นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดประชุม ณ โรงแรม Taj Residency เมืองไฮเดอราบัด ประเทศอินเดีย ในวันที่ 4 พฤษภาคม 2549 ว่าการประชุมครั้งนี้ มีประเด็นสำคัญ คือ (1) การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค (2) การพิจารณาความคืบหน้าของการดำเนินมาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย และ (3) การทบทวนมาตรการริเริ่มที่เชียงใหม่
โดยในการประชุมครั้งนี้ จะมีการลงนามในร่างแถลงการณ์แก้ไขหลักการสำคัญของกรอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อ 1) ปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนการเบิกถอนและลดระยะเวลาการดำเนินการเบิกถอน 2) ขยายวงเงินของสัญญาการแลกเปลี่ยนเงินตราและเปลี่ยนรูปแบบความตกลงจากการกู้ยืมฝ่ายเดียว (one-way swap) เป็นรูปแบบที่สามารถกู้ยืมระหว่างกันได้ (two-way swap) และ 3) ขยายสัดส่วนของการเบิกถอนที่ไม่เชื่อมโยงกับ IMF จากร้อยละ10 เป็นร้อยละ 20 เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการตอบสนองกับความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ
ผลการประชุมมีรายละเอียด ดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Mr. Haruhiko Kuroda) ได้นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 ในปี 2549 โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ซึ่งนับว่ามีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่พึงระวัง อาทิ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาไข้หวัดนก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการขาดความสมดุลของเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance)
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก เช่น
1) มีการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคมากขึ้น โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)ได้แก่ พันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทย พันธบัตรสกุลเงินเปโซในฟิลิปปินส์ พันธบัตรสกุลเงินริงกิตในมาเลเซีย และพันธบัตรสกุลเงินหยวนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
2) มีการออกพันธบัตรผ่านการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
3) มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรเงินสกุลท้องถิ่นข้ามพรมแดน ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือทางการเงินแบบใหม่ในอนาคต
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ย้ำถึงวัตถุประสงค์หลักของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ 2 ประการ ได้แก่ (1) เป็นกลไกความร่วมมือทางการเงินที่ช่วยเสริมสภาพคล่องระยะสั้นในภูมิภาค และ (2) เป็นเครื่องมือเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่อาจรับจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน มีความคืบหน้า ดังนี้
(1) การขยายการครอบคลุมในการสนับสนุนสภาพคล่องภายใต้กรอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งได้มีการแก้ไขหลักการหลักดังกล่าว ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีที่ได้ลงนามไปแล้ว มีวงเงินรวมเพิ่มขึ้นเป็น 75 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปีที่ผ่านมา
(2) การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และคณะทำงานเพื่อติดตามระบบเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้มีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางเลือกเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องในภูมิภาค เช่น การพัฒนาความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราแบบพหุภาคีด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวต่อไปอีกว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนในปี 2550 และจะเป็นประธานของรัฐมนตรีว่ากากรกระทรวงการคลัง ASEAN+3 ร่วมกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งหน้า จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 — 5 พฤษภาคม 2550 ในช่วงระหว่างการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 40ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2549 5 พฤษภาคม 49--
โดยในการประชุมครั้งนี้ จะมีการลงนามในร่างแถลงการณ์แก้ไขหลักการสำคัญของกรอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตราเพื่อ 1) ปรับปรุงประสิทธิภาพของขั้นตอนการเบิกถอนและลดระยะเวลาการดำเนินการเบิกถอน 2) ขยายวงเงินของสัญญาการแลกเปลี่ยนเงินตราและเปลี่ยนรูปแบบความตกลงจากการกู้ยืมฝ่ายเดียว (one-way swap) เป็นรูปแบบที่สามารถกู้ยืมระหว่างกันได้ (two-way swap) และ 3) ขยายสัดส่วนของการเบิกถอนที่ไม่เชื่อมโยงกับ IMF จากร้อยละ10 เป็นร้อยละ 20 เพื่อให้มีความยืดหยุ่นในการตอบสนองกับความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจ
ผลการประชุมมีรายละเอียด ดังนี้
1. การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเรื่องภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาค
ประธานธนาคารพัฒนาเอเชีย (Mr. Haruhiko Kuroda) ได้นำเสนอความเห็นเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในภูมิภาคอาเซียน+3 ในปี 2549 โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ร้อยละ 4.7 ซึ่งนับว่ามีแนวโน้มอยู่ในเกณฑ์ดี อย่างไรก็ดี ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่พึงระวัง อาทิ อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปัญหาไข้หวัดนก ราคาน้ำมันที่สูงขึ้น และการขาดความสมดุลของเศรษฐกิจโลก (Global Imbalance)
2. มาตรการริเริ่มพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Markets Initiative: ABMI)
ที่ประชุมรับทราบความคืบหน้าการดำเนินมาตรการดังกล่าวว่าได้มีความคืบหน้าไปอย่างมาก เช่น
1) มีการออกพันธบัตรสกุลเงินท้องถิ่นในภูมิภาคมากขึ้น โดยธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC)ได้แก่ พันธบัตรสกุลเงินบาทในประเทศไทย พันธบัตรสกุลเงินเปโซในฟิลิปปินส์ พันธบัตรสกุลเงินริงกิตในมาเลเซีย และพันธบัตรสกุลเงินหยวนในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
2) มีการออกพันธบัตรผ่านการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์
3) มีการศึกษาความเป็นไปได้ในการออกพันธบัตรเงินสกุลท้องถิ่นข้ามพรมแดน ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือทางการเงินแบบใหม่ในอนาคต
3. มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ (Chiang Mai Initiative: CMI)
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ได้ย้ำถึงวัตถุประสงค์หลักของมาตรการริเริ่มเชียงใหม่ 2 ประการ ได้แก่ (1) เป็นกลไกความร่วมมือทางการเงินที่ช่วยเสริมสภาพคล่องระยะสั้นในภูมิภาค และ (2) เป็นเครื่องมือเสริมความช่วยเหลือด้านการเงินที่อาจรับจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ซึ่งในปัจจุบัน มีความคืบหน้า ดังนี้
(1) การขยายการครอบคลุมในการสนับสนุนสภาพคล่องภายใต้กรอบความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินตรา ซึ่งได้มีการแก้ไขหลักการหลักดังกล่าว ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราทวิภาคีที่ได้ลงนามไปแล้ว มีวงเงินรวมเพิ่มขึ้นเป็น 75 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของปีที่ผ่านมา
(2) การจัดตั้งกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และคณะทำงานเพื่อติดตามระบบเศรษฐกิจและการเงิน เพื่อสนับสนุนการทำงานของระบบระวังภัยทางเศรษฐกิจในภูมิภาค นอกจากนี้ ยังได้มีมติให้จัดตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาแนวทางเลือกเพื่อเสริมสร้างสภาพคล่องในภูมิภาค เช่น การพัฒนาความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราแบบทวิภาคีภายใต้มาตรการริเริ่มเชียงใหม่ไปสู่การเป็นความตกลงแลกเปลี่ยนเงินตราแบบพหุภาคีด้วย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวต่อไปอีกว่าประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียนในปี 2550 และจะเป็นประธานของรัฐมนตรีว่ากากรกระทรวงการคลัง ASEAN+3 ร่วมกับประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน
การประชุมรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังอาเซียน+3 ครั้งหน้า จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4 — 5 พฤษภาคม 2550 ในช่วงระหว่างการประชุมประจำปีสภาผู้ว่าการธนาคารพัฒนาเอเชียครั้งที่ 40ณ เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 43/2549 5 พฤษภาคม 49--