EXIM BANK ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างผู้ส่งออกรายใหม่จำนวน 110 รายที่พร้อมแข่งขันในตลาดการค้าโลก โดยอาศัยแผนธุรกิจที่มีประสิทธิภาพในการชิงส่วนแบ่งตลาดโดยเฉพาะในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไทยมีความได้เปรียบในการแข่งขัน
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการผลิตผู้ส่งออก SMEs รุ่นแรกจำนวน 110 รายภายใต้โครงการอบรมหลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เพื่อการส่งออก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs reation: NEC) ที่ EXIM BANK ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2549 เพื่อเตรียมความพร้อมทายาททางธุรกิจและสร้างผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ในกลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร กลุ่มธุรกิจแฟชั่น และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ให้สามารถเข้าสู่ธุรกิจส่งออกได้อย่างเป็นมืออาชีพและแข่งขันได้ในระยะยาว โดยมีพิธีมอวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรมและมอบรางวัลแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกยอดเยี่ยมแก่ผู้ประกอบการ 3 รายและรางวัลแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกดีเด่นแก่ผู้ประกอบการ 6 รายจากจำนวนผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 110 ราย ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวต่อไปว่า นับเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของ EXIM BANK ในการสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคส่งออก โดยใช้ SMEs ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในปัจจุบันเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ โดยผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง สามารถประมวลความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการไปดูงานในสถานประกอบการจริงมาปรับใช้ในการวางแนวทางดำเนินธุรกิจและจัดการธุรกิจส่งออก และผลที่สุดคือการสร้างแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงภายหลังจบหลักสูตร เนื่องจากแผนธุรกิจที่รอบคอบ รัดกุมและมีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจส่งออกของ SMEs ไทยให้ได้มาตรฐานในระดับสากลและแข่งขันได้ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ แผนธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลแผนธุรกิจยอดเยี่ยม 3 รางวัล ได้แก่ แผนธุรกิจส่งออกขนมจีนอบแห้งของนายวิภูษิต ทรงวุฒิศีล แผนธุรกิจส่งออกเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับสตรีของนางสาวศรีปริญญา ถาวรประเสริฐ และแผนธุรกิจส่งออกเครื่องตกแต่งบ้านจากไม้ไผ่ของนายณัฐคม พุ่มพวง ตามลำดับ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากกลยุทธ์ด้านการผลิต การเงิน และการส่งออก รวมถึงความน่าเชื่อถือและความสอดคล้องเชื่อมโยงของแผนธุรกิจ และความเป็นไปได้ในการนำแผนดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติจริงในการดำเนินธุรกิจส่งออกต่อไป
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-
นายสถาพร ชินะจิตร กรรมการผู้จัดการธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เปิดเผยว่า EXIM BANK ประสบความสำเร็จในการผลิตผู้ส่งออก SMEs รุ่นแรกจำนวน 110 รายภายใต้โครงการอบรมหลักสูตร "เสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่เพื่อการส่งออก" ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการเสริมสร้างผู้ประกอบการใหม่ (New Entrepreneurs reation: NEC) ที่ EXIM BANK ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมจัดขึ้นเป็นครั้งแรกระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2549 เพื่อเตรียมความพร้อมทายาททางธุรกิจและสร้างผู้ประกอบการ SMEs รุ่นใหม่ในกลุ่มธุรกิจเกษตรและอาหาร กลุ่มธุรกิจแฟชั่น และกลุ่มธุรกิจอื่นๆ ให้สามารถเข้าสู่ธุรกิจส่งออกได้อย่างเป็นมืออาชีพและแข่งขันได้ในระยะยาว โดยมีพิธีมอวุฒิบัตรให้แก่ผู้ผ่านการอบรมและมอบรางวัลแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกยอดเยี่ยมแก่ผู้ประกอบการ 3 รายและรางวัลแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกดีเด่นแก่ผู้ประกอบการ 6 รายจากจำนวนผู้ผ่านการอบรมทั้งสิ้น 110 ราย ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่ผ่านมา
กรรมการผู้จัดการ EXIM BANK กล่าวต่อไปว่า นับเป็นความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมของ EXIM BANK ในการสร้างความร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการเติบโตของภาคส่งออก โดยใช้ SMEs ที่เกิดขึ้นเป็นจำนวนมากในปัจจุบันเป็นพลังขับเคลื่อนสำคัญ โดยผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการที่มุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการรายย่อยและรายใหม่ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ผลิตสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพในการแข่งขันสูง สามารถประมวลความรู้ความเข้าใจที่ได้รับจากการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ รวมทั้งการไปดูงานในสถานประกอบการจริงมาปรับใช้ในการวางแนวทางดำเนินธุรกิจและจัดการธุรกิจส่งออก และผลที่สุดคือการสร้างแผนธุรกิจเพื่อการส่งออกที่สามารถนำไปใช้ได้จริงภายหลังจบหลักสูตร เนื่องจากแผนธุรกิจที่รอบคอบ รัดกุมและมีประสิทธิภาพจะเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาธุรกิจส่งออกของ SMEs ไทยให้ได้มาตรฐานในระดับสากลและแข่งขันได้ในเวทีการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งนี้ แผนธุรกิจที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลแผนธุรกิจยอดเยี่ยม 3 รางวัล ได้แก่ แผนธุรกิจส่งออกขนมจีนอบแห้งของนายวิภูษิต ทรงวุฒิศีล แผนธุรกิจส่งออกเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับสตรีของนางสาวศรีปริญญา ถาวรประเสริฐ และแผนธุรกิจส่งออกเครื่องตกแต่งบ้านจากไม้ไผ่ของนายณัฐคม พุ่มพวง ตามลำดับ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากกลยุทธ์ด้านการผลิต การเงิน และการส่งออก รวมถึงความน่าเชื่อถือและความสอดคล้องเชื่อมโยงของแผนธุรกิจ และความเป็นไปได้ในการนำแผนดังกล่าวไปใช้ปฏิบัติจริงในการดำเนินธุรกิจส่งออกต่อไป
ต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมโปรดติดต่อส่วนประชาสัมพันธ์ สำนักบริหาร
โทร. 0 2271 3700, 0 2278 0047, 0 2617 2111 ต่อ 1140-6
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย เมษายน 2549--
-พห-