ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท. หารือ ธ.พาณิชย์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินนักธุรกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับผู้บริหารของ ธ.พาณิชย์ในเบื้องต้นแล้วเรื่องการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยผู้ประกอบการทั้ง 3 จังหวัด ได้ขอผ่อนผันและขอความช่วยเหลือมายัง ธปท. เมื่อสัปดาห์
ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ธ.พาณิชย์จะผ่อนผันอะไรให้บ้างเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากมีรายละเอียดอีกหลายเรื่อง
ที่ต้องหารือกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธ.พาณิชย์ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว ทั้งนี้ การที่ยังตกลงรายละเอียดกันไม่ได้คงไม่เกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมืองหรือสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ยังไม่สงบ เพราะตามปกติธนาคารมีการปล่อยสินเชื่ออยู่แล้วถ้าพื้นที่ไหนต้องการ แต่จะลด
อะไรได้บ้างคงต้องดูอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. กำไรของบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในไตรมาส 2 ลดลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า จาก
รายงานเศรษฐกิจและการเงินภาคธุรกิจประจำเดือน ส.ค. หรือในช่วงไตรมาส 2 ปี 49 พบว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินช่วงไตรมาส 2 มีกำไรลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.2 จากร้อยละ 10.1 ในไตรมาส 1 ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตรา
ที่ชะลอลงทำให้อัตรากำไรเบื้องต้นมีแนวโน้มต่ำลงอยู่ที่ร้อยละ 18.5 จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 19.9 เนื่องจากปัจจัยเรื่องต้นทุนปรับเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข่าวสด)
3. ก.คลังพร้อมเร่งดำเนินการโครงการเมกะโปรเจกท์ นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงกรณี
ที่ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะทีมเศรษฐกิจของคณะมนตรีความมั่นคงกล่าวถึงการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเสนอโครงการที่จะต้องเร่งดำเนิน
การคือ 1) โครงการขนส่งมวลชน โดยให้มีการเปิดประมูลรถไฟฟ้า 2) พัฒนาระบบขนส่งสินค้า และ 3) พัฒนาแหล่งทรัพยากรน้ำ ว่า ทั้ง
3 เรื่องดังกล่าวอยู่ในแผนเดิมที่ ก.คลังเคยทำการศึกษาไว้เดิมอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกท์ของรัฐบาลชุดที่แล้ว ก.คลัง
จึงมีความพร้อมในการเดินหน้าทั้ง 3 โครงการอย่างเต็มที่ ด้าน นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน.
ได้ทำการหารือเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนโครงการเมกะโปรเจกท์ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย กับ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่าง
ประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) อย่างไม่เป็นทางการแล้ว ซึ่งเจบิกยังไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่าจะส่งคณะประเมินโครงการมาเมื่อใด เพราะ
ต้องรอความชัดเจนกรณีการจัดตั้ง ครม.ชุดใหม่ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน (แนวหน้า)
4. ภาครัฐตกลงจัดทำ งปม. แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ในปี งปม.50
ก.คลังจะไม่มีมาตรการทางด้านภาษีใหม่ ๆ เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอีก เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ใช้มาตรการทางด้านภาษีมากแล้ว ประกอบกับการ
จัดทำ งปม.ปี50 ทั้ง ก.คลัง สำนัก งปม. สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ธปท. ตกลงที่จะจัดทำ งปม. แบบขาดดุล
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ที่สำคัญการเบิกจ่าย งปม.ปี 50 คาดว่าจะเบิกจ่ายลบลงทุนได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.50 จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในปีหน้าอย่างมาก สำหรับ ก.คลังยังคงเดินหน้าในมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น มาตรการภาษีที่ช่วยสนับสนุนด้านสังคม
และการศึกษา โครงการลงทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมกะโปรเจกท์ เป็นต้น (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 49 ผลการสำรวจร่วมกันระหว่าง
JPMorgan และ research and supply organizations ชี้ว่าในเดือน ก.ย.ดัชนีผลผลิตอุตสากรรมของโลกอยู่ที่ระดับ 55.3 ลดลงจาก
ระดับ 56.9 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบปี อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว
ทั้งนี้ JPMorgan กล่าวว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในระดับปัจจุบันเกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.5 — 3.0 ต่อไตรมาส และชี้ว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงอย่างมากในปีหน้า นอกจากนั้นตัวเลขจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาก็
บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอีก 18 เดือนข้างหน้าและอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้มีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงได้แก่ แนวโน้ม
ราคาน้ำมัน การไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัดโลกในปัจจุบัน การสิ้นสุดลงของการขยายตัวอย่างมากของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการกลับมาสู่
ยุคการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 4 ปีนี้จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 3.0 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีภาคบริการของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 52.9 จากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
4 ต.ค.49 The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. (ซึ่งเป็นเครื่อง
ชี้วัดภาคบริการในระบบเศรษฐกิจ) ในเดือน ก.ย.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 57.0 ในเดือน ส.ค.49 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดตั้งแต่เดือน
เม.ย.46 เป็นต้นมา ขณะที่ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 56.0 แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็น
เส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีภาคบริการดังกล่าวมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. และรวมถึง
ภาคธุรกิจอื่น อาทิเช่น ภัตตาคาร โรงแรม ร้านเสริมสวย ธนาคาร และธุรกิจการบิน นอกจากนี้ จากผลสำรวจของ ISM ยังพบว่า ดัชนี
prices-paid index ในเดือน ก.ย.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 72.4 ในเดือน ส.ค.49 ขณะที่ดัชนี jobs component เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 53.6 จากระดับ 51.4 และดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 52.1 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ต.ค.49 สำนักงานสถิติยุโรป เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ)
ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ
2.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวรายงานก่อนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันจากการทบทวนตัวเลขยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปสำหรับเดือน
ก.ค.49 แล้วพบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบต่อเดือน จากร้อยละ 0.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี จากร้อยละ 2.5 ที่รายงาน
เบื้องต้นก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับชะลอตัวสูงสุดมานานในระบบเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป เนื่องจาก
อัตราค่าจ้างลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ทั้งอัตราการว่างงานก็ค่อนข้างจะอยู่ในระดับสูงส่งผลให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง สำหรับ
ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (25 ประเทศ) ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพภาคการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวชะลอลงในเดือน ก.ย.49 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 3 ต.ค.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 ลดลง 0.6 จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 52.3
เป็นผลจากการลดลงของดัชนีที่สำคัญคือ New orders และ Production index โดยดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว
ของภาคการผลิตสิงคโปร์ สำหรับดัชนีย่อยของ PMI คือ Electronic sector index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.7 จากระดับ 51.9 ในเดือน
ก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 4 เดือน สะท้อนว่าผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์ยังคงอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สามารถผลิตสินค้าได้
เป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคการผลิตโดยรวม อย่างไรก็ตาม ดัชนีย่อยของ PMI ส่วนใหญ่ยังคงชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 49 4 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.587 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3843/37.6801 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.96/13.80 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,100/10,200 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.66 54.13 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/24.54** 25.99*/24.54** 27.24/24.69 ปตท.
