นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนได้มีการพิจารณา เปลี่ยนแปลงกฎแหล่งกำเนิดสินค้าของผลิตภัณฑ์ไม้ ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม และผลิตภัณฑ์แป้งสาลีจากเดิมที่ ใช้หลักเกณฑ์ Local Content 40% เป็นหลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอในลักษณะของการเปลี่ยน พิกัดศุลกากร (Change of Tariff Classification : CTC) เป็นทางเลือกสำหรับการใช้สิทธิพิเศษฯ ส่งออก ภายใต้ CEPT ซึ่งในช่วงปี 2548 ที่ถูกกำหนดให้ใช้หลักเกณฑ์ของกฎแหล่งกำเนิดสินค้าแบบเดิม สินค้า ทั้ง 3 รายการ มีสถิติการส่งออกและการใช้สิทธิพิเศษฯ
เป็นดังนี้
ผลิตภัณฑ์ไม้ มีมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน 184.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่การส่งออกโดย รวมไทยมีจีนเป็นตลาดหลัก สำหรับการใช้สิทธิพิเศษฯ ในตลาดอาเซียนมีมูลค่า 88.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 48 ตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ผลิตภัณฑ์แป้งสาลี อาเซียนเป็นตลาดอันดับหนึ่งในการส่งออกแป้งสาลี มีมูลค่าการส่งออก 2.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 0.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ คิดเป็น ร้อยละ 45 สำหรับตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีมูลค่าการส่งออก 120.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 25.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 สำหรับตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มว่าจากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม ยังมีการส่งออก และใช้สิทธิพิเศษฯ ไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อการ ผลิต สำหรับการส่งออกและเป็นสินค้าซึ่งได้มีการแปรสภาพเพียงเล็กน้อย ทำให้มีมูลค่าเพิ่มไม่มากพอตาม เกณฑ์ของกฎแหล่งกำเนิดเดิมของอาเซียน (Local Content 40%) ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงกฎแหล่งกำเนิด สินค้าโดยใช้หลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอในลักษณะของการเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change of Tariff Classification : CTC) ดังกล่าว จะเป็นช่องทางให้สามารถได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิด ใหม่ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสให้สามารถส่งออกและใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT ได้ เพิ่มมากขึ้น
ขอรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้า ต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft@moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
เป็นดังนี้
ผลิตภัณฑ์ไม้ มีมูลค่าการส่งออกไปอาเซียน 184.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่การส่งออกโดย รวมไทยมีจีนเป็นตลาดหลัก สำหรับการใช้สิทธิพิเศษฯ ในตลาดอาเซียนมีมูลค่า 88.73 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 48 ตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย
ผลิตภัณฑ์แป้งสาลี อาเซียนเป็นตลาดอันดับหนึ่งในการส่งออกแป้งสาลี มีมูลค่าการส่งออก 2.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 0.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สัดส่วนการใช้สิทธิฯ คิดเป็น ร้อยละ 45 สำหรับตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ ลาว เวียดนาม ฟิลิปปินส์
ผลิตภัณฑ์อลูมิเนียม มีมูลค่าการส่งออก 120.20 ล้านเหรียญสหรัฐฯ การใช้สิทธิพิเศษฯ มูลค่า 25.17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21 สำหรับตลาดที่ประเทศไทยใช้สิทธิพิเศษฯ สูง ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มว่าจากข้อมูลดังกล่าว จะเห็นได้ว่าสินค้าทั้ง 3 กลุ่ม ยังมีการส่งออก และใช้สิทธิพิเศษฯ ไม่มากเท่าที่ควร เนื่องจากเป็นสินค้าที่ไทยต้องนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศเพื่อการ ผลิต สำหรับการส่งออกและเป็นสินค้าซึ่งได้มีการแปรสภาพเพียงเล็กน้อย ทำให้มีมูลค่าเพิ่มไม่มากพอตาม เกณฑ์ของกฎแหล่งกำเนิดเดิมของอาเซียน (Local Content 40%) ฉะนั้น การเปลี่ยนแปลงกฎแหล่งกำเนิด สินค้าโดยใช้หลักเกณฑ์การแปรสภาพอย่างเพียงพอในลักษณะของการเปลี่ยนพิกัดศุลกากร (Change of Tariff Classification : CTC) ดังกล่าว จะเป็นช่องทางให้สามารถได้แหล่งกำเนิดสินค้าตามกฎแหล่งกำเนิด ใหม่ง่ายขึ้น และเป็นการเพิ่มโอกาสให้สามารถส่งออกและใช้สิทธิพิเศษฯ CEPT ได้ เพิ่มมากขึ้น
ขอรายละเอียดเพิ่มเติม ติดต่อที่สำนักส่งเสริมและพัฒนาสิทธิประโยชน์ทางการค้า กรมการค้า ต่างประเทศ โทร. สายด่วน 1385 โทร. 0 2547 4872 โทรสาร 0 2547 4816 www.dft.moc.go.th , e-mail : tpdft@moc.go.th
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-