คำกล่าวเปิดงาน
“SET in the City 2005”
ของ
นายทนง พิทยะ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
17 พฤศจิกายน 2548
ท่านปลัดกระทรวง ท่านประธานตลาดหลักทรัพย์ฯ ท่านผู้มีเกียรติทุกท่าน ต้องขอบคุณผู้อำนวยการ วารสารการเงินการธนาคารที่กรุณาจัดงานแบบนี้ ผมคิดว่าเป็นความร่วมมือร่วมใจของทุกหน่วยงานที่จะช่วยกันเสริมสร้างตลาดทุนให้เป็นที่รู้จักของประชาชน ให้เป็นทางเลือกของประชาชน นอกเหนือจากการฝากเงินในธนาคารพาณิชย์เพียงเท่านั้น
ผมรู้สึกเป็นเกียรติอย่างมากที่ได้รับเชิญมาเป็นประธานในงานมหกรรมการลงทุนครบวงจร SET IN THE CITY 2005 ซึ่งวารสารการเงินการธนาคาร และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ปี 2545 ผมคิดว่างานนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประชาชนผู้สนใจ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ยังเยาว์วัยหรือนักศึกษาหรือนักลงทุนรายย่อยซึ่งประสงค์จะมีความรู้เพิ่มขึ้นในการพัฒนาตลาดทุนให้เติบโตเป็นแหล่งการระดมเงินออมที่ดีและมีผลตอบแทนที่ดีต่อไป
ผมอยากจะขอกราบเรียนสั้น ๆ คงจะไม่ใช้เวลานานนักว่าเราคิดถึงในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผมคิดถึงการพัฒนาตลาดทุนอย่างไร สามสิบปีที่ผ่านมานั้นตลาดทุนไทยได้เข้าสู่กระบวนการที่มีสินค้าหลัก ๆ ครบเป็นสากลแล้ว ตอนนี้มีทั้งตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้และได้เริ่มมีการอนุมัติตลาดอนุพันธ์ซึ่งก็คงจะเริ่มทำการซื้อขายได้ในปีหน้าก็ถือว่ายังมีสินค้าหลัก ๆ ทั้ง 3 กลุ่ม เป็นที่เรียบร้อยเป็นการฉลองครบ 30 ปี ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเต็มตัวด้วย
ความก้าวหน้าของการพัฒนานั้น ผมคิดว่าเป็นสิ่งซึ่งน่าสนใจอย่างมาก ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน เราเริ่มต้นเห็นการพัฒนาตลาดทุนเมื่อ 30 ปี มาแล้ว ค่อย ๆ เริ่มอย่างช้ามาก ๆ สมัยผมกลับมาใหม่ ๆ นั้นผมจำได้ว่าการซื้อขายวันหนึ่งประมาณ 4 ล้านบาทก็ถือว่าคึกคักแล้ว มาถึงจุดนี้การซื้อขายเริ่มถึง หมื่นกว่าล้านบาท ทุกวันก็น่าดีใจ จุดที่สำคัญก็คือว่าถ้าเราพยายามแบ่งแยกการพัฒนาของตลาดทุนจนถึงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจ กำลังวิกฤติเศรษฐกิจจะเห็นความชัดเจนค่อนข้างจะมาก ว่าก่อนวิกฤติเศรษฐกิจนั้นการออมนั้นอยู่กับระบบธนาคารพาณิชย์เป็นหลัก การใช้ประโยชน์ของเงินออมเพื่อการลงทุนเศรษฐกิจก็อยู่ที่ระบบของธนาคารพาณิชย์เป็นหลักมาโดยตลอด