ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เชื่อมั่นพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการ
ประจำปี 2549 หัวข้อ “ประเทศไทยกับการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจเอเชียยุคใหม่” ว่า ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งขณะ
นี้อยู่ในระดับที่นิ่งหรือมีการแกว่งตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยในช่วงครึ่งหลังของปี ค่าเงินบาทมีทิศทางที่จะปรับตัวแข็งค่าหรืออ่อนค่า
ได้อีกตามทิศทางการไหลของเงินทุนและทิศทางเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจปรับตัวอ่อนค่าได้อย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้มีการวางมาตร
การรองรับในหลายด้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออก นอกจากนี้ ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 49
ซึ่งแม้จะชะลอตัวลงบ้างจนทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียความเชื่อมั่น แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเงินทุนสำรองยังคงสูงถึง
เกือบ 60,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นกว่า 3 เท่า ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ระดับหนึ่ง รวมถึงอัตราทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในเกณฑ์สูง และสถาบันการเงินมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะ
ไม่มีปัญหาซ้ำรอยวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. ผลการดำเนินงานของ ธปท.ในปี 48 ขาดทุนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าและภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของ ธปท.ในปี 2548 ที่ขาดทุนเป็นจำนวนมากว่า เป็นผลมาจากการตีค่าอัตราแลกเปลี่ยนของ
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วการพิจารณาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศควรจะต้องพิจารณาในรูปของ
สกุลเงินที่เป็นสากลมากกว่าสกุลเงินบาท ส่วนกรณีที่ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2548 นั้น เป็นผลจากการที่ ธปท.ออก พธบ.เพื่อดูดซับ
สภาพคล่องในตลาดการเงิน ทั้งนี้ ธปท.รายงานงบการเงินประจำปี 2548 มียอดขาดทุนสุทธิสูงถึง 1,742,726,631 บาท จากปี 47 ที่มีกำไร
สุทธิจำนวน 20,829,122,823 บาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนขาดทุนเพิ่มขึ้น 108.37% และเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 44
โดยสาเหตุของการขาดทุนมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายที่มีจำนวนสูงถึง 26,684,184,561 บาท เพิ่มขึ้น
205.54% จากปี 47 และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิที่มียอดขาดทุน 7,943,110,268 บาท
จากปี 47 ที่มียอดกำไร 12,037,771,518 บาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.ยืนยันไม่เห็นด้วยกับการขอผ่อนผันวงเงินชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่
ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตเสนอขอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 และเสนอขอปรับลดวงเงินการผ่อนส่ง
บัตรเครดิตรายเดือนขั้นต่ำจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ว่าได้มอบหมายให้นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ศึกษาข้อเสนอดังกล่าว แต่จนถึง
ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลรายงาน ดังนั้น จึงยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ แต่ ธปท.ยืนยันว่าเรื่องวงเงินการชำระขั้นต่ำที่จะให้ลด
จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ไม่เห็นด้วยและไม่อนุมัติแน่นอน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ธปท.ชี้การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงการที่ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% ว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เนื่องจากการดำเนิน
นโยบายการเงินผ่านตลาดซื้อคืน พธบ.ระยะ 14 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ของไทย พิจารณาอัตราเงินเฟ้อและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ภายในประเทศเป็นหลัก (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
5. ช่วงครึ่งแรกปี 49 การระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้นถึง 59.77% นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาด
ตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งแรกปี 49 ที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนมีการระดมทุนผ่านตราสารหนี้รวม 1.51 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 9.45 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 59.77% โดยเป็นการระดมทุนผ่านตั๋วเงินคลังของภาครัฐมาก
ที่สุด (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน มิ.ย. ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
9 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน มิ.ย.49 อยู่ที่ระดับ 6.463 พันล้านปอนด์ เทียบกับ
ยอดขาดดุล 6.983 พันล้านปอนด์ ในเดือนก่อนหน้า และลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขาดดุลในเดือน มิ.ย. จะ
ลดลงเหลือ 6.2 พันล้านปอนด์ แต่หากไม่นับรวมน้ำมันและสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยอดขาดดุลการค้าเดือน มิ.ย. จะอยู่ที่ระดับ
6.304 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 6.360 พันล้านปอนด์ในเดือนก่อนหน้า สำหรับยอดขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรปในเดือน มิ.ย.
ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ระดับ 3.145 พันล้านปอนด์ จากที่ขาดดุล 3.603 พันล้านปอนด์ ในเดือนก่อนหน้า เทียบกับที่มีการคาดการณ์ว่า
ยอดขาดดุลจะลดลงอยู่ที่ระดับ 3.5 พันล้านปอนด์ ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าสำหรับไตรมาส 2 ลดลง 600 ล้านปอนด์ อยู่ที่ระดับ
19.0 พันล้านปอนด์ และ สนง.สถิติแห่งชาติพยากรณ์ว่ายอดขาดดุลการค้าของอังกฤษมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วอย่างมาก รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 49
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 8.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ทั้งนี้คำสั่ง
ซื้อสินค้าเครื่องจักรเป็นดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนในสินค้าทุนในระยะ 6 — 9 เดือนข้างหน้า และเป็นสัญญานสนับสนุนว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรในเดือน มิ.ย.จะลดลงร้อยละ 0.4 และหากเทียบต่อไตรมาส
คำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสที่ 2 เพิ่มจากไตรมาสแรกร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี นอกจากนั้นทางการญี่ปุ่นยังได้
คาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสที่ 3 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากไตรมาสที่ก่อนหน้า ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวชี้ว่า
กิจการยังคงกล้าที่จะลงทุนแม้ว่าจะวิตกกับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่จะส่งผลถึงญี่ปุ่นในช่วงปลายปีนี้ก็ตาม เนื่องจากกิจการ
ญี่ปุ่นเชื่อว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดขึ้นจริง และจะขยายตัวต่อไปในระยะยาว (รอยเตอร์)
3. จีนเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 14.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 10 ส.ค. 49
กรมศุลกากรจีน เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.49 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 14.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จาก 10.4 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ในเดือน ก.ค.48 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.6 อยู่ที่จำนวน 80.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 19.7 อยู่ที่จำนวน 65.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับที่ Shanghai Securities News นเมื่อวันพุธที่
ผ่านมา ขณะที่ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ภาวะการเกินดุลการค้าของจีนในเดือน ก.ค.49 จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
มิ.ย.49 ที่อยู่ที่จำนวน 14.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และคาดการณ์ว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 23.6 ส่วนการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ
20.8 สำหรับในรอบ 7 เดือนแรกปี 49 จีนเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 76.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 ที่เกินดุล
จำนวน 50.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 52 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 รายงานจากโซล เมื่อ 9 ส.ค. 49 อัตราการ
ว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือน มิ.ย.49 ต่ำกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 3.6 ช่วยลดความกังวลว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว โดยตั้งแต่เดือน พ.ย.48 เป็นต้นมาอัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ในช่วงระหว่าง
ร้อยละ 3.4 ถึง 3.5 จากที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ในเดือน ก.ย.48 รายงานอัตราการว่างงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ก่อนที่จะมีการประชุม
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้เพื่อพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 วัน ซึ่งจากผลสำรวจโดยรอยเตอร์นักเศรษฐศาสตร์ 6 ใน 10 คนคาดว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ในขณะที่อีก 4 คนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ
