สรุปภาวะการค้าไทย-ญี่ปุ่นระหว่างเดือน ม.ค.- เม.ย.2549

ข่าวเศรษฐกิจ Wednesday June 14, 2006 17:41 —กรมส่งเสริมการส่งออก

1. ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้าสำคัญอันดับ 6 ของโลก รองจาก สหรัฐเยอรมนี จีน ฝรั่งเศส อังกฤษ โดยมีมูลค่าการนำเข้า 
455,661.440 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 18.86 ปี 2548 และในไตรมาสแรกปี 2549 ญี่ปุ่นเป็นตลาดนำเข้า
สำคัญอันดับ 4 ของโลก รองจากสหรัฐเยอรมนี และจีน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 137,869 ล้านเหรีนญสหรัฐเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 13.90
2. แหล่งนำเข้าสำคัญของญี่ปุ่น ในเดือนมกราคม — เมษายน 2549
- จีน มูลค่า 37,852.389 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 20.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.74
- สหรัฐฯ มูลค่า 21,551.430 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 11.67 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78
- ซาอุดิฯ มูลค่า 12,419.726 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 6.73 เพิ่มขึ้นร้อยละ 59.48
ญี่ปุ่นนำเข้า Mineral Fuel, oil ETC (HS.27) อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 98.58 เพิ่มขึ้นร้อยละ 61.20
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ มูลค่า 10,206.741 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 5.53 เพิ่มขึ้นร้อยละ 47.85
ญี่ปุ่นนำเข้า Mineral Fuel, oil ETC (HS.27) อันดับ 1 สัดส่วนร้อยละ 98.96 เพิ่มขึ้นร้อยละ 48.49
ไทยอยู่อันดับที่ 10 มูลค่า 5,256.623 ล้านเหรียญสหรัฐ สัดส่วนร้อยละ 2.85 ลดลงร้อยละ 2.34
3. ดุลการค้าประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าในเดือนมกราคม- เมษายน 2549 เป็นมูลค่า 18,792.123 ล้าน
เหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 40.42 ดังตัวอย่างสถิติต่อไปนี้
ตารางเปรียบเทียบดุลการค้าของประเทศญี่ปุ่นเดือนมกราคม - เมษายน 2549
ลำดับที่ ประเทศ 2547 2548 2549 อัตราการเปลี่ยนแปลง(%)
มูลค่า: ล้านเหรียญ สหรัฐ 48/47 49/48
ทั่วโลก 37,964.22 31,542.94 18,792.12 -16.91 -40.42
1 สหรัฐฯ 20,709.70 23,295.48 24,885.99 12.49 6.83
2 ซาอุดิอาระเบีย -4,296.07 -6,510.25 -10,971.30 51.54 68.52
3 ฮ่องกง 10,849.20 10,922.69 10,664.29 0.68 -2.37
4 จีน -6,585.93 -11,197.78 -10,480.17 70.03 -6.41
5 สหรัฐอาหรับฯ -4,049.80 -5,355.79 -8,287.71 32.25 54.74
17 ไทย 1,858.59 2,371.41 1,961.19 27.59 -17.30
ที่มา : WTA Japan Customs
4. ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสำคัญอันดับ 2 ของไทยโดยมีสัดส่วนการส่งออกไปตลาดนี้ร้อยละ 12.90 ของมูลค่าการส่งออก
โดยรวมในเดือนมกราคม - เมษายน 2549 หรือมูลค่า 5,000.71 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.23 คิดเป็น
ร้อยละ 27.49 ของเป้าหมายการส่งออกที่มูลค่า 18,187 ล้านเหรียญสหรัฐ
5. สินค้าไทยส่งออกไปญี่ปุ่นในช่วง 4 เดือน(ม.ค.-เม.ย.) ปี 2549 โดยสินค้าไทยไป ตลาดนี้ 25 อันดับแรกมี
สัดส่วนรวมกันร้อยละ 62.84 ของมูลค่าการส่งออกโดยรวม สินค้าที่มี มูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่า ร้อยละ 50 มี 1 รายการ
สินค้าที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 25 มี 1 รายการ และสินค้าที่มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 30 มี 1 รายการ
ดังสถิติต่อไปนี้
สถิติการส่งออกสินค้าไทยไปญี่ปุ่นที่มีมูลค่าการเปลี่ยนแปลงสูง
ตลาด อันดับที่ มูลค่า : ล้านเหรียญสหรัฐ มูลค่าการ %เปลี่ยนแปลง สัดส่วน : ร้อยละ2549
ม.ค.-เม.ย 48 ม.ค.-เม.ย 49 เปลี่ยนแปลง 2548 ม.ค-เม.ย
1. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 50 มี 1 รายการ
- ยางพารา 2 212.69 329.29 116.60 54.82 5.02 6.58
2. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น
มากกว่าร้อยละ 25 มี 1 รายการ
- เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์อุปกรณ์