การใช้ประโยชน์จากตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้เพื่อทางธุรกิจนั้นค่อนข้างที่จะน้อยมาก ๆ ตัวเลขมันค่อนข้างที่จะชัดเจนว่าตลาดตราสารหนี้ก่อนวิกฤตินั้นเมื่อปี 2540 รวมกันแล้วมีเพียงร้อยละ 12 ของจีดีพีในขณะนั้น ตัวเลขของตลาดหุ้นเองมันจะแคบเข้าไปอีก 23 % ของจีดีพี ในขณะที่สินเชื่อธนาคารสูงถึงร้อยละ 20 % ของจีดีพี
ณ วันนี้เพียงอีก 8 ปี จะ 2548 มันเปลี่ยนภาพไปค่อนข้างจะมาก ตัวเลขของตราสารหนี้ตอนนี้สูงเกือบร้อยละ 50 % ของจีดีพี ตัวเลขของ Market capital ประมาณร้อยละ 70 ของจีดีพี ในขณะที่ตัวเลขของสินเชื่อของระบบธนาคารก็อยู่ประมาณร้อยละ 70 ของจีดีพี นี่เป็นการพัฒนาที่ค่อนข้างจะรวดเร็วมากในช่วง 8 ปี ที่ผ่านมา มันสะท้อนให้เห็นว่าระบบธนาคารพาณิชย์ไม่เพียงพอต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาว เราจำเป็นที่จะต้องสร้างดุลยภาพระหว่างระบบธนาคารพาณิชย์กับตลาดทุนให้เพียงพอ และในสากลผมเชื่อว่าตลาดทุนนั้นจะต้องสูงถึงเกินกว่า 100 % ของจีดีพี เพื่อจะให้เพียงพอต่อการที่จะสร้างเสถียรภาพของการเติบโตของทางเศรษฐกิจด้วยซ้ำ ดังนั้นโอกาสของการเติบโตของตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้นั้นยังมีได้อีกสูงมากๆ
ในตลาดหุ้นของเราตอนนี้ก็ค่อนข้างจะน่าสนใจ ตัวเลขตอนปี 2540 เรามีบริษัทจดทะเบียนอยู่ 431 บริษัท มาถึง 2548 ตอนนี้ยังมีใกล้ ๆ เคียงกับ 500 บริษัท ที่น่าสนใจถึงใน 8 ปีนี้ ปรากฏว่าบริษัทที่จดทะเบียนใหม่ในตลาดหลักทรัพย์ไม่ได้มาก เฉลี่ยเพียงปีละไม่ถึง 10 บริษัทด้วยกัน แต่ Market Cap. นั้นก็ขึ้นมาถึงเกือบ 5 ล้าน ๆ บาท จากวิกฤติ สิ่งนี้น่าสนใจทำไมบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ถึงเพิ่มขึ้นเพียงปีละ 10 บริษัท คิดว่าในขณะที่ท่านรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ท่านเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังก็ได้พยายามแก้ปัญหาตัวนี้ได้พยายาม executive เรื่องของการลดภาษีรายได้เป็นการชั่วคราวให้ ก็หวังว่านโยบายนั้นคงจะมีผลเพิ่มขึ้นบ้าง
สิ่งที่เราอยากจะเห็นคือทำอย่างไรตลาดหลักทรัพย์ฯ นั้นจะเป็นที่น่าสนใจของธุรกิจของไทยและของต่างประเทศที่อยู่ในไทยให้มากขึ้น อันนี้เป็นหน้าที่ของพวกเราทุกคน ทุกสมาคมที่ทำอย่างไรจะเพิ่มความสำคัญของตลาดหลักทรัพย์ให้ได้มากขึ้นอีก
