นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยผลการประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council) ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2549 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย มีสาระสำคัญ สรุปได้ ดังนี้
1. การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 98.46 มาไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List) แล้ว โดยร้อยละ 99.77 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 และประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 90.96 มาไว้ในบัญชีลดภาษีแล้ว โดยร้อยละ 76.85 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 และในปี 2550 ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ จะลดภาษีสินค้าในบัญชีลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 จำนวนร้อยละ 80 ของรายการ ส่วนพม่าและกัมพูชาจะโอนสินค้ากลุ่มสุดท้ายในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราวมาสู่บัญชีลดภาษีทุกรายการ
2. การลดภาษีสินค้ายานยนต์ของมาเลเซีย
มาเลเซียได้มีการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้ AFTA ลงเหลือร้อยละ 0-5 แล้ว แต่ในขณะเดียวกันมาเลเซียได้กำหนดนโยบายยานยนต์แห่งชาติ (National Automotive Policy) ซึ่งเป็นมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศหลายประการ และที่สำคัญมีการกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Approved Permitted) ซึ่งเป็นการจำกัดโควต้าการนำเข้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้ายานยนต์ไปยังมาเลเซีย ซึ่งตามความตกลงของอาฟต้าระบุว่าประเทศสมาชิกต้องยกเลิกการกำหนดโควต้าทันทีที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศอื่น
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้มาเลเซียทราบว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ AFTA แก่สินค้ายานยนต์ของมาเลเซีย แต่ต้องการขอความชัดเจนในเรื่องการยกเลิกนโยบาย Approved Permitted ของมาเลเซียก่อน โดยไทยจะจัดคณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโดยกระทรวงอุตสาหกรรมไปหารือกับมาเลเซียเพื่อขอความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ประมาณต้นเดือนกันยายน 2549 ซึ่งหากมาเลเซียพร้อมจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวไทยก็จะลดภาษีให้เช่นกัน
3. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ AISP แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า สำหรับปี 2550 รวมทั้งสิ้น 1,539 รายการ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่นๆ โดยการให้ AISP นี้เป็นการให้ฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และในขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเหล่านี้ เพื่อใช้ในการผลิตต่อไป ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะมีผลไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
4. การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไป
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไป (General Exception List: GE List) ของประเทศสมาชิกที่จะโอนย้ายไปยังบัญชีลดภาษี (Inclusion List) รวมทั้ง แผนการลดภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าว ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ แต่สินค้าที่โอนย้ายออกจาก GE List จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ AFTA จากประเทศสมาชิกอื่นก็ต่อเมื่อมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 เท่านั้น
ทั้งนี้ การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไปในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากไทยไม่มีสินค้าอยู่ในบัญชียกเว้นทั่วไป ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นที่มีสินค้าอยู่ในบัญชีดังกล่าว จะต้องโอนย้ายสินค้าบางรายการมายังบัญชีลดภาษี ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกภายใต้ AFTA ได้มากขึ้น
5. แผนการดำเนินการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองแผนการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ซึ่งได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องทยอยยกเลิกมาตรการดังกล่าวเป็น 3 ระยะ ในช่วงปี 2551-2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม และช่วงปี 2556-2558 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ซึ่งกำหนดการยกเลิก NTBs นี้จะสอดคล้องกับการยกเลิกภาษีศุลกากรในอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดการค้าเสรีอย่างแท้จริงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ได้ขอความยืดหยุ่นที่จะยกเลิก NTB ช้ากว่าประเทศสมาชิกเดิม 5 ประเทศ อีก 2 ปี ที่ประชุมจึงมีมติให้ใช้นโยบาย ASEAN — X และนโยบายต่างตอบแทน (Reciprocity) กล่าวคือ ประเทศใดที่พร้อมดำเนินการได้ตามแผนการดังกล่าวก็ให้ดำเนินการไปได้ก่อน ประเทศที่ยังไม่พร้อมสามารถเข้าร่วมภายหลังได้ โดยในระหว่างที่ยังไม่ได้เข้าร่วมก็จะยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศอื่น
6. พิจารณาทบทวนแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าของการปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน เพื่อให้มีความทันสมัย และครอบคลุมหลักการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST) ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการได้แหล่งกำเนิดสินค้า และได้ให้นโยบายสำหรับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าในอาฟต้า และของเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ จะต้องสอดคล้องกันโดยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาฟต้าจะต้องเอื้อประโยชน์แก่กันมากที่สุด
