1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ประมงควบคุมนำเข้ากุ้งก้ามกราม
แหล่งข่าวจากกรมประมง เผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาได้ปรากฏว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโนดาไวรัส (Nodavirus disease) และเอซตร้า สมอลไวรัส (Extra small virus disease) ในกุ้งก้ามกรามในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งโรคดังกล่าวได้ทำความเสียหายให้กับการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคชนิดดังกล่าวที่อาจแฝงมากับการนำเข้าพันธุ์กุ้งก้ามกราม จึงเห็นสมควรให้มีมาตรการควบคุมการนำพันธุ์กุ้งก้ามกรามมีชีวิตเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะเลี้ยง โดยให้อยู่ภายใต้ระบบกักกันโรค สำหรับเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่ ผู้นำเข้าต้องมีสถานกักกันโรคสำหรับพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่จะนำเข้า ซึ่งได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานจากกรมก่อนที่จะขออนุญาตนำเข้า จากนั้นเมื่อจะนำเข้าทั้งในส่วนของกุ้งก้ามกราม ลูกกุ้งและไข่จะต้องไปกักกันโรคในสถานกักกันโรคที่กำหนดไว้ เป็นเวลาไม่เกิน 20 วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมได้ตรวจสอบและพิสูจน์โรค นอกจากนั้นพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่นำเข้าจะต้องมีหนังสือ รับรองสุขภาพสัตว์น้ำ (health certificate) เป็นภาษาอังกฤษที่ลงนามรับรองโดยสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดการรับรองครบถ้วน
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมกันนี้จะต้องมีการรับรองโรคของกุ้งก้ามกรามที่จะนำเข้ามาประเทศไทย เช่น โรคโนดาไวรัส (Nodavirus disease) โรคเอซตร้าสมอลไวรัส (Extra small virus disease) และพันธุ์กุ้งก้ามกรามนั้นจะต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วง 3 เดือน ก่อนที่จะมีการ ส่งออก รวมทั้งก่อนส่งออกจากประเทศต้นทางพันธุ์กุ้งก้ามกรามนั้น จะต้องได้รับการกำจัดปรสิตภายนอกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 26 มี.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,069.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 977.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,091.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.02 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 191.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.25 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.08 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.212 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.21 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.59 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ลดลงจากจากกิโลกรัมละ 120.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.54 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 - 31 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 27 มี.ค.-2 เม.ย.2549--
-พห-
การผลิต
ประมงควบคุมนำเข้ากุ้งก้ามกราม
แหล่งข่าวจากกรมประมง เผยว่า ในช่วงปีที่ผ่านมาได้ปรากฏว่ามีการแพร่ระบาดของโรคโนดาไวรัส (Nodavirus disease) และเอซตร้า สมอลไวรัส (Extra small virus disease) ในกุ้งก้ามกรามในหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยซึ่งโรคดังกล่าวได้ทำความเสียหายให้กับการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกรามภายในประเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่กระจายของโรคชนิดดังกล่าวที่อาจแฝงมากับการนำเข้าพันธุ์กุ้งก้ามกราม จึงเห็นสมควรให้มีมาตรการควบคุมการนำพันธุ์กุ้งก้ามกรามมีชีวิตเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการเพาะเลี้ยง โดยให้อยู่ภายใต้ระบบกักกันโรค สำหรับเงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่ ผู้นำเข้าต้องมีสถานกักกันโรคสำหรับพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่จะนำเข้า ซึ่งได้รับการตรวจรับรองมาตรฐานจากกรมก่อนที่จะขออนุญาตนำเข้า จากนั้นเมื่อจะนำเข้าทั้งในส่วนของกุ้งก้ามกราม ลูกกุ้งและไข่จะต้องไปกักกันโรคในสถานกักกันโรคที่กำหนดไว้ เป็นเวลาไม่เกิน 20 วัน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของกรมได้ตรวจสอบและพิสูจน์โรค นอกจากนั้นพันธุ์กุ้งก้ามกรามที่นำเข้าจะต้องมีหนังสือ รับรองสุขภาพสัตว์น้ำ (health certificate) เป็นภาษาอังกฤษที่ลงนามรับรองโดยสัตวแพทย์หรือเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานรัฐบาล ซึ่งจะต้องมีรายละเอียดการรับรองครบถ้วน
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมกันนี้จะต้องมีการรับรองโรคของกุ้งก้ามกรามที่จะนำเข้ามาประเทศไทย เช่น โรคโนดาไวรัส (Nodavirus disease) โรคเอซตร้าสมอลไวรัส (Extra small virus disease) และพันธุ์กุ้งก้ามกรามนั้นจะต้องมาจากแหล่งที่ไม่มีการตายโดยไม่ทราบสาเหตุในช่วง 3 เดือน ก่อนที่จะมีการ ส่งออก รวมทั้งก่อนส่งออกจากประเทศต้นทางพันธุ์กุ้งก้ามกรามนั้น จะต้องได้รับการกำจัดปรสิตภายนอกด้วย
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 15 - 26 มี.ค. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 2,069.04 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 977.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 1,091.88 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.02 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 13.90 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 191.27 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 9.25 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 104.08 ตัน
การตลาด
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 30.11 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 30.212 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.10 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 59.48 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 56.96 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.52 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 92.50 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 100.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 8.21 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 146.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 149.00 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 148.38 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 144.51 บาท ของสัปดาห์ก่อน 3.87 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 145.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 43.76 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 42.59 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.17 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.17 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.17 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 119.17 บาท ลดลงจากจากกิโลกรัมละ 120.71 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.54 บาท
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.37 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 5.42 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.05 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 - 31 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.58 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 25.18 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.40 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 13 ประจำวันที่ 27 มี.ค.-2 เม.ย.2549--
-พห-