วันนี้ 22 เม.ย. ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายอลงกรณ์ พลบุตร รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงวิกฤตการณ์น้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้นและส่อปัญหาขาดแคลนเป็นผลกระทบตามมาซ้ำสอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เกินกว่า $74 ต่อบาร์เรล และมีแนวโน้มที่จะมีราคาทะยานเพิ่มขึ้นนั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์มีความห่วงใยต่อสถานการณ์ดังกล่าว และยังไม่พอใจต่อท่าทีและมาตรการของรัฐบาลในการรับมือต่อปัญหาดังกล่าว เพราะว่าวิกฤตการณ์น้ำมันครั้งนี้ได้ส่งผลกระทบ 3 ด้าน
1. ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
2. การประกอบการของภาคธุรกิจ
3. การเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้เป็นปัจจัยทีเกิดขึ้นจาก 3 ประการ คือ
1. สถานการณ์ในไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญ
2. ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศอิหร่านและสหรัฐอเมริกา กรณีปัญหานิวเคลียร์
3. การเก็งกำไรราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้วิเคราะห์ว่า สถานการณ์วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งนี้จะรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประเทศไทย และประชาชนคนไทย
ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางรับมือด้วย 5 มาตรการเร่งด่วนดังต่อไปนี้
1. มาตรการประหยัดแบบเข้มงวด ที่เป็นรูปธรรม
2. มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 4 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง กลุ่มขนส่ง และกลุ่มโรงงานขนาดกลางและย่อม
3. มาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทน เอทานอล ไบโอดีเซล โดยเฉพาะการเข้าไปจัดการเรื่องวัตถุดิบ และมาตรการทางการเงิน และการคลังอย่างเป็นรูปธรรม
4. มาตรการทางภาษี เพื่อบรรเทาปัญหาด้านราคาขายปลีก ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิตร สำหรับน้ำมันเบนซินลิตรละ 3.60 บาท ดีเซล 2.30 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีท้องถิ่น การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และรวมไปถึงกองทุนชดเชยที่ขาดทุนจากการเข้าไปพยุงราคาระหว่างปี 2547 — 2548 โดยที่รัฐบาลจะต้องไม่มองว่ามาตรการทางภาษีในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขายปลีกในประเทศนั้นเป็นภาระทางด้านการคลัง หากรัฐบาลยืนยันว่าปัจจุบันฐานะการคลังไม่ได้อยู่ในภาวะ “ถังแตก” หมายความว่ารัฐบาลจะมีฐานะการคลังเพียงพอในการในมาตรการทางภาษี เพื่อให้มีการลดการเก็บภาษีในแต่ละลิตรของน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซหุงต้ม และก๊าซเพื่อการขนส่ง
5. มาตรการลดภาระกองทุนน้ำมันที่ขาดดุลอยู่ 80,000 ล้านบาท โดยใช้กลไกทางงบประมาณแทนมาตรการการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนจากราคาขายปลีกแต่ละลิตรที่จำหน่ายให้ประชาชน