7. ความร่วมมือด้านศุลกากร
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าของการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) ซึ่งจะมีการนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเพื่อพิจารณาลงนามโดยเร็วที่สุด และได้รับทราบว่า ขณะนี้ ได้มีการทดลองใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าอาเซียน (ASEAN Customs Declaration Document) ในประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศแล้ว นอกจากนี้ ได้แสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการพิจารณาพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน (ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature: AHTN) ฉบับปี 2550 (ค.ศ. 2007) ซึ่งจะมีการนำมาใช้ต่อไป
8. การค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ที่ประชุมได้รับทราบปริมาณการค้าโดยรวมของอาเซียน (ASEAN’s Global Trade) ว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 โดยในปี 2548 มูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 569.40 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2547 เป็น 646 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.05 ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 579.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีมูลค่า 502.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 สำหรับแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับโลกคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2549
สำหรับปริมาณการค้าระหว่างกันของประเทศอาเซียน (Intra-ASEAN) ในปี 2548 เป็นไปในแนวทางเดียวกับการค้าโดยรวมของอาเซียน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2547 มูลค่า 141.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น มูลค่า 163.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2548 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จาก 119.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2547 เป็นมูลค่า 142.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3
ทั้งนี้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยส่วนแบ่งปริมาณการค้าของอาเซียน (ส่งออก + นำเข้า) กับประเทศคู่ค้าดังกล่าว ในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.6, 12.5, 11.2 และ 9.3 ตามลำดับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2549 23 สิงหาคม 49--
1. การลดภาษีภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ขณะนี้ ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ (บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย) ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 98.46 มาไว้ในบัญชีลดภาษี (Inclusion List) แล้ว โดยร้อยละ 99.77 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 และประเทศสมาชิกใหม่ 4 ประเทศ (กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม) ได้นำสินค้าจำนวนร้อยละ 90.96 มาไว้ในบัญชีลดภาษีแล้ว โดยร้อยละ 76.85 ของจำนวนดังกล่าวมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 และในปี 2550 ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ จะลดภาษีสินค้าในบัญชีลดภาษีให้เหลือร้อยละ 0 จำนวนร้อยละ 80 ของรายการ ส่วนพม่าและกัมพูชาจะโอนสินค้ากลุ่มสุดท้ายในบัญชียกเว้นลดภาษีชั่วคราวมาสู่บัญชีลดภาษีทุกรายการ
2. การลดภาษีสินค้ายานยนต์ของมาเลเซีย
มาเลเซียได้มีการลดภาษีสินค้ายานยนต์ภายใต้ AFTA ลงเหลือร้อยละ 0-5 แล้ว แต่ในขณะเดียวกันมาเลเซียได้กำหนดนโยบายยานยนต์แห่งชาติ (National Automotive Policy) ซึ่งเป็นมาตรการปกป้องอุตสาหกรรมรถยนต์ภายในประเทศหลายประการ และที่สำคัญมีการกำหนดให้ต้องขอใบอนุญาตนำเข้า (Approved Permitted) ซึ่งเป็นการจำกัดโควต้าการนำเข้าที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกสินค้ายานยนต์ไปยังมาเลเซีย ซึ่งตามความตกลงของอาฟต้าระบุว่าประเทศสมาชิกต้องยกเลิกการกำหนดโควต้าทันทีที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากประเทศอื่น
ในการนี้ ฝ่ายไทยได้แจ้งให้มาเลเซียทราบว่า กระทรวงการคลังกำลังพิจารณาการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ AFTA แก่สินค้ายานยนต์ของมาเลเซีย แต่ต้องการขอความชัดเจนในเรื่องการยกเลิกนโยบาย Approved Permitted ของมาเลเซียก่อน โดยไทยจะจัดคณะผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำโดยกระทรวงอุตสาหกรรมไปหารือกับมาเลเซียเพื่อขอความชัดเจนในเรื่องดังกล่าว ประมาณต้นเดือนกันยายน 2549 ซึ่งหากมาเลเซียพร้อมจะยกเลิกมาตรการดังกล่าวไทยก็จะลดภาษีให้เช่นกัน
3. การให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากรภายใต้ AISP แก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน
ไทยได้ให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีศุลกากร (ASEAN Integration System of Preferences: AISP) แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ 3 ประเทศ ได้แก่ กัมพูชา ลาว และพม่า สำหรับปี 2550 รวมทั้งสิ้น 1,539 รายการ ซึ่งมากที่สุดเมื่อเทียบกับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิมอื่นๆ โดยการให้ AISP นี้เป็นการให้ฝ่ายเดียว ซึ่งเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดช่องว่างในการพัฒนาระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และในขณะเดียวกันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบการไทยในการนำเข้าวัตถุดิบราคาถูกจากประเทศเหล่านี้ เพื่อใช้ในการผลิตต่อไป ทั้งนี้ การให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวจะมีผลไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
4. การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไป
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไป (General Exception List: GE List) ของประเทศสมาชิกที่จะโอนย้ายไปยังบัญชีลดภาษี (Inclusion List) รวมทั้ง แผนการลดภาษีสำหรับสินค้าดังกล่าว ซึ่งประเทศสมาชิกจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในปี 2553 สำหรับสมาชิกเดิม 6 ประเทศ และภายในปี 2558 สำหรับสมาชิกใหม่ แต่สินค้าที่โอนย้ายออกจาก GE List จะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีภายใต้ AFTA จากประเทศสมาชิกอื่นก็ต่อเมื่อมีอัตราภาษีร้อยละ 0 — 5 เท่านั้น
ทั้งนี้ การทบทวนรายการสินค้าในบัญชียกเว้นทั่วไปในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยอย่างมาก เนื่องจากไทยไม่มีสินค้าอยู่ในบัญชียกเว้นทั่วไป ในขณะที่ประเทศสมาชิกอื่นที่มีสินค้าอยู่ในบัญชีดังกล่าว จะต้องโอนย้ายสินค้าบางรายการมายังบัญชีลดภาษี ทำให้ไทยมีโอกาสส่งออกภายใต้ AFTA ได้มากขึ้น
5. แผนการดำเนินการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับรองแผนการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers: NTBs) ซึ่งได้กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องทยอยยกเลิกมาตรการดังกล่าวเป็น 3 ระยะ ในช่วงปี 2551-2553 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม และช่วงปี 2556-2558 สำหรับประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ ซึ่งกำหนดการยกเลิก NTBs นี้จะสอดคล้องกับการยกเลิกภาษีศุลกากรในอาเซียน ซึ่งจะทำให้เกิดการค้าเสรีอย่างแท้จริงระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน
อย่างไรก็ตาม เนื่องจากประเทศฟิลิปปินส์ได้ขอความยืดหยุ่นที่จะยกเลิก NTB ช้ากว่าประเทศสมาชิกเดิม 5 ประเทศ อีก 2 ปี ที่ประชุมจึงมีมติให้ใช้นโยบาย ASEAN — X และนโยบายต่างตอบแทน (Reciprocity) กล่าวคือ ประเทศใดที่พร้อมดำเนินการได้ตามแผนการดังกล่าวก็ให้ดำเนินการไปได้ก่อน ประเทศที่ยังไม่พร้อมสามารถเข้าร่วมภายหลังได้ โดยในระหว่างที่ยังไม่ได้เข้าร่วมก็จะยังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์จากประเทศอื่น
6. พิจารณาทบทวนแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าของการปรับปรุงกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาเซียน เพื่อให้มีความทันสมัย และครอบคลุมหลักการแปรสภาพอย่างเพียงพอ (Substantial Transformation: ST) ซึ่งจะเป็นทางเลือกในการได้แหล่งกำเนิดสินค้า และได้ให้นโยบายสำหรับเจ้าหน้าที่อาวุโสพิจารณาการกำหนดแหล่งกำเนิดสินค้าในอาฟต้า และของเขตการค้าเสรีระหว่างอาเซียนกับประเทศคู่เจรจาต่างๆ จะต้องสอดคล้องกันโดยแหล่งกำเนิดสินค้าของอาฟต้าจะต้องเอื้อประโยชน์แก่กันมากที่สุด
7. ความร่วมมือด้านศุลกากร
คณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียนได้รับทราบความคืบหน้าของการจัดทำพิธีสารว่าด้วยการอำนวยความสะดวกด้านศุลกากรด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน (ASEAN Single Window) ซึ่งจะมีการนำเสนอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนเพื่อพิจารณาลงนามโดยเร็วที่สุด และได้รับทราบว่า ขณะนี้ ได้มีการทดลองใช้แบบฟอร์มใบขนสินค้าอาเซียน (ASEAN Customs Declaration Document) ในประเทศสมาชิกอาเซียนบางประเทศแล้ว นอกจากนี้ ได้แสดงความยินดีต่อความสำเร็จในการพิจารณาพิกัดศุลกากรฮาร์โมไนซ์อาเซียน (ASEAN Harmonised Tariff Nomenclature: AHTN) ฉบับปี 2550 (ค.ศ. 2007) ซึ่งจะมีการนำมาใช้ต่อไป
8. การค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน
ที่ประชุมได้รับทราบปริมาณการค้าโดยรวมของอาเซียน (ASEAN’s Global Trade) ว่ายังคงขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2545 โดยในปี 2548 มูลค่าการส่งออกได้เพิ่มขึ้นจากมูลค่า 569.40 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2547 เป็น 646 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.05 ในขณะเดียวกัน มูลค่าการนำเข้าก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยในปี 2548 มีมูลค่าการนำเข้าทั้งสิ้น 579.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ที่มีมูลค่า 502.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4 สำหรับแนวโน้มการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนกับโลกคาดว่าจะมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่องตลอดปี 2549
สำหรับปริมาณการค้าระหว่างกันของประเทศอาเซียน (Intra-ASEAN) ในปี 2548 เป็นไปในแนวทางเดียวกับการค้าโดยรวมของอาเซียน โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้นจากปี 2547 มูลค่า 141.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เป็น มูลค่า 163.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2548 คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.9 ส่วนมูลค่าการนำเข้าในปี 2548 มีมูลค่าเพิ่มขึ้น จาก 119.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ เมื่อปี 2547 เป็นมูลค่า 142.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.3
ทั้งนี้ ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และจีน ยังคงเป็นคู่ค้าที่สำคัญของอาเซียน โดยส่วนแบ่งปริมาณการค้าของอาเซียน (ส่งออก + นำเข้า) กับประเทศคู่ค้าดังกล่าว ในปี 2548 คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 12.6, 12.5, 11.2 และ 9.3 ตามลำดับ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 79/2549 23 สิงหาคม 49--