ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เตือน ธพ.อย่าปรับอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญผู้บริหารของ ธพ.ร่วมประชุมตาม
วาระปกติทุก 6 เดือน วานนี้ (17 ส.ค.49) เพื่อรายงานให้ทราบถึงภาวะเศรษฐกิจและรับฟังความคิดเห็นจากนายธนาคารต่าง ๆ โดยที่
ประชุมครั้งนี้เน้นไปที่การแข่งขันปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธพ. อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ธปท.ได้ระบุว่า การที่ ธ.กลาง สรอ.ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายส่งผลให้แรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ลดลง พร้อมทั้งกล่าวเตือน ธพ.ให้ระวังอย่าปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น
มากเกินไปในภาวะที่สภาพคล่องในระบบยังมีเหลือจำนวนมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของ ธพ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ผลการดำเนินงานของ บจ.ครึ่งแรกปี 49 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เทียบต่อปี รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประจำงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.49 ว่า บจ.ทั้งใน ตลท. และ
ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ มียอดขายรวม 2,698,551 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิรวม
272,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บริษัทในกลุ่ม SET50 มีกำไรสุทธิ 212,304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
78 ของกำไรสุทธิของ บจ.รวม มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 มีกำไรขั้นต้นร้อยละ 23 และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ทั้งนี้ บริษัทที่มีกำไรสุทธิ
สูงสุด 5 อันดับแรก คือ บ.ปตท. ปูนซิเมนต์ไทย ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ไทยออยล์ และแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
3. ก.คลังรับภาระหนี้สินของ 2 รัฐวิสาหกิจถึง 8 หมื่นล้านบาท ผอ.สำนักนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ระบุขณะนี้หลายรัฐวิสาหกิจ
ได้ปรับแผนบริหารจัดการในองค์กร ทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ขณะที่อีกหลายแห่งที่ยังไม่สามารถปรับปรุงผลการดำเนินงานได้ ก็ต้องยุบเลิก
เช่น องค์การรับส่งพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) หรือองค์การฟอกหนัง ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติให้ยุบเลิกเช่นกัน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาหนี้สินจำนวนมาก
ขณะนี้ ก็มีความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา ทำให้ สคร.สามารถประเมินผลการดำเนินงานในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะองค์การขนส่ง
มวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีหนี้สินสะสมจำนวน ทั้งนี้ ก.คลังจะเข้าไปบริหารจัดการภาระหนี้สินของ
ขสมก. และ ร.ฟ.ท.มูลค่ารวมกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่รัฐได้เข้าไปค้ำประกันอยู่แล้ว แบ่งเป็นหนี้สินของ ขสมก.ประมาณ
43,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่รัฐค้ำประกัน และหนี้สินของ ร.ฟ.ท.จำนวนประมาณ 37,000 ล้านบาท โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน ทั้ง
Roll Over หนี้และตัดดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละปี ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของทั้ง 2 แห่งให้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำรายได้
มาตัดชำระเงินต้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. จะชะลอตัวในปีหน้า รายงานจากบอสตัน เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 49 สมาคมผู้
ประกอบการอุตสาหกรรมของ สรอ. เปิดเผยว่า ในปีนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. จะขยายตัวอย่างสูงสุด และจะชะลอตัวลงในปี
50 เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ลดลง ทั้งนี้คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้
จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 2.5 ในปีหน้า โดยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมคาดว่าการชะลอตัว
ลงของการใช้จ่ายบริโภคน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในขณะที่ระดับราคาบ้านมีเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้มูลค่าเพิ่มของบ้าน
ในการลงทุนในทรัพย์สินหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก ทั้งนี้หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Arlington กล่าวว่า การที่ ธ.กลางสรอ. ใช้นโยบายอัตรา
ดอกเบี้ยสูงมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังขยายตัวอย่างมากชะลอตัวลง และเสริมว่าการชะลอตัวของการใช้จ่าย
บริโภครวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. จะชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนและลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 17 ส.ค. 49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน ลดลงเป็น
ครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ต่างจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ในขณะที่ตัวเลขของเดือน มิ.ย.49 ก็ถูกปรับลดลงเหลือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.7 จากที่รายงานครั้งแรกว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือน นักเศรษฐศาสตร์บางคนอ้างว่าเป็นผลมาจากยอดขายสินค้าที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลก
เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ที่ชะลอตัวหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงก่อนการแข่งขัน อย่างไรก็ดี ทั้ง ธ.กลางอังกฤษและนักวิเคราะห์บางคนเห็น
พ้องกันว่าความต้องการของผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ปี 49 จะชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากภาระที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคทั้ง
จากดอกเบี้ยค่าผ่อนบ้านที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาและจากค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ในขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี นักวิเคราะห์บางส่วนจึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดคิดมาก่อนร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ก.ค.49 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 17 ส.ค.49
European Union Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
(ยูโรโซน) ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี ต่ำกว่าเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และต่ำกว่าการคาดการณ์
ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 2.5 เช่นกัน โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ค.49 ได้รับแรงสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาน้ำมันและพลังงานเป็นหลัก อาทิเช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง ราคาก๊าซ และราคาน้ำมันเตา เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค
เมื่อเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.1 สาเหตุจากการลดลงของราคาเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ผัก และไม้ดอก สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่
รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี สูงกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์แสดง
ความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอาจเป็นปัจจัยเสริมความกังวลของ ธ.กลางสหภาพยุโรป (ECB) ที่ว่าผลกระทบจากภาวะ
เงินเฟ้อกำลังค่อยๆ เพิ่มขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนยังคงเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่ส่งผลให้ ECB เปลี่ยนแปลง
เป้าหมายการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ Eurostat ได้เปิดเผยตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย.49 ว่า
ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด โดยมีสาเหตุจากการลดลงของผลผลิตสินค้าคงทน สินค้าประเภททุน และ
สินค้าไม่คงทน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต
สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าประเภททุน (รอยเตอร์)
4. สมาคมธนาคารของเยอรมนีปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตจีดีพีของเยอรมนีปีนี้เป็นร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 17 ก.ค.49 สมาคมธนาคารเอกชนของเยอรมนี (BDB) ปรับพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
ประมาณร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 1.75 หลังจากที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ขยายตัว
ในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี โดยการลงทุนในภาคการก่อสร้างและเครื่องมือเป็นปัจจัยหลักทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจรายไตรมาสใน
ช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.9 สูงกว่าที่คาดการณ์ และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในระยะยาว ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัว
ได้ดีทำให้มีกิจกรรมการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดแรงงานและการบริโภคของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบจากการที่เศรษฐกิจโลก
ชะลอตัวและการปรับขึ้นภาษีการขายร้อยละ 3 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้าจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้าลดลงเหลือ
ประมาณร้อยละ 1 ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางของสหภาพยุโรปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีกร้อยละ 0.5 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ส.ค. 49 17 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.561 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3458/37.6299 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1225 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.01/ 13.45 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 11,100/11,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.29 67.49 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 29.79*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เตือน ธพ.อย่าปรับอัตราดอกเบี้ยมากเกินไปธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เชิญผู้บริหารของ ธพ.ร่วมประชุมตาม
วาระปกติทุก 6 เดือน วานนี้ (17 ส.ค.49) เพื่อรายงานให้ทราบถึงภาวะเศรษฐกิจและรับฟังความคิดเห็นจากนายธนาคารต่าง ๆ โดยที่
ประชุมครั้งนี้เน้นไปที่การแข่งขันปรับอัตราดอกเบี้ยของ ธพ. อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร ธปท.ได้ระบุว่า การที่ ธ.กลาง สรอ.ไม่ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย
