นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) ได้ประกาศการออกหนังสือรับรองการได้รับสิทธิชำระภาษีภายใต้ WTO ปี 2549 สำหรับ สินค้าลำไยแห้ง ปริมาณ 8.0 เมตริกตัน พริกไทย ปริมาณ 45.0 เมตริกตัน และ เนื้อมะพร้าวแห้ง ปริมาณ 1,157.0 เมตริกตัน
โดยผู้นำเข้าต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการที่ได้มีระเบียบกระทรวงพาณิชย์
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณี ตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้าลำไยแห้ง พริกไทยและเนื้อมะพร้าวแห้ง ให้ผู้ประสงค์จะนำเข้าให้ยื่นความจำนงภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผลการจัดสรรมีดังนี้
1. สินค้าลำไยแห้ง ปริมาณ 8.0 เมตริกตัน ไม่มีผู้ใดยื่นความจำนงขอรับการจัดสรร
ทำให้ไม่มีการจัดสรรสำหรับสินค้าลำไยแห้ง
2. สินค้าพริกไทย ปริมาณ 45.0 เมตริกตัน ผู้ที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 5 ราย คือ บริษัท เจริญวัฒนา จำกัด ปริมาณ 14.950 เมตริกตัน , ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกชิลลี่ ปริมาณ 14.950 เมตริกตัน , บริษัท กริฟฟิทท์ ทีเอ็นเอฟ จำกัด ปริมาณ 13.960 เมตริกตัน , บริษัท โกเบ-ย่า โชกุฮิน โคเงียว จำกัด ปริมาณ 1.000 เมตริกตัน และบริษัท ยูไนเต็ด โพรเกรส (ไทยแลนด์) จำกัด ปริมาณ 0.140
เมตริกตัน
3. สินค้าเนื้อมะพร้าวแห้ง ปริมาณ 1,157.0 เมตริกตัน ผู้ที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 1 ราย คือ บริษัท ชลาหาร จำกัด ปริมาณ 1,157.0 เมตริกตัน โดยผู้ที่ได้รับจัดสรรนำเข้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไปทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับจัดสรรสินค้าดังกล่าวข้างต้น จะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549
สถิติการนำเข้าที่ผ่านมา ลำไยแห้งไม่มีการนำเข้า เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกลำไยแห้งรายใหญ่ของโลก และคู่แข่งการส่งออกลำไยแห้งที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม พริกไทย ปี 2547 มีปริมาณนำเข้า 74.420 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 12.41 ล้านบาท ปี 2548 มีปริมาณนำเข้า 124.980 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 14.38 ล้านบาท โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และอินเดีย และเนื้อมะพร้าวแห้งของไทยตั้งแต่ปี 2546-2548 ไม่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณสินค้าเนื้อมะพร้าวแห้งภายในประเทศมีเพียงพอแก่ความต้องการ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
โดยผู้นำเข้าต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549 จากการที่ได้มีระเบียบกระทรวงพาณิชย์
ว่าด้วยการออกหนังสือรับรองแสดงการได้รับสิทธิชำระภาษีในโควตาตามพันธกรณี ตามความตกลงการเกษตรภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) สำหรับสินค้าลำไยแห้ง พริกไทยและเนื้อมะพร้าวแห้ง ให้ผู้ประสงค์จะนำเข้าให้ยื่นความจำนงภายในระยะเวลาที่กำหนด ซึ่งผลการจัดสรรมีดังนี้
1. สินค้าลำไยแห้ง ปริมาณ 8.0 เมตริกตัน ไม่มีผู้ใดยื่นความจำนงขอรับการจัดสรร
ทำให้ไม่มีการจัดสรรสำหรับสินค้าลำไยแห้ง
2. สินค้าพริกไทย ปริมาณ 45.0 เมตริกตัน ผู้ที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 5 ราย คือ บริษัท เจริญวัฒนา จำกัด ปริมาณ 14.950 เมตริกตัน , ห้างหุ้นส่วนจำกัด บางกอกชิลลี่ ปริมาณ 14.950 เมตริกตัน , บริษัท กริฟฟิทท์ ทีเอ็นเอฟ จำกัด ปริมาณ 13.960 เมตริกตัน , บริษัท โกเบ-ย่า โชกุฮิน โคเงียว จำกัด ปริมาณ 1.000 เมตริกตัน และบริษัท ยูไนเต็ด โพรเกรส (ไทยแลนด์) จำกัด ปริมาณ 0.140
เมตริกตัน
3. สินค้าเนื้อมะพร้าวแห้ง ปริมาณ 1,157.0 เมตริกตัน ผู้ที่ได้รับการจัดสรรจำนวน 1 ราย คือ บริษัท ชลาหาร จำกัด ปริมาณ 1,157.0 เมตริกตัน โดยผู้ที่ได้รับจัดสรรนำเข้าได้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 เป็นต้นไปทั้งนี้ ผู้ที่ได้รับจัดสรรสินค้าดังกล่าวข้างต้น จะต้องนำเข้าให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2549
สถิติการนำเข้าที่ผ่านมา ลำไยแห้งไม่มีการนำเข้า เนื่องจากประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกลำไยแห้งรายใหญ่ของโลก และคู่แข่งการส่งออกลำไยแห้งที่สำคัญคือ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม พริกไทย ปี 2547 มีปริมาณนำเข้า 74.420 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 12.41 ล้านบาท ปี 2548 มีปริมาณนำเข้า 124.980 เมตริกตัน คิดเป็นมูลค่า 14.38 ล้านบาท โดยตลาดนำเข้าสำคัญ ได้แก่ ประเทศออสเตรเลีย และอินเดีย และเนื้อมะพร้าวแห้งของไทยตั้งแต่ปี 2546-2548 ไม่มีการนำเข้าจากต่างประเทศ เนื่องจากปริมาณสินค้าเนื้อมะพร้าวแห้งภายในประเทศมีเพียงพอแก่ความต้องการ
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-