คำถาม : อยากทราบแนวโน้มการส่งออกกุ้งของไทยไป EU
คำตอบ : นับตั้งแต่สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(Generalized System of Preferences : GSP) ที่เคยให้กับสินค้ากุ้งไทยตั้งแต่ปี 2542 ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้ากุ้งของไทยใน EU ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้ากุ้งสำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัดจากที่ไทยเคยมีส่วนแบ่งตลาดกุ้งใน EU สูงถึงร้อยละ 7 ในปี 2541 เหลือเพียงร้อยละ 1 ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การที่ EU คืน GSP ให้แก่สินค้ากุ้งไทยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2549 หลังจากที่มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติมาก่อนหน้าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 ทำให้สินค้ากุ้งไทยมีโอกาสขยายตลาด EU ได้ใหม่ ดังเห็นได้จากปริมาณและมูลค่าส่งออกสินค้ากุ้งของไทยที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ GSP นับเป็นมาตรการทางการค้ารูปแบบหนึ่งที่ EU ใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาโดยการยกเว้นหรือลดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ในช่วงที่ผ่านมา สินค้ากุ้งไทยเคยได้รับ GSP จาก EU ส่งผลให้ไทยสามารถขยายตลาดสินค้ากุ้งใน EU ได้มากเป็นอันดับต้น ๆ โดยในปี 2541 ไทยส่งออกสินค้ากุ้งไปตลาด EU เป็นมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหลังจากที่ EU ตัด GSP สินค้ากุ้งไทยในปี 2542 มูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เหลือเพียง2,600 ล้านบาท ขณะที่คู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะบราซิล อาร์เจนตินา และเอกวาดอร์ เข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวแทนที่ไทยมากขึ้นทุกขณะ การคืนสิทธิ GSP สินค้ากุ้งไทยในครั้งนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกกุ้งของไทยกลับมาคึกคักขึ้นอีก
ตารางแสดงอัตราภาษีนำเข้าสินค้ากุ้งที่ EU เรียกเก็บจากไทย
ช่วงเวลา สินค้า อัตราภาษี (%)
ก่อนปี 2540 (EU ให้ GSP) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 4.5
กุ้งแปรรูป 6.0
ปี 2540-2541 (EU ตัด GSP 50%) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 9.7
กุ้งแปรรูป 13.5
ปี 2542-ก.ค.2548 (EU ตัด GSP 100%) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 14.4
กุ้งแปรรูป 20.0
ส.ค. 2548-ปัจจุบัน (EU คืน GSP) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 4.2
กุ้งแปรรูป 7.0
นอกจากการได้รับคืนสิทธิ GSP จาก EU แล้ว การส่งออกกุ้งไทยไปตลาด EU ยังได้รับผลดีจากการที่ EU นำเข้ากุ้งจากประเทศในทวีปอเมริกาใต้ลดลงในปี 2548 เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายสำคัญในทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะอาร์เจนตินามีปริมาณผลผลิตกุ้งลดลงมากและคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปี 2549 จึงอาจเป็นโอกาสดีของไทยในการขยายตลาดกุ้งไป EU ในช่วงที่คู่แข่งกำลังประสบปัญหาด้านผลผลิต
เมื่อพิจารณาถึงความต้องการบริโภคกุ้งของ EU ในปัจจุบัน พบว่ายังมีอย่างต่อเนื่อง ตามกระแสความห่วงใยในสุขภาพ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางส่วนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่และหันมาบริโภคสัตว์ทะเล รวมถึงกุ้งแทน ทั้งนี้ในปี 2548 EU บริโภคกุ้งมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยปริมาณสูงถึงกว่า 700,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของปริมาณการบริโภคกุ้งรวมของโลก สินค้ากุ้งซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในตลาด EU ได้แก่ กุ้งประเภทติดหัว (Head-on)
แม้ว่าโอกาสการส่งออกกุ้งของไทยไป EU มีแนวโน้มสดใส ทั้งจากปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่อง GSP รวมทั้งประเทศคู่แข่งขันที่กำลังประสบปัญหาผลผลิตกุ้งลดลง ตลอดจนแนวโน้มการบริโภคกุ้งที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่การส่งออกกุ้งของไทยยังต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร(Non-Tariff Measures : NTMs) ซึ่ง EU นำมาใช้อย่างเข้มงวด ที่เห็นได้ชัด คือ มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) ซึ่งส่งผลให้กุ้งที่นำเข้าไป EU ต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งตัวสินค้าซึ่งครอบคลุมลักษณะภายนอกและสารตกค้าง ตลอดจนการตรวจสอบย้อนหลังไปจนถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงและการแปรรูป ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงไม่ควรนิ่งนอนใจและควรปรับตัวเป็นการเร่งด่วนด้วยการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมหรือวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภค รวมทั้งติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าที่ EU นำมาใช้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปตลาด EU ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-
