วันนี้ (2 พฤษภาคม 2549) คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ความเห็นชอบมาตรการด้านการเงินการคลังเพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
ดร. ทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุน
การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นพลังงานทดแทน กระทรวงการคลังเห็นควรยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพียงระบบเดียว ซึ่งเดิมอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 10 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอากรขาเข้าให้กับผู้ที่สนใจทำการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเครื่องยนต์ดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และมีราคาที่ค่อนข้างสูง โดยในกรณีของเครื่องยนต์เก่ากำหนดระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการชั่วคราว 2 ปี นับตั้งแต่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เพื่อจูงใจทางด้านราคา ส่วนกรณีของเครื่องยนต์ใหม่ การยกเว้นอากรขาเข้าไม่กำหนดช่วงระยะเวลา
การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์เฉพาะชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐบาลมากนัก เนื่องจากปัจจุบันเครื่องยนต์ชนิดดังกล่าวยังมีการนำเข้าไม่มากนัก แต่จะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และบรรเทาต้นทุนการผลิตในภาคการขนส่งให้ลดลง
สำหรับในส่วนของมาตรการทางด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติกระทรวงการคลังโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการรถแท็กซี่ ไม่ว่าจะเป็น“โครงการสินเชื่อเพื่อจัดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวี (NGV) เพื่อประชาชน” ของธนาคารออมสิน ขณะที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สนับสนุน “โครงการสินเชื่อเช่าซื้อโครงการพัฒนาแท็กซี่ไทย” และ “โครงการสินเชื่อเช่าซื้อเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ NGV แก่ผู้ประกอบการรถแท็กซี่” นอกจากนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2549 สถาบันการเงินจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV เพื่อให้สินเชื่อแก่เจ้าของยานยนต์ในการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้น้ำมัน โดยมีเป้าหมายวงเงินสินเชื่อจำนวนทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดาไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยสำหรับนิติบุคคลไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลาโครงการกำหนดไว้ 5 ปี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 41/2549 2 พฤษภาคม 49--
ดร. ทนง พิทยะ รักษาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้เปิดเผยว่า เพื่อสนับสนุน
การใช้ก๊าซธรรมชาติ (NGV) เป็นพลังงานทดแทน กระทรวงการคลังเห็นควรยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์ชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงเพียงระบบเดียว ซึ่งเดิมอัตราอากรขาเข้าเท่ากับร้อยละ 10 เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนของอากรขาเข้าให้กับผู้ที่สนใจทำการปรับเปลี่ยนเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิง เป็นเครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เนื่องจากเครื่องยนต์ดังกล่าว ปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ และมีราคาที่ค่อนข้างสูง โดยในกรณีของเครื่องยนต์เก่ากำหนดระยะเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าเป็นการชั่วคราว 2 ปี นับตั้งแต่มีผลบังคับใช้ทางกฎหมาย เพื่อจูงใจทางด้านราคา ส่วนกรณีของเครื่องยนต์ใหม่ การยกเว้นอากรขาเข้าไม่กำหนดช่วงระยะเวลา
การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องยนต์เฉพาะชนิดที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง จะไม่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของรัฐบาลมากนัก เนื่องจากปัจจุบันเครื่องยนต์ชนิดดังกล่าวยังมีการนำเข้าไม่มากนัก แต่จะส่งผลให้มีการปรับเปลี่ยนมาใช้เครื่องยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติกันมากขึ้น ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และบรรเทาต้นทุนการผลิตในภาคการขนส่งให้ลดลง
สำหรับในส่วนของมาตรการทางด้านการเงินที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนการใช้ก๊าซธรรมชาติกระทรวงการคลังโดยสถาบันการเงินเฉพาะกิจอยู่ระหว่างดำเนินการร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) สนับสนุนสินเชื่อเพื่อส่งเสริมการใช้ NGV ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการรถแท็กซี่ ไม่ว่าจะเป็น“โครงการสินเชื่อเพื่อจัดตั้งอุปกรณ์เอ็นจีวี (NGV) เพื่อประชาชน” ของธนาคารออมสิน ขณะที่ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) สนับสนุน “โครงการสินเชื่อเช่าซื้อโครงการพัฒนาแท็กซี่ไทย” และ “โครงการสินเชื่อเช่าซื้อเพื่อติดตั้งอุปกรณ์ NGV แก่ผู้ประกอบการรถแท็กซี่” นอกจากนี้เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2549 สถาบันการเงินจำนวน 8 แห่ง ได้แก่ ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยธนาคาร จำกัด (มหาชน) ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารออมสิน ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (Memorandum of Understanding : MOU) กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในโครงการทุนหมุนเวียนสำหรับยานยนต์ NGV เพื่อให้สินเชื่อแก่เจ้าของยานยนต์ในการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV เป็นเชื้อเพลิงทดแทนการใช้น้ำมัน โดยมีเป้าหมายวงเงินสินเชื่อจำนวนทั้งสิ้น 7,000 ล้านบาท โดยกำหนดอัตราดอกเบี้ยสำหรับบุคคลธรรมดาไม่เกินร้อยละ 5 ต่อปี ส่วนอัตราดอกเบี้ยสำหรับนิติบุคคลไม่เกินร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลาโครงการกำหนดไว้ 5 ปี
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 41/2549 2 พฤษภาคม 49--