บทสรุปผู้บริหาร
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่สามารถขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ในขณะที่การนำเข้าปรับตัวดีขึ้น ส่วนเครื่องชี้ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจภาคการคลังจะเห็นได้ว่าภาษีฐานรายได้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการปรับตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน สำหรับด้านอุปทาน ภาคการเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการจ้างงานภาคการเกษตรที่ขยายตัวในระดับที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง ส่วนในด้านอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้น ทั้งจากอัตราจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่า การบริโภคมีการปรับตัวดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริโภคภายในประเทศ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากเครื่องชี้ด้านการลงทุนทั้งด้านเครื่องมือเครื่องจักรและด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงขึ้น ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าของเดือนพฤษภาคม 2549 ยังขาดดุลจากมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคงโดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม 2549
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่สามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวดีได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุนในขณะที่มูลค่าการนำเข้าน้ำมันชะลอตัวลง ส่วนเครื่องชี้ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีปรับตัวดีขึ้น เทียบกับจากเดือนก่อนหน้า
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้สามารถขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 10.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนเมษายนที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 ต่อปี โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 14.2 ต่อปี ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี สำหรับรายได้ภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวดีขึ้นมากที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะในภาคการเกษตรขยายตัวได้ดี โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤษภาคมยังขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ด้านการจ้างงานขยายตัวดีขึ้นมากที่ร้อยละ 18.4 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับ 2 หลักเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในขณะที่คาดว่าผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวดีขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรน่าจะยังคงขยายตัวในระดับสูงขึ้น สำหรับเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่ามีการปรับตัวดีขึ้นมากจากเดือนที่แล้วที่ชะลอตัวลง โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี จากเดิมที่เคยหดตัวร้อยละ 14.2 ต่อปีในเดือนเมษายน สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการที่วัดจากการจ้างงานภาคบริการมีการปรับลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมที่มีอัตราการขยายตัวของการจ้างงานสูงขึ้น
อุปสงค์การบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง วัดได้จากเครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนทั้งรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศและมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.8 และ 24.2 ในเดือนพฤษภาคม จากร้อยละ 19.4 และ 10.0 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับสูงสุดที่ 83.6 ในเดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 76.7 ในเดือนเมษายนและ 75.5 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านการเมือง
ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จากเครื่องชี้ด้านการลงทุนทั้งด้านเครื่องมือเครื่องจักรและด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงขึ้น โดยด้านการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรนั้น มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ดีขึ้นกว่าร้อยละ -2.4 ต่อปีในเดือนเมษายน โดยหากหักการนำเข้าเครื่องบินในช่วงปี 2548 พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยเฉพาะสินค้าทุนประเภทอุตสาหกรรม อันได้แก่ โลหะ เครื่องจักร และคอมพิวเตอร์มีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 16.6 10 และ 13.7 ต่อปีตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านก่อสร้างแม้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวร้อยละ 22.5 ต่อปี และ 19.6 ต่อปีในเดือนเมษายนและพฤษภาคมตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนเมษายนกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.0 ต่อปีภายหลังจากที่หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคมโดยเฉพาะด้านมูลค่าการส่งออกยังสามารถขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังคงขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 18.8 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 646 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม
ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านเสถียรภาพทางการคลัง หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 46.4 ของ GDP ณ สิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 41.4 ของ GDP ในเดือนเมษายน ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อน อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนพฤษภาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ต่อปี จากด้านต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าในครึ่งปีหลัง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลงหากราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพและฐานอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งปีหลังของปีก่อน ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 57.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 52.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นปี 2548 และคิดเป็นประมาณ 3.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 10/2549 29 มิถุนายน 2549--
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่สามารถขยายตัวในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวได้ในเกณฑ์ดี ในขณะที่การนำเข้าปรับตัวดีขึ้น ส่วนเครื่องชี้ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ พบว่า การบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า สำหรับเครื่องชี้ภาคเศรษฐกิจภาคการคลังจะเห็นได้ว่าภาษีฐานรายได้ยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง แม้ว่าจะชะลอตัวลงจากเดือนก่อนหน้า ในขณะที่ภาษีฐานการบริโภคกลับมาขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้น เมื่อเทียบกับเดือนก่อนตามการปรับตัวที่ดีขึ้นของการบริโภคภาคเอกชน สำหรับด้านอุปทาน ภาคการเกษตรยังสามารถขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะการจ้างงานภาคการเกษตรที่ขยายตัวในระดับที่สูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้า และราคาสินค้าเกษตรที่ยังคงขยายตัวในระดับสูง ส่วนในด้านอุตสาหกรรมขยายตัวดีขึ้น ทั้งจากอัตราจ้างงานภาคอุตสาหกรรมที่เพิ่มขึ้น และมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ด้านอุปสงค์ในประเทศพบว่า การบริโภคมีการปรับตัวดีขึ้น ดังจะเห็นได้จากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มที่บริโภคภายในประเทศ และมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคที่เพิ่มขึ้น ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีการปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อน จากเครื่องชี้ด้านการลงทุนทั้งด้านเครื่องมือเครื่องจักรและด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงขึ้น ส่วนด้านอุปสงค์ต่างประเทศพบว่า มูลค่าการส่งออกขยายตัวได้ดีอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวสูงขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ดุลการค้าของเดือนพฤษภาคม 2549 ยังขาดดุลจากมูลค่าการนำเข้าที่สูงกว่ามูลค่าการส่งออก ด้านเสถียรภาพทางเศรษฐกิจยังอยู่ในระดับมั่นคงโดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า จากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเล็กน้อยในเดือนพฤษภาคม 2549
นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง แถลงรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนพฤษภาคม 2549 ดังนี้
ภาวะเศรษฐกิจการคลังโดยรวมในเดือนพฤษภาคม 2549 ยังคงได้รับแรงสนับสนุนจากเศรษฐกิจโลกที่สามารถขยายตัวได้ดีกว่าที่คาดการณ์ ทำให้การส่งออกสามารถขยายตัวดีได้อย่างต่อเนื่อง ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าสินค้าทุนในขณะที่มูลค่าการนำเข้าน้ำมันชะลอตัวลง ส่วนเครื่องชี้ด้านอุปสงค์ภายในประเทศ พบว่าการบริโภคภาคเอกชนยังขยายตัวได้ดี ในขณะที่การลงทุนภาคเอกชนมีปรับตัวดีขึ้น เทียบกับจากเดือนก่อนหน้า
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการคลังล่าสุดพบว่า ภาษีฐานรายได้สามารถขยายตัวในอัตราเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 10.8 ต่อปี ซึ่งเป็นการชะลอตัวลงเล็กน้อยจากเดือนเมษายนที่ขยายตัวร้อยละ 12.7 ต่อปี โดยภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสามารถขยายตัวได้ร้อยละ 14.2 ต่อปี ในขณะที่ภาษีเงินได้นิติบุคคลขยายตัวร้อยละ 10.3 ต่อปี สำหรับรายได้ภาษีจากฐานการบริโภคขยายตัวดีขึ้นมากที่ร้อยละ 18.2 ต่อปี จากเดือนก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 7.3 ต่อปี ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงด้านการบริโภคที่ปรับตัวดีขึ้น
เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านอุปทานโดยเฉพาะในภาคการเกษตรขยายตัวได้ดี โดยดัชนีราคาสินค้าเกษตรเดือนพฤษภาคมยังขยายตัวที่ร้อยละ 14.8 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ด้านการจ้างงานขยายตัวดีขึ้นมากที่ร้อยละ 18.4 ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับ 2 หลักเป็นครั้งแรกในรอบหลายปี ในขณะที่คาดว่าผลผลิตภาคเกษตรขยายตัวดีขึ้น ทำให้รายได้เกษตรกรน่าจะยังคงขยายตัวในระดับสูงขึ้น สำหรับเครื่องชี้ภาคอุตสาหกรรมพบว่ามีการปรับตัวดีขึ้นมากจากเดือนที่แล้วที่ชะลอตัวลง โดยมูลค่าการนำเข้าวัตถุดิบในเดือนพฤษภาคมขยายตัวร้อยละ 8.1 ต่อปี จากเดิมที่เคยหดตัวร้อยละ 14.2 ต่อปีในเดือนเมษายน สำหรับเครื่องชี้ภาคบริการที่วัดจากการจ้างงานภาคบริการมีการปรับลดลงเล็กน้อยที่ร้อยละ 5.7 ต่อปี ซึ่งคาดว่าจะเป็นผลมาจากการชะลอตัวลงของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการเคลื่อนย้ายแรงงานเข้าสู่ภาคเกษตรกรรมที่มีอัตราการขยายตัวของการจ้างงานสูงขึ้น
อุปสงค์การบริโภคภายในประเทศขยายตัวต่อเนื่อง วัดได้จากเครื่องชี้วัดการบริโภคภาคเอกชนทั้งรายได้จัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการใช้จ่ายในประเทศและมูลค่าการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25.8 และ 24.2 ในเดือนพฤษภาคม จากร้อยละ 19.4 และ 10.0 ต่อปี ในเดือนก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค ยังคงลดลงอย่างต่อเนื่องจากระดับสูงสุดที่ 83.6 ในเดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 76.7 ในเดือนเมษายนและ 75.5 ในเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นผลจากความกังวลเกี่ยวกับราคาน้ำมัน และค่าครองชีพที่สูงขึ้น รวมถึงปัญหาด้านการเมือง
ขณะเดียวกันการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้นจากเดือนก่อน จากเครื่องชี้ด้านการลงทุนทั้งด้านเครื่องมือเครื่องจักรและด้านอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวสูงขึ้น โดยด้านการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรนั้น มูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1 ต่อปีในเดือนพฤษภาคม ดีขึ้นกว่าร้อยละ -2.4 ต่อปีในเดือนเมษายน โดยหากหักการนำเข้าเครื่องบินในช่วงปี 2548 พบว่ามูลค่าการนำเข้าสินค้าทุนจะขยายตัวร้อยละ 5.5 ต่อปี โดยเฉพาะสินค้าทุนประเภทอุตสาหกรรม อันได้แก่ โลหะ เครื่องจักร และคอมพิวเตอร์มีการขยายตัวดีขึ้นร้อยละ 16.6 10 และ 13.7 ต่อปีตามลำดับ สำหรับเครื่องชี้เศรษฐกิจด้านก่อสร้างแม้มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น โดยภาษีจากการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์รวมขยายตัวร้อยละ 22.5 ต่อปี และ 19.6 ต่อปีในเดือนเมษายนและพฤษภาคมตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับยอดขายปูนซีเมนต์ภายในประเทศในเดือนเมษายนกลับมาขยายตัวเป็นบวกที่ร้อยละ 1.0 ต่อปีภายหลังจากที่หดตัวต่อเนื่อง 4 เดือนติดต่อกัน
เครื่องชี้วัดเศรษฐกิจด้านการค้าระหว่างประเทศในเดือนพฤษภาคมโดยเฉพาะด้านมูลค่าการส่งออกยังสามารถขยายตัวดีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยยังคงได้รับการสนับสนุนจากอุปสงค์ภายนอกประเทศ ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าสินค้าขยายตัวดีขึ้น แม้ว่าจะยังคงขยายตัวในระดับต่ำอย่างต่อเนื่อง โดยการส่งออกมีมูลค่าทั้งสิ้น 10.8 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 18.8 ต่อปี ในขณะที่มูลค่าการนำเข้าอยู่ที่ 11.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือขยายตัวร้อยละ 6.4 ต่อปี ส่งผลให้ดุลการค้าขาดดุลที่ 646 ล้านเหรียญสหรัฐ ในเดือนพฤษภาคม
ในด้านเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกประเทศอยู่ในเกณฑ์ดี ในด้านเสถียรภาพทางการคลัง หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 46.4 ของ GDP ณ สิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ร้อยละ 41.4 ของ GDP ในเดือนเมษายน ขณะที่อัตราการว่างงานลดลงจากเดือนก่อน อยู่ในระดับต่ำเพียงร้อยละ 1.4 ในเดือนพฤษภาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนพฤษภาคมปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 6.2 ต่อปี จากด้านต้นทุนราคาน้ำมันที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แต่คาดว่าในครึ่งปีหลัง อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มที่จะลดลงหากราคาน้ำมันเริ่มมีเสถียรภาพและฐานอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงในช่วงครึ่งปีหลังของปีก่อน ในขณะที่เสถียรภาพเศรษฐกิจภายนอกประเทศอยู่ในระดับที่มั่นคง โดยทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 57.7 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจาก 52.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ณ สิ้นปี 2548 และคิดเป็นประมาณ 3.0 เท่าของหนี้ต่างประเทศระยะสั้น
--ข่าวสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ฉบับที่ 10/2549 29 มิถุนายน 2549--