ขณะเดียวกันทางพรรคประชาธิปัตย์ได้วิเคราะห์ว่าวิกฤตการณ์น้ำมันในครั้งนี้ไม่ใช่เป็นวิกฤตการณ์ด้านราคาเท่านั้นแต่เป็นวิกฤตการณ์ด้านเสถียรภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันถึงร้อยละ 90 ของการใช้ในแต่ละวัน หากได้มีการวิเคราะห์ถึงสภาพต้นเหตุของปัญหาและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทำให้น่าวิตกว่าจะมีผลกระทบถึงปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดโลก เนื่องจากความตึงเครียดและอาจนำไปสู่ปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ และอิหร่าน ในกรณีนิวเคลียร์นั้นจะส่งผลกระทบ 2 ประการ ต่อปัญหาเรื่องเสถียรภาพของน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันอย่างเฉียบพลัน หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านไม่สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีจนเกิดภาวะการโจมตี จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ต่อเสถียรภาพน้ำมันในประเทศไทยได้
ดังนั้นข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้รัฐบาลได้เตรียมการคือการกำหนดแผน 2 ชั้นในการรองรับ 2 สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น คือ แผนปฏิบัติการณ์กรณีราคาน้ำมันพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เกินกว่า $70 ถึงมากกว่า $100 ต่อบาร์เรล และแผนปฏิบัติการกรณีที่ราคาน้ำมันสูงกว่า $70 ต่อบาร์เรล และเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน โดยมี 4 มาตรการที่รัฐบาลควรพิจารณาดังต่อไปนี้ คือ 1. มาตรการการสำรองน้ำมัน เพื่อป้องกันการขาดแคลนโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัทน้ำมันต่าง ๆ 2. กำหนดมาตรการแบบเข้มข้นไว้ล่วงหน้า เพราะทันทีที่เกิดสถานการณ์จำลองดังกล่าวในแต่ละสถานการณ์นั้น ต้องกำหนดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน 3. จะต้องมีแผนลอจิสติกน้ำมันในภูมิภาคที่ประเทศไทยสามารถนำเข้าได้จากแหล่งผลิตที่ใกล้ที่สุด และ 4. มาตรการบรรเทาผลกระทบขั้นรุนแรง จากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงและการขาดแคลนน้ำมัน
ทั้งนี้นายอลงกรณ์ได้ขอให้รัฐบาลได้เร่งพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวโดยด่วน และอย่าละเลย หรือส่งสัญญาณในการบิดเบือนสถานการณ์จากความเป็นจริงที่สถานการณ์ได้เข้าสู่ขั้นวิกฤตราคาน้ำมันแล้ว พร้อมกันนี้คณะทำงานด้านพลังงานของพรรคประชาธิปัตย์ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง กับทางรัฐบาลเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน และน้ำมันของประเทศในครั้งนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 เม.ย. 2549--จบ--
1. ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน
2. การประกอบการของภาคธุรกิจ
3. การเติบโตของเศรษฐกิจของประเทศ
ทั้งนี้เป็นปัจจัยทีเกิดขึ้นจาก 3 ประการ คือ
1. สถานการณ์ในไนจีเรีย ซึ่งเป็นผู้ส่งออกสำคัญ
2. ความตึงเครียดทางการเมืองระหว่างประเทศอิหร่านและสหรัฐอเมริกา กรณีปัญหานิวเคลียร์
3. การเก็งกำไรราคาน้ำมันตลาดโลก ซึ่งทั้งหมดนี้ทางพรรคประชาธิปัตย์ได้วิเคราะห์ว่า สถานการณ์วิกฤตการณ์น้ำมันครั้งนี้จะรุนแรงเพิ่มขึ้นและมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อประเทศไทย และประชาชนคนไทย
ดังนั้นจึงขอเสนอแนวทางรับมือด้วย 5 มาตรการเร่งด่วนดังต่อไปนี้
1. มาตรการประหยัดแบบเข้มงวด ที่เป็นรูปธรรม
2. มาตรการเร่งด่วนช่วยเหลือกลุ่มที่ได้รับผลกระทบโดยตรง 4 กลุ่มคือ กลุ่มเกษตรกร กลุ่มประมง กลุ่มขนส่ง และกลุ่มโรงงานขนาดกลางและย่อม
3. มาตรการส่งเสริมพลังงานทดแทน เอทานอล ไบโอดีเซล โดยเฉพาะการเข้าไปจัดการเรื่องวัตถุดิบ และมาตรการทางการเงิน และการคลังอย่างเป็นรูปธรรม