นโยบายส่งผลให้แรงกดดันต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธปท.ลดลง พร้อมทั้งกล่าวเตือน ธพ.ให้ระวังอย่าปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้น
มากเกินไปในภาวะที่สภาพคล่องในระบบยังมีเหลือจำนวนมาก เพราะจะส่งผลกระทบต่อต้นทุนของ ธพ. (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน,
โลกวันนี้, โพสต์ทูเดย์, เดลินิวส์, บ้านเมือง, มติชน, สยามรัฐ, ข่าวสด)
2. ผลการดำเนินงานของ บจ.ครึ่งแรกปี 49 มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 เทียบต่อปี รองผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(ตลท.) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียน (บจ.) ประจำงวด 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิ.ย.49 ว่า บจ.ทั้งใน ตลท. และ
ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ มียอดขายรวม 2,698,551 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 22 จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิรวม
272,596 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ บริษัทในกลุ่ม SET50 มีกำไรสุทธิ 212,304 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ
78 ของกำไรสุทธิของ บจ.รวม มียอดขายเพิ่มขึ้นร้อยละ 27 มีกำไรขั้นต้นร้อยละ 23 และมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นร้อยละ 13 ทั้งนี้ บริษัทที่มีกำไรสุทธิ
สูงสุด 5 อันดับแรก คือ บ.ปตท. ปูนซิเมนต์ไทย ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ไทยออยล์ และแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (กรุงเทพธุรกิจ,
มติชน)
3. ก.คลังรับภาระหนี้สินของ 2 รัฐวิสาหกิจถึง 8 หมื่นล้านบาท ผอ.สำนักนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.)ระบุขณะนี้หลายรัฐวิสาหกิจ
ได้ปรับแผนบริหารจัดการในองค์กร ทำให้มีผลการดำเนินงานที่ดีขึ้น ขณะที่อีกหลายแห่งที่ยังไม่สามารถปรับปรุงผลการดำเนินงานได้ ก็ต้องยุบเลิก
เช่น องค์การรับส่งพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.) หรือองค์การฟอกหนัง ซึ่งคณะกรรมการได้มีมติให้ยุบเลิกเช่นกัน ส่วนรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาหนี้สินจำนวนมาก
ขณะนี้ ก็มีความชัดเจนเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหา ทำให้ สคร.สามารถประเมินผลการดำเนินงานในอนาคตได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะองค์การขนส่ง
มวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ที่มีหนี้สินสะสมจำนวน ทั้งนี้ ก.คลังจะเข้าไปบริหารจัดการภาระหนี้สินของ
ขสมก. และ ร.ฟ.ท.มูลค่ารวมกว่า 80,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่รัฐได้เข้าไปค้ำประกันอยู่แล้ว แบ่งเป็นหนี้สินของ ขสมก.ประมาณ
43,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนี้ที่รัฐค้ำประกัน และหนี้สินของ ร.ฟ.ท.จำนวนประมาณ 37,000 ล้านบาท โดยใช้เครื่องมือทางการเงิน ทั้ง
Roll Over หนี้และตัดดอกเบี้ยจ่ายในแต่ละปี ขณะเดียวกัน ก็ต้องเร่งปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของทั้ง 2 แห่งให้ดียิ่งขึ้นเพื่อนำรายได้
มาตัดชำระเงินต้น (กรุงเทพธุรกิจ)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. จะชะลอตัวในปีหน้า รายงานจากบอสตัน เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 49 สมาคมผู้
ประกอบการอุตสาหกรรมของ สรอ. เปิดเผยว่า ในปีนี้ภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสรอ. จะขยายตัวอย่างสูงสุด และจะชะลอตัวลงในปี
50 เนื่องจากตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัวลงจากการใช้จ่ายผู้บริโภคที่ลดลง ทั้งนี้คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตจะขยายตัวร้อยละ 5.0 ในปีนี้
จากที่ขยายตัวร้อยละ 3.9 เมื่อปีที่แล้ว และคาดว่าจะเติบโตเพียงร้อยละ 2.5 ในปีหน้า โดยสมาคมผู้ประกอบการอุตสาหกรรมคาดว่าการชะลอตัว
ลงของการใช้จ่ายบริโภคน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้นในขณะที่ระดับราคาบ้านมีเปลี่ยนแปลงทำให้ผู้บริโภคไม่สามารถใช้มูลค่าเพิ่มของบ้าน
ในการลงทุนในทรัพย์สินหรือผลิตภัณฑ์อื่นได้อีก ทั้งนี้หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์จาก Arlington กล่าวว่า การที่ ธ.กลางสรอ. ใช้นโยบายอัตรา
ดอกเบี้ยสูงมาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ส่งผลให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังขยายตัวอย่างมากชะลอตัวลง และเสริมว่าการชะลอตัวของการใช้จ่าย
บริโภครวมทั้งราคาน้ำมันที่สูงขึ้นทำให้คาดว่าภาคอุตสาหกรรมการผลิตของ สรอ. จะชะลอตัวลง (รอยเตอร์)
2. ยอดค้าปลีกของอังกฤษในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อนและลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน รายงานจาก
ลอนดอน เมื่อ 17 ส.ค. 49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษรายงานยอดค้าปลีกในเดือน ก.ค.49 ลดลงร้อยละ 0.3 จากเดือนก่อน ลดลงเป็น
ครั้งแรกในรอบ 6 เดือน ต่างจากที่คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 ต่อเดือน ในขณะที่ตัวเลขของเดือน มิ.ย.49 ก็ถูกปรับลดลงเหลือเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 0.7 จากที่รายงานครั้งแรกว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.9 ต่อเดือน นักเศรษฐศาสตร์บางคนอ้างว่าเป็นผลมาจากยอดขายสินค้าที่เกี่ยวกับฟุตบอลโลก
