รายการตรงไปตรงมากับอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 8ธันวาคม 2549
คำต่อคำ - คลิ๊กฟังเสียง
ผู้ดำเนินรายการสวัสดีคะ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีครับ
คุณอภิสิทธิ์สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการค่ะ วันนี้เห็นคุณอภิสิทธิ์ลงหน้าปกมติชนสุดสัปดาห์อีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่ตัวเขาเขียนบรรยายบอกว่าประมาณยุคนี้เป็นยุคขิงแก่นะคะ ขิงแก่มาแล้วขิงอ่อนต้องหลบไปก่อน เป็นอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์อ๋อ ผมยังไม่ได้อ่านนะครับ แต่เห็นในหน้า 3 ของมติชนรายวัน ที่จริงกรณีของพรรคเนี่ย พรรคเป็นสถาบันซึ่งมีกระบวนการ กฎกติกา ความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจนนะครับ เพราะฉะนั้นถ้ามันจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมันก็ว่ากันไปตามระบบ แต่ผมสดับรับฟังดูตอนนี้ส่วนใหญ่มันไปผูกพันกับเรื่องยุบพรรคนะครับ แล้วก็คิดกันไปว่าถ้าหากว่ามีการยุบพรรคแล้วจะอย่างนั้นอย่างนี้อะไรอย่างนี้นะครับ และก็บังเอิญว่าท่านประธานที่ปรึกษาท่านอดีตหัวหน้านี่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค งั้นทุกคนก็จับจ้องไปตรงนั้นว่าถ้าพรรคเป็นอะไรไป การฟื้นฟูพรรคขึ้นมาท่านก็คงมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ผมฟังดูส่วนใหญ่ก็จะวนเวียนอยู่ในลักษณะนี้นะครับ และเมื่อคืนเข้าใจว่าท่านอดีตหัวหน้าไปพูดที่งานของธรรมศาสตร์ก็ได้พูดเรื่องนี้
ผู้ดำเนินรายการครับ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่คุณอภิสิทธิ์กังวลอยู่ใช่ไหมครับ
คุณอภิสิทธิ์ผมไม่มีความกังวลอะไร ตอนนี้หน้าที่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่านำพาพรรคหนึ่งในการต่อสู้คดีนะครับ ซึ่งก็ไม่ประมาทและก็ทำให้รัดกุมที่สุดเพราะว่าก็เป็นเรื่องใหม่ในแง่ของกระบวนวิธีการนะครับ ซึ่งในอาทิตย์ที่แล้วเล่าให้ฟังในเรื่องของขั้นตอนของตุลาการรัฐธรรมนูญนะครับ แล้วก็หากผ่านพ้นตรงนั้นไปก็เป็นเรื่องของการเตรียมตัวนะครับสำหรับที่จะเข้าสู่สนามเลือกตั้งนะครับ และก็กระบวนการทั้งหมดสมาชิกพรรคก็จะมีส่วนร่วมในการกำหนดอยู่แล้วว่าต้องการให้พรรคดำเนินไปในทิศทางใดนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ทำงานไปตามปกติอ่ะครับ ไม่ได้มีความวิตกกังวลอะไร
ผู้ดำเนินรายการครับ ต้องขอเรียนถามตรง ๆ นะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ คำที่มติชนสุดสัปดาห์ใช้พาดปก “อภิสิทธิ์สมาชิกส่ายหน้า” มันตรงกับข้อเท็จจริงบรรยากาศที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในพรรคหรือเปล่า ขอเรียนถามตรง ๆ กับคุณอภิสิทธิ์ดีกว่านะครับ
คุณอภิสิทธิ์ก็คงต้องไปถามทางสมาชิกนะครับ เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาเนี่ยบังเอิญว่าพรรคถูกห้ามดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การพบปะการประชุมกันก็อาจจะไม่ค่อยมีนะครับ แต่ว่าผมก็ทำงานอยู่ที่พรรคทุกวันอ่ะนะครับ แทบจะเรียกว่าทุกวันก็ได้ ก็พบปะกับสมาชิก แต่มีจำนวนไม่น้อยที่นั่งทำงานด้วยกันนะครับก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้นะครับ
ผู้ดำเนินรายการครับ เห็นคุณอภิสิทธิ์อยากจะตั้งข้อสังเกตเรื่องที่ จริง ๆ เมื่อวานนี้ทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้มีการลงมติรับร่างกันไปนะฮะ คือเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ตรงนี้คุณอภิสิทธิ์มีข้อสังเกตอย่างไรบ้างครับ
คุณอภิสิทธิ์คือผมก็รู้สึกเป็นห่วงนะครับ เพราะว่าผมมองดูว่าแม้ว่ารัฐบาลจะผ่านกฎหมายไปได้แล้ว 3 ฉบับ แต่ที่ผ่านมากฎหมายของมหาวิทยาลัยเนี่ยก็มักจะมีอุปสรรคนะครับ ไม่ค่อยราบรื่นเท่าที่ควร แม้กระทั่งในยุครสช. ก็เจออุปสรรคนะครับ มาในยุคหลัง ๆ ผ่านรัฐบาลมาหลายชุดเนี่ยก็ยังไม่เรียบร้อยนะครับ และก็ปัญหาหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ก็คือว่าความวิตกกังวลซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันว่าความหมายของการที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบนี้คืออะไรนะครับ ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะมองข้ามนะครับว่าประเด็นอย่างนี้มันอาจสามารถทำให้นโยบายเนี่ยไม่สัมฤทธิ์ผลก็ได้ จุดสำคัญที่ผมได้ไปเสนอต่อที่ประชุมอธิการบดีเนี่ยนะครับ เมื่อประมาณซัก 2-3 สัปดาห์ก่อน ก็คือว่าข้อห่วงใยที่คนมักจะพูดกันเนี่ยคือ
