คุณถาม : อยากทราบโอกาสและกลยุทธ์ในการเจาะตลาดเวียดนาม
EXIM ตอบ : ปัจจุบันการส่งออกสินค้าไทยไปเวียดนามมีแนวโน้มสดใสขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญดังนี้
- เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งเงินกลับประเทศของชาวเวียดนามโพ้นทะเล ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเวียดนามมีมากขึ้น
- เวียดนามต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามพันธกรณีข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff : CEPT)ภายใต้ข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area : AFTA)เหลือ 0-5% ในปี 2549 โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ น้ำมันพืช ขนมขบเคี้ยว ผักผลไม้แปรรูป เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง เครื่องแก้ว เป็นต้น ส่งผลให้สินค้าไทยหลายรายการมีแนวโน้มขยายการส่งออกไปตลาดเวียดนามได้มากขึ้น
- รสนิยมของชาวเวียดนามคล้ายคลึงกับของไทยมาก ประกอบกับชาวเวียดนามส่วนใหญ่มองว่าสินค้าไทยมีคุณภาพสูงและมีตราสินค้า (Brand Name)ที่ได้รับความนิยม ทำให้สินค้าส่งออกหลายชนิดของไทยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดเวียดนาม
สำหรับกลยุทธ์ในการเจาะตลาดเวียดนามที่สำคัญมีดังนี้
- ประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคใรตลาดเวียดนามมีความน่าสนใจและนิยมสินค้าที่มีตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าของไทยเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นในตลาดเวียดนาม เช่น การโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ การแจกตัวอย่างทดลองใช้ การออกงานแสดงสินค้า เป็นต้น
- เลือกแนวทางดำเนินธุรกิจให้เหมาะสม โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ตลอดจนคู่แข่งโดยเฉพาะจากจีนซึ่งปัจจุบันมีสินค้าหลั่งไหลเข้าไปในเวียดนามเป็นจำนวนมาก ขณะที่ราคาจำหน่ายถูกกว่าสินค้าไทยอย่างเห็นได้ชัดขณะเดียวกันควรหามาตรการตั้งรับผลกระทบที่อาจเกิดจากการแข่งขันที่นับวันจะรุนแรงขึ้นควบคู่กันไป
- ศึกษาและติดตามข้อมูลด้านกฎระเบียบของเวียดนามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกฎระเบียบของเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ผู้ส่งออกจึงควรให้ความสำคัญและเคร่งครัดกับระเบียบทั้งในภาพรวม รวมทั้งระเบียบปฏิบัติและข้อพึงระวังของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-
EXIM ตอบ : ปัจจุบันการส่งออกสินค้าไทยไปเวียดนามมีแนวโน้มสดใสขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยมีปัจจัยเกื้อหนุนที่สำคัญดังนี้
- เวียดนามเป็นประเทศที่มีอัตราขยายตัวทางเศรษฐกิจสูง ประกอบกับประชากรมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องโดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการส่งเงินกลับประเทศของชาวเวียดนามโพ้นทะเล ทำให้ความต้องการบริโภคสินค้าและการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในเวียดนามมีมากขึ้น
- เวียดนามต้องปรับลดอัตราภาษีนำเข้าตามพันธกรณีข้อตกลงว่าด้วยการใช้อัตราภาษีศุลกากรพิเศษที่เท่ากัน (Agreement on the Common Effective Preferential Tariff : CEPT)ภายใต้ข้อผูกพันเขตการค้าเสรีอาเซียน(ASEAN Free Trade Area : AFTA)เหลือ 0-5% ในปี 2549 โดยเฉพาะสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ น้ำมันพืช ขนมขบเคี้ยว ผักผลไม้แปรรูป เครื่องหนัง เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องสำอาง เครื่องแก้ว เป็นต้น ส่งผลให้สินค้าไทยหลายรายการมีแนวโน้มขยายการส่งออกไปตลาดเวียดนามได้มากขึ้น
- รสนิยมของชาวเวียดนามคล้ายคลึงกับของไทยมาก ประกอบกับชาวเวียดนามส่วนใหญ่มองว่าสินค้าไทยมีคุณภาพสูงและมีตราสินค้า (Brand Name)ที่ได้รับความนิยม ทำให้สินค้าส่งออกหลายชนิดของไทยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในตลาดเวียดนาม
สำหรับกลยุทธ์ในการเจาะตลาดเวียดนามที่สำคัญมีดังนี้
- ประชาสัมพันธ์สินค้าไทยให้เป็นที่รู้จัก เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคใรตลาดเวียดนามมีความน่าสนใจและนิยมสินค้าที่มีตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าต่างประเทศ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการประชาสัมพันธ์และจัดกิจกรรมส่งเสริมการตลาดอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ตราสินค้าหรือเครื่องหมายการค้าของไทยเป็นที่รู้จักและนิยมมากขึ้นในตลาดเวียดนาม เช่น การโฆษณาตามสื่อต่าง ๆ การแจกตัวอย่างทดลองใช้ การออกงานแสดงสินค้า เป็นต้น
- เลือกแนวทางดำเนินธุรกิจให้เหมาะสม โดยพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ ทั้งที่เป็นจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเอง ตลอดจนคู่แข่งโดยเฉพาะจากจีนซึ่งปัจจุบันมีสินค้าหลั่งไหลเข้าไปในเวียดนามเป็นจำนวนมาก ขณะที่ราคาจำหน่ายถูกกว่าสินค้าไทยอย่างเห็นได้ชัดขณะเดียวกันควรหามาตรการตั้งรับผลกระทบที่อาจเกิดจากการแข่งขันที่นับวันจะรุนแรงขึ้นควบคู่กันไป
- ศึกษาและติดตามข้อมูลด้านกฎระเบียบของเวียดนามอย่างใกล้ชิด เนื่องจากกฎระเบียบของเวียดนามมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง ผู้ส่งออกจึงควรให้ความสำคัญและเคร่งครัดกับระเบียบทั้งในภาพรวม รวมทั้งระเบียบปฏิบัติและข้อพึงระวังของธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย พฤษภาคม 2549--
-วส/พห-