และส่วนประกอบ 20 58.78 74.45 15.67 28.35 2.27 1.51
3. สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่นลดลงมากกว่า
ร้อยละ 30 มี 1 รายการ
- อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด 16 126.75 87.69 -39.06 -30.82 2.25 1.75
รวบรวมโดย : ศูนย์สารสนเทศการค้าระหว่างประเทศ
จากสถิติการส่งออกดังกล่าวมีข้อสังเกต ดังนี้
1) ยางพารา (HS 4001) NATURAL RUBBER
- การนำเข้าจากตลาดโลกของญี่ปุ่น (ม.ค-เม.ย. 49) มูลค่า 574.843 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 53.68
มีการนำเข้าจาก ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นหลัก
- การนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 1 สัดส่วนร้อยละ 58.37 มูลค่า 335.508 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 36.90
ในขณะที่การนำเข้าจากอินโดนีเซียและมาเลเซีย เพิ่มขึ้นร้อยละ 86.39 และ 120.67 ตามลำดับ
2) เครื่องโทรสาร โทรพิมพ์ โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ (HS 8517) ELECTRIC APPARATUS FOR
LINE TELEPHONY ETC, PARTS
- การนำเข้าของญี่ปุ่นจากตลาดโลก (ม.ค-เม.ย. 49) มูลค่า 744.578 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 3.64
มีการนำเข้าจาก จีน สหรัฐฯ และไทย เป็นหลัก
- ส่วนการนำเข้าจากไทยอยู่อันดับที่ 3 สัดส่วนร้อยละ 9.63 มูลค่า 71.675 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.18
3) อุปกรณ์กึ่งตัวนำทรานซิสเตอร์และไดโอด (HS 8541) SEMICONDUCTOR DEVICES, LIGHT EMIT DIODES ETC PTS
- การนำเข้าของญี่ปุ่นจากตลาดโลก (ม.ค-เม.ย. 49) มูลค่า 874.168 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.97 มีการ
นำเข้าจากจีน มาเลเซีย และสหรัฐฯ เป็นหลัก
- ส่วนการนำเข้าจาก ไทยอยู่อันดับที่ 5 สัดส่วนร้อยละ 8.88 มูลค่า 77.648 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 9.87
6. ข้อมูลเพิ่มเติมและข้อคิดเห็นเกี่ยวกับการค้าระหว่างไทย — ญี่ปุ่น
6.1 แนวโน้มเศรษฐกิจญี่ปุ่นปี 2006 บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่าเศรษฐกิจของญี่ปุ่นจะเติบโตอย่างมีเสถียรภาพใน
อัตราร้อยละ 2.3 ใกล้เคียงกับการเติบโตในช่วงปี 2547-48 เนื่องจากการขยายตัวของการลงทุนและการบริโภคภาคเอกชนอย่าง
ต่อเนื่องจากภาวะการจ้างงานและอัตราค่าจ้างที่เพิ่มสูงขึ้นนอกจากเศรษฐกิจในประเทศแล้ว การส่งออกสินค้าและบริการยังมีแนวโน้ม
ขยายตัวในอัตราสูงเนื่องจากคาดว่าการเติบโตของจีน สหรัฐฯ และประเทศ Emerging Economies ในปี 2549 จะมีอัตราใกล้เคียง
กับปี 2548 นอกจากนี้ ปี 2549 ยังเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านที่สำคัญ ของเศรษฐกิจญี่ปุ่น เนื่องจากเป็นปีที่สิ้นสุดภาวะเงินฝืด (deflation)
ซึ่งต่อเนื่องมานานหลายปี คาดว่าในปี 2549 ดัชนีราคาผู้บริโภคจะเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.4 จากที่เคยเป็นอัตราร้อยละ 0.0 ในปี 2547
และ -0.3 ในปี 2548 คาดว่าในปีงบประมาณ 2550 (เมษายน 2549-มีนาคม 2550) ธนาคารกลางของญี่ปุ่นอาจยกเลิกนโยบาย
ตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ศูนย์และหันมาปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น ทั้งนี้ในเดือนพฤษภาคม 2549 ญี่ปุ่นมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น
เป็นประวัติการณ์ที่ 864,110 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ยังคงน้อยกว่าจีนซึ่งมีทุนสำรองมากที่สุดในโลก
6.2 ปัจจุบันญี่ปุ่นนำเข้าสินค้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากจีนเป็นอันดับ 1 (ม.ค.-เม.ย.49) ซึ่งสินค้าที่นำเข้ามีหลายประเภท
เช่น
- Textile Articles (Hs.63) สัดส่วนร้อยละ 81.51 มูลค่า 616,307 ล้านเหรียญสหรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 8.63
- Woven Apparel(Hs.62) สัดส่วนร้อยละ 80.25 มูลค่า 3,182.451 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.78
- Knit Apparel (Hs.61) สัดส่วนร้อยละ 84.46 มูลค่า 2,786.862 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.42 เป็นต้น