1. ไปเข้าใจว่าการออกนอกระบบเป็นการแปรรูปไปเป็นเอกชนบ้างนะครับ หรือว่าเป็นการกระทำให้รัฐบาลเนี่ยไม่สนับสนุนด้านงบประมาณหรือพูดง่าย ๆ บอกว่าให้ไปเลี้ยงตัวเองอะไรทำนองนั้นนะครับ นั่นก็เป็นข้อหนึ่งที่มีการวิตกกังวลมากนะครับ เพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วผลกระทบก็จะกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกับทางนิสิต นักศึกษานะครับ ก็จะต้องแบกรับภาระในเรื่องของค่าหน่วยกิตเพิ่มเติมหรือไม่นะครับ
ประเด็นที่ 2 ที่เป็นห่วงกันก็คือว่าการบริหารจัดการเมื่ออกจากระบบราชการไปแล้วถ้าไม่มีธรรมาภิบาลนะครับ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการทำหน้าที่ของบรรดาบุคลากรโดยเฉพาะอาจารย์ นักวิชาการต่าง ๆ เนี่ยก็กังวลนะครับว่าจะไม่มีความมั่นคงและอาจจะไปกระทบถึงเรื่องของเสรีภาคทางวิชาการนะครับ พูดกันตรง ๆ ก็คือกลัวว่ามีการเล่นพรรคเล่นพวกกัน หรือว่าเดี๋ยวมีอำนาจจากไหนเข้ามาแทรกแซงว่าไม่พอใจเพราะว่าไปวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจอะไรทำนองนี้นะครับ นั้นผมก็ได้เสนอว่าที่จริงแล้วเมื่อรัฐบาลที่ผลักดันนโยบายนี้ทุกชุดนี่ยืนยันว่าการออกนอกระบบเนี่ยเป็นเรื่องของการเปลี่ยนระบบบริหารจัดการให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นนะครับ ไม่ได้มีความประสงค์ในเรื่องของการผลักภาระให้ใคร และไม่มีประเด็นในการที่จะทำให้การปฎิบัติหน้าที่ของครูบาอาจารย์เนี่ยมีปัญหา ก็น่าที่จะกำหนดกติกาให้ชัดเจนให้เกิดความมั่นใจใน 2 เรื่องนี้นะครับ ถามว่าทำอย่างไรนะครับ
ประเด็นแรกเนี่ยคือเรื่องของการคลังสำหรับมหาวิทยาลัยนะครับ ประเด็นนี้ที่จริงเป็นเรื่องที่น่าทำมากในขณะนี้เพราะว่ามันเกิดความสับสนและความซับซ้อนขึ้นมาจากการที่เรามีกองทุนกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตนะครับที่เรียกว่ากรอ.นะครับเข้ามาควบคู่กับกองทุนเพื่อการศึกษาเดิมนะครับ แล้วก็มีปัญหาว่าตรงนี้จะทำให้การขึ้นค่าหน่วยกิตด้วยหรือไม่อย่างไรนะครับ ต้องเรียนว่าหลายมหาวิทยาลัยเวลาขึ้นค่าหน่วยกิตบางที่ไปอิงของพวกนี้หมดครับ บอกว่าจะออกนอกระบบบ้าง จะไม่เป็นปัญหาเพราะว่ามีกองทุนกู้ยืมอยู่แล้ว ประเด็นทั้งหมดก็คือย่างนี้ครับว่ากติกาที่รัฐบาลน่าจะได้กำหนดออกไปมีกฎหมายมีกลไกเลยก็คือว่าต้นทุนในการผลิตนักศึกษานะครับ นิสิต นักศึกษาในแต่ละสาขา เช่นผลิตแพทย์ ผลิตวิศวะกร ผลิตนักเศรษฐศาตร์ นักรัฐศาสตร์ หรือสาขาไหนก็ตามครับ ควรจะมีการประเมินมาให้ชัดแจ้งว่าจริง ๆ แล้วเป็นเงินเท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวเลขเหล่านี้ทางมหาวิทยาลัยก็จะมีนะครับ แล้วก็ข้อเท็จจริงก็คือขณะนี้จากต้นทุนตรงนี้รัฐบาลจะรับอยู่ประมาณ 6-70 % นะครับ ส่วนที่เก็บจากนิสิต นักศึกษาที่เป็นค่าหน่วยกิตหรืออะไรก็ตามก็อยู่ประมาณ 3-40 % นะครับ ก็ควรจะได้มีการกำหนดกติกาให้ชัดไปเลยว่าในแต่ละสาขาเนี่ยนะครับรัฐบาลยืนยันที่จะสนับสนุนในสัดส่วนเท่านั้นเท่านี้ แล้วก็มีการตั้งกลไกที่เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาที่เป็นตัวคำนวณทั้งเรื่องต้นทุนและการตัดสินใจถึงนโยบายว่าจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน
แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าทำไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่ในหรือนอกระบบก็ตาม ครับถูกไหมครับ พอเราได้กติกาและกลไกที่ชัดเจนอย่างนี้แล้วและโปร่งใสนะครับ มันจะมีความชัดเจนเลยว่าภาระของรัฐบาลที่จะต้องสนับสนุนมหาวิทยาลัยจะต้องไม่น้อยเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ เราก็คำนวณได้เลยว่าสมมติว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลิตแพทย์กี่คน ต้นทุนการผลิตแพทย์เท่านี้ รัฐบาลให้คำมั่นแล้วว่าไม่สนับสนุนไม่น้อยกว่า สมมติ 70 % อย่างที่เป็นอยู่ หรือไรอย่างนี้นะครับก็คำนวณออกมาเป็นงบประมาณได้นะครับ การจัดสรรงบประมาณให้เป็นเหตุเป็นผลนะครับ รัฐบาลในการที่จะบอกว่าจะสนับสนุนเป็นสัดส่วนจะเพิ่มหรือลดอย่างไรก็ต้องมีเหตุผลอธิบายชัดเจนต่อสังคมได้ ผมคิดว่าถ้าเรามีตัวนี้ออกมาก็จะทำให้ข้อวิตกกังวลว่ารัฐบาลสนับสนุนค่าหน่วยกิตหรือไม่อย่างไร หรือว่านักศึกษาต้องเรียนแพงจนเรียนไม่ไหวเนี่ยจะหมดไป ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกระบบก็ตามนะครับ และทำควบคู่ไปกับกติกาเรื่องการจัดงบอุดหนุนในเรื่องของการวิจัยนะครับ ส่วนงบลงทุนก็อาจจะเป็นเรื่องต่างหากเพราะว่าความจำเป็นในการลงทุนนั้นก็ว่าไปตามความเป็นจริงของแต่ละปี แต่ปี ไป นะครับ
