ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.ระบุการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการส่งออกไม่มากนัก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ฐานดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อนหน้า
โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ปี 48 ทั้งปี ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง
3,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. และอีกปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นคือเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร
โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีมีเงินทุนไหลเข้าถึง 9,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าเงินทุนที่ไหลเข้ามาเมื่อปีที่ผ่านมาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม
แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างมากจากปลายปีที่แล้วถึง 12.8% แต่หากเทียบกับตั้งแต่ต้นปี 48 จะพบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 7.66% เท่านั้น
และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น เช่น เกาหลีและฟิลิปปินส์ จึงไม่น่ากังวลมากนัก
นอกจากนี้ ผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทต่อการส่งออกยังมีน้อยกว่าผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออก โดยจากการ
ศึกษาพบว่า หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะส่งผลกระทบทำให้การส่งออกรวมลดลง 0.1% ขณะที่หากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอลง 1% จะทำให้
การส่งออกรวมลดลง 1.44% ในทางตรงข้ามการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลับส่งผลดีต่อราคาน้ำมัน โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 1 บาท จะทำให้ราคา
น้ำมันลดลงลิตรละ 40 สตางค์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนสินค้านำเข้าต่างๆ และทำให้ภาระหนี้ของไทยลดลงด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด,
ไทยโพสต์, เดลินิวส์)
2. รมว.คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยภายหลังการปฏิรูปการเมือง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง กล่าวเปิด
การสัมมนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “เศรษฐกิจหลังปฏิรูป : ร่อแร่...หรือรุ่งเรือง” ซึ่งจัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยเชื่อมั่น
ว่าเศรษฐกิจไทยไม่มีทางร่อแร่แน่นอน แต่จะรุ่งเรืองแค่ไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย พร้อมทั้งกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐในระยะต่อไป
ว่า ภาครัฐจะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านการลงทุน แต่จะปล่อยให้เอกชนมีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น โดยภาครัฐจะเข้าไปกำกับดูแลและช่วยลด
อุปสรรคด้านการลงทุน นอกจากนี้ ในด้านการคลัง เป็นที่แน่ชัดว่า ในปี งปม.50 จะใช้ งปม.แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากจีดีพี
อาจชะลอตัว สาเหตุเพราะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ปัญหาการเมือง และการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คาดว่าอัตราการขยายตัวของเอสเอ็มอีในปี 49 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงาน
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในปี 49
นี้จะอยู่ในระดับ 4% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ที่ 6% และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปี 50 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบกับอัตราการขยาย
ตัวดังกล่าว มาจากปัญหาด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยน จึง
ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาเอสเอ็มอีของไทยในปี 50 ยังจะมุ่งเน้นการ
ให้ความรู้และการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ให้ดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (โลกวันนี้)
4. คาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบปี 49 จะขยายตัว 10-12% บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า คาดว่าช่วงที่เหลือ
ของปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะชะลอลง สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เนื่องจากผู้ซื้อ