0.25 เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.44 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ส.ค. 49 9 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.635 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4490/37.7317 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.93/ 15.88 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,350/11,450 11,350/11,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.99 70.21 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 ส.ค. 49 30.19*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เชื่อมั่นพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังคงแข็งแกร่ง ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวเปิดงานสัมมนาวิชาการ
ประจำปี 2549 หัวข้อ “ประเทศไทยกับการก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจเอเชียยุคใหม่” ว่า ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับความผันผวนของค่าเงินบาท ซึ่งขณะ
นี้อยู่ในระดับที่นิ่งหรือมีการแกว่งตัวในระดับต่ำเมื่อเทียบกับสกุลเงินอื่นๆ โดยในช่วงครึ่งหลังของปี ค่าเงินบาทมีทิศทางที่จะปรับตัวแข็งค่าหรืออ่อนค่า
ได้อีกตามทิศทางการไหลของเงินทุนและทิศทางเงินดอลลาร์ สรอ. ซึ่งอาจปรับตัวอ่อนค่าได้อย่างฉับพลัน อย่างไรก็ตาม ธปท.ได้มีการวางมาตร
การรองรับในหลายด้าน เพื่อรักษาขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออก นอกจากนี้ ไม่มีความกังวลเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจไทยในปี 49
ซึ่งแม้จะชะลอตัวลงบ้างจนทำให้ผู้ประกอบการสูญเสียความเชื่อมั่น แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่ง โดยเงินทุนสำรองยังคงสูงถึง
เกือบ 60,000 ล.ดอลลาร์ สรอ. ซึ่งสูงกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้นกว่า 3 เท่า ขณะที่การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง ซึ่งจะช่วยลดการ
ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดได้ระดับหนึ่ง รวมถึงอัตราทำกำไรของบริษัทจดทะเบียนยังอยู่ในเกณฑ์สูง และสถาบันการเงินมีเสถียรภาพ ทั้งนี้ เชื่อมั่นว่าจะ
ไม่มีปัญหาซ้ำรอยวิกฤติเศรษฐกิจปี 40 (กรุงเทพธุรกิจ, ไทยโพสต์)
2. ผลการดำเนินงานของ ธปท.ในปี 48 ขาดทุนเนื่องจากเงินบาทแข็งค่าและภาระดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้น ผู้ว่าการธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงผลการดำเนินงานของ ธปท.ในปี 2548 ที่ขาดทุนเป็นจำนวนมากว่า เป็นผลมาจากการตีค่าอัตราแลกเปลี่ยนของ
เงินทุนสำรองระหว่างประเทศในช่วงที่เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งโดยปกติแล้วการพิจารณาเงินทุนสำรองระหว่างประเทศควรจะต้องพิจารณาในรูปของ
สกุลเงินที่เป็นสากลมากกว่าสกุลเงินบาท ส่วนกรณีที่ดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นอย่างมากในปี 2548 นั้น เป็นผลจากการที่ ธปท.ออก พธบ.เพื่อดูดซับ
สภาพคล่องในตลาดการเงิน ทั้งนี้ ธปท.รายงานงบการเงินประจำปี 2548 มียอดขาดทุนสุทธิสูงถึง 1,742,726,631 บาท จากปี 47 ที่มีกำไร
สุทธิจำนวน 20,829,122,823 บาท หรือคิดเป็นอัตราส่วนขาดทุนเพิ่มขึ้น 108.37% และเป็นการขาดทุนครั้งแรกในรอบ 4 ปี นับตั้งแต่ปี 44
โดยสาเหตุของการขาดทุนมาจากค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของดอกเบี้ยจ่ายที่มีจำนวนสูงถึง 26,684,184,561 บาท เพิ่มขึ้น
205.54% จากปี 47 และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสุทธิที่มียอดขาดทุน 7,943,110,268 บาท
จากปี 47 ที่มียอดกำไร 12,037,771,518 บาท (กรุงเทพธุรกิจ)
3. ธปท.ยืนยันไม่เห็นด้วยกับการขอผ่อนผันวงเงินชำระบัตรเครดิตขั้นต่ำ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีที่
ผู้ประกอบการธุรกิจบัตรเครดิตเสนอขอปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยบัตรเครดิตจากร้อยละ 18 เป็นร้อยละ 20 และเสนอขอปรับลดวงเงินการผ่อนส่ง
