กระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนดให้ข้าวหอมมะลิพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข.15 เป็นสินค้ามาตรฐานโดยต้องมีปริมาณข้าวหอมมะลิไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 92 ซึ่งในการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยต้องผ่านการตรวจสอบคุณภาพอย่างเข้มงวดจากเซอร์เวย์และมีเจ้าหน้าที่สำนักงานมาตรฐานสินค้ากำกับดูแลอย่างใกล้ชิด ขณะเดียวกันกรมการค้าต่างประเทศได้จัดกิจกรรมและทุ่มเทประชาสัมพันธ์ข้าวหอมมะลิไทยให้เห็นถึงข้าว นอกจากมีความสำคัญในฐานะเป็นธัญพืชที่เป็นอาหารหลักของคนไทยแล้ว ข้าวยังมีส่วนสำคัญที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นไทยและวัฒนธรรมของไทยตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน สิ่งเหล่านี้แฝงอยู่ในรูปของความเชื่อ จิตวิญญาณ ประเพณีและพิธีกรรมต่าง ๆ มากมาย เช่น การบูชาพระแม่โพสพ เพื่อความอุดมสมบูรณ์ของพืชที่ปลูกตามฤดูกาล ประเพณีการลงแขกซึ่งแสดงถึงประเพณีอันงดงามที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีและความเอื้ออาทรต่อกันในสังคมไทยอาทิ พิธีขอฝน ประเพณีบุญบั้งไฟ การโยนครกโยนสากของภาคอีสาน การแห่นางแมวและพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นต้น จนปัจจุบันคุณภาพและความเชื่อถือติดตลาดโลกไปแล้ว นับได้ว่าเป็นความสำเร็จในระดับหนึ่งในความพยายามผลักดันข้าวซึ่งเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิไทยซึ่งผลิตได้ประมาณปีละ 3 ล้านตันข้าวสาร เป็นข้าวนาปี ปลูกได้เพียงปีละ 1 ครั้ง พื้นที่เพาะปลูกส่วนใหญ่อยู่ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
กรมการค้าต่างประเทศ มีเจตน์จำนงอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยส่งออกให้ยั่งยืนและเพื่อให้การกำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร จึงมีกิจกรรมส่งเสริมโดยการประสานกับผู้ว่า CEO ในภาคอีสานจัดการสัมมนาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยและกระบวนการเกี่ยวกับการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์ DNA ข้าวหอมมะลิไทยให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงขั้นตอนการส่งออกด้วยการเข้าสู่ระบบ GAP : Good Agricultural Practice หรือระบบป้องกันรักษาคุณภาพ IP : Identity Preservation ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด/หลักการสอบทานหรือการตรวจสอบย้อนกลับ ( traceability) ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาคุณภาพแบบยั่งยืน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปนั้นเพื่อตอกย้ำยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าตลาดบนที่บ่งบอกถึงคุณภาพดีเลิศ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปลูกได้เฉพาะบางท้องที่ มีปริมาณหรือ ผลผลิต จำกัด สร้างภาพลักษณ์ที่ดีโดยเน้นความเป็นไทยจิตวิญญาณและวิถีชีวิตไทยสู่ตลาดโลก (Thainess to the World) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลกโดยการบรรจุข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสู่ภัตตาคารและร้านอาหารไทยทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังได้มีกิจกรรมจัดคณะผู้ซื้อในต่างประเทศมาเยือนไทย (in — coming) จัดคณะผู้แทนทางการค้าไทย (trade mission) ไปเจาะตลาดประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง การเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (international trade fair) ต่าง ๆ การสร้างแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทย (Branding) ในโครงการความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เช่น บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด อสมท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย และสมาคมโรงแรมไทยจะเป็นก้าวต่อไปเพื่อทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงให้เข้าถึงตัวนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยกินอาหารไทยและข้าวหอมมะลิไทยโดยมุ่งหวังสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ติดอยู่ในความทรงจำตลอดไป