** ปรับลด เมื่อ 27 ก.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท. หารือ ธ.พาณิชย์ให้ความช่วยเหลือทางการเงินนักธุรกิจ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ดร.ธาริษา วัฒนเกส รองผู้ว่าการ
ธปท. เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาได้มีการหารือกับผู้บริหารของ ธ.พาณิชย์ในเบื้องต้นแล้วเรื่องการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการใน 3 จังหวัด
ชายแดนภาคใต้ คือ ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส โดยผู้ประกอบการทั้ง 3 จังหวัด ได้ขอผ่อนผันและขอความช่วยเหลือมายัง ธปท. เมื่อสัปดาห์
ที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังไม่สามารถบอกได้ว่า ธ.พาณิชย์จะผ่อนผันอะไรให้บ้างเพราะยังอยู่ระหว่างการพิจารณา เนื่องจากมีรายละเอียดอีกหลายเรื่อง
ที่ต้องหารือกันอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า ธ.พาณิชย์ยินดีที่จะให้ความช่วยเหลืออยู่แล้ว ทั้งนี้ การที่ยังตกลงรายละเอียดกันไม่ได้คงไม่เกี่ยวกับ
สถานการณ์ทางการเมืองหรือสถานการณ์ใน 3 จังหวัด ยังไม่สงบ เพราะตามปกติธนาคารมีการปล่อยสินเชื่ออยู่แล้วถ้าพื้นที่ไหนต้องการ แต่จะลด
อะไรได้บ้างคงต้องดูอีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุป (กรุงเทพธุรกิจ, โพสต์ทูเดย์, ผู้จัดการรายวัน)
2. กำไรของบริษัทจดทะเบียนใน ตลท. ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินในไตรมาส 2 ลดลง รายงานข่าวจาก ธปท. เปิดเผยว่า จาก
รายงานเศรษฐกิจและการเงินภาคธุรกิจประจำเดือน ส.ค. หรือในช่วงไตรมาส 2 ปี 49 พบว่า ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาด
หลักทรัพย์ที่ไม่ใช่สถาบันการเงินช่วงไตรมาส 2 มีกำไรลดลงอยู่ที่ร้อยละ 8.2 จากร้อยละ 10.1 ในไตรมาส 1 ขณะที่ยอดขายเพิ่มขึ้นในอัตรา
ที่ชะลอลงทำให้อัตรากำไรเบื้องต้นมีแนวโน้มต่ำลงอยู่ที่ร้อยละ 18.5 จากไตรมาสก่อนที่อยู่ที่ร้อยละ 19.9 เนื่องจากปัจจัยเรื่องต้นทุนปรับเพิ่ม
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง (ข่าวสด)
3. ก.คลังพร้อมเร่งดำเนินการโครงการเมกะโปรเจกท์ นายสมชัย สัจจพงษ์ รอง ผอ.สนง.เศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยถึงกรณี
ที่ผู้ว่าการ ธปท. ในฐานะทีมเศรษฐกิจของคณะมนตรีความมั่นคงกล่าวถึงการใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียงและเสนอโครงการที่จะต้องเร่งดำเนิน
การคือ 1) โครงการขนส่งมวลชน โดยให้มีการเปิดประมูลรถไฟฟ้า 2) พัฒนาระบบขนส่งสินค้า และ 3) พัฒนาแหล่งทรัพยากรน้ำ ว่า ทั้ง
3 เรื่องดังกล่าวอยู่ในแผนเดิมที่ ก.คลังเคยทำการศึกษาไว้เดิมอยู่แล้ว ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งในโครงการเมกะโปรเจกท์ของรัฐบาลชุดที่แล้ว ก.คลัง
จึงมีความพร้อมในการเดินหน้าทั้ง 3 โครงการอย่างเต็มที่ ด้าน นางพรรณี สถาวโรดม ผอ.สำนักบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า สบน.