อันนี้ถ้าสมมติทำข้อนี้ไป ผมคิดว่าประเด็นที่เป็นประเด็นหลักเลยที่คนกลัวและก็คัดค้านอยู่ ผมว่ามันจะหมดไปนะครับ ประเด็นที่ 2 ก็คือเรื่องเสรีภาพทางวิชาการนะครับอันนี้ก็ต้องให้ชัดนะครับ เพราะว่าที่จริงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็เขียนเอาไว้นะครับ แต่ว่ากลไกในการรองรับนะครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ผมก็ได้เสนอมาว่าอยู่ในกรอบเดียวกับการที่จะต้องคุ้มครองกลุ่มคนในสังคมต่าง ๆ ว่าถ้าเขาปฎิบัติหน้าที่ของเขาอย่างตรงไปตรงมา ใช้สิทธิเสรีภาพของเขาตามสมควร อะไรจะเป็นหลักประกันให้เขาใช่ไหมครับถ้าเราพูดถึงปัญหาที่ผ่านมา เรื่องข้าราชการ ทั้งเรื่องสื่อมวลชน ทั้งเรื่องอะไรต่อมิอะไรนะครับในมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันนะครับ ถ้าหากนักวิชาการแสดงความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ เนี่ยต้องไม่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างหรือเหตุผลหรือมีกระบวนการเพื่อที่จะไปจำกัดสิทธิเสรีภาพเขาโดยสมมติว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบเนี่ยไปใช้ตัวเงื่อนไขของการทำสัญญาหรือการประเมินที่ไม่เที่ยงธรรมนะครับ ก็ต้องมีกลไกที่ให้หลักประกันในเรื่องนี้ว่าธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นนะครับ ผมคิดว่าพอ 2 เรื่องนี้แก้ได้หรือสร้างความชัดเจนได้ เรื่องอื่นค่อนข้างจะเป็นเรื่องรองนะครับ เพราะว่ามันเป็นเรื่องทุจริตทั้งสิ้น ตอนนี้เนี่ยในแง่ของสถานภาพของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเนี่ยดูกฎหมายต่าง ๆ ก็จะรองรับเอาไว้อยู่แล้ว คือหมายความว่า สมมติว่า 2 ท่านเป็นอาจารย์ เป็นข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกำลังออกนอกระบบก็จะมีมาตรการที่อนุโลมให้สามารถคงสภาพเป็นข้าราชการได้อยู่แล้วนะครับ หรือว่าถ้าปรับเปลี่ยนไปนะครับเป็นพนักงานก็อนุญาตให้เป็นสมาชิกบข.ได้นะครับ สิทธิประโยชน์ในเรื่องของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เรื่องอื่นก็มีประกาศต่าง ๆ เข้าใจว่าแก้ไขรองรับนะครับ เพราะฉะนั้นก็กลับมาว่า 2 เรื่องหลักนี้ ผมอยากให้รัฐบาลทำให้ชัด และมันเป็นการวางระบบที่ดีสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วย คือทำให้เรื่องการจัดสรรงบประมาณโปร่งใสและให้หลักประกันในเรื่องของสิทธิเสรีภาพทางวิชาการนะครับ
ผู้ดำเนินรายการค่ะ พอพูดถึงเรื่องงบประมาณเลยต้องขอถามเรื่องของงบประมาณปี 2550 ด้วยนะคะ คุณอภิสิทธิ์ พิจารณาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ก็มีการพูดกันวันนี้ค่อนข้างเยอะเหมือนกับเรื่องงบกลาโหมบ้างนะคะ หรือว่างบอื่น ๆ เท่าที่เคยบริหารราชการมาคุณอภิสิทธิ์คิดอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์คือผมเพิ่มมีโอกาสได้ดูตัวเอกสารที่เป็นงบประมาณสังเขปนะครับ ยังไม่ได้เห็นรายละเอียดไปทุกโครงการนะครับ เพราะฉะนั้นในภาพรวมนี้ก็ต้องบอกว่าการที่กำหนดงบประมาณเป็นงบประมาณขาดดุลนะครับอยู่ประมาณ แสนกว่าล้านเนี่ยอยู่ในระดับที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจนะครับ ก็คือต้องการที่จะให้มีลักษณะของการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่นะครับ เพื่อที่จะประคับประคองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผมดูโครงสร้างคร่าว ๆ เนี่ยใจผมนี้ยังอยากจะเห็นส่วนงบลงทุนมากกว่านี้นะครับ เพราะว่าสัดส่วนของงบลงทุนเนี่ยลดลงไปแม้ว่าตัวเงินรายจ่ายลงทุนจะเพิ่มขึ้นนะครับ แต่ว่าสัดส่วนเมื่อเทียบกับงบประจำ งบที่ไปชำระคืนต้นเงินกู้นะครับลดลงไป