ตัวเลขอีกตัวเลขหนึ่งที่น่าเป็นห่วง คือแล้วผู้ที่ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์องค์ประกอบเป็นอย่างไร ปรากฏว่าผู้ลงทุนในตลาดหลักทรัพย์นั้นสัดส่วนการซื้อขายเป็นรายย่อยเสียร้อยละ 63 ตัวเลขนี้น่าสนใจมาก ๆ แล้ว turn over ratio ถึง 4 เท่าตัว ในขณะที่สถาบันมีสัดส่วนการซื้อขายเป็นร้อยละ 10 turn over ประมาณ 0.5 เท่าตัว คือเป็น long term investor ต่างชาติเองมีสัดส่วนการซื้อขายประมาณร้อยละ 27 นั้นเป็น turn over ประมาณ 2 เท่าตัว มันสะท้อนสิ่งที่น่าสนใจมาก ๆ ว่า ผู้ลงทุนรายย่อยนี้คืออะไรแน่ ๆ ใครแน่ ๆ ตัวเลขที่ตามต่อไปอีกนิดหนึ่งก็คือผู้ลงทุนที่เปิดบัญชีจริง ๆ มีที่ active อยู่ประมาณแสนกว่าราย แสนกว่ารายนี้ผมไม่แน่ใจว่าที่เล่นกันจริง ๆ มีอยู่ก็ราย ฉะนั้นผู้ลงทุนรายย่อยของไทยคงไม่ย่อยจริง คงใหญ่พอสมควร แล้วก็ trade มากพอสมควร ผมไม่แน่ใจตัวนี้สะท้อนถึง health ของตลาดหรือ unhealthy ของตลาด unhealthiness ของตลาด มันสะท้อนถึงตลาดมีจุดอ่อนเยอะแค่ไหน ที่สัดส่วนต้นทุนรายย่อยสูงถึงร้อยละ 63 อันนี้ทุกสมาคมต้องคิดว่าถ้าเรามีสัดส่วนของนักลงทุนรายย่อยแบบนี้ตลาดจะมีเสถียรภาพหรือไม่ สิ่งที่เราเรียกว่า “การปั่นหุ้น” จะหยุดมันได้หรือไม่ ผมว่าจิตสำนึกของพวกเราต้องเข้าใจ ถ้าเราจะทำมาหากินอยู่ในตลาดหลักทรัพย์กับตลาดทุน เราคงต้องช่วยกันสร้างให้ตลาดทุนนี้เป็นตลาดที่มีเสถียรภาพต่อนักลงทุน เป็นตลาดที่มีประโยชน์ต่อเศรษฐกิจจากบริษัทที่เข้ามาลงทุนเพื่อประโยชน์ของการขยายธุรกิจ ขยายผลผลิตของประเทศชาติ ถ้าเราไม่มีจิตสำนึกเหล่านี้แล้ว ถ้าแผนพัฒนาตลาดทุนซึ่งจะประกอบไปด้วยองค์กรภาคเอกชนและภาครัฐเข้าร่วมกันทำ ไม่มีจิตสำนึกว่าจะแปรเปลี่ยนตลาดทุนให้มีเสถียรภาพมากขึ้นอย่างไร ในที่สุดเราก็จะเจอวิกฤติทางตลาดทุนไม่ใช่วิกฤติตลาดเงิน เพราะเราเจอความปั่นป่วนไม่มีที่สิ้นสุด เพราะการที่เรามีตลาดทุนขึ้นมานั้น หน้าที่ของตลาดทุนจริง ๆ คือ เพื่อกระจายความเสี่ยง ผมเชื่อว่านี่คือหน้าที่หลัก กระจายความเสี่ยงให้แก่นักลงทุน พร้อม ๆ กับให้ทางเลือกที่นักลงทุนจะมีความเสี่ยงน้อยที่น้อยที่สุด แต่ถ้าพวกเราพยายามแนะนำนักลงทุนรายย่อยซื้อหุ้นตัวนี้เยอะ ๆ ซื้อหุ้นตัวนั้นน้อย ๆ อันนั้นทำให้เขามีความเสี่ยงมากขึ้นหรือเปล่า แล้วจิตสำนึกของพวกเราควรจะทำอย่างไรต่อ เราก็ต้องไปดูว่าสากลเขาทำกันอย่างไร ถ้าเราไม่ดูว่าสากลโลกทำอย่างไร เราคงไม่มีจิตสำนึกที่จะพัฒนาตัวเองไปสู่ความเป็นสากลได้ ทั้ง ๆ ที่สากลนั้นเขากระจายความเสี่ยงให้นักลงทุน เขามี Fund Manager ที่มี expert ที่จะทำ portfolio ที่คิดว่าความเสี่ยงรับได้และผลตอบแทนสูงสุด เขาไม่มี index อยู่มากมายซึ่งนักลงทุนสามารถจะเลือกได้ว่าจะเป็น growth index เป็น fundamental index หรือว่าเป็น new venture cap. index ถ้าเราไม่ช่วยกันพัฒนาสิ่งเหล่านั้นขึ้นมา เรายังคิดแต่จะขายหุ้นเป็นตัว ๆ แล้วก็หาคนมาคอยปั่นให้มันขึ้นมันขึ้นไปไม่ไหว มันมีจุดจบของมันอยู่ตลอด อะไรที่ขึ้นเกินไปจาก fundamental ของตลาดในระยะยาว แล้วมันก็จะสร้างความปั่นป่วนของตลาดที่เราไม่ปรารถนาจะเห็น ฉะนั้นพวกเราเองนั้นแหละ ในที่สุดก็จะขาดช่องทางทำมาหากินที่ดีถ้ามันเกิดวิกฤติขึ้นมา ผมพยายามเตือนในสิ่งเหล่านี้เพราะว่าในฐานะที่เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังที่อยู่ในวิกฤติและเห็นสาเหตุของ foundation crisis มันเจ็บปวดว่าพวกเรากันเองทั้งนั้นที่เป็นส่วนในการสร้าง foundation crisis ฉะนั้นพวกเรากันเองควรจะช่วยกันป้องกันไม่ให้มันเกิดอีก ฉะนั้นเราไม่ควรจะให้ตลาดทุนนั้นมี warranty ที่แบบนี้หรือไม่ อยากให้ช่วยกันคิด
ทางการก็พยายามทำเท่าที่จะทำได้ เราพยายามส่งเสริมนักลงทุนรายย่อยโดยให้ incentive ทางภาษีในการไปซื้อ port folio ของหุ้นในกองทุนรวมต่าง ๆ เพราะเราเชื่อว่าอย่างน้อยที่สุดเป็นการกระจายความเสี่ยงและมี expert ของแต่ละบริษัทซึ่งนักลงทุนรายย่อยเองก็สามารถจะเลือกได้ ผมยังมองว่าในที่สุดแล้ว ทำอย่างไรนักลงทุนรายย่อยจะใช้กองทุนรวมต่าง ๆ แล้วเราคงต้องขยับขยายกองทุนรวมต่าง ๆ ให้มากที่สุดอย่างน้อยก็เป็นการช่วยกระจายความเสี่ยงให้ดีที่สุดต่อนักลงทุนรายย่อยเหล่านั้น แทนที่จะไปชักจูงให้เขาซื้อหุ้นตัวใดตัวหนึ่งโดยเฉพาะมากขึ้นเรื่อยๆ และสร้างความผันผวนให้ตลาด ก็เป็นความคิดนะครับว่าเราต้องช่วยกันป้องกันไม่ให้เกิดความผันผวนอะไรเกิดขึ้น
ตอนนี้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจเรามีเสถียรภาพสูงมาก ๆ เรามีผลประกอบการของบริษัทค่อนข้างจะดีมาก ๆ แต่เราก็มีจุดอ่อนอีกเพราะ turn over ของ market cap. ของประเทศไทยในวันนี้เกือบ 100% เกือบ 1 ต่อ 1 ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ อยู่ที่ 50 มาเลเซียอยู่ที่ 32 มันสะท้อนให้เห็นถึงการพยายามที่จะผลักดันหุ้นตัวใดตัวหนึ่งหรือเปล่า เราต้องเริ่มคิดต่อ จะทำให้ turn over มากเกินไปสำหรับหุ้นบางตัวหรือเปล่าแล้วมันดีหรือเปล่ากับเศรษฐกิจ เราอาจจะได้ fee มากขึ้น แต่ fee ที่เราได้มากขึ้นจะทำลายเราเองหรือไม่ในอนาคต ผมฝากให้คิดเป็นการบ้าน เพราะอันนี้คือสิ่งที่เกิดขึ้นในวิกฤติ คนหวังว่าจะได้เงินจากต่างประเทศดอกเบี้ยต่ำฝากเป็นเงินบาทดอกเบี้ยสูง