เช่น เครื่องรับโทรทัศน์ ที่ชะลอตัวหลังจากเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงก่อนการแข่งขัน อย่างไรก็ดี ทั้ง ธ.กลางอังกฤษและนักวิเคราะห์บางคนเห็น
พ้องกันว่าความต้องการของผู้บริโภคในไตรมาสที่ 3 ปี 49 จะชะลอตัวลงจากไตรมาสที่ 2 ที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากภาระที่เพิ่มขึ้นของผู้บริโภคทั้ง
จากดอกเบี้ยค่าผ่อนบ้านที่เพิ่มขึ้นจากการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมาและจากค่าสาธารณูปโภคที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน ในขณะที่อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 6 ปี นักวิเคราะห์บางส่วนจึงคาดว่า ธ.กลางอังกฤษจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในระยะเวลาอันใกล้นี้ หลังจากขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างไม่คาดคิดมาก่อนร้อยละ 0.25 เป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
3. ดัชนีราคาผู้บริโภคของยูโรโซนเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 ในเดือน ก.ค.49 รายงานจากบรัสเซลส์เมื่อ 17 ส.ค.49
European Union Statistics Office (Eurostat) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคของกลุ่มประเทศเขตเศรษฐกิจยุโรปที่ใช้เงินสกุลยูโร
(ยูโรโซน) ในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.4 เทียบต่อปี ต่ำกว่าเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 และต่ำกว่าการคาดการณ์
ของตลาดซึ่งคาดว่าจะเพิ่มร้อยละ 2.5 เช่นกัน โดยการปรับตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคในเดือน ก.ค.49 ได้รับแรงสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้น
ของราคาน้ำมันและพลังงานเป็นหลัก อาทิเช่น ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง ราคาก๊าซ และราคาน้ำมันเตา เป็นต้น ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภค
เมื่อเทียบต่อเดือนลดลงร้อยละ 0.1 สาเหตุจากการลดลงของราคาเครื่องนุ่งห่ม รองเท้า ผัก และไม้ดอก สำหรับดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน ซึ่งไม่
รวมราคาอาหารและพลังงานที่มีความผันผวนเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.6 เทียบต่อปี สูงกว่าเดือนก่อนหน้าซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์แสดง
ความเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐานอาจเป็นปัจจัยเสริมความกังวลของ ธ.กลางสหภาพยุโรป (ECB) ที่ว่าผลกระทบจากภาวะ
เงินเฟ้อกำลังค่อยๆ เพิ่มขึ้น ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์บางส่วนยังคงเห็นว่าการเพิ่มขึ้นของดัชนีราคาผู้บริโภคจะไม่ส่งผลให้ ECB เปลี่ยนแปลง
เป้าหมายการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ นอกจากนี้ Eurostat ได้เปิดเผยตัวเลขผลผลิตอุตสาหกรรมในเดือน มิ.ย.49 ว่า
ลดลงร้อยละ 0.1 เทียบต่อเดือน เป็นไปตามการคาดการณ์ของตลาด โดยมีสาเหตุจากการลดลงของผลผลิตสินค้าคงทน สินค้าประเภททุน และ
สินค้าไม่คงทน ขณะที่เมื่อเทียบต่อปีผลผลิตอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.3 สูงกว่าการคาดการณ์ของตลาดเล็กน้อย เป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของผลผลิต
สินค้ากึ่งสำเร็จรูปและสินค้าประเภททุน (รอยเตอร์)
4. สมาคมธนาคารของเยอรมนีปรับเพิ่มพยากรณ์การเติบโตจีดีพีของเยอรมนีปีนี้เป็นร้อยละ 2.0 รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศ
เยอรมนี เมื่อวันที่ 17 ก.ค.49 สมาคมธนาคารเอกชนของเยอรมนี (BDB) ปรับพยากรณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของเยอรมนีปีนี้เพิ่มขึ้นเป็น
ประมาณร้อยละ 2.0 จากร้อยละ 1.75 หลังจากที่ตัวเลขอย่างเป็นทางการในสัปดาห์นี้แสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจของเยอรมนีในไตรมาส 2 ขยายตัว
ในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 5 ปี โดยการลงทุนในภาคการก่อสร้างและเครื่องมือเป็นปัจจัยหลักทำให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจรายไตรมาสใน
ช่วงเดือน เม.ย. — มิ.ย.49 อยู่ที่ระดับร้อยละ 0.9 สูงกว่าที่คาดการณ์ และคาดว่าจะขยายตัวต่อเนื่องในระยะยาว ทั้งนี้ การส่งออกที่ขยายตัว
ได้ดีทำให้มีกิจกรรมการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งส่งผลดีต่อตลาดแรงงานและการบริโภคของภาคเอกชน อย่างไรก็ตาม ปัจจัยลบจากการที่เศรษฐกิจโลก
ชะลอตัวและการปรับขึ้นภาษีการขายร้อยละ 3 ที่จะเริ่มบังคับใช้ในปีหน้าจะทำให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของเยอรมนีในปีหน้าลดลงเหลือ
ประมาณร้อยละ 1 ในขณะที่มีการคาดการณ์ว่า ธ.กลางของสหภาพยุโรปจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในปีนี้อีกร้อยละ 0.5 ไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 3.5
(รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 18 ส.ค. 49 17 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.561 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.3458/37.6299 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.1225 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 709.01/ 13.45 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,950/11,050 11,100/11,200 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 67.29 67.49 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับลดลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 16 ส.ค. 49 29.79*/27.54 29.79*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--