4. มาตรการทางภาษี เพื่อบรรเทาปัญหาด้านราคาขายปลีก ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลเก็บภาษีสรรพสามิตร สำหรับน้ำมันเบนซินลิตรละ 3.60 บาท ดีเซล 2.30 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีท้องถิ่น การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และรวมไปถึงกองทุนชดเชยที่ขาดทุนจากการเข้าไปพยุงราคาระหว่างปี 2547 — 2548 โดยที่รัฐบาลจะต้องไม่มองว่ามาตรการทางภาษีในการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากการขายปลีกในประเทศนั้นเป็นภาระทางด้านการคลัง หากรัฐบาลยืนยันว่าปัจจุบันฐานะการคลังไม่ได้อยู่ในภาวะ “ถังแตก” หมายความว่ารัฐบาลจะมีฐานะการคลังเพียงพอในการในมาตรการทางภาษี เพื่อให้มีการลดการเก็บภาษีในแต่ละลิตรของน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน ดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซหุงต้ม และก๊าซเพื่อการขนส่ง
5. มาตรการลดภาระกองทุนน้ำมันที่ขาดดุลอยู่ 80,000 ล้านบาท โดยใช้กลไกทางงบประมาณแทนมาตรการการเรียกเก็บเงินเข้ากองทุนจากราคาขายปลีกแต่ละลิตรที่จำหน่ายให้ประชาชน
ขณะเดียวกันทางพรรคประชาธิปัตย์ได้วิเคราะห์ว่าวิกฤตการณ์น้ำมันในครั้งนี้ไม่ใช่เป็นวิกฤตการณ์ด้านราคาเท่านั้นแต่เป็นวิกฤตการณ์ด้านเสถียรภาพของน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศด้วย เนื่องจากประเทศไทยต้องนำเข้าน้ำมันถึงร้อยละ 90 ของการใช้ในแต่ละวัน หากได้มีการวิเคราะห์ถึงสภาพต้นเหตุของปัญหาและแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นต่อไป ทำให้น่าวิตกว่าจะมีผลกระทบถึงปริมาณน้ำมันดิบที่ออกสู่ตลาดโลก เนื่องจากความตึงเครียดและอาจนำไปสู่ปัญหาการเผชิญหน้าระหว่างประเทศสหรัฐฯ และอิหร่าน ในกรณีนิวเคลียร์นั้นจะส่งผลกระทบ 2 ประการ ต่อปัญหาเรื่องเสถียรภาพของน้ำมัน ซึ่งอาจทำให้เกิดภาวะการขาดแคลนน้ำมันอย่างเฉียบพลัน หากสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านไม่สามารถคลี่คลายไปในทางที่ดีจนเกิดภาวะการโจมตี จะทำให้เกิดปัญหาใหญ่ต่อเสถียรภาพน้ำมันในประเทศไทยได้
ดังนั้นข้อเสนอของพรรคประชาธิปัตย์เพื่อให้รัฐบาลได้เตรียมการคือการกำหนดแผน 2 ชั้นในการรองรับ 2 สถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น คือ แผนปฏิบัติการณ์กรณีราคาน้ำมันพุ่งสูงอย่างรวดเร็ว เกินกว่า $70 ถึงมากกว่า $100 ต่อบาร์เรล และแผนปฏิบัติการกรณีที่ราคาน้ำมันสูงกว่า $70 ต่อบาร์เรล และเกิดภาวะขาดแคลนน้ำมัน โดยมี 4 มาตรการที่รัฐบาลควรพิจารณาดังต่อไปนี้ คือ 1. มาตรการการสำรองน้ำมัน เพื่อป้องกันการขาดแคลนโดยไม่ให้ส่งผลกระทบต่อต้นทุนของบริษัทน้ำมันต่าง ๆ 2. กำหนดมาตรการแบบเข้มข้นไว้ล่วงหน้า เพราะทันทีที่เกิดสถานการณ์จำลองดังกล่าวในแต่ละสถานการณ์นั้น ต้องกำหนดเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน 3. จะต้องมีแผนลอจิสติกน้ำมันในภูมิภาคที่ประเทศไทยสามารถนำเข้าได้จากแหล่งผลิตที่ใกล้ที่สุด และ 4. มาตรการบรรเทาผลกระทบขั้นรุนแรง จากสถานการณ์ราคาน้ำมันแพงและการขาดแคลนน้ำมัน
ทั้งนี้นายอลงกรณ์ได้ขอให้รัฐบาลได้เร่งพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวโดยด่วน และอย่าละเลย หรือส่งสัญญาณในการบิดเบือนสถานการณ์จากความเป็นจริงที่สถานการณ์ได้เข้าสู่ขั้นวิกฤตราคาน้ำมันแล้ว พร้อมกันนี้คณะทำงานด้านพลังงานของพรรคประชาธิปัตย์ยินดีที่จะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมือง กับทางรัฐบาลเพื่อเตรียมรับมือกับวิกฤตการณ์ด้านพลังงาน และน้ำมันของประเทศในครั้งนี้ด้วย
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 เม.ย. 2549--จบ--