แท็ก
อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
สาทิตย์ วงศ์หนองเตย
พรรคประชาธิปัตย์
อลงกรณ์ พลบุตร
กรณ์ จาติกวนิช
มหาวิทยาลัย
'อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ' นำทีมแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ อาทิเช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร ,นายกรณ์ จาติกวนิช ,นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย , ม.ล.อภิมงคล โสณกุล และนพ. บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ ร่วมเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง 'โครงสร้างพลังงานการผูกขาด ค่าครองชีพ' ณ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
วันนี้ (1 ส.ค. 49) เวลา 10.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำอาทิเช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรค นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรค ม.ล.อภิมงคล โสณกุล และนพ. บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ ได้เดินทางไปร่วมเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง 'โครงสร้างพลังงานการผูกขาด ค่าครองชีพ' ณ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โดยภายหลังเสวนา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสรุปผลการเสวนาว่า วันนี้คณะของพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับนักวิชาการ และ ภาคเอกชน ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลม ในเรื่องปัญหาพลังงานอันเนื่องด้วยวาระประชาชนที่พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันผลักดันในขณะนี้มีเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ ค่าครองชีพของประชาชน และการแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งก็คือปัญหาโครงสร้างของประเทศ ทั้งในแง่มุมของความอ่อนแอ ที่ต้องมีการพึงพิงการนำเข้าพลังงาน และในปัญหาในแง่ขัดขีดความสามารถในการแข่งขัน สิ่งที่ทุกฝ่ายมองตรงกันคือปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากสภาวะของตลาดโลก หรือกลไลตลาดเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างของธุรกิจและการบริหาร หรือการกำกับดูธุรกิจพลังงาน ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และที่มีการผูกขาดในหลายจุด รวมถึงการบริหารนโยบายที่ผิดพลาด
ดังนั้นส่วนสำคัญของวาระประชาชน คือการที่ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างของพลังงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้นโดยพื้นฐาน แต่ต้องลดปัญหาด้านการเมืองด้วย เพราะว่าผลประโยชน์ ที่แอบแฝงอยู่นั้น เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลทำลายระบบการเมืองที่ดี หลักสำคัญของนโยบายของพรรค จึงเน้นการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้าง โดยการขจัดผลประโยชน์ทับซ้อนทุกจุด เริ่มต้นจากการบริหารและดำเนินกิจการด้านพลังงาน ต้องมีการแยกกลุ่มคนและกลไกลที่ทำเรื่องนโยบาย ออกจากเรื่องการกำกับดูแล ออกจากการประกอบการโดยเด็ดขาด ไม่ปล่อยให้คนที่ทำหน้าที่เรื่องนโยบาย หรือเรื่องกำกับดูแล ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของประเทศ เข้าไปอยู่ในจุดที่มีผลประโยชน์ ในทางธุรกิจ หรือค่าตอบแทนที่ผูกพัน กับผลประโยชน์ ทางธุรกิจขององคืกรที่ประกอบการด้วย ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันคือในองค์กรที่ทำธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งคือรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการจัดโครงสร้างใหม่ ตามเจตนารมณ์นี้
“ในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะไม่มีการแปรรูปจนกว่าจะมีการแยกแยะโครงสร้างให้เป็นไปตามแนวทางนี้ก่อนซึ่งจะทำให้จุดที่มีการผูกขาด ทรัพย์สมบัติของชาติ ยังอยู่ในการควบคุมและการกำกับดูแลของภาครัฐอย่างชัดเจน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ในส่วนของปตท.นั้นการแยกธุรกิจท่อก๊าซ และรวมทั้งการกำหนดกติกา และการกำกับกติกา เพื่อให้การใช้ท่อก๊าซเกิดประโยชน์มากที่สุดต่อส่วนรวม ตรงนี้จะเป็นหนึ่งนโยบายที่มีความสำคัญมาก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนใหญ่ธุรกิจพลังงานจะเป็นธุรกิจผูกพันกับการใช้ทรัพยากรของชาติ ระบบของการบริหารจัดการและการจัดสรรผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากตรงนี้ โดยเฉพาะในภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงกว่าที่ได้มีการคาดการไว้ ก็ต้องมีการกำกับระบบการจัดการผลประโยชน์ให้เหมาะสม กำไรที่เกิดขึ้นจากการผูกขาด จากภาวะของตลาดที่สูงกว่าที่เคยคาดการจะต้องมีการแบ่งกลับมาให้สังคม แบ่งกลับมาให้ประโยชน์ของส่วนรวม และประเด็นสุดท้ายคือการดำเนินงานในด้านการส่งเสริมพลังงาน ทดแทนพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสะสมระบบเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีการได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับภาพรวมพลังงานไปจนถึงในแง่ของระดับชุมชน และระดับท้องถิ่น
“ในภายของการปรับโครงสร้างตรงนี้ อยากให้ประชาชนมองเห็นว่าจริงๆแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชนทุกคน ถ้าเราสามารถจัดการกับแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างถูกต้อง คนไทยได้ประโยชน์ด้วย สิ่งที่จะทำให้เป็นรูปธรรมคือ 1.การปรับสูตรค่าไฟเพื่อนำไปสู่การรถค่าไฟฟ้าได้ กล่าวคือเพียงกับไปทบทวนกติกาที่ไปเอื้ออำนวยในแง่ของการผูกขาด เช่นการไปรับประกันผลการลงทุนในกิจการ ซึ่งกติกาดังกล่าวนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ตั้งขึ้นให้คนมาซื้อหุ้น กฟผ.เท่านั้น 2. สูตรค่าไฟที่เดิมมีการกำหนดว่าองค์กรที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพต้องมีความเข้มขึ้น ไม่ใช่ผ่านต่อต้นทุนทั้งหมดมาให้ผู้ใช้ไฟทั้งหมด” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ตรงนี้พรรคจะเร่งดำเนินการทันทีเพื่อให้ประชาชนได้รับการลดภาระในเรื่องของค่าไฟ
นายอภิสิทธิ์ กล่าววต่อว่า ในส่วนปัญหาราคาน้ำมันนั้น ต้องนำส่วนเกินกลับมาให้สังคม คือนำมาล้างหนี้ของกองทุนน้ำมันที่เกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่มีเหตุผลใดที่ให้ประชาชนแบกรับราคาน้ำมันเพิ่มไปอีก 2.50 บาทต่อลิตร เพื่อไปชดเชยความรับผิดชอบของรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งคือระบบของการส่งออกก๊าซในปัจจุบันปรากฎว่ามีผู้ส่งออกที่จะได้กำไรสูง สืบเนื่องมาจากราคาที่มีการค้าขายหน้าโรงกลั่น กับ ราคาโลกแตกต่างกันมาก เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งพรรคเห็นว่ากำไร ส่วนเกินตรงนี้ต้องมีการคืนกลับมาให้กับภาครัฐที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในการที่จะลดหนี้ของกองทุนน้ำมันที่หนุน แอลพีจี อยู่ ซึ่งในระยะเฉพาะหน้าซึ่งประชาชนมีความเดือนร้อนในเรื่องของค่าครองชีพ จึงต้องมีการลดภาระในเรื่องของค่าหุงต้มได้ด้วย
