ประชาชนบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหารระวังภัยที่เกิดจากฝนตกหนักด้วย
ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ ในระยะ 7 วันข้างหน้า มีดังนี้
เหนือ
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70% ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตก ของภาคบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเชียงใหม่ ลมแปรปรวน 6-12 กม./ชม.
มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป 50-70% ของพื้นที่ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่งทางด้านตะวันตก ของภาคบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน ตาก และเชียงใหม่ ลมแปรปรวน 6-12 กม./ชม. ระยะนี้จะมีฝนตกชุก ส่วนมากบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และตาก เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำในพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณ ที่ลุ่ม ส่วนชาวสวนส้มควรระวังการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า
ตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80% ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-50 % ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป 70-80% ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย 30-50 % ของพื้นที่ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. ระยะนี้จะมีฝนตกหนักส่วนมากทางตอนบนของภาคบริเวณจังหวัดสกลนคร นครพนม และมุกดาหาร ซึ่งอาจทำให้เกิดสภาวะน้ำท่วมขึ้นได้ในที่ลุ่มบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตราย และเตรียมป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นไว้ด้วย และเนื่องจากสภาพอากาศที่ชุ่มชื้นอาจทำให้สัตว์เลี้ยงเจ็บป่วยได้ง่าย ไม่ควรอยู่ในที่ชื้นแฉะ หากพบสัตว์ป่วยควรแยกออกจากกลุ่ม
กลาง
นช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 20-30% ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 20-30% ของพื้นที่ ส่วนมากในระหว่างบ่ายถึงค่ำ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 10-30 กม./ชม. สำหรับเกษตรกรที่กำลังปลูกพืชไร่ควรหมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อไม่ให้แย่งธาตุอาหาร และเป็นแหล่งหลบซ่อนของศัตรูพืช สำหรับพืชไร่ที่เก็บเกี่ยวไปแล้วและถูกฝนในระยะที่ผ่านมาควรรีบลดความชื้นก่อนนำเข้าโรงเก็บ
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม.
ในช่วงวันที่ 2-3 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย 40-60 % ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากตามบริเวณเทือกเขาและชายฝั่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ในช่วงวันที่ 4-8 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่ง ๆ 20-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-30 กม./ชม. ระยะนี้ยังคงมีฝนตก เกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนตกน้อยในระยะต่อไปด้วย
ใต้
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งถึงเป็นแห่งๆ 10-30% ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ 15-35 กม./ชม. ระยะนี้จะมีฝนลดลงกว่าระยะที่ผ่านมา ปริมาณฝนอาจไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช รวมทั้งไม้ผล ที่กำลังให้ผลผลิต เกษตรกรจึงควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืช และระวังการระบาดของศัตรูพืชชนิดต่างๆ
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-