สถานการณ์ภัยแล้งภาคอีสานยังวิกฤต ล่าสุดที่บุรีรัมย์ส่อเค้ารุนแรงมากขึ้น ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อนกว่า 100 ครัวเรือน วอนภาครัฐยื่นมือช่วยเหลือ ด้านฝั่งเมืองโคราชปริมาณน้ำยังไม่น่าห่วง แต่เพื่อความปลอดภัย จึงขอให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการใช้น้ำทุกระยะ หากเกิดปัญหาพร้อมช่วยทันที
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากวิกฤตภัยแล้งหลังฤดูหนาวที่ส่อเค้าอย่างหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ประชาชน บ้านตาหล่ำ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง กว่า 100 ครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก แหล่งน้ำที่ใช้ ในการผลิตประปาหมู่บ้านใกล้แห้งขอด น้ำมีสภาพเหลืองเป็นขุ่นโคลน ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ซึ่งผู้ที่พอจะมีรายได้ก็ต้องสั่งซื้อน้ำมาจากรถเร่ที่นำมาขายในหมู่บ้านราคาถังละ 250 บาท จึงวอนให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาสำรวจแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป
โดยล่าสุดจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศเขตพื้นที่แห้งแล้งรวม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคูเมือง นาโพธิ์ บ้านใหม่ไชยพจน์ พุทธไธสง ละหานทราย และแคนดง ที่ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จัดเตรียมภาชนะกักเก็บน้ำที่มีอยู่เพื่อรองรับน้ำที่ทางหน่วยงานราชการภายในจังหวัดจะได้เข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ก่อน ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดนครราชสีมา ปริมาณน้ำจัดเก็บในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เขื่อนลำแซะ และเขื่อนลำเชียงไกร ยังจัดว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงชาวโคราชได้ยาวนานถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2550 จึงไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องนี้มากเท่าใดนัก แต่เพื่อความไม่ประมาทในพื้นที่นอกเขื่อนที่อยู่ในต่างอำเภอ / กิ่งอำเภอ ที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งในรอบปีที่ผ่านมา จึงให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคตลอดเวลาและรายงานให้ทราบทุกระยะ หากเขตพื้นที่ใดประสบปัญหาก็จะสามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที นายอุดมกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-
นายอุดม สิทธิเดช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 5 (สศข.5) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากวิกฤตภัยแล้งหลังฤดูหนาวที่ส่อเค้าอย่างหนักในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะในจังหวัดบุรีรัมย์ เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ประชาชน บ้านตาหล่ำ ตำบลหินเหล็กไฟ อำเภอคูเมือง กว่า 100 ครัวเรือนได้รับผลกระทบอย่างหนัก แหล่งน้ำที่ใช้ ในการผลิตประปาหมู่บ้านใกล้แห้งขอด น้ำมีสภาพเหลืองเป็นขุ่นโคลน ไม่สามารถนำมาบริโภคได้ ซึ่งผู้ที่พอจะมีรายได้ก็ต้องสั่งซื้อน้ำมาจากรถเร่ที่นำมาขายในหมู่บ้านราคาถังละ 250 บาท จึงวอนให้หน่วยงานภาครัฐเข้ามาสำรวจแก้ไขปัญหาในระยะยาวต่อไป
โดยล่าสุดจังหวัดบุรีรัมย์ได้ประกาศเขตพื้นที่แห้งแล้งรวม 6 อำเภอ ได้แก่ อำเภอคูเมือง นาโพธิ์ บ้านใหม่ไชยพจน์ พุทธไธสง ละหานทราย และแคนดง ที่ต้องให้ความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน ซึ่งได้มีการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว จัดเตรียมภาชนะกักเก็บน้ำที่มีอยู่เพื่อรองรับน้ำที่ทางหน่วยงานราชการภายในจังหวัดจะได้เข้าไปช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ก่อน ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งที่จังหวัดนครราชสีมา ปริมาณน้ำจัดเก็บในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง เขื่อนลำแซะ และเขื่อนลำเชียงไกร ยังจัดว่ามีปริมาณเพียงพอที่จะหล่อเลี้ยงชาวโคราชได้ยาวนานถึงเดือนพฤษภาคม ปี 2550 จึงไม่น่าเป็นห่วงในเรื่องนี้มากเท่าใดนัก แต่เพื่อความไม่ประมาทในพื้นที่นอกเขื่อนที่อยู่ในต่างอำเภอ / กิ่งอำเภอ ที่เคยประสบปัญหาภัยแล้งในรอบปีที่ผ่านมา จึงให้หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องสำรวจความต้องการน้ำเพื่อใช้อุปโภคบริโภคตลอดเวลาและรายงานให้ทราบทุกระยะ หากเขตพื้นที่ใดประสบปัญหาก็จะสามารถช่วยเหลือได้อย่างทันท่วงที นายอุดมกล่าว
--สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร--
-พห-