กังวลเรื่องรายได้ในอนาคต ในทางตรงข้ามหากเศรษฐกิจปีหน้าปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น และปัจจัยลบที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเริ่มผ่อนคลายลง ก็น่า
จะทำให้เกิดความมั่นใจต่อความมั่นคงทางรายได้ในอนาคตมากขึ้น โดยคาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งระบบในปีนี้จะขยายตัว 10-12% หรือมีมูลค่า
1,333-1,357 ล.บาท จากปีก่อนที่มีเพียง 1,212 ล.บาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การลงทุนในภาคธุรกิจของอังกฤษในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 3.1 เทียบต่อไตรมาส รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 23 พ.ย.49 สำนักงานสถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า การลงทุนในภาคธุรกิจของอังกฤษในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่
จำนวน 31 พัน ล.ปอนด์ (59.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อไตรมาส หลังจากเพิ่มขึ้น 30.089 พัน ล.ปอนด์
ในไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 และหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ายังคงอยู่ที่ระดับเดิม คือ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ ตัวเลขชี้วัดดังกล่าวสะท้อนว่าภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งยืนยันมุมมองของ ธ.กลางอังกฤษว่า การ
ลงทุนในภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ชะลอตัวในปี 48 (รอยเตอร์)
2. ผู้ส่งออกเยอรมนีสามารถรับมือกับค่าเงินยูโรที่ระดับต่ำกว่า 1.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร รายงานจากลอนดอน เมื่อ
23 พ.ย.49 นักวิเคราะห์จากสถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกเยอรมนีสามารถรับมือกับระดับค่าเงินยูโรปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 1.30 ดอลลาร์
สรอ.ต่อยูโร แต่หากเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 1.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรแล้ว จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ส่งออกในประเทศสเปน
ฝรั่งเศส และอิตาลี นอกจากนี้ Ifo ยังได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจ (ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจประมาณ
7,000 แห่ง) ในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 106.8 จากระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค.49 อันเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49
และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีพุ่งขึ้นอยู่ที่ระดับ 106.8 สูงสุดในรอบ 15 ปีครึ่ง รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 พ.ย.49 สถาบันวิจัย Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นเกินคาดใน
เดือน พ.ย. และข้อมูลก็แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ช่วยสนับสนุนความเห็นที่ว่าอัตราดอกเบี้ยของเขตยูโรจะปรับขึ้น
ต่อเนื่องในปีหน้า โดยดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจที่ใช้ฐานข้อมูลจากผลสำรวจความคิดเห็นรายเดือนของบริษัทประมาณ 7,000 แห่ง พุ่งขึ้นอยู่ที่
ระดับ 106.8 จากระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค. เท่ากับเดือน มิ.ย. ที่เป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีครึ่ง สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
ดัชนีจะลดลงอยู่ที่ระดับ 105.2 ส่วนข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีก็แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ด้านการส่งออก
และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาส 3 นับเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 7 ไตรมาส และนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าข้อมูลหลายอย่างเน้นย้ำ
ถึงการส่งออกที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมถึงเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม รายงานได้แสดงความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับการขึ้นภาษี
มูลค่าเพิ่มที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้า แต่ก็ยังคงมีมุมมองที่ดีว่าเยอรมนีจะยังคงรักษาภาวะสมดุลในปัจจุบันไปจนถึง
ปีหน้าได้ ด้าน ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมร้อยละ 1.25 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับ
อัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า แม้ว่าในช่วง