“นี่คือสิ่งที่เป็นแนวทางที่เราถือว่าเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องมีความสอดคล้องในแง่ของนโยบายเฉพาะหน้ากับนโยบาย และระยะยาว ในเรื่องพลังงาน ที่จะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของเราไม่เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ติดอยู่กับวังวลของทุนนิยมที่เป็นทุนนิยมผูกขาดและระบบอุปถัมป์ ซึ่งไปทำให้ระบบการเมืองอ่อนแอด้วย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ส.ค. 2549--จบ--
วันนี้ (1 ส.ค. 49) เวลา 10.00 น. นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยแกนนำอาทิเช่น นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรค นายกรณ์ จาติกวนิช รองเลขาธิการพรรค นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย กรรมการบริหารพรรค ม.ล.อภิมงคล โสณกุล และนพ. บุรณัชย์ สมุทรรักษ์ ได้เดินทางไปร่วมเสวนาโต๊ะกลมเรื่อง 'โครงสร้างพลังงานการผูกขาด ค่าครองชีพ' ณ สถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
โดยภายหลังเสวนา นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวสรุปผลการเสวนาว่า วันนี้คณะของพรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกับนักวิชาการ และ ภาคเอกชน ได้ร่วมเสวนาโต๊ะกลม ในเรื่องปัญหาพลังงานอันเนื่องด้วยวาระประชาชนที่พรรคประชาธิปัตย์ ร่วมกันผลักดันในขณะนี้มีเรื่องเกี่ยวกับปัญหาเฉพาะหน้า อาทิ ค่าครองชีพของประชาชน และการแก้ปัญหาระยะยาว ซึ่งก็คือปัญหาโครงสร้างของประเทศ ทั้งในแง่มุมของความอ่อนแอ ที่ต้องมีการพึงพิงการนำเข้าพลังงาน และในปัญหาในแง่ขัดขีดความสามารถในการแข่งขัน สิ่งที่ทุกฝ่ายมองตรงกันคือปัญหาหลายอย่างที่เกิดขึ้นไม่ได้เกิดขึ้นจากสภาวะของตลาดโลก หรือกลไลตลาดเท่านั้น แต่เป็นปัญหาที่เกิดจากโครงสร้างของธุรกิจและการบริหาร หรือการกำกับดูธุรกิจพลังงาน ที่มีผลประโยชน์ทับซ้อน และที่มีการผูกขาดในหลายจุด รวมถึงการบริหารนโยบายที่ผิดพลาด
ดังนั้นส่วนสำคัญของวาระประชาชน คือการที่ต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างของพลังงาน ซึ่งไม่เพียงแต่ทำให้เศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้นโดยพื้นฐาน แต่ต้องลดปัญหาด้านการเมืองด้วย เพราะว่าผลประโยชน์ ที่แอบแฝงอยู่นั้น เป็นส่วนหนึ่งที่มีผลทำลายระบบการเมืองที่ดี หลักสำคัญของนโยบายของพรรค จึงเน้นการผลักดันการปฏิรูปโครงสร้าง โดยการขจัดผลประโยชน์ทับซ้อนทุกจุด เริ่มต้นจากการบริหารและดำเนินกิจการด้านพลังงาน ต้องมีการแยกกลุ่มคนและกลไกลที่ทำเรื่องนโยบาย ออกจากเรื่องการกำกับดูแล ออกจากการประกอบการโดยเด็ดขาด ไม่ปล่อยให้คนที่ทำหน้าที่เรื่องนโยบาย หรือเรื่องกำกับดูแล ที่ต้องรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวมของประเทศ เข้าไปอยู่ในจุดที่มีผลประโยชน์ ในทางธุรกิจ หรือค่าตอบแทนที่ผูกพัน กับผลประโยชน์ ทางธุรกิจขององคืกรที่ประกอบการด้วย ดังนั้นสิ่งที่พรรคประชาธิปัตย์ ยืนยันคือในองค์กรที่ทำธุรกิจด้านพลังงาน ซึ่งคือรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการจัดโครงสร้างใหม่ ตามเจตนารมณ์นี้