คำตอบ : นับตั้งแต่สหภาพยุโรป (European Union : EU) ตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป(Generalized System of Preferences : GSP) ที่เคยให้กับสินค้ากุ้งไทยตั้งแต่ปี 2542 ส่งผลให้ส่วนแบ่งตลาดสินค้ากุ้งของไทยใน EU ซึ่งถือเป็นประเทศผู้นำเข้าสินค้ากุ้งสำคัญอันดับต้น ๆ ของโลก ลดลงมากอย่างเห็นได้ชัดจากที่ไทยเคยมีส่วนแบ่งตลาดกุ้งใน EU สูงถึงร้อยละ 7 ในปี 2541 เหลือเพียงร้อยละ 1 ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม การที่ EU คืน GSP ให้แก่สินค้ากุ้งไทยมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 มกราคม 2549 หลังจากที่มีผลบังคับใช้ในทางปฏิบัติมาก่อนหน้าตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2548 ทำให้สินค้ากุ้งไทยมีโอกาสขยายตลาด EU ได้ใหม่ ดังเห็นได้จากปริมาณและมูลค่าส่งออกสินค้ากุ้งของไทยที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลดีต่อภาพรวมการส่งออกของไทย
ทั้งนี้ GSP นับเป็นมาตรการทางการค้ารูปแบบหนึ่งที่ EU ใช้เป็นเครื่องมือในการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาโดยการยกเว้นหรือลดอัตราภาษีนำเข้าสำหรับสินค้าที่มีแหล่งกำเนิดจากประเทศกำลังพัฒนาภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ในช่วงที่ผ่านมา สินค้ากุ้งไทยเคยได้รับ GSP จาก EU ส่งผลให้ไทยสามารถขยายตลาดสินค้ากุ้งใน EU ได้มากเป็นอันดับต้น ๆ โดยในปี 2541 ไทยส่งออกสินค้ากุ้งไปตลาด EU เป็นมูลค่ากว่า 6,000 ล้านบาท อย่างไรก็ตามหลังจากที่ EU ตัด GSP สินค้ากุ้งไทยในปี 2542 มูลค่าส่งออกสินค้าดังกล่าวลดลงมากกว่าร้อยละ 50 เหลือเพียง2,600 ล้านบาท ขณะที่คู่แข่งสำคัญ โดยเฉพาะบราซิล อาร์เจนตินา และเอกวาดอร์ เข้ามาครองส่วนแบ่งตลาดดังกล่าวแทนที่ไทยมากขึ้นทุกขณะ การคืนสิทธิ GSP สินค้ากุ้งไทยในครั้งนี้จึงเป็นปัจจัยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้การส่งออกกุ้งของไทยกลับมาคึกคักขึ้นอีก
ตารางแสดงอัตราภาษีนำเข้าสินค้ากุ้งที่ EU เรียกเก็บจากไทย
ช่วงเวลา สินค้า อัตราภาษี (%)
ก่อนปี 2540 (EU ให้ GSP) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 4.5
กุ้งแปรรูป 6.0
ปี 2540-2541 (EU ตัด GSP 50%) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 9.7
กุ้งแปรรูป 13.5
ปี 2542-ก.ค.2548 (EU ตัด GSP 100%) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 14.4
กุ้งแปรรูป 20.0
ส.ค. 2548-ปัจจุบัน (EU คืน GSP) กุ้งแช่เย็นแช่แข็ง 4.2
กุ้งแปรรูป 7.0
นอกจากการได้รับคืนสิทธิ GSP จาก EU แล้ว การส่งออกกุ้งไทยไปตลาด EU ยังได้รับผลดีจากการที่ EU นำเข้ากุ้งจากประเทศในทวีปอเมริกาใต้ลดลงในปี 2548 เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกกุ้งรายสำคัญในทวีปอเมริกาใต้โดยเฉพาะอาร์เจนตินามีปริมาณผลผลิตกุ้งลดลงมากและคาดว่าจะลดลงต่อเนื่องในปี 2549 จึงอาจเป็นโอกาสดีของไทยในการขยายตลาดกุ้งไป EU ในช่วงที่คู่แข่งกำลังประสบปัญหาด้านผลผลิต
เมื่อพิจารณาถึงความต้องการบริโภคกุ้งของ EU ในปัจจุบัน พบว่ายังมีอย่างต่อเนื่อง ตามกระแสความห่วงใยในสุขภาพ ซึ่งทำให้ผู้บริโภคบางส่วนลดการบริโภคเนื้อสัตว์ใหญ่และหันมาบริโภคสัตว์ทะเล รวมถึงกุ้งแทน ทั้งนี้ในปี 2548 EU บริโภคกุ้งมากเป็นอันดับ 1 ของโลก ด้วยปริมาณสูงถึงกว่า 700,000 ตัน คิดเป็นร้อยละ 37 ของปริมาณการบริโภคกุ้งรวมของโลก สินค้ากุ้งซึ่งเป็นที่นิยมมากที่สุดในตลาด EU ได้แก่ กุ้งประเภทติดหัว (Head-on)
แม้ว่าโอกาสการส่งออกกุ้งของไทยไป EU มีแนวโน้มสดใส ทั้งจากปัจจัยเกื้อหนุนในเรื่อง GSP รวมทั้งประเทศคู่แข่งขันที่กำลังประสบปัญหาผลผลิตกุ้งลดลง ตลอดจนแนวโน้มการบริโภคกุ้งที่มีเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องก็ตาม แต่การส่งออกกุ้งของไทยยังต้องเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ โดยเฉพาะมาตรการที่มิใช่ภาษีศุลกากร(Non-Tariff Measures : NTMs) ซึ่ง EU นำมาใช้อย่างเข้มงวด ที่เห็นได้ชัด คือ มาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) ซึ่งส่งผลให้กุ้งที่นำเข้าไป EU ต้องถูกตรวจสอบอย่างละเอียด ทั้งตัวสินค้าซึ่งครอบคลุมลักษณะภายนอกและสารตกค้าง ตลอดจนการตรวจสอบย้อนหลังไปจนถึงขั้นตอนการเพาะเลี้ยงและการแปรรูป ดังนั้น ผู้ส่งออกไทยจึงไม่ควรนิ่งนอนใจและควรปรับตัวเป็นการเร่งด่วนด้วยการยกระดับมาตรฐานการผลิตเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้สอดคล้องกับกระแสความนิยมหรือวิถีการดำรงชีวิตของผู้บริโภค รวมทั้งติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับมาตรการทางการค้าที่ EU นำมาใช้อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การส่งออกสินค้ากุ้งไทยไปตลาด EU ขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง
--ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย กรกฎาคม 2549--
-พห-