ดังกล่าวเยอรมนีจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงอาจส่งผลกระทบถึงเยอรมนีด้วยก็ตาม (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของมาเลเซียในไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 5.8 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 23 พ.ย.49 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางของมาเลเซีย กล่าวว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส
3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.7 แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่ง
เศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงอีกเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยใน
ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำแล้วและยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจได้ ยกเว้นแต่จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ด้านนักเศรษฐศาสตร์
บางคนกล่าวว่ามาเลเซียอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้าเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ
ชะลอตัว ในขณะที่แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงทำให้มาเลเซียสามารถคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไว้ได้เพื่อกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของมาเลเซียอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของเอเชีย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 พ.ย. 49 23 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.547 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3555/36.6548 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.92/14.20 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.94 56.03 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.ระบุการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการส่งออกไม่มากนัก ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา เป็นผลมาจากพื้นฐานเศรษฐกิจไทยที่ฐานดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลเพิ่มขึ้นมากจากปีก่อนหน้า
โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีนี้ ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุล 2,800 ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ปี 48 ทั้งปี ดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลถึง
3,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. และอีกปัจจัยที่ทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นคือเงินทุนไหลเข้า โดยเฉพาะเงินทุนที่ไหลเข้ามาในภาคธุรกิจที่ไม่ใช่ธนาคาร
โดยในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปีมีเงินทุนไหลเข้าถึง 9,700 ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าเงินทุนที่ไหลเข้ามาเมื่อปีที่ผ่านมาอย่างมาก อย่างไรก็ตาม
แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นอย่างมากจากปลายปีที่แล้วถึง 12.8% แต่หากเทียบกับตั้งแต่ต้นปี 48 จะพบว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นเพียง 7.66% เท่านั้น
และเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาค จะเห็นว่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นน้อยกว่าประเทศอื่น เช่น เกาหลีและฟิลิปปินส์ จึงไม่น่ากังวลมากนัก
นอกจากนี้ ผลกระทบของการแข็งค่าของเงินบาทต่อการส่งออกยังมีน้อยกว่าผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีผลต่อการส่งออก โดยจากการ
ศึกษาพบว่า หากเงินบาทแข็งค่าขึ้น 1% จะส่งผลกระทบทำให้การส่งออกรวมลดลง 0.1% ขณะที่หากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าชะลอลง 1% จะทำให้
การส่งออกรวมลดลง 1.44% ในทางตรงข้ามการที่เงินบาทแข็งค่าขึ้นกลับส่งผลดีต่อราคาน้ำมัน โดยเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น 1 บาท จะทำให้ราคา
น้ำมันลดลงลิตรละ 40 สตางค์ อีกทั้งยังช่วยลดต้นทุนสินค้านำเข้าต่างๆ และทำให้ภาระหนี้ของไทยลดลงด้วย (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด,
ไทยโพสต์, เดลินิวส์)
2. รมว.คลังเชื่อมั่นเศรษฐกิจไทยภายหลังการปฏิรูปการเมือง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม.และ รมว.คลัง กล่าวเปิด
การสัมมนาและปาฐกถาพิเศษหัวข้อ “เศรษฐกิจหลังปฏิรูป : ร่อแร่...หรือรุ่งเรือง” ซึ่งจัดโดยสมาคมเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ โดยเชื่อมั่น