ใจผมเนี่ยอยากจะเห็นการลงทุนมากขึ้นนะครับ เพราะมีความจำเป็นในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ทีนี้ในแง่ของการกระจายตามด้านต่าง ๆ ที่เป็นที่น่าสังเกตมาก ๆ ก็คือการเพิ่มขึ้นของงบของกระทรวงกลาโหม แล้วก็ของกองทัพนะครับ ซึ่งผมอยากฟังคำชี้แจงนะครับ ที่ผ่านมาดูเหมือนจะมีอ.วิษณุมั้งครับที่อภิปราย เป็นผู้ชี้แจงทำนองนั้น แต่ว่าอยากจะให้ทางผู้รับผิดชอบโดยตรงนี้ได้อธิบายให้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ โดยที่ไม่ไปกระทบกับอะไรที่มันเป็นเรื่องความลับทางด้านความมั่นคง เพราะว่าต้องยอมรับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูงมากนะครับ แล้วก็ค่อนข้างจะสวนกับแนวโน้มของที่ผ่านมานะครับ ถึงว่ามันมีความจำเป็นหรือว่าจะต้องมาใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงในเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือว่ามันเป็นเรื่องของการที่จะให้กองทัพขยายบทบาทโดยการพัฒนาเนี่ยก็อยากจะให้อธิบายให้ชัดนะครับ เพราะว่าไม่งั้นแล้วมันจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปนะครับ ในทำนองว่ามันเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า อะไรหรือเปล่านะครับ ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นข้อสังเกตสำคัญที่ผมคิดว่าน่าจะได้มีการแจกแจงให้เกิดความชัดเจนในขั้นของกรรมาธิการนะครับ เพื่อจะได้ดูความเหมาะสมในการที่จะปรับเปลี่ยนในเรื่องต่าง ๆ
ผู้ดำเนินรายการสุดท้ายนะครับเรื่องที่ปปช. เมื่อวานนี้มีมติชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเนี่ยนะครับ เรื่องภาษีซื้อหุ้นของคุณบรรณพจน์นะฮะ เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับบรรดาข้าราชการได้อย่างไรบ้างครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์เรื่องนี้เนี่ยความจริงแล้วมันเป็นเรื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์นะครับ ตั้งแต่ปี ผมจำว่าปี 2545 หรือ 2546 นี่นะครับ แล้วก็เป็นเรื่องที่มีการยื่นถอดถอนไปด้วยนะครับเพราะฉะนั้นเราก็เห็นมาตั้งแต่ต้นว่ามันเป็นกรณีที่เราเห็นว่ามันน่าจะมีปัญหา สิ่งที่เป็นอุทาหรณ์ก็คือว่าเวลาเกิดขึ้นอย่างนี้เนี่ยนะครับ ข้าราชการจะถูกดำเนินการนะครับ ซึ่งก็เป็นอุทาหรณ์ว่าถ้าราชการเนี่ยไปจำนนต่อ สมมติว่ามีอำนาจ คือผมก็สันนิษฐานเอานะครับ ผมก็ยืนยันในตอนที่พวกเราอภิปรายก็ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะทำเอง เราคิดว่าเจ้าหน้าที่ต้องไปสนองฝ่ายการเมือง แต่ปัญหาก็คือเรื่องนี้ละครับก็คือเมื่อใครไปสนองฝ่ายการเมือง อะไรไม่ถูกต้องเนี่ยท่านเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะถ้าการเมืองสั่งมาแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร ไม่มีหลักฐานนะครับ ในที่สุดการเมืองก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แต่คนที่จะรับเคราะห์ก็จะเป็นทางเจ้าหน้าที่ นั้นผมก็อยากจะบอกว่าที่จริงถ้าทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเนี่ยจะพูดความจริง ว่าอะไรทำใมเป็นเหตุให้ตัดสินใจแบบนี้นะครับ ที่เป็นที่มาของการชี้มูลความผิดนะครับ และโดยเฉพาะถ้ามันเกี่ยวข้องกับการเมือง แล้วเปิดเผยออกมาผมว่ามันจะเป็นธรรมกับสังคม เป็นธรรมกับทุกฝ่ายนะครับ
และก็ข้อที่ 2 ก็คือว่าถ้าหากว่าที่ทำไปทั้งหมดนั้นเป็นเพราะความกลัวหรืออะไรก็ตามก็อยากให้พูดออกมานะครับ เพราะว่าผมก็กำลังผลักดันแนวความคิดว่ามันจำเป็นจะต้องมีกติกาที่คุ้มครองข้าราชการที่ปฎิบัติหน้าที่ตรงไปตรงมาด้วย คือถ้าเขาปฎิบัติหน้าที่ตรงไปตรงมาไม่ยอมจำนนแล้วปรากฎว่าหมดอนาคตเขาถูกกลั่นแกล้งหรือถูกอะไรเนี่ย ผมก็เข้าใจว่าบางทีเขายืนสู้ไม่ไหว เพราะฉะนั้นเราอยากจะให้ภาพของการกระบวนการแบบนี้มันชัดเจนขึ้นมานะครับ เราจะได้เป็นอุทาหรณ์ว่าต่อไปวันข้างหน้าถ้ามีแรงกดดันที่จะให้ทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ข้าราชการจะต้องไม่ลังเลเลยในการที่จะบอกว่าอยู่บนความถูกต้อง แล้วรู้ว่ามีกลไกที่จะคุ้มครองเขา ไม่เป็นปัญหากับตัวเองในภายหลัง
ผู้ดำเนินรายการต้องสร้างภูมิคุ้มกันความเที่ยงตรงของข้าราชการด้วยนะฮะ คุณอภิสิทธิ์ครับ เอาละครับขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ สวัสดีคะ
************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ธ.ค. 2549--จบ--
ทางสถานีวิทยุ 101 ช่วงเวลา 08.00 — 08.30 น.
