เด็กสะท้อนปัญหาโอเน็ต-เอเน็ต ไม่พอใจการบริหารจัดการของผู้ใหญ่ แต่รับหลักการแอดมิชชั่นได้ “อภิสิทธิ์” เตรียมชงประเด็นให้ ปชป.วางนโยบายเพื่อปฏิรูปการศึกษา ระบุนโยบายการศึกษาที่ ทรท.วางไว้ ต้องปรับแก้ใหม่ เพราะเป็นประชานิยมไปหมดแล้ว
วันนี้(9 พ.ค.) ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาพูดคุยกับนักเรียน ประมาณ 30 คน ถึงการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ซึ่งยังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การมาพูดคุยครั้งนี้ ได้ประโยชน์มาก เพราะเด็กๆ ได้สะท้อนสภาพปัญหาออกมา ทั้งเรื่องของการบริหารจัดการปัญหา และการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเด็กๆ ได้สะท้อนว่าพวกเขาไม่มีความมั่นใจในระบบการบริหารจัดการขณะนี้ อีกทั้งยังไม่มั่นใจด้วยว่า เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขันแล้ว จะเป็นผู้ได้รับชัยชนะ แต่ถ้าเรียนให้ไปเรียนในสายวิชาชีพก็ไม่รู้ว่า ความรู้ที่เรียนมาจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น อาจจะต้องมีการตรวจสอบระบบการบริหารจัดการให้ดี ทั้งเรื่องการเข้าเว็บไซต์เพื่อสมัครแอดมิชชั่นไม่ได้ และมาตรฐานในการตรวจข้อสอบ โดยเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษที่ยังพบว่ามี 0 คะแนนอยู่ อย่างไรก็ตาม เด็กทุกรุ่นจะมีปัญหาเรื่องการศึกษาทั้งนั้น แต่เด็กรุ่นนี้แย่หน่อยที่มีปัญหาการบริหารจัดการของผู้ใหญ่
“เด็กๆ ไม่ได้ต่อต้านหลักการ แต่ส่วนใหญ่ไม่พอใจในระบบการบริหารจัดการของผู้ใหญ่ อยากให้ปรับปรุงการตรวจข้อสอบให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้ามีความชัดเจน เด็กๆ คงจะยอมรับได้ แต่หากไม่มีความชัดเจนและทำไปแล้ว ก็จะค้างคาในใจตลอดไป และทำให้เด็กไม่ยอมรับระบบการศึกษาในปัจจุบัน อยากบอกให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาโอเน็ต เอเน็ตครั้งนี้ มีความอดทน เพราะรู้ว่าได้รับแรงกดดันจากสังคมมาก แต่ต้องทำความอดทน รอบคอบ เพราะนี่คืออนาคตของพวกเขา อย่าทำให้เขาคาใจ ถ้าเขาสอบไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะระบบที่ผิดพลาดก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งทราบว่าหลังการสมัครแอดมิชชั่นจะมีการประมวลผลความผิดพลาด ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะขณะนี้มีปัญหามาตั้งแต่สนามสอบ”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนนโยบายทางการศึกษานั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์จะพิจารณาว่าจะนำปัญหาเรื่องโอเน็ต-เอเน็ตเข้าไปแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องปรึกษากับนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิก่อน ส่วนนโยบายการศึกษาที่พรรคไทยรักไทยเคยวางไว้ เช่น กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต หรือ ไอซีแอลนั้น ปัจจุบันเป็นนโยบายประชานิยมไปแล้ว จำต้องแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้อง กับสภาพการณ์และงบประมาณใหม่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 พ.ค. 2549--จบ--
วันนี้(9 พ.ค.) ที่ศูนย์หนังสือจุฬาฯ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ได้มาพูดคุยกับนักเรียน ประมาณ 30 คน ถึงการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) และการทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (เอเน็ต) ซึ่งยังมีปัญหาอยู่ในขณะนี้ โดยนายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า การมาพูดคุยครั้งนี้ ได้ประโยชน์มาก เพราะเด็กๆ ได้สะท้อนสภาพปัญหาออกมา ทั้งเรื่องของการบริหารจัดการปัญหา และการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งเด็กๆ ได้สะท้อนว่าพวกเขาไม่มีความมั่นใจในระบบการบริหารจัดการขณะนี้ อีกทั้งยังไม่มั่นใจด้วยว่า เมื่อเข้าสู่สนามแข่งขันแล้ว จะเป็นผู้ได้รับชัยชนะ แต่ถ้าเรียนให้ไปเรียนในสายวิชาชีพก็ไม่รู้ว่า ความรู้ที่เรียนมาจะนำไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
ทั้งนี้ ในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้านั้น อาจจะต้องมีการตรวจสอบระบบการบริหารจัดการให้ดี ทั้งเรื่องการเข้าเว็บไซต์เพื่อสมัครแอดมิชชั่นไม่ได้ และมาตรฐานในการตรวจข้อสอบ โดยเฉพาะในวิชาภาษาอังกฤษที่ยังพบว่ามี 0 คะแนนอยู่ อย่างไรก็ตาม เด็กทุกรุ่นจะมีปัญหาเรื่องการศึกษาทั้งนั้น แต่เด็กรุ่นนี้แย่หน่อยที่มีปัญหาการบริหารจัดการของผู้ใหญ่
“เด็กๆ ไม่ได้ต่อต้านหลักการ แต่ส่วนใหญ่ไม่พอใจในระบบการบริหารจัดการของผู้ใหญ่ อยากให้ปรับปรุงการตรวจข้อสอบให้มีความชัดเจนมากขึ้น เพราะสิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก ถ้ามีความชัดเจน เด็กๆ คงจะยอมรับได้ แต่หากไม่มีความชัดเจนและทำไปแล้ว ก็จะค้างคาในใจตลอดไป และทำให้เด็กไม่ยอมรับระบบการศึกษาในปัจจุบัน อยากบอกให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหาโอเน็ต เอเน็ตครั้งนี้ มีความอดทน เพราะรู้ว่าได้รับแรงกดดันจากสังคมมาก แต่ต้องทำความอดทน รอบคอบ เพราะนี่คืออนาคตของพวกเขา อย่าทำให้เขาคาใจ ถ้าเขาสอบไม่ได้ด้วยตัวเอง ไม่ใช่เพราะระบบที่ผิดพลาดก็จะไม่มีปัญหาแต่อย่างใด ซึ่งทราบว่าหลังการสมัครแอดมิชชั่นจะมีการประมวลผลความผิดพลาด ก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะขณะนี้มีปัญหามาตั้งแต่สนามสอบ”
นายอภิสิทธิ์ กล่าวต่อไปอีกว่า ส่วนนโยบายทางการศึกษานั้น ทางพรรคประชาธิปัตย์จะพิจารณาว่าจะนำปัญหาเรื่องโอเน็ต-เอเน็ตเข้าไปแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิรูปการศึกษาหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้จะต้องปรึกษากับนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิก่อน ส่วนนโยบายการศึกษาที่พรรคไทยรักไทยเคยวางไว้ เช่น กองทุนเงินกู้ยืมเพื่อการศึกษาที่ผูกติดกับรายได้ในอนาคต หรือ ไอซีแอลนั้น ปัจจุบันเป็นนโยบายประชานิยมไปแล้ว จำต้องแก้ไขปรับปรุงให้สอดคล้อง กับสภาพการณ์และงบประมาณใหม่
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 9 พ.ค. 2549--จบ--