ว่าเศรษฐกิจไทยไม่มีทางร่อแร่แน่นอน แต่จะรุ่งเรืองแค่ไหนขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย พร้อมทั้งกล่าวถึงแนวทางการดำเนินงานของภาครัฐในระยะต่อไป
ว่า ภาครัฐจะไม่ทำหน้าที่เป็นผู้นำด้านการลงทุน แต่จะปล่อยให้เอกชนมีบทบาทในการลงทุนมากขึ้น โดยภาครัฐจะเข้าไปกำกับดูแลและช่วยลด
อุปสรรคด้านการลงทุน นอกจากนี้ ในด้านการคลัง เป็นที่แน่ชัดว่า ในปี งปม.50 จะใช้ งปม.แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เนื่องจากจีดีพี
อาจชะลอตัว สาเหตุเพราะราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น ปัญหาการเมือง และการบริโภคในประเทศที่ชะลอตัว (กรุงเทพธุรกิจ, โลกวันนี้)
3. คาดว่าอัตราการขยายตัวของเอสเอ็มอีในปี 49 จะต่ำกว่าเป้าหมายที่กำหนด นางจิตราภรณ์ เตชาชาญ ผู้อำนวยการสำนักงาน
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ในปี 49
นี้จะอยู่ในระดับ 4% ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่เคยตั้งไว้ที่ 6% และคาดว่าจะต่อเนื่องไปจนถึงปี 50 โดยปัจจัยสำคัญที่ส่งผลกระทบกับอัตราการขยาย
ตัวดังกล่าว มาจากปัญหาด้านราคาน้ำมันและอัตราดอกเบี้ยที่ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับสถานการณ์ทางการเมืองที่อยู่ในช่วงของการปรับเปลี่ยน จึง
ทำให้ยอดการจำหน่ายสินค้าของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีอยู่ในภาวะชะลอตัว ทั้งนี้ เป้าหมายการพัฒนาเอสเอ็มอีของไทยในปี 50 ยังจะมุ่งเน้นการ
ให้ความรู้และการพัฒนาประสิทธิภาพเพื่อลดต้นทุนการผลิต รวมถึงส่งเสริมผู้ประกอบการใหม่ให้ดำเนินการตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (โลกวันนี้)
4. คาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยทั้งระบบปี 49 จะขยายตัว 10-12% บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เปิดเผยว่า คาดว่าช่วงที่เหลือ
ของปีนี้ ธุรกิจสินเชื่อที่อยู่อาศัยน่าจะชะลอลง สืบเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ยังชะลอตัว ส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค เนื่องจากผู้ซื้อ
กังวลเรื่องรายได้ในอนาคต ในทางตรงข้ามหากเศรษฐกิจปีหน้าปรับตัวในทิศทางที่ดีขึ้น และปัจจัยลบที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อเริ่มผ่อนคลายลง ก็น่า
จะทำให้เกิดความมั่นใจต่อความมั่นคงทางรายได้ในอนาคตมากขึ้น โดยคาดว่าสินเชื่อที่อยู่อาศัยใหม่ทั้งระบบในปีนี้จะขยายตัว 10-12% หรือมีมูลค่า
1,333-1,357 ล.บาท จากปีก่อนที่มีเพียง 1,212 ล.บาท (เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. การลงทุนในภาคธุรกิจของอังกฤษในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปีที่ร้อยละ 3.1 เทียบต่อไตรมาส รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 23 พ.ย.49 สำนักงานสถิติอังกฤษ เปิดเผยว่า การลงทุนในภาคธุรกิจของอังกฤษในไตรมาส 3 ปี 49 เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 2 ปี ที่
จำนวน 31 พัน ล.ปอนด์ (59.4 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ.) หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 เมื่อเทียบต่อไตรมาส หลังจากเพิ่มขึ้น 30.089 พัน ล.ปอนด์
ในไตรมาสก่อนหน้า นับเป็นการเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นไตรมาสที่ 7 และหากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้ายังคงอยู่ที่ระดับเดิม คือ เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.9 ทั้งนี้ ตัวเลขชี้วัดดังกล่าวสะท้อนว่าภาคธุรกิจมีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น รวมทั้งยืนยันมุมมองของ ธ.กลางอังกฤษว่า การ
ลงทุนในภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นหลังจากที่ชะลอตัวในปี 48 (รอยเตอร์)
2. ผู้ส่งออกเยอรมนีสามารถรับมือกับค่าเงินยูโรที่ระดับต่ำกว่า 1.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโร รายงานจากลอนดอน เมื่อ
23 พ.ย.49 นักวิเคราะห์จากสถาบัน Ifo เปิดเผยว่า ผู้ส่งออกเยอรมนีสามารถรับมือกับระดับค่าเงินยูโรปัจจุบันที่อยู่ที่ประมาณ 1.30 ดอลลาร์
สรอ.ต่อยูโร แต่หากเพิ่มขึ้นอยู่เหนือระดับ 1.35 ดอลลาร์ สรอ.ต่อยูโรแล้ว จะส่งผลกระทบต่อผู้ส่งออก โดยเฉพาะผู้ส่งออกในประเทศสเปน
ฝรั่งเศส และอิตาลี นอกจากนี้ Ifo ยังได้เปิดเผยตัวเลขดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจ (ซึ่งเป็นการสำรวจความคิดเห็นของภาคธุรกิจประมาณ