วันศุกร์ที่ 8ธันวาคม 2549
คำต่อคำ - คลิ๊กฟังเสียง
ผู้ดำเนินรายการสวัสดีคะ คุณอภิสิทธิ์ คะ สวัสดีครับ
คุณอภิสิทธิ์สวัสดีครับ
ผู้ดำเนินรายการค่ะ วันนี้เห็นคุณอภิสิทธิ์ลงหน้าปกมติชนสุดสัปดาห์อีกครั้งหนึ่งแล้ว แต่ตัวเขาเขียนบรรยายบอกว่าประมาณยุคนี้เป็นยุคขิงแก่นะคะ ขิงแก่มาแล้วขิงอ่อนต้องหลบไปก่อน เป็นอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์อ๋อ ผมยังไม่ได้อ่านนะครับ แต่เห็นในหน้า 3 ของมติชนรายวัน ที่จริงกรณีของพรรคเนี่ย พรรคเป็นสถาบันซึ่งมีกระบวนการ กฎกติกา ความเป็นประชาธิปไตยที่ชัดเจนนะครับ เพราะฉะนั้นถ้ามันจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรมันก็ว่ากันไปตามระบบ แต่ผมสดับรับฟังดูตอนนี้ส่วนใหญ่มันไปผูกพันกับเรื่องยุบพรรคนะครับ แล้วก็คิดกันไปว่าถ้าหากว่ามีการยุบพรรคแล้วจะอย่างนั้นอย่างนี้อะไรอย่างนี้นะครับ และก็บังเอิญว่าท่านประธานที่ปรึกษาท่านอดีตหัวหน้านี่ไม่ได้เป็นกรรมการบริหารพรรค งั้นทุกคนก็จับจ้องไปตรงนั้นว่าถ้าพรรคเป็นอะไรไป การฟื้นฟูพรรคขึ้นมาท่านก็คงมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรค ผมฟังดูส่วนใหญ่ก็จะวนเวียนอยู่ในลักษณะนี้นะครับ และเมื่อคืนเข้าใจว่าท่านอดีตหัวหน้าไปพูดที่งานของธรรมศาสตร์ก็ได้พูดเรื่องนี้
ผู้ดำเนินรายการครับ ก็ไม่น่าจะเป็นปัญหาที่คุณอภิสิทธิ์กังวลอยู่ใช่ไหมครับ
คุณอภิสิทธิ์ผมไม่มีความกังวลอะไร ตอนนี้หน้าที่ที่สำคัญที่สุดก็คือว่านำพาพรรคหนึ่งในการต่อสู้คดีนะครับ ซึ่งก็ไม่ประมาทและก็ทำให้รัดกุมที่สุดเพราะว่าก็เป็นเรื่องใหม่ในแง่ของกระบวนวิธีการนะครับ ซึ่งในอาทิตย์ที่แล้วเล่าให้ฟังในเรื่องของขั้นตอนของตุลาการรัฐธรรมนูญนะครับ แล้วก็หากผ่านพ้นตรงนั้นไปก็เป็นเรื่องของการเตรียมตัวนะครับสำหรับที่จะเข้าสู่สนามเลือกตั้งนะครับ และก็กระบวนการทั้งหมดสมาชิกพรรคก็จะมีส่วนร่วมในการกำหนดอยู่แล้วว่าต้องการให้พรรคดำเนินไปในทิศทางใดนะครับ เพราะฉะนั้นผมก็ทำงานไปตามปกติอ่ะครับ ไม่ได้มีความวิตกกังวลอะไร
ผู้ดำเนินรายการครับ ต้องขอเรียนถามตรง ๆ นะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ คำที่มติชนสุดสัปดาห์ใช้พาดปก “อภิสิทธิ์สมาชิกส่ายหน้า” มันตรงกับข้อเท็จจริงบรรยากาศที่เกิดขึ้นจริง ๆ ในพรรคหรือเปล่า ขอเรียนถามตรง ๆ กับคุณอภิสิทธิ์ดีกว่านะครับ
คุณอภิสิทธิ์ก็คงต้องไปถามทางสมาชิกนะครับ เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาเนี่ยบังเอิญว่าพรรคถูกห้ามดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ การพบปะการประชุมกันก็อาจจะไม่ค่อยมีนะครับ แต่ว่าผมก็ทำงานอยู่ที่พรรคทุกวันอ่ะนะครับ แทบจะเรียกว่าทุกวันก็ได้ ก็พบปะกับสมาชิก แต่มีจำนวนไม่น้อยที่นั่งทำงานด้วยกันนะครับก็ไม่มีใครพูดถึงเรื่องนี้นะครับ
ผู้ดำเนินรายการครับ เห็นคุณอภิสิทธิ์อยากจะตั้งข้อสังเกตเรื่องที่ จริง ๆ เมื่อวานนี้ทางสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติก็ได้มีการลงมติรับร่างกันไปนะฮะ คือเรื่องมหาวิทยาลัยออกนอกระบบ ตรงนี้คุณอภิสิทธิ์มีข้อสังเกตอย่างไรบ้างครับ
คุณอภิสิทธิ์คือผมก็รู้สึกเป็นห่วงนะครับ เพราะว่าผมมองดูว่าแม้ว่ารัฐบาลจะผ่านกฎหมายไปได้แล้ว 3 ฉบับ แต่ที่ผ่านมากฎหมายของมหาวิทยาลัยเนี่ยก็มักจะมีอุปสรรคนะครับ ไม่ค่อยราบรื่นเท่าที่ควร แม้กระทั่งในยุครสช. ก็เจออุปสรรคนะครับ มาในยุคหลัง ๆ ผ่านรัฐบาลมาหลายชุดเนี่ยก็ยังไม่เรียบร้อยนะครับ และก็ปัญหาหนึ่งซึ่งผมคิดว่าเป็นปัญหาใหญ่ก็คือว่าความวิตกกังวลซึ่งอาจจะเกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันว่าความหมายของการที่มหาวิทยาลัยออกนอกระบบนี้คืออะไรนะครับ ซึ่งผมคิดว่ารัฐบาลไม่ควรที่จะมองข้ามนะครับว่าประเด็นอย่างนี้มันอาจสามารถทำให้นโยบายเนี่ยไม่สัมฤทธิ์ผลก็ได้ จุดสำคัญที่ผมได้ไปเสนอต่อที่ประชุมอธิการบดีเนี่ยนะครับ เมื่อประมาณซัก 2-3 สัปดาห์ก่อน ก็คือว่าข้อห่วงใยที่คนมักจะพูดกันเนี่ยคือ