บัตรเครดิตรายเดือนขั้นต่ำจากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ว่าได้มอบหมายให้นายเกริก วณิกกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ ศึกษาข้อเสนอดังกล่าว แต่จนถึง
ขณะนี้ยังไม่ได้รับข้อมูลรายงาน ดังนั้น จึงยังไม่มีข้อสรุปว่าจะให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยหรือไม่ แต่ ธปท.ยืนยันว่าเรื่องวงเงินการชำระขั้นต่ำที่จะให้ลด
จากร้อยละ 10 เหลือร้อยละ 5 ไม่เห็นด้วยและไม่อนุมัติแน่นอน (โลกวันนี้, ข่าวสด)
4. ธปท.ชี้การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ สรอ.ไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงการที่ ธ.กลาง สรอ. (เฟด) ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 5.25% ว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อประเทศไทย เนื่องจากการดำเนิน
นโยบายการเงินผ่านตลาดซื้อคืน พธบ.ระยะ 14 วัน (อัตราดอกเบี้ยนโยบาย) ของไทย พิจารณาอัตราเงินเฟ้อและปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจ
ภายในประเทศเป็นหลัก (ผู้จัดการรายวัน, กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด, ไทยโพสต์)
5. ช่วงครึ่งแรกปี 49 การระดมทุนผ่านตราสารหนี้เพิ่มขึ้นถึง 59.77% นายณัฐพล ชวลิตชีวิน กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาด
ตราสารหนี้ไทย เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งแรกปี 49 ที่ผ่านมา ภาครัฐและภาคเอกชนมีการระดมทุนผ่านตราสารหนี้รวม 1.51 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น
จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งมีจำนวน 9.45 แสนล้านบาท คิดเป็นการเพิ่มขึ้นถึง 59.77% โดยเป็นการระดมทุนผ่านตั๋วเงินคลังของภาครัฐมาก
ที่สุด (กรุงเทพธุรกิจ, ข่าวสด)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน มิ.ย. ลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ รายงานจากกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เมื่อวันที่
9 ก.ค.49 สนง.สถิติแห่งชาติของอังกฤษ เปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าของอังกฤษในเดือน มิ.ย.49 อยู่ที่ระดับ 6.463 พันล้านปอนด์ เทียบกับ
ยอดขาดดุล 6.983 พันล้านปอนด์ ในเดือนก่อนหน้า และลดลงน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยนักเศรษฐศาสตร์คาดว่ายอดขาดดุลในเดือน มิ.ย. จะ
ลดลงเหลือ 6.2 พันล้านปอนด์ แต่หากไม่นับรวมน้ำมันและสินค้าที่มีการเปลี่ยนแปลงรวดเร็วยอดขาดดุลการค้าเดือน มิ.ย. จะอยู่ที่ระดับ
6.304 พันล้านปอนด์ เทียบกับ 6.360 พันล้านปอนด์ในเดือนก่อนหน้า สำหรับยอดขาดดุลการค้ากับประเทศนอกกลุ่มสหภาพยุโรปในเดือน มิ.ย.
ลดลงมากกว่าที่คาดการณ์ไว้อยู่ที่ระดับ 3.145 พันล้านปอนด์ จากที่ขาดดุล 3.603 พันล้านปอนด์ ในเดือนก่อนหน้า เทียบกับที่มีการคาดการณ์ว่า
ยอดขาดดุลจะลดลงอยู่ที่ระดับ 3.5 พันล้านปอนด์ ทั้งนี้ ยอดขาดดุลการค้าสำหรับไตรมาส 2 ลดลง 600 ล้านปอนด์ อยู่ที่ระดับ
19.0 พันล้านปอนด์ และ สนง.สถิติแห่งชาติพยากรณ์ว่ายอดขาดดุลการค้าของอังกฤษมีแนวโน้มจะขยายตัวเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย (รอยเตอร์)
2. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรของญี่ปุ่นในเดือน มิ.ย. เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วอย่างมาก รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 9 ส.ค. 49
รัฐบาลญี่ปุ่นเปิดเผยว่า ในเดือน มิ.ย. คำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรของญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วถึงร้อยละ 8.5 (ตัวเลขหลังปรับฤดูกาล) ทั้งนี้คำสั่ง
ซื้อสินค้าเครื่องจักรเป็นดัชนีชี้วัดการใช้จ่ายลงทุนในสินค้าทุนในระยะ 6 — 9 เดือนข้างหน้า และเป็นสัญญานสนับสนุนว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นฟื้นตัวอย่าง
แข็งแกร่ง ซึ่งก่อนหน้านั้นนักเศรษฐศาสตร์ได้คาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อสินค้าเครื่องจักรในเดือน มิ.ย.จะลดลงร้อยละ 0.4 และหากเทียบต่อไตรมาส
คำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสที่ 2 เพิ่มจากไตรมาสแรกร้อยละ 8.9 เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดในรอบเกือบ 10 ปี นอกจากนั้นทางการญี่ปุ่นยังได้
คาดการณ์ว่าคำสั่งซื้อเครื่องจักรในไตรมาสที่ 3 จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.9 จากไตรมาสที่ก่อนหน้า ตัวเลขคำสั่งซื้อเครื่องจักรที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวชี้ว่า
กิจการยังคงกล้าที่จะลงทุนแม้ว่าจะวิตกกับผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ สรอ. ที่จะส่งผลถึงญี่ปุ่นในช่วงปลายปีนี้ก็ตาม เนื่องจากกิจการ
ญี่ปุ่นเชื่อว่าการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศเกิดขึ้นจริง และจะขยายตัวต่อไปในระยะยาว (รอยเตอร์)
3. จีนเกินดุลการค้าในเดือน ก.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 14.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานจากปักกิ่ง เมื่อ 10 ส.ค. 49
กรมศุลกากรจีน เปิดเผยว่า ในเดือน ก.ค.49 จีนเกินดุลการค้าเพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 14.6 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. จาก 10.4 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. ในเดือน ก.ค.48 เนื่องจากการส่งออกเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 22.6 อยู่ที่จำนวน 80.34 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่นำเข้าเพิ่มขึ้นเพียง
ร้อยละ 19.7 อยู่ที่จำนวน 65.72 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. ทั้งนี้ ตัวเลขดังกล่าวสอดคล้องกับที่ Shanghai Securities News นเมื่อวันพุธที่
ผ่านมา ขณะที่ผลสำรวจของนักวิเคราะห์โดยรอยเตอร์คาดการณ์ว่า ภาวะการเกินดุลการค้าของจีนในเดือน ก.ค.49 จะไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือน
มิ.ย.49 ที่อยู่ที่จำนวน 14.5 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และคาดการณ์ว่าการส่งออกจะขยายตัวร้อยละ 23.6 ส่วนการนำเข้าจะขยายตัวร้อยละ
20.8 สำหรับในรอบ 7 เดือนแรกปี 49 จีนเกินดุลการค้าทั้งสิ้น 76.0 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าช่วงเวลาเดียวกันของปี 48 ที่เกินดุล
จำนวน 50.1 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 52 (รอยเตอร์)
4. อัตราการว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 รายงานจากโซล เมื่อ 9 ส.ค. 49 อัตราการ
ว่างงานของเกาหลีใต้ในเดือน ก.ค.49 คงที่อยู่ที่ร้อยละ 3.5 เท่ากับเดือน มิ.ย.49 ต่ำกว่าที่ผลสำรวจโดยรอยเตอร์คาดไว้ว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น
ร้อยละ 3.6 ช่วยลดความกังวลว่าเศรษฐกิจกำลังชะลอตัว โดยตั้งแต่เดือน พ.ย.48 เป็นต้นมาอัตราการว่างงานลดลงมาอยู่ในช่วงระหว่าง
ร้อยละ 3.4 ถึง 3.5 จากที่เคยอยู่ที่ร้อยละ 4.0 ในเดือน ก.ย.48 รายงานอัตราการว่างงานดังกล่าวได้รับการเผยแพร่ก่อนที่จะมีการประชุม
ของ ธ.กลางเกาหลีใต้เพื่อพิจารณานโยบายอัตราดอกเบี้ยเพียง 1 วัน ซึ่งจากผลสำรวจโดยรอยเตอร์นักเศรษฐศาสตร์ 6 ใน 10 คนคาดว่า
ธ.กลางเกาหลีใต้จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ร้อยละ 4.25 ต่อปี ในขณะที่อีก 4 คนคาดว่า ธ.กลางเกาหลีใต้จะขึ้นอัตราดอกเบี้ยอีกร้อยละ
0.25 เป็นร้อยละ 4.50 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนับตั้งแต่ต้นเดือน ก.ย.44 เป็นต้นมา (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 10 ส.ค. 49 9 ส.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมู
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 37.635 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 37.4490/37.7317 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.13 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 708.93/ 15.88 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 11,350/11,450 11,350/11,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 69.99 70.21 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 1 ส.ค. 49 30.19*/27.54 30.19*/27.54 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--