การตลาด
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,344 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 21,582 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,440 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมนี้ (Life Cycle) ในส่วนเรื่องของราคาปุ๋ยนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 10,000 บาท/ตัน เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จนในที่สุดปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญผู้ค้าและนำเข้าปุ๋ยรายใหญ่ มาเจรจาขอความร่วมมือ ซึ่งภาคเอกชนยินดีที่จะปรับลดราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 10,000 บาท/ตัน มีผลในเดือนมกราคมนี้เป็นต้นไป ส่วนปริมาณการนำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประเด็นแรก ปริมาณน้ำสำรองในประเทศเพียงพอสำหรับภาคการเกษตร ซึ่งแตกต่างจากปีที่ผ่านมาที่ภาคเกษตรประสบภาวะภัยแล้ง ประเด็นที่สอง ราคาอ้อยและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง จูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับแผนส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราตามนโยบายภาครัฐบาลทำให้มีปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และกาตาร์
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,241 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 26.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 301 ล้านบาทลดลงร้อยละ 64.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสนี้ มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่องในสินค้าที่ทำจากธรรมชาติ ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติและสมุนไพรจากไทย และการที่บริษัทข้ามชาติ ( Multi-National Company) ได้ให้ความไว้วางใจและมั่นใจในศักยภาพการผลิตของไทย ทำให้มีบริษัทเครื่องสำอางหลายยี่ห้อได้ย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น Shisedo Kose Revlon และ Lancome ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีน เนื่องจากบริษัทไชน่า เนชั่นแนล เคมีคัล คอร์ป (เคมไชน่า) บริษัทผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากจีน บรรลุข้อตกลง เข้าถือครองกิจการคีโนส ผู้ผลิตเอทธิลีนออสเตรเลีย 1 ในผู้ผลิตรายใหญ่ของอุตสาหกรรมยางและพลาสติกของออสเตรเลีย เพื่อหวังยกระดับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์สู่ตลาดโลก นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
การนำเข้า
ไตรมาส 1 ปี 2549 การนำเข้าเคมีภัณฑ์อนินทรีย์มีมูลค่า 9,344 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 3.59 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.40 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่าการนำเข้า 21,582 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.67 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปุ๋ยมีมูลค่านำเข้า 7,853 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 117.35 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เพิ่มขึ้นร้อยละ 28.59 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเครื่องสำอางมีมูลค่านำเข้า 4,440 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 1.03 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีในไตรมาสนี้มีการนำเข้าเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นวงจรชีวิตของอุตสาหกรรมนี้ (Life Cycle) ในส่วนเรื่องของราคาปุ๋ยนั้นได้เพิ่มสูงขึ้นเกินกว่า 10,000 บาท/ตัน เนื่องจากการที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรได้รับความเดือดร้อน จนในที่สุดปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เชิญผู้ค้าและนำเข้าปุ๋ยรายใหญ่ มาเจรจาขอความร่วมมือ ซึ่งภาคเอกชนยินดีที่จะปรับลดราคาจำหน่ายปุ๋ยเคมีลงมาอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำกว่า 10,000 บาท/ตัน มีผลในเดือนมกราคมนี้เป็นต้นไป ส่วนปริมาณการนำเข้าแม่ปุ๋ยจากต่างประเทศจะขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากประเด็นแรก ปริมาณน้ำสำรองในประเทศเพียงพอสำหรับภาคการเกษตร ซึ่งแตกต่างจากปีที่ผ่านมาที่ภาคเกษตรประสบภาวะภัยแล้ง ประเด็นที่สอง ราคาอ้อยและมันสำปะหลังอยู่ในเกณฑ์ที่สูง จูงใจให้เกษตรกรหันมาปลูกพืชดังกล่าวเพิ่มมากขึ้น เช่นเดียวกับแผนส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมันและยางพาราตามนโยบายภาครัฐบาลทำให้มีปริมาณความต้องการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น แหล่งนำเข้าที่สำคัญได้แก่ ซาอุดิอาระเบีย มาเลเซีย และกาตาร์
การส่งออก
ไตรมาส 1 ปี 2549 การส่งออกเคมีภัณฑ์อินทรีย์มีมูลค่า 4,241 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 18.43 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และลดลงร้อยละ 26.23 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เคมีภัณฑ์
อนินทรีย์มีมูลค่าส่งออก 2,049 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.92 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว และเพิ่มขึ้นร้อยละ 47.62 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเครื่องสำอางหรือสิ่งปรุงแต่งสำหรับประทินร่างกายมีมูลค่าส่งออก 7,129 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.57 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว แต่เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.04 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
อุตสาหกรรมปุ๋ยในไตรมาสนี้ มีมูลค่าการส่งออก 301 ล้านบาทลดลงร้อยละ 64.22 เมื่อเทียบกับไตรมาสที่แล้ว เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้ภายในประเทศเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น สาเหตุมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้น มีผลให้ปริมาณการสั่งซื้อจากต่างประเทศลดลง ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ กัมพูชา เวียดนาม และมาเลเซีย
อุตสาหกรรมเครื่องสำอางในไตรมาสนี้ มีมูลค่าส่งออกเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากกระแสความนิยมอย่างต่อเนื่องในสินค้าที่ทำจากธรรมชาติ ทำให้มีการสั่งซื้อสินค้าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติและสมุนไพรจากไทย และการที่บริษัทข้ามชาติ ( Multi-National Company) ได้ให้ความไว้วางใจและมั่นใจในศักยภาพการผลิตของไทย ทำให้มีบริษัทเครื่องสำอางหลายยี่ห้อได้ย้ายฐานการผลิตมายังไทยเพิ่มมากขึ้น เช่น Shisedo Kose Revlon และ Lancome ตลาดส่งออกที่สำคัญได้แก่ ญี่ปุ่น มาเลเซีย และอินโดนีเซีย
แนวโน้ม
ในช่วงที่ผ่านมา อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ในตลาดโลกมีการแข่งขันค่อนข้างสูง และคาดว่าในอนาคตจะมีความรุนแรงมากขึ้นโดยเฉพาะจีน เนื่องจากบริษัทไชน่า เนชั่นแนล เคมีคัล คอร์ป (เคมไชน่า) บริษัทผลิตเคมีภัณฑ์ชั้นนำจากจีน บรรลุข้อตกลง เข้าถือครองกิจการคีโนส ผู้ผลิตเอทธิลีนออสเตรเลีย 1 ในผู้ผลิตรายใหญ่ของอุตสาหกรรมยางและพลาสติกของออสเตรเลีย เพื่อหวังยกระดับอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์สู่ตลาดโลก นอกจากนี้คู่แข่งที่สำคัญของไทยได้แก่ สิงคโปร์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเกาหลี ซึ่งประเทศเหล่านี้มีความได้เปรียบในด้านเทคโนโลยีการผลิตมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวัตถุดิบที่เอื้ออำนวยต่อการผลิต ในขณะที่ประเทศไทยมีต้นทุนการผลิตที่สูงกว่าทำให้ขีดความสามารถในการแข่งขันของไทยในตลาดโลกอยู่ในระดับต่ำ ดังนั้นประเทศไทยจึงควรหันมาใช้กลยุทธ์ทางด้านอื่นอาทิเช่น การลดอัตราภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การส่งมอบสินค้า และ ขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ ๆ เป็นต้น เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-