1. ไปเข้าใจว่าการออกนอกระบบเป็นการแปรรูปไปเป็นเอกชนบ้างนะครับ หรือว่าเป็นการกระทำให้รัฐบาลเนี่ยไม่สนับสนุนด้านงบประมาณหรือพูดง่าย ๆ บอกว่าให้ไปเลี้ยงตัวเองอะไรทำนองนั้นนะครับ นั่นก็เป็นข้อหนึ่งที่มีการวิตกกังวลมากนะครับ เพราะว่าถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วผลกระทบก็จะกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกับทางนิสิต นักศึกษานะครับ ก็จะต้องแบกรับภาระในเรื่องของค่าหน่วยกิตเพิ่มเติมหรือไม่นะครับ
ประเด็นที่ 2 ที่เป็นห่วงกันก็คือว่าการบริหารจัดการเมื่ออกจากระบบราชการไปแล้วถ้าไม่มีธรรมาภิบาลนะครับ ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อการทำหน้าที่ของบรรดาบุคลากรโดยเฉพาะอาจารย์ นักวิชาการต่าง ๆ เนี่ยก็กังวลนะครับว่าจะไม่มีความมั่นคงและอาจจะไปกระทบถึงเรื่องของเสรีภาคทางวิชาการนะครับ พูดกันตรง ๆ ก็คือกลัวว่ามีการเล่นพรรคเล่นพวกกัน หรือว่าเดี๋ยวมีอำนาจจากไหนเข้ามาแทรกแซงว่าไม่พอใจเพราะว่าไปวิพากษ์วิจารณ์ผู้มีอำนาจอะไรทำนองนี้นะครับ นั้นผมก็ได้เสนอว่าที่จริงแล้วเมื่อรัฐบาลที่ผลักดันนโยบายนี้ทุกชุดนี่ยืนยันว่าการออกนอกระบบเนี่ยเป็นเรื่องของการเปลี่ยนระบบบริหารจัดการให้เกิดความคล่องตัวมากขึ้นนะครับ ไม่ได้มีความประสงค์ในเรื่องของการผลักภาระให้ใคร และไม่มีประเด็นในการที่จะทำให้การปฎิบัติหน้าที่ของครูบาอาจารย์เนี่ยมีปัญหา ก็น่าที่จะกำหนดกติกาให้ชัดเจนให้เกิดความมั่นใจใน 2 เรื่องนี้นะครับ ถามว่าทำอย่างไรนะครับ
ประเด็นแรกเนี่ยคือเรื่องของการคลังสำหรับมหาวิทยาลัยนะครับ ประเด็นนี้ที่จริงเป็นเรื่องที่น่าทำมากในขณะนี้เพราะว่ามันเกิดความสับสนและความซับซ้อนขึ้นมาจากการที่เรามีกองทุนกู้ยืมที่ผูกพันกับรายได้ในอนาคตนะครับที่เรียกว่ากรอ.นะครับเข้ามาควบคู่กับกองทุนเพื่อการศึกษาเดิมนะครับ แล้วก็มีปัญหาว่าตรงนี้จะทำให้การขึ้นค่าหน่วยกิตด้วยหรือไม่อย่างไรนะครับ ต้องเรียนว่าหลายมหาวิทยาลัยเวลาขึ้นค่าหน่วยกิตบางที่ไปอิงของพวกนี้หมดครับ บอกว่าจะออกนอกระบบบ้าง จะไม่เป็นปัญหาเพราะว่ามีกองทุนกู้ยืมอยู่แล้ว ประเด็นทั้งหมดก็คือย่างนี้ครับว่ากติกาที่รัฐบาลน่าจะได้กำหนดออกไปมีกฎหมายมีกลไกเลยก็คือว่าต้นทุนในการผลิตนักศึกษานะครับ นิสิต นักศึกษาในแต่ละสาขา เช่นผลิตแพทย์ ผลิตวิศวะกร ผลิตนักเศรษฐศาตร์ นักรัฐศาสตร์ หรือสาขาไหนก็ตามครับ ควรจะมีการประเมินมาให้ชัดแจ้งว่าจริง ๆ แล้วเป็นเงินเท่าไหร่ ซึ่งจริง ๆ แล้วตัวเลขเหล่านี้ทางมหาวิทยาลัยก็จะมีนะครับ แล้วก็ข้อเท็จจริงก็คือขณะนี้จากต้นทุนตรงนี้รัฐบาลจะรับอยู่ประมาณ 6-70 % นะครับ ส่วนที่เก็บจากนิสิต นักศึกษาที่เป็นค่าหน่วยกิตหรืออะไรก็ตามก็อยู่ประมาณ 3-40 % นะครับ ก็ควรจะได้มีการกำหนดกติกาให้ชัดไปเลยว่าในแต่ละสาขาเนี่ยนะครับรัฐบาลยืนยันที่จะสนับสนุนในสัดส่วนเท่านั้นเท่านี้ แล้วก็มีการตั้งกลไกที่เป็นองค์กรอิสระขึ้นมาที่เป็นตัวคำนวณทั้งเรื่องต้นทุนและการตัดสินใจถึงนโยบายว่าจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน
แต่ผมคิดว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องน่าทำไม่ว่ามหาวิทยาลัยจะอยู่ในหรือนอกระบบก็ตาม ครับถูกไหมครับ พอเราได้กติกาและกลไกที่ชัดเจนอย่างนี้แล้วและโปร่งใสนะครับ มันจะมีความชัดเจนเลยว่าภาระของรัฐบาลที่จะต้องสนับสนุนมหาวิทยาลัยจะต้องไม่น้อยเท่าไหร่ ใช่ไหมครับ เราก็คำนวณได้เลยว่าสมมติว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ผลิตแพทย์กี่คน ต้นทุนการผลิตแพทย์เท่านี้ รัฐบาลให้คำมั่นแล้วว่าไม่สนับสนุนไม่น้อยกว่า สมมติ 70 % อย่างที่เป็นอยู่ หรือไรอย่างนี้นะครับก็คำนวณออกมาเป็นงบประมาณได้นะครับ การจัดสรรงบประมาณให้เป็นเหตุเป็นผลนะครับ รัฐบาลในการที่จะบอกว่าจะสนับสนุนเป็นสัดส่วนจะเพิ่มหรือลดอย่างไรก็ต้องมีเหตุผลอธิบายชัดเจนต่อสังคมได้ ผมคิดว่าถ้าเรามีตัวนี้ออกมาก็จะทำให้ข้อวิตกกังวลว่ารัฐบาลสนับสนุนค่าหน่วยกิตหรือไม่อย่างไร หรือว่านักศึกษาต้องเรียนแพงจนเรียนไม่ไหวเนี่ยจะหมดไป ไม่ว่าจะอยู่ในหรือนอกระบบก็ตามนะครับ และทำควบคู่ไปกับกติกาเรื่องการจัดงบอุดหนุนในเรื่องของการวิจัยนะครับ ส่วนงบลงทุนก็อาจจะเป็นเรื่องต่างหากเพราะว่าความจำเป็นในการลงทุนนั้นก็ว่าไปตามความเป็นจริงของแต่ละปี แต่ปี ไป นะครับ