ในรอบปี 2548 มีผู้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าข้าวหอมมะลิไทยจำนวน 213 ราย ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (บริษัทเซอร์เวย์) จำนวน 31 ราย และผู้ตรวจสอบฯ (เซอร์เวย์เยอร์) จำนวน 608 คนสำหรับการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยมีปริมาณทั้งสิ้น 2,268,426.92 ตัน มูลค่า 34,447.27 ล้านบาท ประเทศที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ เซเนกัล สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และไอเวอรี่โคสท์ ตามลำดับ ส่วนชนิดข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวขาว 100 % ชั้น 2
--กรมการค้าต่างประเทศ--
สส-
กรมการค้าต่างประเทศ มีเจตน์จำนงอันแน่วแน่ที่จะพัฒนาคุณภาพมาตรฐานข้าวหอมมะลิไทยส่งออกให้ยั่งยืนและเพื่อให้การกำกับดูแลคุณภาพมาตรฐานสินค้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและครบวงจร จึงมีกิจกรรมส่งเสริมโดยการประสานกับผู้ว่า CEO ในภาคอีสานจัดการสัมมนาให้ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทยและกระบวนการเกี่ยวกับการส่งออกให้แก่ผู้ประกอบการในท้องถิ่น สถาบันการศึกษา สื่อมวลชน กลุ่มเกษตรกร หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง การฝึกอบรมการตรวจวิเคราะห์ DNA ข้าวหอมมะลิไทยให้กับสถาบันการศึกษาในพื้นที่เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการให้บริการแก่ผู้ประกอบการในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์เผยแพร่กระตุ้นให้เห็นถึงความสำคัญของการควบคุมคุณภาพมาตรฐานตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงขั้นตอนการส่งออกด้วยการเข้าสู่ระบบ GAP : Good Agricultural Practice หรือระบบป้องกันรักษาคุณภาพ IP : Identity Preservation ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิด/หลักการสอบทานหรือการตรวจสอบย้อนกลับ ( traceability) ซึ่งเป็นแนวทางการรักษาคุณภาพแบบยั่งยืน
กิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการไปนั้นเพื่อตอกย้ำยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าตลาดบนที่บ่งบอกถึงคุณภาพดีเลิศ มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ปลูกได้เฉพาะบางท้องที่ มีปริมาณหรือ ผลผลิต จำกัด สร้างภาพลักษณ์ที่ดีโดยเน้นความเป็นไทยจิตวิญญาณและวิถีชีวิตไทยสู่ตลาดโลก (Thainess to the World) และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ครัวไทยสู่ครัวโลกโดยการบรรจุข้าวหอมมะลิซึ่งเป็นอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรตสู่ภัตตาคารและร้านอาหารไทยทั่วโลก
นอกจากนี้ ยังได้มีกิจกรรมจัดคณะผู้ซื้อในต่างประเทศมาเยือนไทย (in — coming) จัดคณะผู้แทนทางการค้าไทย (trade mission) ไปเจาะตลาดประเทศต่าง ๆ รวมทั้ง การเข้าร่วมงานแสดงสินค้านานาชาติ (international trade fair) ต่าง ๆ การสร้างแบรนด์ข้าวหอมมะลิไทย (Branding) ในโครงการความร่วมมือกับองค์กรต่าง ๆ เช่น บริษัทการบินไทย (มหาชน) จำกัด อสมท. การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมภัตตาคารไทย และสมาคมโรงแรมไทยจะเป็นก้าวต่อไปเพื่อทำกิจกรรมประชาสัมพันธ์เชื่อมโยงให้เข้าถึงตัวนักท่องเที่ยวที่มาประเทศไทยกินอาหารไทยและข้าวหอมมะลิไทยโดยมุ่งหวังสร้างประสบการณ์ที่ดีให้ติดอยู่ในความทรงจำตลอดไป
ในรอบปี 2548 มีผู้จดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสินค้าข้าวหอมมะลิไทยจำนวน 213 ราย ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบมาตรฐานสินค้าข้าวหอมมะลิไทย (บริษัทเซอร์เวย์) จำนวน 31 ราย และผู้ตรวจสอบฯ (เซอร์เวย์เยอร์) จำนวน 608 คนสำหรับการส่งออกข้าวหอมมะลิไทยมีปริมาณทั้งสิ้น 2,268,426.92 ตัน มูลค่า 34,447.27 ล้านบาท ประเทศที่นำเข้าจากไทยมากที่สุด 5 อันดับแรกคือ เซเนกัล สหรัฐอเมริกา จีน ฮ่องกง และไอเวอรี่โคสท์ ตามลำดับ ส่วนชนิดข้าวหอมมะลิไทยที่ส่งออกมากที่สุด คือ ข้าวขาว 100 % ชั้น 2
--กรมการค้าต่างประเทศ--
สส-