สรุปผลงานเด่นๆ ของผู้จัดการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษาในปีงบประมาณ 2549

ข่าวเศรษฐกิจ Tuesday October 24, 2006 08:36 —กระทรวงการคลัง

          1.  ได้บริหารงานของ กยศ. กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า เป็นไปตามเป้าหมายที่ได้วางแผนไว้ ซึ่งเป็นแผนที่สามารถประเมินได้โดยมีตัวชี้วัดตามที่ได้เสนอท้าทายกับ TRIS และได้ผ่านผลการประเมินโดยได้คะแนน 4.6438 คะแนน ทั้งที่เป็นการถูกประเมินเป็นครั้งแรก
2. ได้ดำเนินการตามแผนทำให้เกิดผลในทางปฏิบัติ โดยสามารถแปลงนโยบาย กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า ไปสู่การปฏิบัติได้ตามเป้าหมาย ด้วยการวางแผนการของบประมาณ กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า ซึ่งในที่สุดได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าว ทั้งๆ ที่ไม่มีกฎหมายรองรับ แต่ก็สามารถชี้แจงผ่านกระบวนการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2549 ไปได้
3. ได้ริเริ่มให้มีการแก้ไข พระราชบัญญัติกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา พ.ศ. 2541 เพื่อรองรับ กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า รวมทั้งการรวม กยศ. กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า เป็นกองทุนเดียว ซึ่งขณะนี้ ร่างดังกล่าวได้จัดทำแล้วเสร็จพร้อมที่จะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังและคณะรัฐมนตรี ต่อไป
4. ได้ริเริ่มให้มีการจัดทำระเบียบกระทรวงการคลังเพื่อใช้เป็นฐานในการบริหาร กรอ. และกองทุนเงินให้เปล่า โดย กยศ. ได้ ซึ่งขณะนี้ได้ใช้ระเบียบกระทรวงการคลังข้างต้นแล้ว
5. การจัดสรรเงิน กรอ. และ กยศ. ได้ดำเนินการแล้ว แม้ว่าการโอนเงิน กรอ. ให้กับสถานศึกษาจะมีปัญหาความล่าช้า เนื่องจาก ครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ได้นำเอาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่าง กยศ. และสถานศึกษาทั่วประเทศ แต่ก็ได้มีการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งคาดว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาได้ และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศดังกล่าวนี้ จะเป็นแนวทางและมาตรฐานในการสื่อสารและรับส่งข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ ต่อไป
6. ได้ริเริ่มให้มีโครงการปลูกจิตสำนึกและกระตุ้นการชำระหนี้ ตามโครงการต่างๆ ที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการกองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา เช่น
6.1 โครงการบริจาคโลหิตของนักเรียน นิสิต นักศึกษาทั่วประเทศ ที่ตั้งเป้าหมายไว้จำนวน 999,999 ซีซี แต่ได้รับโลหิตที่บริจาค รวมทั้งสิ้นประมาณ 2.1 ล้านซีซี และได้นำทูลเกล้าถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ผู้แทนพระองค์ ไปเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2549
6.2 โครงการเครือข่ายอาสาสมัคร กยศ. ซึ่งได้ดำเนินการไปแล้วทั้งหมด 27 จังหวัด มีจำนวนสถานศึกษาที่เป็นเครือข่าย ทั้งหมด 68 แห่ง
6.3 โครงการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องร้องดำเนินคดี และโครงการไกล่เกลี่ยหลังฟ้องร้องดำเนินคดี โดยร่วมกับสำนักงานศาลยุติธรรม ซึ่งเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์กับ กยศ. เป็นอย่างยิ่ง กล่าวคือ นอกจาก กยศ. จะได้ประโยชน์ทางด้านการเงินโดยได้มีการไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องร้องเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,354 ราย เป็นเงินประมาณ 67 ล้านบาท และประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีทั้งหมด 7.7 ล้านบาท แต่มีค่าใช้จ่ายทั้งหมดเพียงประมาณ 4.8 แสนบาท แต่ที่สำคัญที่สุด ความสัมพันธ์อันดีระหว่าง กยศ. กับผู้พิพากษาและศาลยุติธรรมต่างๆ ทั่วประเทศ
6.4 โครงการกระตุ้นการชำระหนี้ผ่านสื่อ ซึ่งได้ใช้เงินไปประมาณ 6.3 ล้านบาท แต่ได้รับการชำระหนี้ในช่วงโฆษณาประชาสัมพันธ์ดังกล่าว เป็นเงินถึง 6,274 ล้านบาท
ผลการดำเนินการตามโครงการดังกล่าวข้างต้น เป็นผลให้มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา ชำระหนี้ ณ วันที่ 5 กรกฎาคม 2549 มากที่สุด โดยมีการชำระถึงร้อยละ 63.55 ขณะที่ปีก่อนๆ หน้านั้น มีการชำระหนี้เฉลี่ยประมาณร้อยละ 60.75
6.5 ได้ริเริ่มโครงการจัดหางาน โดยร่วมกับกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมในจังหวัดกรุงเทพฯ นครราชสีมา และพิษณุโลก และมีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งสิ้นประมาณ 7,000 คน ขณะเดียวกันได้ Link Website ของกรมการจัดหางาน ซึ่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา หรือผู้ว่างงานสามารถ หาตำแหน่งงานว่างทั่วประเทศจาก Website ของ กยศ. ได้
7. ได้มีส่วนกระตุ้นให้บรรดาผู้สื่อข่าวจากสื่อต่างๆ สนใจในการทำข่าว กยศ. โดยการสัมภาษณ์ผู้จัดการกองทุนฯ ผ่านไปยังสื่อต่างๆ เหล่านั้นมากเป็นประวัติการณ์ รวมทั้งสามารถสร้างภาพพจน์ของ กยศ. ที่ดีขึ้นอย่างมากในสายตาของสื่อทุกแขนง รวมทั้งประชาชนที่บริโภคสื่อ
การดำเนินการในส่วนนี้ กยศ. ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ
8. ได้จัดให้มีการสัมมนานานาชาติร่วมกับ United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) ในหัวข้อเรื่อง A Higher Education Financing Policy to Support the Accumulation of Human Capital โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรจากประเทศต่างๆ มาบรรยายตามหัวข้อข้างต้น ประกอบด้วย
8.1 Professor Adrian Ziderman จากประเทศ Israel
8.2 Professor Bruce Chapman จากประเทศ Australia
8.3 Professor Bruce Johnstone จากประเทศ USA
8.4 Mr.Alex Usher จากประเทศ Canada
และมีผู้เข้าร่วมสัมมนาจากประเทศต่างๆ ดังนี้
1) จากประเทศมาเลเซีย จำนวน 2 ท่าน
2) จากประเทศแอฟริกาใต้ จำนวน 1 ท่าน
3) จากประเทศจีน จำนวน 2 ท่าน
4) จากประเทศออสเตรเลีย จำนวน 1 ท่าน
5) จากประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 1 ท่าน
6) จากประเทศเวียดนาม จำนวน 1 ท่าน
7) จากประเทศสหราชอาณาจักร จำนวน 1 ท่าน
8) จากประเทศรัสเซีย จำนวน 1 ท่าน

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