7,000 แห่ง) ในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 106.8 จากระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค.49 อันเป็นตัวเลขสูงสุดตั้งแต่เดือน มิ.ย.49
และเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีพุ่งขึ้นอยู่ที่ระดับ 106.8 สูงสุดในรอบ 15 ปีครึ่ง รายงานจากกรุงเบอร์ลิน
ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่ 23 พ.ย.49 สถาบันวิจัย Ifo ของเยอรมนี เปิดเผยว่า บรรยากาศทางธุรกิจของเยอรมนีปรับตัวดีขึ้นเกินคาดใน
เดือน พ.ย. และข้อมูลก็แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจในไตรมาส 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้น ช่วยสนับสนุนความเห็นที่ว่าอัตราดอกเบี้ยของเขตยูโรจะปรับขึ้น
ต่อเนื่องในปีหน้า โดยดัชนีชี้วัดบรรยากาศทางธุรกิจที่ใช้ฐานข้อมูลจากผลสำรวจความคิดเห็นรายเดือนของบริษัทประมาณ 7,000 แห่ง พุ่งขึ้นอยู่ที่
ระดับ 106.8 จากระดับ 105.3 ในเดือน ต.ค. เท่ากับเดือน มิ.ย. ที่เป็นระดับสูงสุดในรอบ 15 ปีครึ่ง สวนทางกับที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า
ดัชนีจะลดลงอยู่ที่ระดับ 105.2 ส่วนข้อมูลจาก สนง.สถิติแห่งชาติของเยอรมนีก็แสดงให้เห็นว่าการบริโภคภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ด้านการส่งออก
และการลงทุนขยายตัวร้อยละ 0.6 ในไตรมาส 3 นับเป็นการขยายตัวติดต่อกัน 7 ไตรมาส และนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่าข้อมูลหลายอย่างเน้นย้ำ
ถึงการส่งออกที่ขยายตัวอย่างกว้างขวางรวมถึงเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม รายงานได้แสดงความกังวลอยู่บ้างเกี่ยวกับการขึ้นภาษี
มูลค่าเพิ่มที่อาจส่งผลกระทบต่ออัตราการเติบโตของเศรษฐกิจในปีหน้า แต่ก็ยังคงมีมุมมองที่ดีว่าเยอรมนีจะยังคงรักษาภาวะสมดุลในปัจจุบันไปจนถึง
ปีหน้าได้ ด้าน ธ.กลางของสหภาพยุโรปที่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยไปแล้วรวมร้อยละ 1.25 นับตั้งแต่เดือน ธ.ค.48 ได้ส่งสัญญาณว่าอาจมีการปรับ
อัตราดอกเบี้ยขึ้นอีกในการประชุมเดือนหน้า ขณะที่ตลาดคาดการณ์ว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกครั้งในช่วงไตรมาสแรกปีหน้า แม้ว่าในช่วง
ดังกล่าวเยอรมนีจะมีการปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มและเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงอาจส่งผลกระทบถึงเยอรมนีด้วยก็ตาม (รอยเตอร์)
4. จีดีพีของมาเลเซียในไตรมาส 3 ขยายตัวร้อยละ 5.8 สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เล็กน้อย รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์
ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 23 พ.ย.49 Zeti Akhtar Aziz ผู้ว่าการ ธ.กลางของมาเลเซีย กล่าวว่า เศรษฐกิจของมาเลเซียในไตรมาส
3 ปีนี้ขยายตัวร้อยละ 5.8 เทียบกับปีก่อน สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ร้อยละ 5.7 แต่ชะลอตัวลงจากไตรมาส 2 ที่ขยายตัวร้อยละ 6.2 ซึ่ง
เศรษฐกิจในขณะนี้ยังไม่มีความจำเป็นต้องลดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงอีกเพื่อสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ทั้งนี้ เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยใน
ปัจจุบันอยู่ในระดับต่ำแล้วและยังคงเป็นปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจได้ ยกเว้นแต่จะมีข้อมูลใหม่เข้ามาแสดงให้เห็นเป็นอย่างอื่น ด้านนักเศรษฐศาสตร์
บางคนกล่าวว่ามาเลเซียอาจจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงในปีหน้าเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจ เนื่องจากการส่งออกและการบริโภคภายในประเทศ
ชะลอตัว ในขณะที่แรงกดดันจากภาวะเงินเฟ้อที่ลดลงทำให้มาเลเซียสามารถคงอัตราดอกเบี้ยในระดับต่ำไว้ได้เพื่อกระตุ้นให้มีการบริโภคเพิ่มขึ้น
ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยนโยบายของมาเลเซียอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.50 ซึ่งอยู่ในกลุ่มต่ำสุดของเอเชีย (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 24 พ.ย. 49 23 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.547 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3555/36.6548 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 728.92/14.20 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,850/10,950 10,800/10,900 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.94 56.03 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.69*/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--