อันนี้ถ้าสมมติทำข้อนี้ไป ผมคิดว่าประเด็นที่เป็นประเด็นหลักเลยที่คนกลัวและก็คัดค้านอยู่ ผมว่ามันจะหมดไปนะครับ ประเด็นที่ 2 ก็คือเรื่องเสรีภาพทางวิชาการนะครับอันนี้ก็ต้องให้ชัดนะครับ เพราะว่าที่จริงรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540 ก็เขียนเอาไว้นะครับ แต่ว่ากลไกในการรองรับนะครับ ซึ่งจะเป็นเรื่องที่ผมก็ได้เสนอมาว่าอยู่ในกรอบเดียวกับการที่จะต้องคุ้มครองกลุ่มคนในสังคมต่าง ๆ ว่าถ้าเขาปฎิบัติหน้าที่ของเขาอย่างตรงไปตรงมา ใช้สิทธิเสรีภาพของเขาตามสมควร อะไรจะเป็นหลักประกันให้เขาใช่ไหมครับถ้าเราพูดถึงปัญหาที่ผ่านมา เรื่องข้าราชการ ทั้งเรื่องสื่อมวลชน ทั้งเรื่องอะไรต่อมิอะไรนะครับในมหาวิทยาลัยเช่นเดียวกันนะครับ ถ้าหากนักวิชาการแสดงความคิดเห็นอะไรต่าง ๆ เนี่ยต้องไม่ถูกนำมาเป็นข้ออ้างหรือเหตุผลหรือมีกระบวนการเพื่อที่จะไปจำกัดสิทธิเสรีภาพเขาโดยสมมติว่ามหาวิทยาลัยออกนอกระบบเนี่ยไปใช้ตัวเงื่อนไขของการทำสัญญาหรือการประเมินที่ไม่เที่ยงธรรมนะครับ ก็ต้องมีกลไกที่ให้หลักประกันในเรื่องนี้ว่าธรรมาภิบาลจะเกิดขึ้นนะครับ ผมคิดว่าพอ 2 เรื่องนี้แก้ได้หรือสร้างความชัดเจนได้ เรื่องอื่นค่อนข้างจะเป็นเรื่องรองนะครับ เพราะว่ามันเป็นเรื่องทุจริตทั้งสิ้น ตอนนี้เนี่ยในแง่ของสถานภาพของข้าราชการในมหาวิทยาลัยเนี่ยดูกฎหมายต่าง ๆ ก็จะรองรับเอาไว้อยู่แล้ว คือหมายความว่า สมมติว่า 2 ท่านเป็นอาจารย์ เป็นข้าราชการอยู่ในมหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกำลังออกนอกระบบก็จะมีมาตรการที่อนุโลมให้สามารถคงสภาพเป็นข้าราชการได้อยู่แล้วนะครับ หรือว่าถ้าปรับเปลี่ยนไปนะครับเป็นพนักงานก็อนุญาตให้เป็นสมาชิกบข.ได้นะครับ สิทธิประโยชน์ในเรื่องของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เรื่องอื่นก็มีประกาศต่าง ๆ เข้าใจว่าแก้ไขรองรับนะครับ เพราะฉะนั้นก็กลับมาว่า 2 เรื่องหลักนี้ ผมอยากให้รัฐบาลทำให้ชัด และมันเป็นการวางระบบที่ดีสำหรับการศึกษาระดับอุดมศึกษาด้วย คือทำให้เรื่องการจัดสรรงบประมาณโปร่งใสและให้หลักประกันในเรื่องของสิทธิเสรีภาพทางวิชาการนะครับ
ผู้ดำเนินรายการค่ะ พอพูดถึงเรื่องงบประมาณเลยต้องขอถามเรื่องของงบประมาณปี 2550 ด้วยนะคะ คุณอภิสิทธิ์ พิจารณาแล้วเป็นอย่างไรบ้าง ก็มีการพูดกันวันนี้ค่อนข้างเยอะเหมือนกับเรื่องงบกลาโหมบ้างนะคะ หรือว่างบอื่น ๆ เท่าที่เคยบริหารราชการมาคุณอภิสิทธิ์คิดอย่างไรบ้างคะ
คุณอภิสิทธิ์คือผมเพิ่มมีโอกาสได้ดูตัวเอกสารที่เป็นงบประมาณสังเขปนะครับ ยังไม่ได้เห็นรายละเอียดไปทุกโครงการนะครับ เพราะฉะนั้นในภาพรวมนี้ก็ต้องบอกว่าการที่กำหนดงบประมาณเป็นงบประมาณขาดดุลนะครับอยู่ประมาณ แสนกว่าล้านเนี่ยอยู่ในระดับที่ผมคิดว่าเหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจนะครับ ก็คือต้องการที่จะให้มีลักษณะของการกระตุ้นเศรษฐกิจอยู่นะครับ เพื่อที่จะประคับประคองการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ผมดูโครงสร้างคร่าว ๆ เนี่ยใจผมนี้ยังอยากจะเห็นส่วนงบลงทุนมากกว่านี้นะครับ เพราะว่าสัดส่วนของงบลงทุนเนี่ยลดลงไปแม้ว่าตัวเงินรายจ่ายลงทุนจะเพิ่มขึ้นนะครับ แต่ว่าสัดส่วนเมื่อเทียบกับงบประจำ งบที่ไปชำระคืนต้นเงินกู้นะครับลดลงไป