ได้ทำการหารือเรื่องการกู้เงินเพื่อนำมาลงทุนโครงการเมกะโปรเจกท์ในโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้า 3 สาย กับ ธ.เพื่อความร่วมมือระหว่าง
ประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) อย่างไม่เป็นทางการแล้ว ซึ่งเจบิกยังไม่สามารถให้ความชัดเจนได้ว่าจะส่งคณะประเมินโครงการมาเมื่อใด เพราะ
ต้องรอความชัดเจนกรณีการจัดตั้ง ครม.ชุดใหม่ให้เสร็จเรียบร้อยก่อน (แนวหน้า)
4. ภาครัฐตกลงจัดทำ งปม. แบบขาดดุลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัด ก.คลัง เปิดเผยว่า ในปี งปม.50
ก.คลังจะไม่มีมาตรการทางด้านภาษีใหม่ ๆ เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอีก เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้ใช้มาตรการทางด้านภาษีมากแล้ว ประกอบกับการ
จัดทำ งปม.ปี50 ทั้ง ก.คลัง สำนัก งปม. สนง.คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ธปท. ตกลงที่จะจัดทำ งปม. แบบขาดดุล
เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจแล้ว ที่สำคัญการเบิกจ่าย งปม.ปี 50 คาดว่าจะเบิกจ่ายลบลงทุนได้ตั้งแต่เดือน ม.ค.50 จึงเป็นปัจจัยบวกต่อการขยายตัวทาง
เศรษฐกิจในปีหน้าอย่างมาก สำหรับ ก.คลังยังคงเดินหน้าในมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว เช่น มาตรการภาษีที่ช่วยสนับสนุนด้านสังคม
และการศึกษา โครงการลงทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเมกะโปรเจกท์ เป็นต้น (ไทยรัฐ, เดลินิวส์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าการเติบโตของเศรษฐกิจโลกจะชะลอตัวลงอย่างรวดเร็ว เมื่อวันที่ 4 ต.ค. 49 ผลการสำรวจร่วมกันระหว่าง
JPMorgan และ research and supply organizations ชี้ว่าในเดือน ก.ย.ดัชนีผลผลิตอุตสากรรมของโลกอยู่ที่ระดับ 55.3 ลดลงจาก
ระดับ 56.9 ซึ่งต่ำที่สุดในรอบปี อย่างไรก็ตามดัชนีดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็นเส้นแบ่งครึ่งระหว่างการขยายตัวและการหดตัว
ทั้งนี้ JPMorgan กล่าวว่าดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมในระดับปัจจุบันเกิดขึ้นในขณะที่เศรษฐกิจโลกขยายตัวร้อยละ 2.5 — 3.0 ต่อไตรมาส และชี้ว่า
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะเติบโตในอัตราที่ชะลอลงอย่างมากในปีหน้า นอกจากนั้นตัวเลขจากองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาก็
บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวอย่างต่อเนื่องในอีก 18 เดือนข้างหน้าและอยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้มีปัจจัยที่เป็นความเสี่ยงได้แก่ แนวโน้ม
ราคาน้ำมัน การไม่สมดุลของดุลบัญชีเดินสะพัดโลกในปัจจุบัน การสิ้นสุดลงของการขยายตัวอย่างมากของภาคอสังหาริมทรัพย์ และการกลับมาสู่
ยุคการกีดกันทางการค้า อย่างไรก็ตามคาดว่าเศรษฐกิจโลกในไตรมาสที่ 4 ปีนี้จะขยายตัวอย่างต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 3 ที่ร้อยละ 3.0 (รอยเตอร์)
2. ดัชนีภาคบริการของ สรอ.ในเดือน ก.ย.49 ชะลอลงอยู่ที่ระดับ 52.9 จากเดือนก่อนหน้า รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ
4 ต.ค.49 The Institute for Supply Management (ISM) เปิดเผยว่า ดัชนีนอกภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. (ซึ่งเป็นเครื่อง
ชี้วัดภาคบริการในระบบเศรษฐกิจ) ในเดือน ก.ย.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 52.9 จากระดับ 57.0 ในเดือน ส.ค.49 ซึ่งเป็นอัตราต่ำสุดตั้งแต่เดือน
เม.ย.46 เป็นต้นมา ขณะที่ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่าจะลดลงอยู่ที่ระดับ 56.0 แต่ยังคงอยู่เหนือกว่าระดับ 50 ซึ่งเป็น
เส้นแบ่งระหว่างการขยายตัวและหดตัว ทั้งนี้ ดัชนีภาคบริการดังกล่าวมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 80 ของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ สรอ. และรวมถึง
ภาคธุรกิจอื่น อาทิเช่น ภัตตาคาร โรงแรม ร้านเสริมสวย ธนาคาร และธุรกิจการบิน นอกจากนี้ จากผลสำรวจของ ISM ยังพบว่า ดัชนี
