อุตสาหกรรมเซรามิก เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้วัตถุดิบในประเทศเป็นส่วนใหญ่การผลิตจะ ใช้แรงงานเป็นจำนวนมาก เป็นอุตสาหกรรมที่
สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไป สู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวอย่างตัวเนื่อง แม้ว่าการขยายตัว
ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะชะลอตัวลง และผู้ผลิตเซรามิกจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก็
ตาม แต่การผลิตเซรามิกยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้จากการส่งออก โดยในปี 2548 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 158.95 ล้านตาราง
เมตร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 12.05 และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 9.19 ล้านชิ้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ใน
อัตราร้อยละ 15.82 (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ตลาดในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ตลาดบ้านซ่อมแซมบ้านเก่าซึ่งเป็นตลาดหลัก ทำให้ได้รับกระทบจากภาวะการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่มากนัก ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกใน
ประเทศยังมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2548 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 167.39 ล้านตารางเมตร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
2547 ในอัตราร้อยละ 10.76 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 5.05 ล้านชิ้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 13.24 (ดัง
ตารางที่ 1)
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ในขณะที่ราคาจำหน่าย
เซรามิกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางด้าน
การตลาด โดยจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเซตเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นการทำตลาดให้ใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงมาก
ขึ้น ตลอดจนเน้นการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน เยอรมนี ฮ่องกง
และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น โดยในปี 2548 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 632.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 16.68 (ดังตารางที่ 2) การขยายตัวส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของ
ผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปการส่งออกกลับมีแนวโน้มลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้นของชำร่วยเครื่อง
ประดับที่การส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 161.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ปี 2547 ในอัตราร้อยละ 15.87 (ดังตารางที่ 3) ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อิตาลี และเยอรมนี เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ ที่มีอัตราการขยายตัวจากการนำเข้าสูง ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ไม่สามารถผลิตได้ ในประเทศ ได้แก่ อิฐทนไฟ และ
เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่นำเข้า
จากประเทศจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง แม้ว่าการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะชะลอตัวลง และผู้ผลิตเซรามิกจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม แต่การผลิตเซรามิกสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้จากการส่งออก ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังสามารถขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นได้จากกลุ่มผู้ซื้อเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัย และซ่อมแซมบ้านเก่า สำหรับการผลิตเซรามิกมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตเซรามิกสามารถขยายเป้า
หมายการส่งออก และหาตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ชะลอตัวลง ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารซึ่งมีแนวโน้มลดลงมาตลอด อาจได้รับผลดีจากการจัดงาน
ไทยแลนด์เซรามิกแฟร์ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดลำปาง ซึ่งการจัดงานนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และหากงานนี้ประสบความ
สำเร็จจะสามารถทำให้การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 99,183,308 120,193,952 141,860,176 158,954,956
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 21.18 18.03 12.05
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 6,101,861 7,285,844 7,938,220 9,193,931
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 19.4 8.95 15.82
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 113,403,682 139,471,329 151,127,986 167,385,513
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 22.99 8.36 10.76
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 3,054,458 3,623,116 4,459,885 5,050,456
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 18.62 23.1 13.24
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 12 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 69.7 69.7 86 104
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 0 23.39 20.98
