แท็ก
เกษตรกร
1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ภัยแล้งกระทบนากุ้งสตูล พบเหตุโรคตัวแดงระบาด
นายสุชีพ หนูดำ ประมงจังหวดัสตูล กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.สตูล ขณะนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมาก ทำให้บ่อเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ จ.สตูลได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะโรคที่เกิดมาพร้อมกับภัยแล้ง คือ โรคตัวแดงดวงขาว อาการที่พบกุ้งจะลอยตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำ จากนั้นก็จะตายจนหมดบ่อในที่สุด และจะลุกลามไปยังบ่อใกล้เคียง ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สตูลนับร้อยรายต้องประสบปัญหาดังกล่าว บางรายถึงขั้นต้องหยุดเลี้ยงกุ้งไปโดยปริยาย เนื่องจากทนรับสภาพการขาดทุนไม่ไหว ส่วนสาเหตุการเกิดโรคดังกล่าวนั้น เกษตรกรเชื่อว่าเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากพื้นที่ จ.สตูล ประสบปัญหาภัยแล้ง
ประมงจังหวัดสตูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะของโรคตัวแดงดวงขาว สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในน้ำ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้กุ้งอ่อนแอและเชื้อโรคเข้าไปทำลาย โดยโรคดังกล่าวไม่มียารักษาได้ แต่มีวิธีการป้องกัน โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องมีบ่อพักน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำลงบ่อเลี้ยงกุ้ง อย่าปล่อยน้ำลงไปในบ่อโดยตรง โดยไม่ได้มีการพักไว้ก่อนจะทำให้น้ำที่ติดมาจากบ่ออื่นติดโรคมาด้วย และข้อควรแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งขณะนี้ขอให้เกษตรกรที่จับกุ้งแล้วควรพักบ่อและใส่ปูนขาว เพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าเชื้อจะหมด แล้วค่อยปล่อยพันธุ์กุ้งลงไปเลี้ยงใหม่ หรือให้รีบปรึกษานักวิชาการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.สตูล เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
นายวงวุฒิ ชุมทอง ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งเขต อ.ท่าแพ จ.สตูล กล่าวว่า นับตั้งแต่เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ จ.สตูล ทำให้เกิดโรคระบาดซึ่งเรียกว่าโรคตัวแดงดวงขาว ทำให้กุ้งในพื้นที่ จ.สตูล โดยเฉพาะ อ.เมือง อ.ท่าแพ และ อ.ละงู ประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดดังกล่าว ซึ่งได้แจ้งให้ทางจังหวัดและประมงจังหวัดเข้ามาแก้ปัญหาเป็นการด่วน มิเช่นนั้นแล้วพื้นที่นากุ้งจำนวน 50,000 ไร่เศษในพื้นที่ จ.สตูล จะเกิดผลกระทบ ทำให้กุ้งตาย และมีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจสตูลเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายได้ประสบปัญหาเกิดโรค ตัวแดงดวงขาวบ้างแล้ว ซึ่งเห็นว่าหากทางจังหวัดและประมงจังหวัดไม่รีบแก้ไขจะทำให้กุ้งตายทั้งบ่อ ซึ่งปัจจุบัน นากุ้ง จ.สตูล ทำรายได้ให้แก่จังหวัดสตูลปีละไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะทำให้มีผลกระทบและทำให้กุ้งตายในที่สุด เมื่อเกิดปัญหาทางจังหวัดและประมงจังหวัดจึงได้ขอให้จัดส่งนักวิชาการเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการนากุ้งเป็นการด่วน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,226.10 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,069.34 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,156.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.08 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 189.18 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.80 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.95บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 149.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.03 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 17 ก.พ. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 20-26 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-
การผลิต
ภัยแล้งกระทบนากุ้งสตูล พบเหตุโรคตัวแดงระบาด
นายสุชีพ หนูดำ ประมงจังหวดัสตูล กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.สตูล ขณะนี้ทำให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเป็นอย่างมาก ทำให้บ่อเลี้ยงกุ้งในพื้นที่ จ.สตูลได้รับผลกระทบโดยตรง โดยเฉพาะโรคที่เกิดมาพร้อมกับภัยแล้ง คือ โรคตัวแดงดวงขาว อาการที่พบกุ้งจะลอยตัวขึ้นมาสู่ผิวน้ำ จากนั้นก็จะตายจนหมดบ่อในที่สุด และจะลุกลามไปยังบ่อใกล้เคียง ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งขาวในพื้นที่ จ.สตูลนับร้อยรายต้องประสบปัญหาดังกล่าว บางรายถึงขั้นต้องหยุดเลี้ยงกุ้งไปโดยปริยาย เนื่องจากทนรับสภาพการขาดทุนไม่ไหว ส่วนสาเหตุการเกิดโรคดังกล่าวนั้น เกษตรกรเชื่อว่าเกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง เนื่องจากพื้นที่ จ.สตูล ประสบปัญหาภัยแล้ง