prices-paid index ในเดือน ก.ย.49 ลดลงอยู่ที่ระดับ 56.7 จากระดับ 72.4 ในเดือน ส.ค.49 ขณะที่ดัชนี jobs component เพิ่มขึ้น
อยู่ที่ระดับ 53.6 จากระดับ 51.4 และดัชนีคำสั่งซื้อใหม่เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 57.2 จากระดับ 52.1 ในเดือนก่อนหน้า (รอยเตอร์)
3. ยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ตามลำดับ
รายงานจากบรัสเซลล์ เมื่อ 4 ต.ค.49 สำนักงานสถิติยุโรป เปิดเผยว่า ยอดการขายปลีกของประเทศในเขตเศรษฐกิจยุโรป (12 ประเทศ)
ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.7 และ 2.4 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปีตามลำดับ สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 และ
2.0 เมื่อเทียบต่อเดือนและต่อปี ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวรายงานก่อนการคาดการณ์ว่า ธ.กลางยุโรปจะปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายอีกร้อยละ
0.25 มาอยู่ที่ร้อยละ 3.25 เพื่อสกัดกั้นภาวะเงินเฟ้อ ขณะเดียวกันจากการทบทวนตัวเลขยอดขายปลีกของเขตเศรษฐกิจยุโรปสำหรับเดือน
ก.ค.49 แล้วพบว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.4 เมื่อเทียบต่อเดือน จากร้อยละ 0.6 และเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบต่อปี จากร้อยละ 2.5 ที่รายงาน
เบื้องต้นก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม การบริโภคภาคเอกชนอยู่ในระดับชะลอตัวสูงสุดมานานในระบบเศรษฐกิจของเขตเศรษฐกิจยุโรป เนื่องจาก
อัตราค่าจ้างลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเยอรมนี ทั้งอัตราการว่างงานก็ค่อนข้างจะอยู่ในระดับสูงส่งผลให้การใช้จ่ายภาคครัวเรือนลดลง สำหรับ
ยอดขายปลีกของกลุ่มประเทศในสหภาพยุโรป (25 ประเทศ) ในเดือน ส.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบต่อปี และเพิ่มขึ้นร้อยละ
0.6 เมื่อเทียบต่อเดือน (รอยเตอร์)
4. ดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพภาคการผลิตของสิงคโปร์ขยายตัวชะลอลงในเดือน ก.ย.49 รายงานจากสิงคโปร์เมื่อ 3 ต.ค.49
The Singapore Institute of Purchasing & Materials Management เปิดเผยว่า The Purchasing Managers’ Index (PMI)
ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดประสิทธิภาพภาคการผลิตของสิงคโปร์ในเดือน ก.ย.49 ลดลง 0.6 จากเดือนก่อนหน้า มาอยู่ที่ระดับ 51.7 จากระดับ 52.3
เป็นผลจากการลดลงของดัชนีที่สำคัญคือ New orders และ Production index โดยดัชนียังคงอยู่เหนือระดับ 50 ซึ่งเป็นระดับที่บ่งชี้การขยายตัว
ของภาคการผลิตสิงคโปร์ สำหรับดัชนีย่อยของ PMI คือ Electronic sector index เพิ่มขึ้นที่ระดับ 52.7 จากระดับ 51.9 ในเดือน
ก่อนหน้า สูงสุดในรอบ 4 เดือน สะท้อนว่าผลผลิตภาคอิเล็กทรอนิกส์ยังคงอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้ ภาคการผลิตสินค้าอิเล็กทรอนิกส์สามารถผลิตสินค้าได้
เป็นสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 3 ของผลผลิตภาคการผลิตโดยรวม อย่างไรก็ตาม ดัชนีย่อยของ PMI ส่วนใหญ่ยังคงชะลอลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้า
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 5 ต.ค. 49 4 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.587 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3843/37.6801 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13313 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 687.96/13.80 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,100/10,200 10,250/10,350 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 55.66 54.13 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลด เมื่อ 23 ก.ย. 49 25.99*/24.54** 25.99*/24.54** 27.24/24.69 ปตท.
** ปรับลด เมื่อ 27 ก.ย. 49
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--