เครื่องสุขภัณฑ์ 76.4 100.5 95.1 111.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 31.54 -5.37 16.85
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 168.5 188.7 186.6 182
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 11.99 -1.11 -2.44
ของชำร่วยเครื่องประดับ 34.9 35.7 31.7 33.4
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2.29 -11.2 5.24
ลูกถ้วยไฟฟ้า 11.8 18.7 17.6 16.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 58.47 -5.88 -5.91
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 125.3 111.2 124.8 185
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.25 12.23 48.27
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 486.6 524.5 541.8 632.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.79 3.3 16.68
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 29.5 35.8 45.7 61.92
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 21.36 27.65 35.49
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 28.6 52.2 93.8 99.72
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 82.52 79.69 6.31
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 58.1 88 139.5 161.64
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 51.46 58.52 15.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่
โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้
และเครื่องตกแต่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
สนองนโยบายของรัฐในการสร้างงานและกระจายรายได้ไป สู่ภูมิภาค จึงนับว่าเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอุตสาหกรรมหนึ่ง
1. การผลิต
การผลิตเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวอย่างตัวเนื่อง แม้ว่าการขยายตัว
ของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะชะลอตัวลง และผู้ผลิตเซรามิกจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก็
ตาม แต่การผลิตเซรามิกยังสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้จากการส่งออก โดยในปี 2548 การผลิตกระเบื้องปูพื้น บุผนัง มีประมาณ 158.95 ล้านตาราง
เมตร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 12.05 และการผลิตเครื่องสุขภัณฑ์ มีประมาณ 9.19 ล้านชิ้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ใน
อัตราร้อยละ 15.82 (ดังตารางที่ 1)
2. การตลาด
2.1 ตลาดในประเทศ
การจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่อง สุขภัณฑ์ ตลาดในประเทศมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ตลาดบ้านซ่อมแซมบ้านเก่าซึ่งเป็นตลาดหลัก ทำให้ได้รับกระทบจากภาวะการชะลอตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ไม่มากนัก ซึ่งการจำหน่ายเซรามิกใน
ประเทศยังมีการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น โดยในปี 2548 มีการจำหน่ายกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ประมาณ 167.39 ล้านตารางเมตร ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี
2547 ในอัตราร้อยละ 10.76 สำหรับเครื่องสุขภัณฑ์ มีการจำหน่ายประมาณ 5.05 ล้านชิ้น ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 13.24 (ดัง
ตารางที่ 1)
การจำหน่ายเซรามิกในประเทศมีการแข่งขันที่รุนแรง ซึ่งต้องแข่งขันกับสินค้านำเข้าจากต่างประเทศโดยเฉพาะจีน ในขณะที่ราคาจำหน่าย
เซรามิกในประเทศปรับตัวสูงขึ้น จากผลกระทบของราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการต้องปรับกลยุทธ์ทางด้าน
การตลาด โดยจัดจำหน่ายสินค้าเป็นเซตเพื่อให้มีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ยังเน้นการทำตลาดให้ใกล้ชิดกับลูกค้าเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคโดยตรงมาก
ขึ้น ตลอดจนเน้นการให้บริการทั้งก่อนและหลังการขาย
2.2 การส่งออก
การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกส่วนใหญ่จะส่งไปยังประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย ไต้หวัน เยอรมนี ฮ่องกง
และประเทศในกลุ่มอาเซียน เป็นต้น โดยในปี 2548 การส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 632.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัว
เพิ่มขึ้นจากปี 2547 ในอัตราร้อยละ 16.68 (ดังตารางที่ 2) การขยายตัวส่วนใหญ่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดหลักของ
ผลิตภัณฑ์กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ในขณะที่ตลาดสหภาพยุโรปการส่งออกกลับมีแนวโน้มลดลงเกือบทุกผลิตภัณฑ์ยกเว้นของชำร่วยเครื่อง
ประดับที่การส่งออกมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น
2.3 การนำเข้า
การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ในปี 2548 คาดว่าจะมีมูลค่ารวมประมาณ 161.64 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยมีอัตราการขยายตัวเพิ่มขึ้นจาก
ปี 2547 ในอัตราร้อยละ 15.87 (ดังตารางที่ 3) ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย อิตาลี และเยอรมนี เป็นต้น
ผลิตภัณฑ์ ที่มีอัตราการขยายตัวจากการนำเข้าสูง ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาสูง ไม่สามารถผลิตได้ ในประเทศ ได้แก่ อิฐทนไฟ และ
เครื่องมือที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ ซึ่งนำเข้าจากประเทศญี่ปุ่น และผลิตภัณฑ์ที่มีต้นทุนต่ำกว่าการผลิตในประเทศ โดยเฉพาะกระเบื้องปูพื้น บุผนัง ที่นำเข้า