“ในส่วนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตจะไม่มีการแปรรูปจนกว่าจะมีการแยกแยะโครงสร้างให้เป็นไปตามแนวทางนี้ก่อนซึ่งจะทำให้จุดที่มีการผูกขาด ทรัพย์สมบัติของชาติ ยังอยู่ในการควบคุมและการกำกับดูแลของภาครัฐอย่างชัดเจน เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม ในส่วนของปตท.นั้นการแยกธุรกิจท่อก๊าซ และรวมทั้งการกำหนดกติกา และการกำกับกติกา เพื่อให้การใช้ท่อก๊าซเกิดประโยชน์มากที่สุดต่อส่วนรวม ตรงนี้จะเป็นหนึ่งนโยบายที่มีความสำคัญมาก” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวต่อว่า ส่วนใหญ่ธุรกิจพลังงานจะเป็นธุรกิจผูกพันกับการใช้ทรัพยากรของชาติ ระบบของการบริหารจัดการและการจัดสรรผลประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจากตรงนี้ โดยเฉพาะในภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงกว่าที่ได้มีการคาดการไว้ ก็ต้องมีการกำกับระบบการจัดการผลประโยชน์ให้เหมาะสม กำไรที่เกิดขึ้นจากการผูกขาด จากภาวะของตลาดที่สูงกว่าที่เคยคาดการจะต้องมีการแบ่งกลับมาให้สังคม แบ่งกลับมาให้ประโยชน์ของส่วนรวม และประเด็นสุดท้ายคือการดำเนินงานในด้านการส่งเสริมพลังงาน ทดแทนพลังงานทางเลือกโดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสะสมระบบเศรษฐกิจพอเพียงต้องมีการได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ระดับภาพรวมพลังงานไปจนถึงในแง่ของระดับชุมชน และระดับท้องถิ่น
“ในภายของการปรับโครงสร้างตรงนี้ อยากให้ประชาชนมองเห็นว่าจริงๆแล้วเป็นเรื่องใกล้ตัวประชาชนทุกคน ถ้าเราสามารถจัดการกับแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างถูกต้อง คนไทยได้ประโยชน์ด้วย สิ่งที่จะทำให้เป็นรูปธรรมคือ 1.การปรับสูตรค่าไฟเพื่อนำไปสู่การรถค่าไฟฟ้าได้ กล่าวคือเพียงกับไปทบทวนกติกาที่ไปเอื้ออำนวยในแง่ของการผูกขาด เช่นการไปรับประกันผลการลงทุนในกิจการ ซึ่งกติกาดังกล่าวนั้นเป็นเพียงสิ่งที่ตั้งขึ้นให้คนมาซื้อหุ้น กฟผ.เท่านั้น 2. สูตรค่าไฟที่เดิมมีการกำหนดว่าองค์กรที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ต้องมีการปรับปรุงประสิทธิภาพต้องมีความเข้มขึ้น ไม่ใช่ผ่านต่อต้นทุนทั้งหมดมาให้ผู้ใช้ไฟทั้งหมด” นายอภิสิทธิ์ กล่าวและว่า ตรงนี้พรรคจะเร่งดำเนินการทันทีเพื่อให้ประชาชนได้รับการลดภาระในเรื่องของค่าไฟ
นายอภิสิทธิ์ กล่าววต่อว่า ในส่วนปัญหาราคาน้ำมันนั้น ต้องนำส่วนเกินกลับมาให้สังคม คือนำมาล้างหนี้ของกองทุนน้ำมันที่เกิดจากความผิดพลาดของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ไม่มีเหตุผลใดที่ให้ประชาชนแบกรับราคาน้ำมันเพิ่มไปอีก 2.50 บาทต่อลิตร เพื่อไปชดเชยความรับผิดชอบของรัฐบาล และอีกส่วนหนึ่งคือระบบของการส่งออกก๊าซในปัจจุบันปรากฎว่ามีผู้ส่งออกที่จะได้กำไรสูง สืบเนื่องมาจากราคาที่มีการค้าขายหน้าโรงกลั่น กับ ราคาโลกแตกต่างกันมาก เพราะราคาน้ำมันในตลาดโลกถีบตัวสูงขึ้น ซึ่งพรรคเห็นว่ากำไร ส่วนเกินตรงนี้ต้องมีการคืนกลับมาให้กับภาครัฐที่จะสามารถนำไปใช้ได้ในการที่จะลดหนี้ของกองทุนน้ำมันที่หนุน แอลพีจี อยู่ ซึ่งในระยะเฉพาะหน้าซึ่งประชาชนมีความเดือนร้อนในเรื่องของค่าครองชีพ จึงต้องมีการลดภาระในเรื่องของค่าหุงต้มได้ด้วย
“นี่คือสิ่งที่เป็นแนวทางที่เราถือว่าเป็นนโยบายสำคัญที่ต้องมีความสอดคล้องในแง่ของนโยบายเฉพาะหน้ากับนโยบาย และระยะยาว ในเรื่องพลังงาน ที่จะทำให้ประชาชนได้รับความเป็นธรรม ซึ่งโครงสร้างเศรษฐกิจของเราไม่เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจที่ติดอยู่กับวังวลของทุนนิยมที่เป็นทุนนิยมผูกขาดและระบบอุปถัมป์ ซึ่งไปทำให้ระบบการเมืองอ่อนแอด้วย” นายอภิสิทธิ์ กล่าว
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 1 ส.ค. 2549--จบ--