ทุกคนมักจะกู้เงินต่างประเทศดอกเบี้ยต่ำกว่าที่รัฐบาลอย่างไรก็ต้องรักษา foreign exchange rate มันก็เกิดศึกภาวะ bubble เกิดภาวะที่วิกฤติ ถ้าพวกเราไม่มีจิตสำนึกและพยายามที่จะช่วยกันปั่นหุ้นตัวใดตัวหนึ่งให้มัน turn over แบบสูงเกินไปมันดีหรือไม่กับตลาดหลักทรัพย์ที่พวกเราเองทำมาหากินกันอยู่ ก็ต้องเรียนว่าเราต้องปล่อยมันเป็นธรรมชาติของมัน เราคงจะไม่มีอะไรที่ไปบังคับ ไปวางกฎเกณฑ์อะไร ก็ต้องปล่อยให้เป็นจิตสำนึกของพวกเรากันเองว่าจะช่วยกันพัฒนาตลาดทุนในอนาคตต่อไปได้อย่างไร และมีเสรีภาพจะช่วยกันลดสัดส่วนของการลงทุนรายย่อยโดยตรงให้ไปลงทุนใน port folio ที่มีความเสี่ยง มีการกระจายความเสี่ยงและมีผลต่อกันพอสมควรได้อย่างไร เพื่อไม่ให้เขาต้องเสียหาย เพราะถ้าเขาเสียหายมันก็ run ไปถึงการสินเชื่อ run ไปถึงทุกอย่างไปในตัวมันเอง
อีกด้านหนึ่งคือตลาดตราสารหนี้ ผมคิดว่าเราได้พายามทำ กระทรวงการคลังได้พยายามเป็นหน่วยงานซึ่งพยายามสร้างตลาดตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรมาโดยตลอด ตอนนี้ตลาดตราสารหนี้ของเรา ๆ ยังมีเป้าหมายที่จะพยายามเพิ่มมูลค่ารวมในตลาดพันธบัตรแห่งประเทศไทยให้ใกล้เคียงกับจีดีพี ภายในเวลาไม่เกิน 10 ปีข้างหน้า มูลค่าของตลาดตราสารหนี้ตอนนี้สูงพอสมควร ตอนนี้ไปถึงประมาณร้อยละ 50 ของจีดีพีแล้ว ซึ่งก่อนวิกฤตินั้นเราเกือบจะไม่มีเลย เพราะรัฐบาลไม่มีหนี้ ถ้าเรายังเข้าใจว่าในที่สุดแล้วตลาดตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรนั้นเอกชนและนักธุรกิจเอกชนนั้นจะมีบทบาทมากขึ้นที่จะเข้ามา enjoy ในตลาดนี้ ทางกลต. ท่านเลขาธิการได้พยามหากลไกที่จะทำให้ตลาดนี้มีการ train การรับรองที่จะรองรับผมคิดว่ากระทรวงการคลังจะพยายามเข้าไป Support ถ้ามีความจำเป็นจะต้องดูแลเรื่องตลาดรองในระยะสั้น ๆ ในตลาดตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรนั้น มีความมั่นคงในระยะยาวและเป็นที่พึ่งของนักธุรกิจในระยะยาวที่จะทำให้เขาสามารถจะมีแหล่งทุน แหล่งเงินกู้มากกว่าที่จะต้องอยู่กับเพียงระบบธนาคารพาณิชย์ ดังนั้นถ้าเราทำสำเร็จ เราก็จะมีสามเสาของระบบการบริการทางการเงินแบบครบวงจร มีธนาคารพาณิชย์ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยกำลังวางมาตรฐานที่จะเข้าสู่ Base so through จะลด NPL 23.00 ของระบบ เราจะมีตลาดหุ้นซึ่งจะเป็นจุดที่จะขยายตัวขึ้นมาได้มีเสถียรภาพเพื่อที่จะให้เป็นแหล่งของการลงทุนของผู้ที่มีเงินออมพร้อม ๆ กับเป็นแหล่งของการขยายทุน ขยายธุรกิจของนักธุรกิจที่ดีของประเทศไทยให้เขาเติบโตเพิ่มขึ้น และเราก็ยังมีตลาดตราสารหนี้และตลาดพันธบัตรที่จะเป็นแหล่งของการระดมทุนเพื่อโครงการนอกเหนือ ถ้าเราทำได้ครบ มี balance มีดุลยภาพที่ดีและมีความเป็นสากลเมื่อไร นี่คือหัวใจของการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจที่คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้