ใจผมเนี่ยอยากจะเห็นการลงทุนมากขึ้นนะครับ เพราะมีความจำเป็นในหลาย ๆ ด้านด้วยกัน ทีนี้ในแง่ของการกระจายตามด้านต่าง ๆ ที่เป็นที่น่าสังเกตมาก ๆ ก็คือการเพิ่มขึ้นของงบของกระทรวงกลาโหม แล้วก็ของกองทัพนะครับ ซึ่งผมอยากฟังคำชี้แจงนะครับ ที่ผ่านมาดูเหมือนจะมีอ.วิษณุมั้งครับที่อภิปราย เป็นผู้ชี้แจงทำนองนั้น แต่ว่าอยากจะให้ทางผู้รับผิดชอบโดยตรงนี้ได้อธิบายให้ชัดเจนมากขึ้นนะครับ โดยที่ไม่ไปกระทบกับอะไรที่มันเป็นเรื่องความลับทางด้านความมั่นคง เพราะว่าต้องยอมรับว่าเป็นการเพิ่มขึ้นในสัดส่วนสูงมากนะครับ แล้วก็ค่อนข้างจะสวนกับแนวโน้มของที่ผ่านมานะครับ ถึงว่ามันมีความจำเป็นหรือว่าจะต้องมาใช้จ่ายเพื่อปรับปรุงในเรื่องของอาวุธยุทโธปกรณ์ หรือว่ามันเป็นเรื่องของการที่จะให้กองทัพขยายบทบาทโดยการพัฒนาเนี่ยก็อยากจะให้อธิบายให้ชัดนะครับ เพราะว่าไม่งั้นแล้วมันจะถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปนะครับ ในทำนองว่ามันเป็นเรื่องของการเมืองหรือเปล่า อะไรหรือเปล่านะครับ ซึ่งเราก็ไม่อยากให้เป็นอย่างนั้นนะครับ เพราะฉะนั้นตรงนี้ก็เป็นข้อสังเกตสำคัญที่ผมคิดว่าน่าจะได้มีการแจกแจงให้เกิดความชัดเจนในขั้นของกรรมาธิการนะครับ เพื่อจะได้ดูความเหมาะสมในการที่จะปรับเปลี่ยนในเรื่องต่าง ๆ
ผู้ดำเนินรายการสุดท้ายนะครับเรื่องที่ปปช. เมื่อวานนี้มีมติชี้มูลความผิดเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรเนี่ยนะครับ เรื่องภาษีซื้อหุ้นของคุณบรรณพจน์นะฮะ เรื่องนี้น่าจะเป็นอุทาหรณ์ให้กับบรรดาข้าราชการได้อย่างไรบ้างครับคุณอภิสิทธิ์ครับ
คุณอภิสิทธิ์เรื่องนี้เนี่ยความจริงแล้วมันเป็นเรื่องมาจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจพรรคประชาธิปัตย์นะครับ ตั้งแต่ปี ผมจำว่าปี 2545 หรือ 2546 นี่นะครับ แล้วก็เป็นเรื่องที่มีการยื่นถอดถอนไปด้วยนะครับเพราะฉะนั้นเราก็เห็นมาตั้งแต่ต้นว่ามันเป็นกรณีที่เราเห็นว่ามันน่าจะมีปัญหา สิ่งที่เป็นอุทาหรณ์ก็คือว่าเวลาเกิดขึ้นอย่างนี้เนี่ยนะครับ ข้าราชการจะถูกดำเนินการนะครับ ซึ่งก็เป็นอุทาหรณ์ว่าถ้าราชการเนี่ยไปจำนนต่อ สมมติว่ามีอำนาจ คือผมก็สันนิษฐานเอานะครับ ผมก็ยืนยันในตอนที่พวกเราอภิปรายก็ไม่คิดว่าเจ้าหน้าที่จะทำเอง เราคิดว่าเจ้าหน้าที่ต้องไปสนองฝ่ายการเมือง แต่ปัญหาก็คือเรื่องนี้ละครับก็คือเมื่อใครไปสนองฝ่ายการเมือง อะไรไม่ถูกต้องเนี่ยท่านเป็นผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะถ้าการเมืองสั่งมาแบบไม่มีลายลักษณ์อักษร ไม่มีหลักฐานนะครับ ในที่สุดการเมืองก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร แต่คนที่จะรับเคราะห์ก็จะเป็นทางเจ้าหน้าที่ นั้นผมก็อยากจะบอกว่าที่จริงถ้าทางเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเนี่ยจะพูดความจริง ว่าอะไรทำใมเป็นเหตุให้ตัดสินใจแบบนี้นะครับ ที่เป็นที่มาของการชี้มูลความผิดนะครับ และโดยเฉพาะถ้ามันเกี่ยวข้องกับการเมือง แล้วเปิดเผยออกมาผมว่ามันจะเป็นธรรมกับสังคม เป็นธรรมกับทุกฝ่ายนะครับ
และก็ข้อที่ 2 ก็คือว่าถ้าหากว่าที่ทำไปทั้งหมดนั้นเป็นเพราะความกลัวหรืออะไรก็ตามก็อยากให้พูดออกมานะครับ เพราะว่าผมก็กำลังผลักดันแนวความคิดว่ามันจำเป็นจะต้องมีกติกาที่คุ้มครองข้าราชการที่ปฎิบัติหน้าที่ตรงไปตรงมาด้วย คือถ้าเขาปฎิบัติหน้าที่ตรงไปตรงมาไม่ยอมจำนนแล้วปรากฎว่าหมดอนาคตเขาถูกกลั่นแกล้งหรือถูกอะไรเนี่ย ผมก็เข้าใจว่าบางทีเขายืนสู้ไม่ไหว เพราะฉะนั้นเราอยากจะให้ภาพของการกระบวนการแบบนี้มันชัดเจนขึ้นมานะครับ เราจะได้เป็นอุทาหรณ์ว่าต่อไปวันข้างหน้าถ้ามีแรงกดดันที่จะให้ทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง ข้าราชการจะต้องไม่ลังเลเลยในการที่จะบอกว่าอยู่บนความถูกต้อง แล้วรู้ว่ามีกลไกที่จะคุ้มครองเขา ไม่เป็นปัญหากับตัวเองในภายหลัง
ผู้ดำเนินรายการต้องสร้างภูมิคุ้มกันความเที่ยงตรงของข้าราชการด้วยนะฮะ คุณอภิสิทธิ์ครับ เอาละครับขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์ครับ ขอบคุณนะครับคุณอภิสิทธิ์คะ สวัสดีครับ สวัสดีคะ
************************************
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 8 ธ.ค. 2549--จบ--