กรณ์ จาติกวนิช ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการพิจาณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจายประจำปี 2549 ไว้ 5 ประเด็น คือ การบริหารเศรษฐกิจที่ผิดพลาด ปัญหานโยบายและยุทธศาสตร์คู่ขนาน ปัญหาภาคการลงทุน การวิเคราะห์โครงการเมกกะโปรเจ็กค์ และความเกี่ยวพันกับปัญหาดุลบัญชีเดินสะพัดที่ปรากฏ และความไม่มั่นใจของประชาชน ฝ่ายค้าน นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ
ส.ส.ปชป. กล่าวถึงนโยบายและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจคู่ขนานของรัฐบาลว่า เป็นไปได้ดีในช่วงแรก คือ ตลาดเงินที่ล้นเหลือทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมากเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลสามารถกระตุ้นให้มีการก่อหนี้เพื่อการบริโภคได้ แต่ความผิดพลาดครั้งสำคัญของรัฐบาลคือ การไม่ใช้โอกาสปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งตนได้เคยแจ้งให้สภาทราบแล้วว่าสำนักงานพลังงานแห่งชาติเคยมีรายงานถึงรัฐมนตรีเมื่อปี 2546 ขอให้รัฐบาลเร่งสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย
ปี 2548 เมื่อเราได้พิจารณางบกลางปี 50,000 ล้านบาท แทนที่จะใช้เงินเร่งรีบศึกษาโครงการ การลงทุน ในระบบของขนส่งมวลชน รัฐกลับใช้งบ 50,000 ล้านบาทในด้านอื่น และนโยบายคู่ขนานของรัฐบาลก็เริ่มฝืดเคือง ซึ่งคำจำกัดความของนยาบยคู่ขนาน คือ เศรษฐกิจที่โตขึ้นเพราะมีการบริโภคส่วนหนึ่งและการขยายตัวอุตสาหกรรมการส่งออก แต่จะมุ่งบริโภคก็ลำบากเพราะหนี้ประชาชนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนบุคคลไว้ 28% และธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำ 15000 /ด. เมื่อผู้บริโภคไม่มีกำลัง ผู้ผลิตก็ไม่กล้าลงทุน ด้านการส่งออกรัฐบาลก็ได้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวถึง 20% ซึ่งเราไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ 3 เดือนแรกการส่งออกขยายตัวเพียง 12% มาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การส่งออก ตัวเลขล่าสุด พ.ค.การส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 9% สรุปได้ว่าเราหวังการส่งออกมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้ เมื่อเครื่องจักรสำคัญของคู่ขนานทั้ง 2 แห่ง เริ่มชะลอตัว เกมเริ่มจะใกล้จุดจบ เพราะกระตุ้นต่อไปก็มีแต่อุปสรรค และที่สำคัญการที่รัฐบาลคาดหวังว่า สิ่งที่จะตามมาคือ การลงทุนนั้นก็เริ่มเลือนลาง
การลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนในประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสถานการณ์ไม่ค่อยดี ดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นการลงทุนที่ลดลงเมื่อปีที่แล้วในปี 2547 เทียบกับปี 2546 ดัชนีการลงทุนเพิ่มขึ้นในราว 13% ในขณะที่ใน 4 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีเดียวกันเพิ่มขึ้นเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้วเพียงแค่ 3.6% ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนปี 47 เพิ่มขึ้น 5.8% ในขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีนี้เพิ่มขึ้นเพียงแค่ไม่ถึง 1%’ นายกรณ์ กล่าว และยังว่า การลงทุนจากต่างประเทศยิ่งน่าเป็นห่วง ปี 2544 มีการลงทุน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2547 การลงทุนลดลงเหลือ 500,000 เหรีญสหรัฐ จึงนำมาสู่การผลักดันเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในโครงการที่เรียกว่าเมกกะโปรเจกค์ ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างความกังวลให้กับฝ่ายค้าน ประชาชน นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก แนวโน้มการลงทุน 4 ปีที่ผ่านมาก็ถดถอย เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้อยลง และมีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมหลัก และเป็นสาเหตุให้ประมาณการส่งออกไม่เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งการตลาดก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง
‘ นักลงทุนต่างประเทศเมื่อจะพิจารณาว่าจะลงทุนในตลาดใดเขาจะให้ความสำคัญกับ 4 ปัจจัย คือ 1. แนวโน้มเศรษฐกิจ 2. เสถีรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน 3.ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศเทียบกับสหรัฐ 4. เสถียรภาพการเมือง ’ นายกรณ์ กล่าว และยังว่า ต่างชาติเรียกร้องผลตอบแทนสูงเพราะเขาไม่มั่นใจประวัติการบริหารโครงการใหญ่ของรัฐบาล เช่น รถไฟใต้ดินที่ยังขาดทุนอยู่ขณะนี้ นอกจากนั้นความไม่มั่นใจที่ประชาชน ฝ่ายค้าน และนักลงทุนมีคือ ประสิทธิภาพในการใช้เงินของรัฐบาล เช่น งบก้อนใหญ่ภายใต้การบริหารของกระทรวงคมนาคม ณ สิ้นเดือนพ.ค. ปีงบ 2548 ผ่านไป 8 เดือน มีการเบิกจ่ายไปแค่ 52% จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมไม่มีความมั่นใจในการบริหารจัดการโครงการเมกกะโปรเจกค์ ของรัฐบาลในอนาคต
‘4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลยังวิ่งไล่ตามตัวเลขจีดีพีเหมือนเดิม ที่รัฐบาลเคยระบุจะสร้างมิติใหม่ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่บรรลุผล ตนยอมรับวามีเหตุสุดวิสัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นสึนามิ แต่อยากให้รัฐบาลใช้ตุการณืเหล่านี้เตือนสติ และให้ตั้งคำถามว่า โครงสร้างเศรษบกิจของเราเหมาะสมกับโครงสร้างของประเทศหรือไม่ จึงไม่เห็นว่าจะพาไปสู่ความเจริญได้อย่างไร รัฐบาลควรใช้โอกาสในการพิจารณางบประมาณปี 2549ในการพิจารณาวิธีคิดใหม่ ทำใหม่’ นายกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--
ส.ส.ปชป. กล่าวถึงนโยบายและยุทธศาสตร์เศรษฐกิจคู่ขนานของรัฐบาลว่า เป็นไปได้ดีในช่วงแรก คือ ตลาดเงินที่ล้นเหลือทำให้อัตราดอกเบี้ยต่ำมากเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลสามารถกระตุ้นให้มีการก่อหนี้เพื่อการบริโภคได้ แต่ความผิดพลาดครั้งสำคัญของรัฐบาลคือ การไม่ใช้โอกาสปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ซึ่งตนได้เคยแจ้งให้สภาทราบแล้วว่าสำนักงานพลังงานแห่งชาติเคยมีรายงานถึงรัฐมนตรีเมื่อปี 2546 ขอให้รัฐบาลเร่งสร้างระบบขนส่งมวลชนเพื่อรองรับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้น แต่รัฐบาลกลับนิ่งเฉย
ปี 2548 เมื่อเราได้พิจารณางบกลางปี 50,000 ล้านบาท แทนที่จะใช้เงินเร่งรีบศึกษาโครงการ การลงทุน ในระบบของขนส่งมวลชน รัฐกลับใช้งบ 50,000 ล้านบาทในด้านอื่น และนโยบายคู่ขนานของรัฐบาลก็เริ่มฝืดเคือง ซึ่งคำจำกัดความของนยาบยคู่ขนาน คือ เศรษฐกิจที่โตขึ้นเพราะมีการบริโภคส่วนหนึ่งและการขยายตัวอุตสาหกรรมการส่งออก แต่จะมุ่งบริโภคก็ลำบากเพราะหนี้ประชาชนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยและกระทรวงการคลังได้กำหนดเพดานดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนบุคคลไว้ 28% และธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดรายได้ขั้นต่ำ 15000 /ด. เมื่อผู้บริโภคไม่มีกำลัง ผู้ผลิตก็ไม่กล้าลงทุน ด้านการส่งออกรัฐบาลก็ได้คาดว่าการส่งออกจะขยายตัวถึง 20% ซึ่งเราไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ 3 เดือนแรกการส่งออกขยายตัวเพียง 12% มาจากราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่การส่งออก ตัวเลขล่าสุด พ.