ขณะนี้มีผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปจำนวนมาก ที่ยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรในสินค้าของตนเอง และยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเป็นของตนเองว่าเมื่อต้องการผลิตสินค้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกมาจำหน่ายจะต้องตรวจสอบก่อนว่าสินค้านั้นๆ เคยมีใครผลิตมาก่อนหรือไม่ จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปประสบปัญหาการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั้งในและต่างประเทศ แม้ว่าจะทำโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจก็ตาม อีกทั้งยังถูกลอกเลียนแบบสินค้าของตนเอง ไม่เพียงเท่านี้ปัญหาของการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญายังเป็นการเปิดช่องว่างให้กับเจ้าของสิทธิบัตรที่ไม่รู้หรือแกล้งไม่รู้ขอบเขตสิทธิของตนเองกระทำการเรียกผลประโยชน์จากผู้ประกอบการ เพื่อแลกกับการไม่ดำเนินคดี
จากสถิติข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม 2545 — 29 กรกฎาคม 2547 พบว่า มีข้อพิพาทที่อยู่ในขั้นหารือเบื้องต้น จำนวน 37 เรื่อง เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่กำลังดำเนินการอยู่ 19 เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 6 เรื่อง ยุติเรื่องได้แล้ว 16 เรื่อง และเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการที่กำลังดำเนินการ 1 เรื่อง ยุติเรื่องได้แล้ว 1 เรื่อง และจากสถิติการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตาม พ.ร.บ. ช่วงเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2547 มีจำนวนคดี 2,710 ราย และมีของกลาง จำนวน 847,653 ม้วน/ชิ้น
จากปัญหาข้างต้น ยุทธศาสตร์ในปี 2547 นี้รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งต่อยอดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปจดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยมีความคิดที่จะจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐ ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชนที่ดูแลปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจะทำงานในเชิงรุก ซึ่งต้องออกสำรวจเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการและแนะนำจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาโดยเร็ว เพราะหากจะรอให้ผู้ประกอบการนำสินค้าที่ผลิตมาจดทรัพย์สินทางปัญญาเองก็จะมีความล่าช้ามาก
ทรัพย์สินทางปัญญาประกอบด้วย สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า, ผังภูมิวงจรรวม, ลิขสิทธิ์, ความลับทางการค้า, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญาในทุกประเภทจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ เพราะสินค้าหนึ่งอย่างอาจมีทรัพย์สินทางปัญญาประกอบอยู่ในสินค้านั้นมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องสามารถแยกแยะได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใดมีอยู่ในสินค้าของตนบ้าง เพื่อจะได้นำมาจดทะเบียนหรือขอหนังสือรับรองต่อไป จากสถิติจำนวนคำขอจดสิทธิบัตรช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2547 พบว่า คำขอจดสิทธิบัตรในประเทศมีจำนวน 1,854 ราย และต่างประเทศมีจำนวน 3,122 ราย แต่มีผู้ที่ผ่านการอนุมัติให้จดสิทธิบัตรได้ในประเทศมีจำนวน 645 ราย และต่างประเทศมีจำนวน 680 ราย
โครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ สัญญา หนังสืออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จะนำมาแปลงเป็นทุน สามารถใช้เอกสารเหล่านั้นเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อที่จะได้นำทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการคิดสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้นผ่านช่องทางของจังหวัด โดยทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย สมาคมประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาร่วมกันยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินทางปัญญา โดยการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาค้ำประกันขอเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท วิธีการประเมินจะต้องทำให้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งโครงการนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปตื่นตัวในการเร่งจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น และได้ตั้งเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการไว้จำนวน 250 ราย
โครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน ได้รับความร่วมมือจาก 2 สถาบันการเงิน คือ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) และธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในการให้สินเชื่อโดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาขึ้นทะเบียนผู้แสดงความจำนงจะขอแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เตรียมแผนงานรองรับ ได้แก่ การจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา การรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และสำคัญที่สุด คือ การจัดระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ โดยการนำกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้เป็นเครื่องมือในกรณีเกิดปัญหาขึ้นกับสถาบันการเงินและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประโยชน์ของการนำกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้ เช่น การสั่งให้เข้าไปช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม กรณีลูกหนี้มีปัญหา การสั่งให้หาบุคคลเข้ามารับช่วงทำกิจการต่อ กรณีลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อและหาเงินมาใช้หนี้ได้ หรือการสั่งยึดทรัพย์สินทางปัญญามาขายทอดตลาด เป็นต้น
การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนดและสถาบันการเงินต่างๆ จะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ดังนั้น การประเมินคุณค่าและราคาของทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถทำได้เป็นรายกรณีไป และจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมาให้เป็นที่ประจักษ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้ ทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาเข้าในโครงการนี้คือ ทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยในปัจจุบันจะแยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีกฎหมายระบุให้มีการออกหนังสือสำคัญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและแผนภูมิวงจรรวม และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้แม้ว่าบางประเภทจะมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว ได้แก่ ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งความคืบหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 16 เมษายน 2547 มีจำนวนผู้ขอคำกู้ 36 ราย
การที่ประชาชนไทยมีการคิดสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา ผนวกกับความเชื่อมั่นในระบบการเงินและทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้โครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุนประสบความสำเร็จได้ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อที่ โทร. 0-2547-6033-34
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-
จากสถิติข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่สำนักงานป้องกันและระงับข้อพิพาทด้านทรัพย์สินทางปัญญาดำเนินการช่วงเดือนธันวาคม 2545 — 29 กรกฎาคม 2547 พบว่า มีข้อพิพาทที่อยู่ในขั้นหารือเบื้องต้น จำนวน 37 เรื่อง เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่กำลังดำเนินการอยู่ 19 เรื่อง ไกล่เกลี่ยสำเร็จ 6 เรื่อง ยุติเรื่องได้แล้ว 16 เรื่อง และเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการที่กำลังดำเนินการ 1 เรื่อง ยุติเรื่องได้แล้ว 1 เรื่อง และจากสถิติการจับกุมการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาตาม พ.ร.บ. ช่วงเดือนมกราคม — พฤษภาคม 2547 มีจำนวนคดี 2,710 ราย และมีของกลาง จำนวน 847,653 ม้วน/ชิ้น
จากปัญหาข้างต้น ยุทธศาสตร์ในปี 2547 นี้รัฐบาลจึงมีนโยบายเร่งต่อยอดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปจดสิทธิบัตรอย่างถูกต้องครบถ้วน โดยมีความคิดที่จะจัดตั้งองค์กรที่มีลักษณะเป็นไตรภาคี ประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานของรัฐ ตัวแทนจากสถาบันการศึกษา และองค์กรเอกชนที่ดูแลปัญหาด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยองค์กรที่จัดตั้งขึ้นจะทำงานในเชิงรุก ซึ่งต้องออกสำรวจเพื่อให้เข้าถึงผู้ประกอบการและแนะนำจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาโดยเร็ว เพราะหากจะรอให้ผู้ประกอบการนำสินค้าที่ผลิตมาจดทรัพย์สินทางปัญญาเองก็จะมีความล่าช้ามาก
ทรัพย์สินทางปัญญาประกอบด้วย สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร, เครื่องหมายการค้า, ผังภูมิวงจรรวม, ลิขสิทธิ์, ความลับทางการค้า, สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ และภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้น ความรู้ความเข้าใจถึงความหมายและขอบเขตของทรัพย์สินทางปัญญาในทุกประเภทจึงมีความจำเป็นสำหรับผู้ประกอบการเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจ เพราะสินค้าหนึ่งอย่างอาจมีทรัพย์สินทางปัญญาประกอบอยู่ในสินค้านั้นมากกว่า 1 ประเภทก็ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องสามารถแยกแยะได้ว่า ทรัพย์สินทางปัญญาประเภทใดมีอยู่ในสินค้าของตนบ้าง เพื่อจะได้นำมาจดทะเบียนหรือขอหนังสือรับรองต่อไป จากสถิติจำนวนคำขอจดสิทธิบัตรช่วงเดือนมกราคม - กรกฎาคม 2547 พบว่า คำขอจดสิทธิบัตรในประเทศมีจำนวน 1,854 ราย และต่างประเทศมีจำนวน 3,122 ราย แต่มีผู้ที่ผ่านการอนุมัติให้จดสิทธิบัตรได้ในประเทศมีจำนวน 645 ราย และต่างประเทศมีจำนวน 680 ราย
โครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน มีวัตถุประสงค์เพื่อ เปิดโอกาสให้ผู้ครอบครองเอกสารสิทธิ สัญญา หนังสืออนุญาตต่าง ๆ เกี่ยวกับสินทรัพย์ที่จะนำมาแปลงเป็นทุน สามารถใช้เอกสารเหล่านั้นเข้าถึงแหล่งทุน เพื่อที่จะได้นำทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดหรือมีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมให้มีการคิดสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้นผ่านช่องทางของจังหวัด โดยทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสมาคมนักประเมินราคาอิสระไทย สมาคมประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์มาร่วมกันยกร่างหลักเกณฑ์การประเมินทรัพย์สินทางปัญญา โดยการนำทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาค้ำประกันขอเงินกู้ไม่เกิน 5 แสนบาท วิธีการประเมินจะต้องทำให้ง่าย สะดวกรวดเร็ว และพิจารณาความเป็นไปได้ของธุรกิจเป็นหลัก ซึ่งโครงการนี้จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและโอท็อปตื่นตัวในการเร่งจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาเพิ่มมากขึ้น และได้ตั้งเป้าหมายผู้เข้าร่วมโครงการไว้จำนวน 250 ราย
โครงการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุน ได้รับความร่วมมือจาก 2 สถาบันการเงิน คือ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ไอเอฟซีที) และธนาคารเพื่อพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ในการให้สินเชื่อโดยเปิดให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาขึ้นทะเบียนผู้แสดงความจำนงจะขอแปลงสินทรัพย์เป็นทุน ซึ่งทางกรมทรัพย์สินทางปัญญาได้เตรียมแผนงานรองรับ ได้แก่ การจัดทำระบบฐานข้อมูลทรัพย์สินทางปัญญา การรับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา และสำคัญที่สุด คือ การจัดระบบเคลียร์ริ่งเฮ้าส์ โดยการนำกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้เป็นเครื่องมือในกรณีเกิดปัญหาขึ้นกับสถาบันการเงินและเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งประโยชน์ของการนำกระบวนการอนุญาโตตุลาการมาใช้ เช่น การสั่งให้เข้าไปช่วยเหลือทางการเงินเพิ่มเติม กรณีลูกหนี้มีปัญหา การสั่งให้หาบุคคลเข้ามารับช่วงทำกิจการต่อ กรณีลูกหนี้ไม่สามารถดำเนินธุรกิจต่อและหาเงินมาใช้หนี้ได้ หรือการสั่งยึดทรัพย์สินทางปัญญามาขายทอดตลาด เป็นต้น
การประเมินราคาทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นการวัดคุณค่าที่ผู้บริโภคเป็นคนกำหนดและสถาบันการเงินต่างๆ จะประเมินจากศักยภาพในการสร้างรายได้ของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ดังนั้น การประเมินคุณค่าและราคาของทรัพย์สินทางปัญญาจึงสามารถทำได้เป็นรายกรณีไป และจะขึ้นอยู่กับความสามารถของเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญานั้นๆ ที่จะสร้างคุณค่าขึ้นมาให้เป็นที่ประจักษ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องได้ ทรัพย์สินทางปัญญาที่สามารถนำมาเข้าในโครงการนี้คือ ทรัพย์สินทางปัญญาทุกประเภท โดยในปัจจุบันจะแยกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีกฎหมายระบุให้มีการออกหนังสือสำคัญจากกรมทรัพย์สินทางปัญญาอยู่แล้ว ได้แก่ สิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร เครื่องหมายการค้าและแผนภูมิวงจรรวม และอีกกลุ่มหนึ่งที่ยังไม่มีการออกหนังสือสำคัญให้แม้ว่าบางประเภทจะมีกฎหมายรองรับอยู่แล้ว ได้แก่ ลิขสิทธิ์ ความลับทางการค้า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยและสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ซึ่งความคืบหน้าของการดำเนินงานตามนโยบายการแปลงทรัพย์สินทางปัญญาเป็นทุนตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2546 ถึง 16 เมษายน 2547 มีจำนวนผู้ขอคำกู้ 36 ราย
การที่ประชาชนไทยมีการคิดสร้างสรรค์ทรัพย์สินทางปัญญา ผนวกกับความเชื่อมั่นในระบบการเงินและทรัพย์สินทางปัญญาของไทย เป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้โครงการแปลงสินทรัพย์ทางปัญญาเป็นทุนประสบความสำเร็จได้ ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการติดต่อที่ โทร. 0-2547-6033-34
--กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม--
-พห-