จากประเทศจีน
3. สรุป
การผลิตและจำหน่ายเซรามิกที่ใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ซึ่งได้แก่ กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อ
เนื่อง แม้ว่าการขยายตัวของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในประเทศจะชะลอตัวลง และผู้ผลิตเซรามิกจะได้รับผลกระทบจากราคาวัตถุดิบ ราคาน้ำมัน และ
อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นก็ตาม แต่การผลิตเซรามิกสามารถขยายตัวเพิ่มขึ้นได้จากการส่งออก ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศยังสามารถขยาย
ตัวเพิ่มขึ้นได้จากกลุ่มผู้ซื้อเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัย และซ่อมแซมบ้านเก่า สำหรับการผลิตเซรามิกมีแนวโน้มที่ดี เนื่องจากผู้ผลิตเซรามิกสามารถขยายเป้า
หมายการส่งออก และหาตลาดต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น ในขณะที่การจำหน่ายเซรามิกในประเทศเริ่มมีแนวโน้มลดลงจากผลกระทบของภาวะธุรกิจ
อสังหาริมทรัพย์ในประเทศที่ชะลอตัวลง ในส่วนของการส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิกยังคงมีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นและมีแนวโน้มที่ดีโดยเฉพาะผลิตภัณฑ์
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง และเครื่องสุขภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารซึ่งมีแนวโน้มลดลงมาตลอด อาจได้รับผลดีจากการจัดงาน
ไทยแลนด์เซรามิกแฟร์ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดลำปาง ซึ่งการจัดงานนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะให้เป็นงานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ และหากงานนี้ประสบความ
สำเร็จจะสามารถทำให้การส่งออกเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นได้
ตารางที่ 1 การผลิตและจำหน่ายเซรามิกในประเทศ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
การผลิต
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 99,183,308 120,193,952 141,860,176 158,954,956
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 21.18 18.03 12.05
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 6,101,861 7,285,844 7,938,220 9,193,931
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 19.4 8.95 15.82
การจำหน่าย
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง (ตารางเมตร) 113,403,682 139,471,329 151,127,986 167,385,513
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 22.99 8.36 10.76
เครื่องสุขภัณฑ์ (ชิ้น) 3,054,458 3,623,116 4,459,885 5,050,456
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 18.62 23.1 13.24
ที่มา: ศูนย์สารสนเทศเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม
หมายเหตุ : 1. จากการสำรวจโรงงานกระเบื้องปูพื้น บุผนัง จำนวน 12 โรงงาน เครื่องสุขภัณฑ์ จำนวน 6 โรงงาน
2. ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก
มูลค่า:ล้านเหรียญสหรัฐฯ
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
กระเบื้องปูพื้น บุผนัง 69.7 69.7 86 104
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 0 23.39 20.98
เครื่องสุขภัณฑ์ 76.4 100.5 95.1 111.1
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 31.54 -5.37 16.85
เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 168.5 188.7 186.6 182
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 11.99 -1.11 -2.44
ของชำร่วยเครื่องประดับ 34.9 35.7 31.7 33.4
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 2.29 -11.2 5.24
ลูกถ้วยไฟฟ้า 11.8 18.7 17.6 16.6
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 58.47 -5.88 -5.91
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น ๆ 125.3 111.2 124.8 185
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) -11.25 12.23 48.27
รวมส่งออกผลิตภัณฑ์เซรามิก 486.6 524.5 541.8 632.2
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 7.79 3.3 16.68
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
ตารางที่ 3 แสดงมูลค่านำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก
ผลิตภัณฑ์ ปี 2545 ปี 2546 ปี 2547 ปี 2548 *
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ 29.5 35.8 45.7 61.92
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 21.36 27.65 35.49
ผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น 28.6 52.2 93.8 99.72
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 82.52 79.69 6.31
รวมนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก 58.1 88 139.5 161.64
อัตราการเปลี่ยนแปลง (%) 51.46 58.52 15.87
ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์
หมายเหตุ : 1. ปี 2548 เป็นตัวเลขประมาณการ
2. กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้ปรับโครงสร้างสินค้านำเข้าใหม่
โดยแบ่งผลิตภัณฑ์เซรามิกเป็นผลิตภัณฑ์
เซรามิกสำหรับใช้ตามห้องปฏิบัติการ และผลิตภัณฑ์เซรามิกอื่น
3. การนำเข้าผลิตภัณฑ์เซรามิก ไม่นับรวมผลิตภัณฑ์เซรามิกทนไฟ ในพิกัด 6903 ที่จัดอยู่ในหมวดสินค้าทุนอื่น ๆ
เครื่องสุขภัณฑ์ ในพิกัด 6910 เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร ในพิกัด 6911 และพิกัด 6912 เครื่องใช้
และเครื่องตกแต่ง
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-