ค.การส่งออกเพิ่มขึ้นเพียง 9% สรุปได้ว่าเราหวังการส่งออกมาเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไม่ได้ เมื่อเครื่องจักรสำคัญของคู่ขนานทั้ง 2 แห่ง เริ่มชะลอตัว เกมเริ่มจะใกล้จุดจบ เพราะกระตุ้นต่อไปก็มีแต่อุปสรรค และที่สำคัญการที่รัฐบาลคาดหวังว่า สิ่งที่จะตามมาคือ การลงทุนนั้นก็เริ่มเลือนลาง
การลงทุนแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การลงทุนในประเทศ และการลงทุนจากต่างประเทศ ซึ่งสถานการณ์ไม่ค่อยดี ดัชนีการลงทุนของธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นการลงทุนที่ลดลงเมื่อปีที่แล้วในปี 2547 เทียบกับปี 2546 ดัชนีการลงทุนเพิ่มขึ้นในราว 13% ในขณะที่ใน 4 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีเดียวกันเพิ่มขึ้นเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีที่แล้วเพียงแค่ 3.6% ส่วนการนำเข้าสินค้าทุนปี 47 เพิ่มขึ้น 5.8% ในขณะที่ 4 เดือนแรกของปีนี้ดัชนีนี้เพิ่มขึ้นเพียงแค่ไม่ถึง 1%’ นายกรณ์ กล่าว และยังว่า การลงทุนจากต่างประเทศยิ่งน่าเป็นห่วง ปี 2544 มีการลงทุน 4,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ปี 2547 การลงทุนลดลงเหลือ 500,000 เหรีญสหรัฐ จึงนำมาสู่การผลักดันเศรษฐกิจด้วยการลงทุนในโครงการที่เรียกว่าเมกกะโปรเจกค์ ซึ่งโครงการนี้ได้สร้างความกังวลให้กับฝ่ายค้าน ประชาชน นักลงทุน ทั้งในและต่างประเทศ เป็นอย่างมาก แนวโน้มการลงทุน 4 ปีที่ผ่านมาก็ถดถอย เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยด้อยลง และมีผลกระทบต่อทุกอุตสาหกรรมหลัก และเป็นสาเหตุให้ประมาณการส่งออกไม่เพิ่มขึ้น ส่วนแบ่งการตลาดก็ลดลงอย่างต่อเนื่อง
‘ นักลงทุนต่างประเทศเมื่อจะพิจารณาว่าจะลงทุนในตลาดใดเขาจะให้ความสำคัญกับ 4 ปัจจัย คือ 1. แนวโน้มเศรษฐกิจ 2. เสถีรภาพของอัตราแลกเปลี่ยน 3.ความแตกต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยของประเทศเทียบกับสหรัฐ 4. เสถียรภาพการเมือง ’ นายกรณ์ กล่าว และยังว่า ต่างชาติเรียกร้องผลตอบแทนสูงเพราะเขาไม่มั่นใจประวัติการบริหารโครงการใหญ่ของรัฐบาล เช่น รถไฟใต้ดินที่ยังขาดทุนอยู่ขณะนี้ นอกจากนั้นความไม่มั่นใจที่ประชาชน ฝ่ายค้าน และนักลงทุนมีคือ ประสิทธิภาพในการใช้เงินของรัฐบาล เช่น งบก้อนใหญ่ภายใต้การบริหารของกระทรวงคมนาคม ณ สิ้นเดือนพ.ค. ปีงบ 2548 ผ่านไป 8 เดือน มีการเบิกจ่ายไปแค่ 52% จึงไม่น่าแปลกใจว่าทำไมไม่มีความมั่นใจในการบริหารจัดการโครงการเมกกะโปรเจกค์ ของรัฐบาลในอนาคต
‘4 ปีที่ผ่านมารัฐบาลยังวิ่งไล่ตามตัวเลขจีดีพีเหมือนเดิม ที่รัฐบาลเคยระบุจะสร้างมิติใหม่ทางเศรษฐกิจก็ยังไม่บรรลุผล ตนยอมรับวามีเหตุสุดวิสัยที่กระทบเศรษฐกิจไทยไม่ว่าจะเป็นสึนามิ แต่อยากให้รัฐบาลใช้ตุการณืเหล่านี้เตือนสติ และให้ตั้งคำถามว่า โครงสร้างเศรษบกิจของเราเหมาะสมกับโครงสร้างของประเทศหรือไม่ จึงไม่เห็นว่าจะพาไปสู่ความเจริญได้อย่างไร รัฐบาลควรใช้โอกาสในการพิจารณางบประมาณปี 2549ในการพิจารณาวิธีคิดใหม่ ทำใหม่’ นายกรณ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 30 มิ.ย. 2548--จบ--