นายนริศ ชัยสูตร ผู้อำนวยการการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยว่า
ในวันนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง "ภาษีทรัพย์สินจะช่วยแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้หรือไม่” โดย สศค. ได้รับเกียรติวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านภาษีทรัพย์สินและรายได้ท้องถิ่น ได้แก่ ศ.ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาสยาม ศ.ดร.ดิเรก
ปัทมสิริวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณ กิ่งแก้ว ถนอมถิ่น ผู้อำนวยการสำนักการคลัง เทศบาลนครระยอง มาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ท้องถิ่นจากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของกระทรวงการคลัง ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) ภาษีทรัพย์สินสามารถช่วยแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด ซึ่งหากมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ มาจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน ก็จะทำให้รายได้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 — 3 เท่าของรายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่เดิม ซึ่งยังต้องพึ่งพึงรายได้ส่วนอื่นและ เงินอุดหนุนของรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่สามารถแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้ทั้งหมด แต่ก็ควรผลักดันให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเนื่องจากจะเป็นการจัดเก็บภาษีจาก ฐานทรัพย์สินโดยตรงและเป็นไปตามหลักประโยชน์ที่ได้รับจากท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม จะต้องมี การประชาสัมพันธ์ให้ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับที่จะจ่ายภาษีให้กับท้องถิ่น
2) ท้องถิ่นควรพิจารณาจัดเก็บภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษีค้าปลีกสินค้าต่างๆ นอกเหนือจาก น้ำมัน ยาสูบ โดยให้ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวเอง เพื่อจะทำให้ประชาชนอยากจะตรวจสอบการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของอปท. มากยิ่งขึ้น
3) ควรมีการปรับปรุงการแบ่งสรรรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ท้องถิ่นเสียใหม่ โดยควรแบ่งรายได้ให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นหรือจัดเก็บภาษีให้ท้องถิ่นในอัตราที่เพิ่มขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ยิ่งไปกว่านั้น เห็นว่าควรพิจารณาแบ่งสรรรายได้จากภาษีเงินได้ให้กับท้องถิ่นด้วย
4) พิจารณาจัดเก็บภาษีตัวใหม่ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม โดยให้รัฐบาลการจัดเก็บให้และแบ่งสรรรายได้บางส่วนให้กับท้องถิ่น ภาษีสิ่งแวดล้อมที่เห็นควรให้จัดเก็บ คือ ภาษีบรรจุภัณฑ์ โดยจัดเก็บจากผู้ผลิต
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2549 1 กันยายน 2549--
ในวันนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้จัดเสวนาวิชาการ เรื่อง "ภาษีทรัพย์สินจะช่วยแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้หรือไม่” โดย สศค. ได้รับเกียรติวิทยากรที่ทรงคุณวุฒิด้านภาษีทรัพย์สินและรายได้ท้องถิ่น ได้แก่ ศ.ดร.สมชัย ฤชุพันธุ์ ประธานมูลนิธิสถาบันพัฒนาสยาม ศ.ดร.ดิเรก
ปัทมสิริวัฒน์ คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และคุณ กิ่งแก้ว ถนอมถิ่น ผู้อำนวยการสำนักการคลัง เทศบาลนครระยอง มาให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการเพิ่มรายได้ท้องถิ่นจากการจัดเก็บภาษีทรัพย์สิน เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดนโยบายของกระทรวงการคลัง ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1) ภาษีทรัพย์สินสามารถช่วยแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้ในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถแก้ได้ทั้งหมด ซึ่งหากมีการยกเลิกการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่ มาจัดเก็บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างแทน ก็จะทำให้รายได้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้น ประมาณ 2 — 3 เท่าของรายได้ที่ได้จากการจัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินและภาษีบำรุงท้องที่เดิม ซึ่งยังต้องพึ่งพึงรายได้ส่วนอื่นและ เงินอุดหนุนของรัฐบาลต่อไป อย่างไรก็ตาม ถึงแม้จะไม่สามารถแก้ปัญหารายได้ท้องถิ่นได้ทั้งหมด แต่ก็ควรผลักดันให้เกิดการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเนื่องจากจะเป็นการจัดเก็บภาษีจาก ฐานทรัพย์สินโดยตรงและเป็นไปตามหลักประโยชน์ที่ได้รับจากท้องถิ่น อย่างไรก็ตาม จะต้องมี การประชาสัมพันธ์ให้ทั้งประชาชนและเจ้าหน้าที่ของท้องถิ่นทราบอย่างทั่วถึง เพื่อให้เกิดความเข้าใจและยอมรับที่จะจ่ายภาษีให้กับท้องถิ่น
2) ท้องถิ่นควรพิจารณาจัดเก็บภาษีอื่นๆ เพิ่มเติม เช่น ภาษีค้าปลีกสินค้าต่างๆ นอกเหนือจาก น้ำมัน ยาสูบ โดยให้ท้องถิ่นมีหน้าที่จัดเก็บภาษีดังกล่าวเอง เพื่อจะทำให้ประชาชนอยากจะตรวจสอบการดำเนินโครงการและกิจกรรมต่างๆ ของอปท. มากยิ่งขึ้น
3) ควรมีการปรับปรุงการแบ่งสรรรายได้ที่รัฐบาลจัดเก็บให้และแบ่งให้ท้องถิ่นเสียใหม่ โดยควรแบ่งรายได้ให้ท้องถิ่นเพิ่มขึ้นหรือจัดเก็บภาษีให้ท้องถิ่นในอัตราที่เพิ่มขึ้น เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีสรรพสามิต ยิ่งไปกว่านั้น เห็นว่าควรพิจารณาแบ่งสรรรายได้จากภาษีเงินได้ให้กับท้องถิ่นด้วย
4) พิจารณาจัดเก็บภาษีตัวใหม่ เช่น ภาษีสิ่งแวดล้อม โดยให้รัฐบาลการจัดเก็บให้และแบ่งสรรรายได้บางส่วนให้กับท้องถิ่น ภาษีสิ่งแวดล้อมที่เห็นควรให้จัดเก็บ คือ ภาษีบรรจุภัณฑ์ โดยจัดเก็บจากผู้ผลิต
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 16/2549 1 กันยายน 2549--