ประมงจังหวัดสตูล กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะของโรคตัวแดงดวงขาว สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส ชนิดหนึ่งซึ่งมีอยู่ในน้ำ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง ทำให้กุ้งอ่อนแอและเชื้อโรคเข้าไปทำลาย โดยโรคดังกล่าวไม่มียารักษาได้ แต่มีวิธีการป้องกัน โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งจะต้องมีบ่อพักน้ำก่อนที่จะปล่อยน้ำลงบ่อเลี้ยงกุ้ง อย่าปล่อยน้ำลงไปในบ่อโดยตรง โดยไม่ได้มีการพักไว้ก่อนจะทำให้น้ำที่ติดมาจากบ่ออื่นติดโรคมาด้วย และข้อควรแนะนำผู้เลี้ยงกุ้งขณะนี้ขอให้เกษตรกรที่จับกุ้งแล้วควรพักบ่อและใส่ปูนขาว เพื่อฆ่าเชื้อจนกว่าเชื้อจะหมด แล้วค่อยปล่อยพันธุ์กุ้งลงไปเลี้ยงใหม่ หรือให้รีบปรึกษานักวิชาการที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง จ.สตูล เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
นายวงวุฒิ ชุมทอง ผู้ประกอบการเลี้ยงกุ้งเขต อ.ท่าแพ จ.สตูล กล่าวว่า นับตั้งแต่เกิดภาวะภัยแล้งในพื้นที่ จ.สตูล ทำให้เกิดโรคระบาดซึ่งเรียกว่าโรคตัวแดงดวงขาว ทำให้กุ้งในพื้นที่ จ.สตูล โดยเฉพาะ อ.เมือง อ.ท่าแพ และ อ.ละงู ประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดดังกล่าว ซึ่งได้แจ้งให้ทางจังหวัดและประมงจังหวัดเข้ามาแก้ปัญหาเป็นการด่วน มิเช่นนั้นแล้วพื้นที่นากุ้งจำนวน 50,000 ไร่เศษในพื้นที่ จ.สตูล จะเกิดผลกระทบ ทำให้กุ้งตาย และมีผลเสียหายต่อภาวะเศรษฐกิจสตูลเป็นอย่างมาก ดังนั้น ผู้ประกอบการบางรายได้ประสบปัญหาเกิดโรค ตัวแดงดวงขาวบ้างแล้ว ซึ่งเห็นว่าหากทางจังหวัดและประมงจังหวัดไม่รีบแก้ไขจะทำให้กุ้งตายทั้งบ่อ ซึ่งปัจจุบัน นากุ้ง จ.สตูล ทำรายได้ให้แก่จังหวัดสตูลปีละไม่ต่ำกว่า 1 พันล้านบาท หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ต่อไปก็จะทำให้มีผลกระทบและทำให้กุ้งตายในที่สุด เมื่อเกิดปัญหาทางจังหวัดและประมงจังหวัดจึงได้ขอให้จัดส่งนักวิชาการเข้ามาช่วยเหลือผู้ประกอบการนากุ้งเป็นการด่วน
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 29 ม.ค. - 12 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,226.10 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 1,069.34 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,156.76 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.81 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 10.08 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 189.18 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 60.89 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 87.80 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.75 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 31.79 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.96 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 56.77 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.27 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 99.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 92.14 บาท ของสัปดาห์ก่อน 6.95บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 157.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 159.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 160.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 12.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.23 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 149.54 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.31 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 54.55 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.45 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 124.09 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 123.57 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.57 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.04 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.03 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.01 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 13 - 17 ก.พ. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 22.90 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 22.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 8 ประจำวันที่ 20-26 กุมภาพันธุ์ 2549--
-พห-