เรามีสินค้าใหม่คือตลาดอนุพันธ์คงต้องเรียนว่าพึ่งจะเริ่มต้นก็หวังว่าพวกเราจะใช้ประโยชน์ตลาดอนุพันธ์ในทางที่ถูกต้องเช่นเดียวกัน เพราะตลาดอนุพันธ์นั้นมีประโยชน์มาก ๆ ถ้าใช้เป็นเครื่องมือเพื่อกระจายความเสี่ยง แต่มันจะมีโทษมาก ๆ ถ้าเป็นเครื่องมือเพื่อเพิ่มความเสี่ยง อยู่ที่ว่าเราจะมองมันอย่างไรแล้วเราจะใช้ประโยชน์มันให้ถูกต้องได้อย่างไร
ดังนั้นสิ่งเหล่านี้ผมก็จะขอจบด้วยแนวความคิดซึ่งคงจะพยายามสรุปว่าถ้าจะทำแผนพัฒนาตลาดทุนใน 5 ปีข้างหน้านั้น มันก็เป็นความร่วมมือของทุกหน่วยงานกันเองที่จะมีจิตสำนึกเพียงไร ที่จะสร้างให้ตลาดทุนและตลาดตราสารหนี้นี้มีความเป็นสากลและต่อสู้กับโลกได้ ตรงนั้นเป็นเรื่องที่จะต้องช่วยกันคิด ช่วยกันทำ ผมเชื่อว่าโลกมันเปลี่ยนเร็วเหลือเกิน มันไปเร็วมาก เราพึ่ง present paper เรื่องเสี่ยงการเคลื่อนย้ายทุนเสรีของระบบโลกาภิวัตน์ โดยตอนนี้ไม่น่าเชื่อว่า Global private access ซึ่งเคลื่อนย้ายอยู่ทั่วโลกตลอดเวลานั้นมีมูลค่าสูงถึง 38 trillion US dollars 38 ล้านล้านเหรียญใหญ่กว่า foreign exchange reserve ของธนาคารกลางของโลกรวมกันทั้งหมด 10 เท่าตัว ทุนเหล่านี้เคลื่อนไหวอยู่ทั่วโลก เป็นทุนซึ่งใช้สร้างทุนเพื่อธุรกิจ มันเป็นทุนซึ่งเริ่มไม่มีสัญชาติ มันเป็น Free flow Capital World
ประเทศไทยจะ Capture สิ่งเหล่านี้ได้อย่างไรถ้าเราไม่ช่วยกันทำแผนตลาดทุนตลาดตราสารหนี้ให้เป็นสากล ในด้านหนึ่งเราได้พยายามพัฒนาเรื่องของ CG ไปได้ค่อนข้างจะดีเรามี rating ที่ดีขึ้น แต่การพัฒนาตลาดทุนให้เป็นสากลเท่านั้น ที่จะ attract นักลงทุนจากต่างประเทศให้เห็นประเทศไทยว่ามีศักยภาพพร้อมที่เขาจะมาลงทุน การขจัดความเสี่ยงที่เขาไม่คุ้นเคยหรือไม่ต้องการจะรับจะทำได้อย่างไร ประเทศไทยเป็นประเทศที่ค่อนข้าง Dynamic มากเปลี่ยนแปลงได้ตลอด มีความเป็นประชาธิปไตยสูงมาก ๆ ซึ่งนักลงทุนคงชอบที่จะเห็น แต่ไม่มีนักลงทุนคนใดที่จะต้องการเห็นความเสี่ยงทางการเมือง ความเสี่ยงทางธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องวิเคราะห์ได้ยอมรับได้ ความเสี่ยงทางกฎหมายเช่น เรื่องของ กฟผ. เข้าตลาดต้องชะลอไปก็ยังรับได้ ก็คงจะเข้าใจว่าเป็นความเสี่ยงของการตีความกระบวนการทางกฎหมายซึ่งต้องเป็นเรื่องของศาลยุติธรรมเท่านั้น แต่ความเสี่ยงทางการเมืองไม่มีนักลงทุนที่ไหนในโลกที่จะยอมรับได้ ก็เป็นเรื่องที่พวกเราจะต้องช่วยกันคิดว่าเกมส์ของการที่จะสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจจะสร้างธุรกิจไทยให้เติบโตต่อไปนั้นมีอะไรต้องช่วยกันทำ มีอะไรต้องช่วยกันระดมสมอง แล้วถ้าเราเข้าใจระบบโลกาภิวัฒน์ของการเคลื่อนย้ายทุนเสรีอิทธิพลที่มันกำลังเพิ่มขึ้นปีละ 3 ล้านล้านเหรียญ จาก 38 ล้านล้านกำลังจะเพิ่มปีละ 3 ล้านล้านเหรียญ ประมาณร้อยละ 10 % แล้วมันเคลื่อนย้ายไปทั่วโลก ประเทศไทยเราจิ๊บจ้อยมากเล็กนิดเดียว เขาวิ่งทุนเรานี้บินผ่านไปผ่านมาทำไมไม่มาลงทุนในบ้านเรา เราต้องถามตัวเองว่าถ้าเขามาเพิ่มลงทุนในบ้านเราเพียงแค่นิดเดียวเอง 2 % เราจะเติบโตแค่ไหน แล้วถ้าเขาลงทุนในระยะยาว แล้วนักลงทุนรายย่อยของเราซึ่ง Turn over สูงกว่าเขาเยอะ มันเหมาะสมหรือไม่ในการพัฒนาตลาดหุ้นที่จะทำต่อไปในอนาคต
ผมก็ทิ้งปัญหาไว้ให้คิดเพราะว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญของตลาดหุ้นเรื่องของตลาดทุนแต่จากการวิเคราะห์ที่ผ่านมาผมมีความเชื่อว่าเราจำเป็นต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่าง ก็จบว่าตอนสมัยที่ผมสอนหนังสือที่นิด้าเวลาสอนหนังสือผมสอนวิชาหนึ่งที่ผมชอบมากคือ Government Business รัฐบาลกับทุน ในตอนนั้นเราด่ารัฐบาลตลอด งี่เง่า ล่าช้า เต่าล้านปี ไม่ทันทางธุรกิจ ตอนนี้โลกมันเปลี่ยนกลับไปไม่น่าเชื่อ รัฐบาลประสงค์จะเห็นความเป็นสากลของระบบธุรกิจให้ rotate เพราะเรารู้ว่าระบบโลกาภิวัตน์ของการเคลื่อนย้ายทั้งคน ทั้ง IT ทั้ง Trade & Investment ทั้งเรื่องลงทุนมันหลีกเลี่ยงไม่ได้ถ้าเราอยากจะมีเสถียรภาพและอยากจะเติบโต อาจเป็นธุรกิจตามรัฐบาลไม่ทัน วิชารัฐบาลและธุรกิจที่ผมไปสอนใหม่ ผมว่าคิดอีกแบบหนึ่ง ผมสอนอีกแบบหนึ่งว่าทำไมธุรกิจตามรัฐบาลไม่ทันในตอนนี้ ระเบียบก็ post อะไรซึ่งล้ำหน้านักธุรกิจไป การเป็นธุรกิจเป็นตัว assistant change agent แทนที่จะเป็นรัฐที่เป็น agent ก็ขอฝากความคิดเหล่านี้ให้ท่านช่วยกันคิด ช่วยกันสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจนั้นต้องการความมั่นคงและต้องการความร่วมมือของภาครัฐกับภาคเอกชน ถ้าเราไปด้วยกันไม่ใช่ใครตามใครไม่ทัน ประเทศไทยน่าจะเติบโตได้อย่างมั่นคงมีเสถียรภาพและเป็นผลดีต่อพวกเราทุกคน ขอบคุณมากครับ
สุรีย์พร ชัยยะรุ่งสกุล, สุภาภรณ์ จินารักษ์ : ถอดเทป/พิมพ์