กรุงเทพ--9 ส.ค.--กระทรวงการต่างประเทศ
ในวันที่ 9 สิงหาคม ศกนี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 9 ของกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือ BIMSTEC ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งกรอบนี้ มีประเทศอ่าวเบงกอลเป็นสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน โดยในวันที่ 8 สิงหาคม ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่ง ดร.กันตธีร์ฯ ได้ใช้โอกาสนี้พบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของอินเดีย
การประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ๆ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐมนตรี ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือในสาขาต่างๆ รวมทั้งประเด็นของการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMSTEC ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญของ BIMSTEC ขึ้นเพื่อพิจารณาประเด็นนี้เป็นการเฉพาะ ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-26 สิงหาคม 2549 นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมการประชุมสุดยอดของ BIMSTEC ครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นต้นปีหน้า (2550) ที่ประเทศอินเดียเช่นกัน
BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีเดียวกัน จากนั้น ในปี 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าเป็นสมาชิก ที่ประชุมผู้นำครั้งแรกเมื่อปี 2547 จึงได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation Ministerial Meeting) เพื่อสะท้อนสาระของกรอบความร่วมมือฯ
BIMSTEC เริ่มต้นจากความร่วมมือเพียง 6 สาขา ปัจจุบันขยายมากถึง 13 สาขา ครอบคลุมความร่วมมือแทบทุกด้าน ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ไทยมีบทบาทนำใน 3 สาขาหลัก ได้แก่ ประมง สาธารณสุข และปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ในวันที่ 9 สิงหาคม ศกนี้ ดร. กันตธีร์ ศุภมงคล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะเข้าร่วมการประชุมรัฐมนตรีครั้งที่ 9 ของกรอบความริเริ่มแห่งอ่าวเบงกอลสำหรับความร่วมมือหลากหลายสาขาทางวิชาการและเศรษฐกิจ หรือ BIMSTEC ที่กรุงนิวเดลี ประเทศอินเดีย ซึ่งกรอบนี้ มีประเทศอ่าวเบงกอลเป็นสมาชิก 7 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ อินเดีย พม่า ศรีลังกา ไทย เนปาล และภูฏาน โดยในวันที่ 8 สิงหาคม ได้มีการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสเพื่อเตรียมการประชุมระดับรัฐมนตรี ซึ่ง ดร.กันตธีร์ฯ ได้ใช้โอกาสนี้พบปะหารือทวิภาคีกับรัฐมนตรีช่วยต่างประเทศของอินเดีย
การประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ ๆ ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐมนตรี ได้แก่ การติดตามความคืบหน้าของความร่วมมือในสาขาต่างๆ รวมทั้งประเด็นของการจัดตั้งสำนักเลขาธิการถาวรของ BIMSTEC ซึ่งไทยได้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระดับผู้เชี่ยวชาญของ BIMSTEC ขึ้นเพื่อพิจารณาประเด็นนี้เป็นการเฉพาะ ที่กรุงเทพฯ ระหว่างวันที่ 25-26 สิงหาคม 2549 นอกจากนี้ยังเป็นการเตรียมการประชุมสุดยอดของ BIMSTEC ครั้งที่ 2 ซึ่งกำหนดจะจัดขึ้นต้นปีหน้า (2550) ที่ประเทศอินเดียเช่นกัน
BIMSTEC เป็นกรอบความร่วมมือเดียวที่เชื่อมอนุภูมิภาคเอเชียใต้กับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2540 ภายใต้ชื่อ BIST-EC (Bangladesh-India-Sri Lanka-Thailand Economic Cooperation) ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMST-EC เมื่อพม่าเข้าร่วมเป็นสมาชิกในปีเดียวกัน จากนั้น ในปี 2546 เนปาลและภูฏานได้เข้าเป็นสมาชิก ที่ประชุมผู้นำครั้งแรกเมื่อปี 2547 จึงได้มีมติให้เปลี่ยนชื่อเป็น BIMSTEC (Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic Cooperation Ministerial Meeting) เพื่อสะท้อนสาระของกรอบความร่วมมือฯ
BIMSTEC เริ่มต้นจากความร่วมมือเพียง 6 สาขา ปัจจุบันขยายมากถึง 13 สาขา ครอบคลุมความร่วมมือแทบทุกด้าน ทั้งการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม ไทยมีบทบาทนำใน 3 สาขาหลัก ได้แก่ ประมง สาธารณสุข และปฏิสัมพันธ์ระดับประชาชน
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5170 โทรสาร. 643-5169 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-