กรุงเทพ--22 ก.ย.--กระทรวงการต่างประเทศ
ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปเป็นประธานเปิดเทศกาลอาหารไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ สวนสาธารณะเทนโนจิ นครโอซากา ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2548
เทศกาลอาหารไทยดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา จัดขึ้นตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมครัวไทยสู่โลกของรัฐบาล และการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาวญี่ปุ่นกับชาวไทยในเขตคันไซ โดยการจัดงานฯ ในปีนี้นับเป็นปีที่ 3 ซึ่งมีเอกชนสนใจเข้าร่วมออกร้านกว่า 50 ราย และมีการนำคณะนาฏศิลป์จำนวน 10 คนจากกรมศิลปากร กลุ่มศิลปินจากค่ายแกรมมี่ ศิลปินลูกทุ่ง ศิลปินเพื่อชีวิต และการแสดงรำกลองยาวจากสมาคมร้านอาหารไทยเขตคันไซไปร่วมแสดง รวมทั้งการฉายภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ซึ่งได้รับความนิยมสูงในหมู่ชาวญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในการเยือนนครโอซากาครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ จะพบปะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า “ครัวไทย” ที่สำคัญในเขตคันไซ ได้แก่ กลุ่มคันไซซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งจำหน่ายสินค้าของไทยหลายชนิด กลุ่มยามาโมริซึ่งเป็นผู้ลงทุนผลิตซอส เครื่องแกงในไทยและส่งกลับไปขายในญี่ปุ่น และกลุ่มคิโตกุ ชินเรียว ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวไทยเฉลี่ยประมาณ 1,000 ตันต่อปี) ด้วย
วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางเยือนนครโอซากาของผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คือการเสริมและขยายฐานการส่งเสริมครัวไทยในญี่ปุ่น และการกระตุ้นให้เอกชนญี่ปุ่นเตรียมพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากความตกลง JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้ประกาศตกลงในหลักการร่วมกันที่กรุงโตเกียวเมื่อ 1 กันยายน 2548 และกำหนดที่จะลงนามความตกลงเรื่องนี้ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2549 ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทอาหารกล่าวคือ
1. การที่ญี่ปุ่นจะยกเลิก/ลดภาษีนำเข้าสินค้าอาหารไทย ประกอบด้วย
1.1 มะม่วง มังคุด ทุเรียน มะละกอ เงาะ มะพร้าว ผลไม้รวม สลัดผลไม้ และคอกเทลผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง และกุ้งที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารแปรรูป ซึ่งจะยกเลิกภาษีทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
1.2 เนื้อปลาฟิลเลต์และแมงกระพรุน ปลาหมึกกล้วยสด/แช่แข็ง ซึ่งจะยกเลิกภาษีใน 5 ปี
1.3 เนื้อไก่แปรรูปหรือผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร ซึ่งจะลดภาษีจากร้อยละ 6
เหลือร้อยละ 3 ใน 5 ปี
2. การลดหย่อนข้อกำหนดทำงานสำหรับพ่อครัว/แม่ครัวไทย ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี (รวมเวลาการศึกษา) และได้รับใบรับรองฝีมือจากรัฐบาลไทย
อนึ่ง เขตคันไซของญี่ปุ่นถือเป็น ”ฐาน” สำคัญด้านการท่องเที่ยวของไทย โดยเมื่อปี 2547มีนักท่องเที่ยวจากคันไซและนาโกยาเดินทางมาไทยรวม 504,660 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นทั้งหมดที่เดินทางมาไทย (1.21 ล้านคน) นอกจากนี้เขตดังกล่าวมีร้านอาหารไทยถึง 53 ร้าน (โอซากา 36 แห่ง เฮียวโกะ 6 แห่ง เกียวโต 5 แห่ง มิเอะ 3 แห่ง วากา
ยามา 2 แห่ง และนารา 1 แห่ง) และยังมีคนไทยอาศัยอยู่หลายร้อยคนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-
ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศจะเดินทางไปเป็นประธานเปิดเทศกาลอาหารไทย ซึ่งจัดขึ้น ณ สวนสาธารณะเทนโนจิ นครโอซากา ระหว่างวันที่ 24-25 กันยายน 2548
เทศกาลอาหารไทยดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่สถานกงสุลใหญ่ ณ นครโอซากา จัดขึ้นตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมครัวไทยสู่โลกของรัฐบาล และการสนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างชาวญี่ปุ่นกับชาวไทยในเขตคันไซ โดยการจัดงานฯ ในปีนี้นับเป็นปีที่ 3 ซึ่งมีเอกชนสนใจเข้าร่วมออกร้านกว่า 50 ราย และมีการนำคณะนาฏศิลป์จำนวน 10 คนจากกรมศิลปากร กลุ่มศิลปินจากค่ายแกรมมี่ ศิลปินลูกทุ่ง ศิลปินเพื่อชีวิต และการแสดงรำกลองยาวจากสมาคมร้านอาหารไทยเขตคันไซไปร่วมแสดง รวมทั้งการฉายภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ซึ่งได้รับความนิยมสูงในหมู่ชาวญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในการเยือนนครโอซากาครั้งนี้ ผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ จะพบปะหารือและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นกับกลุ่มผู้ประกอบการนำเข้าสินค้า “ครัวไทย” ที่สำคัญในเขตคันไซ ได้แก่ กลุ่มคันไซซุปเปอร์มาร์เก็ตซึ่งจำหน่ายสินค้าของไทยหลายชนิด กลุ่มยามาโมริซึ่งเป็นผู้ลงทุนผลิตซอส เครื่องแกงในไทยและส่งกลับไปขายในญี่ปุ่น และกลุ่มคิโตกุ ชินเรียว ซึ่งเป็นผู้นำเข้าข้าวไทยเฉลี่ยประมาณ 1,000 ตันต่อปี) ด้วย
วัตถุประสงค์หลักของการเดินทางเยือนนครโอซากาของผู้ช่วยรัฐมนตรีฯ คือการเสริมและขยายฐานการส่งเสริมครัวไทยในญี่ปุ่น และการกระตุ้นให้เอกชนญี่ปุ่นเตรียมพร้อมที่จะใช้ประโยชน์จากความตกลง JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement: JTEPA) ซึ่งนายกรัฐมนตรีไทยและญี่ปุ่นได้ประกาศตกลงในหลักการร่วมกันที่กรุงโตเกียวเมื่อ 1 กันยายน 2548 และกำหนดที่จะลงนามความตกลงเรื่องนี้ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในปี 2549 ซึ่งมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับสินค้าประเภทอาหารกล่าวคือ
1. การที่ญี่ปุ่นจะยกเลิก/ลดภาษีนำเข้าสินค้าอาหารไทย ประกอบด้วย
1.1 มะม่วง มังคุด ทุเรียน มะละกอ เงาะ มะพร้าว ผลไม้รวม สลัดผลไม้ และคอกเทลผลไม้ที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารหรือแปรรูป กุ้งแช่เย็น/แช่แข็ง และกุ้งที่ผ่านกรรมวิธีถนอมอาหารแปรรูป ซึ่งจะยกเลิกภาษีทันทีในวันที่ความตกลงมีผลบังคับใช้
1.2 เนื้อปลาฟิลเลต์และแมงกระพรุน ปลาหมึกกล้วยสด/แช่แข็ง ซึ่งจะยกเลิกภาษีใน 5 ปี
1.3 เนื้อไก่แปรรูปหรือผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหาร ซึ่งจะลดภาษีจากร้อยละ 6
เหลือร้อยละ 3 ใน 5 ปี
2. การลดหย่อนข้อกำหนดทำงานสำหรับพ่อครัว/แม่ครัวไทย ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องมีประสบการณ์ทำงานมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี (รวมเวลาการศึกษา) และได้รับใบรับรองฝีมือจากรัฐบาลไทย
อนึ่ง เขตคันไซของญี่ปุ่นถือเป็น ”ฐาน” สำคัญด้านการท่องเที่ยวของไทย โดยเมื่อปี 2547มีนักท่องเที่ยวจากคันไซและนาโกยาเดินทางมาไทยรวม 504,660 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ของจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นทั้งหมดที่เดินทางมาไทย (1.21 ล้านคน) นอกจากนี้เขตดังกล่าวมีร้านอาหารไทยถึง 53 ร้าน (โอซากา 36 แห่ง เฮียวโกะ 6 แห่ง เกียวโต 5 แห่ง มิเอะ 3 แห่ง วากา
ยามา 2 แห่ง และนารา 1 แห่ง) และยังมีคนไทยอาศัยอยู่หลายร้อยคนด้วย
กองการสื่อมวลชน กรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ โทร. 643-5105 โทรสาร. 643-5106-7 E-mail : div0704@mfa.go.th--จบ--
-พห-