ที่มา : World Trade Atlas
ขณะนี้ญี่ปุ่นต้องการกระจายแหล่งซื้อไปสู่ประเทศอื่นๆ บ้าง ซึ่งไทยเป็นหนึ่งในทางเลือกที่เหมาะสม แต่เนื่องจากการเจรจา
ความตกลงหุ้นเศรษฐกิจระหว่างไทย — ญี่ปุ่น (JTEPA) ยังไม่สามารถสรุปผลการเจรจาได้และจำเป็นต้องเลื่อนออกไปอย่างไม่มีกำหนด
เนื่องจากปัญหาทาง การเมืองของประเทศไทย ส่งผลให้ญี่ปุ่น หันไปสนใจที่จะนำเข้าสินค้าดังกล่าวจากประเทศคู่แข่งของไทย เช่น
เวียดนาม กัมพูชา มาเลเซีย แทน ส่งผลให้ขีดความสามารถในการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้ของไทยลดลง 7.2 เมื่อวันที่ 22-24 พฤษภาคม
2549 รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ นางเบญจวรรณ รัตนประยูร ได้นำคณะซึ่งประกอบด้วยสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรม
สิ่งทอไทย และภาคเอกชนจากกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เดินทางไปพบกระทรวงเศรษฐกิจ การค้าและอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น
(เมติ) และสหพันธ์สิ่งทอ และสมาคมผู้นำเข้าญี่ปุ่น เพื่อหารือ ถึงประเด็นความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายใต้ข้อตกลง
JTEPA ซึ่งทั้งสองฝ่ายได้เห็นชอบร่วมกันในการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มทั้งนี้ฝ่ายไทยได้ยื่นข้อเสนอ
ขอความร่วมมือญี่ปุ่นเพิ่มเติม 5 ประเด็น ได้แก่
- การสนับสนุนและส่งเสริมสินค้าไทย
- การให้ความร่วมมือด้านการลงทุนและการถ่ายทอดเทคโนโลยีของอุตสาหกรรม
- การสนับสนุนความสามารถในการผลิตของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
- การสนับสนุนการพัฒนาและให้ความช่วยเหลือด้านการขนส่ง supply chain และด้านผลิตภัณฑ์
- ยอมรับข้อเสนอในการจัดตั้งคณะทำงานร่วมกันระหว่าง 2 ฝ่าย
ทั้งนี้ญี่ปุ่น ยินดีรับข้อเสนอทั้งหมด พร้อมทั้งจะส่งผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดตั้งโครงการนำร่องในฐานะที่ญี่ปุ่นประสบความสำเร็จมาก่อน
6.3 สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานว่า ญี่ปุ่นตกลงจะเสริมความแข็งแกร่งในความสัมพันธ์กับประเทศในแถบภูมิภาคเอเซีย
กลางซึ่งอุดมด้วยทรัพยากรอย่างน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เช่น อุชเบกิสถาน คีร์กีซสถาน ทาจิกิสถาน และคาซัคสถาน โดยทุกฝ่ายได้
ร่วมลงนามในแผนปฏิบัติการที่กำหนดให้มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้นในหลายๆ ด้าน เพื่อความร่วมมือกันตั้งแต่การต่อต้านการ
ก่อการร้ายและยาเสพติดการพัฒนาเศรษฐกิจและการพัฒนาด้านพลังงาน รวมทั้ง โครงการสร้างถนนสายต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ
ความพยายามที่จะเชื่อมเอเซียกลาง ซึ่งไม่มีทางออกทะเลกับมหาสมุทรอินเดีย โดยผ่านปากีสถาน ทั้งนี้หลายฝ่ายให้ความเห็นว่าการที่
ญี่ปุ่นต้องการเชื่อมสัมพันธ์กับประเทศในแถบภูมิภาคเอเซียกลางเพราะญี่ปุ่นต้องการแข่งขันกับจีน ซึ่งมีองค์การความร่วมมือเซี่ยงไฮ้
ประกอบไปด้วย 4 ชาติเอเซียกลางข้างต้น รวมกับจีนและรัสเซีย โดยญี่ปุ่นให้เหตุผลเพียงว่าต้องการเพียงช่วยชาติในภูมิภาคนี้ให้
ประสบความสำเร็จในการพัฒนาประเทศเท่านั้น
6.4 หัวหน้าคณะเจรจาหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย—ญี่ปุ่น (JTEPA) นายพิศาล มาณวพัฒน์ แถลงว่าคณะเจรจาฯ ได้ส่งร่าง
ข้อตกลงหุ้นเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (Legal Text) ทั้งหมดให้เลขาธิการวุฒิสภาและสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2549 และ
วันที่ 22-23 มิถุนายนนี้ญี่ปุ่นจะส่งคณะทำงานด้านกฎหมายมาหารือกับคณะทำงานด้านกฎหมายฝ่ายไทยเป็นรอบสุดท้าย เพื่อสรุปร่าง
ความตกลงทั้งหมด และเมื่อร่างข้อตกลงเสร็จสมบูรณ์การทำงานของคณะเจรจาก็เสร็จสิ้นลง จากนั้นจะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะตัดสิน
ว่าจะลงนามเมื่อไร ทั้งนี้เพื่อให้ความตกลงเกิดประโยชน์สูงสุด จึงควรสร้างการยอมรับร่วมกันเพื่อให้เกิดแรงสนับสนุนจากทุกฝ่าย
โดยเฉพาะรัฐสภาก่อนลงนาม
ที่มา: http://www.depthai.go.th

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