นายสมชัย สัจจพงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลัง เปิดเผยผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลเดือนกันยายน 2549 ต่ำกว่าประมาณการ 8,512 ล้านบาท และผลการจัดเก็บรายได้ตลอดปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549) ซึ่งจัดเก็บได้ 1,581,521 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการ 2,121 ล้านบาท ในขณะที่รายได้รัฐบาลสุทธิมีจำนวน 1,339,385 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ (1,360,000 ล้านบาท) จำนวน 20,615 ล้านบาท (แต่สูงกว่าปีที่แล้ว 74,453 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 5.9) ซึ่งส่วนสำคัญประการหนึ่งเกิดจากผลของการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการถึง 29,658 ล้านบาท ซึ่งมีผลดีต่อสภาพคล่องของภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจอ่อนตัวลง
1. เดือนกันยายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 78,073 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,512 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.5) โดยรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 8,817 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำส่งรายได้ระหว่างกาลของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (การให้รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ปีละ 2 ครั้งเช่นเดียวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล) เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,339 ล้านบาท และสำนักงานสลากเงินแบ่งรัฐบาล 902 ล้านบาท เป็นต้น
หน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 และ 2,605 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 และ 25.5 ตามลำดับ
2. ตลอดทั้งปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,339,385 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 74,453 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปีงบประมาณ ทำให้รายได้จากภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ประมาณการไว้ ส่งผลต่อการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับผลของการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 29,568 ล้านบาท ซึ่งมีผลดีต่อสภาพคล่องของภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจอ่อนตัวลง ได้ทำให้รายได้รัฐบาลสุทธิลดลงไปกว่าที่ประมาณการไว้
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,057,198 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 48,198 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,772 14,089 และ 11,424 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 3.9 และ 25.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3 13.7 และ 37.3 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 274,096 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 38,404 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.9) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีเกือบ ทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ และภาษียาสูบต่ำกว่าประมาณการ 14,776 8,457 และ 7,061 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ปริมาณรถยนต์นั่งที่เสียภาษีในอัตราที่สูงในร้อยละ 35-40 ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 รวมทั้งภาษียาสูบ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบ ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 96,232 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 24,168 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 25,067 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.1 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการดำเนินการตามกรอบความตกลงระหว่างประเทศ (FTA) นอกจากนี้ เกิดจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 153,995 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,495 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.0 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 8,902 และ 6,310 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้รัฐวิสาหกิจได้มีการนำส่งรายได้ระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาครึ่งแรกของปี 2549 ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สูงกว่าประมาณการ 9,907 และ 3,250 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการทั้งจำนวนคือ 15,100 ล้านบาท เนื่องจากไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 89/2549 10 ตุลาคม 49--
1. เดือนกันยายน 2549 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 78,073 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 8,512 ล้านบาท หรือร้อยละ 9.8 (สูงกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 9.5) โดยรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ 8,817 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำส่งรายได้ระหว่างกาลของรัฐวิสาหกิจบางแห่ง (การให้รัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้ปีละ 2 ครั้งเช่นเดียวกับการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล) เช่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จำนวน 7,339 ล้านบาท และสำนักงานสลากเงินแบ่งรัฐบาล 902 ล้านบาท เป็นต้น
หน่วยงานที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ ได้แก่ กรมสรรพสามิตและกรมศุลกากร จัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ 3,180 และ 2,605 ล้านบาท หรือร้อยละ 11.9 และ 25.5 ตามลำดับ
2. ตลอดทั้งปีงบประมาณ 2549 (ตุลาคม 2548 — กันยายน 2549)
รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,339,385 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 20,615 ล้านบาท หรือร้อยละ 1.5 แต่สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 74,453 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.9 โดยมีปัจจัยที่ส่งผลกระทบ ได้แก่ ราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลในช่วงต้นปีงบประมาณ ทำให้รายได้จากภาษีสรรพสามิตน้ำมันลดลง ค่าเงินบาทแข็งค่ากว่าที่ประมาณการไว้ ส่งผลต่อการจัดเก็บอากรขาเข้าของกรมศุลกากร ซึ่งปัจจัยดังกล่าวทำให้การจัดเก็บรายได้ภาษีสรรพสามิตและภาษีศุลกากรต่ำกว่าประมาณการ ประกอบกับผลของการคืนภาษีของกรมสรรพากรที่สูงกว่าประมาณการ 29,568 ล้านบาท ซึ่งมีผลดีต่อสภาพคล่องของภาคเอกชนในช่วงเศรษฐกิจอ่อนตัวลง ได้ทำให้รายได้รัฐบาลสุทธิลดลงไปกว่าที่ประมาณการไว้
ผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้
2.1 กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 1,057,198 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสาร งบประมาณ 48,198 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.8 (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) โดยจัดเก็บภาษีทุกประเภทได้สูงกว่าประมาณการ ที่สำคัญได้แก่ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการ 15,772 14,089 และ 11,424 ล้านบาท หรือร้อยละ 3.9 3.9 และ 25.3 ตามลำดับ (สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 8.3 13.7 และ 37.3 ตามลำดับ)
2.2 กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 274,096 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 38,404 ล้านบาท หรือร้อยละ 12.3 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.9) ทั้งนี้ เนื่องจากภาษีเกือบ ทุกประเภทจัดเก็บได้ต่ำกว่าประมาณการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาษีน้ำมัน ภาษีรถยนต์ และภาษียาสูบต่ำกว่าประมาณการ 14,776 8,457 และ 7,061 ล้านบาท ตามลำดับ เนื่องจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นและการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ปริมาณรถยนต์นั่งที่เสียภาษีในอัตราที่สูงในร้อยละ 35-40 ลดลงมากกว่าร้อยละ 30 รวมทั้งภาษียาสูบ ซึ่งได้รับผลกระทบจากการปรับเพิ่มภาษียาสูบ ทำให้ปริมาณการบริโภคยาสูบลดลง
2.3 กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 96,232 ล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 24,168 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 20.1 (ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.8) เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ ต่ำกว่าประมาณการ 25,067 ล้านบาท หรือร้อยละ 21.1 โดยได้รับผลกระทบจากการปรับโครงสร้างภาษีศุลกากร เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการดำเนินการตามกรอบความตกลงระหว่างประเทศ (FTA) นอกจากนี้ เกิดจากการที่ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นกว่าที่ประมาณการไว้
2.4 หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 153,995 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 16,495 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.0 เนื่องจากทั้งส่วนราชการอื่นและรัฐวิสาหกิจนำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการ โดยรายได้ส่วนราชการอื่นได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม และรายได้จากเงินผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษจากผู้รับสัมปทานปิโตรเลียมสูงกว่าประมาณการ 8,902 และ 6,310 ล้านบาท ตามลำดับ ซึ่งเป็นผลจากราคาปิโตรเลียมที่ปรับตัวสูงขึ้น และรายได้รัฐวิสาหกิจได้มีการนำส่งรายได้ระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในรอบระยะเวลาครึ่งแรกของปี 2549 ในขณะที่รัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สูงกว่าประมาณการ 9,907 และ 3,250 ล้านบาท ตามลำดับ ส่วนรายได้จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่ำกว่าประมาณการทั้งจำนวนคือ 15,100 ล้านบาท เนื่องจากไม่มีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 89/2549 10 ตุลาคม 49--