1. สถานการณ์การผลิต การตลาดและราคาในประเทศ
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 19 - 22 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 736.45 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 370.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 366.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.95 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.64 ตัน
การตลาด
สหรัฐอเมริกาออกมาตรการเก็บภาษีสินค้ากุ้งของไทย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งของไทยกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากถูกสหรัฐฯใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) กับสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยกับอีก 5 ประเทศ คือ อินเดีย เวียดนาม เอกวาดอร์ บราซิล และจีน รวมทั้งยังถูกศุลกากรสหรัฐฯ ออกมาตรการให้วางเงินค้ำประกันภาษีเอดีล่วงหน้า ระยะยาวต่อเนื่อง ที่เรียกว่า คอนทินิวอัส บอนด์ (Continuous Bond : C — Bond) มูลค่าสูงมาก ซึ่งการเก็บภาษีลักษณะดังกล่าวนอกจากเป็นการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมซ้ำซ้อนที่ผิดกฎองค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ยังถือว่าศุลกากรสหรัฐฯ มีเจตนาที่จะกีดกันการค้า ทำผิดกฎหมายของประเทศ ปรับเปลี่ยนมาตรการตามอำเภอใจ ทั้งนี้ การออกมาตรการเก็บ C-Bond ใหม่ เพื่อบังคับใช้เฉพาะกับสินค้าเกษตร เช่น กุ้งแช่แข็ง ต้องวางเงินค้ำประกันภาษีเอดีร้อยละ 100 ตามจำนวนยอด นำเข้าจริง ขณะที่สินค้าชนิดอื่นให้วางเงินค้ำประกันภาษีเอดี ในอัตราที่ต่ำกว่ามาก คือ ประมาณร้อยละ 10 ซึ่ง นายเอกพจน์กล่าวว่า แม้เป็นมาตรการที่ออกมาบังคับให้ผู้นำเข้าต้องไปวางเงินค้ำประกันภาษี แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ส่งออกต้องรับภาระหนัก ทำให้ผู้ส่งออกกุ้งไม่มีเงินพอที่จะนำไปวางเงินค้ำประกันภาษีมูลค่าสูงไว้ล่วงหน้าเป็นระยะยาวได้
ดังนั้นตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้เพาะลูกกุ้งกว่า 100 คน นำโดยนายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี จึงได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผ่านเอกอัครราชฑูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย เพื่อขอความเป็นธรรมทางการค้าต่อกรณีศุลกากรสหรัฐฯ ออกมาตรการเก็บภาษีซ้ำซ้อนสินค้ากุ้งของไทย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.27 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. — 3 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 6-12 มีนาคม 2549--
-พห-
การผลิต
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา (วันที่ 19 - 22 ก.พ. 49) สัตว์น้ำทุกชนิดส่งเข้าประมูลจำหน่ายที่องค์การสะพานปลากรุงเทพฯ มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 736.45 ตัน แยกเป็นสัตว์น้ำเค็ม 370.16 ตัน สัตว์น้ำจืด 366.29 ตัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำที่สำคัญ ได้แก่
1.1 ปลาดุก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 2.95 ตัน
1.2 ปลาช่อน ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.22 ตัน
1.3 กุ้งทะเล ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 63.02 ตัน
1.4 ปลาทู ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 3.27 ตัน
1.5 ปลาหมึก ส่งเข้าประมูลจำหน่าย 34.64 ตัน
การตลาด
สหรัฐอเมริกาออกมาตรการเก็บภาษีสินค้ากุ้งของไทย
ปัจจุบันอุตสาหกรรมกุ้งของไทยกำลังประสบกับปัญหา เนื่องจากถูกสหรัฐฯใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด (เอดี) กับสินค้ากุ้งแช่แข็งจากไทยกับอีก 5 ประเทศ คือ อินเดีย เวียดนาม เอกวาดอร์ บราซิล และจีน รวมทั้งยังถูกศุลกากรสหรัฐฯ ออกมาตรการให้วางเงินค้ำประกันภาษีเอดีล่วงหน้า ระยะยาวต่อเนื่อง ที่เรียกว่า คอนทินิวอัส บอนด์ (Continuous Bond : C — Bond) มูลค่าสูงมาก ซึ่งการเก็บภาษีลักษณะดังกล่าวนอกจากเป็นการเก็บภาษีที่ไม่เป็นธรรมซ้ำซ้อนที่ผิดกฎองค์การการค้าโลก (WTO) แล้ว ยังถือว่าศุลกากรสหรัฐฯ มีเจตนาที่จะกีดกันการค้า ทำผิดกฎหมายของประเทศ ปรับเปลี่ยนมาตรการตามอำเภอใจ ทั้งนี้ การออกมาตรการเก็บ C-Bond ใหม่ เพื่อบังคับใช้เฉพาะกับสินค้าเกษตร เช่น กุ้งแช่แข็ง ต้องวางเงินค้ำประกันภาษีเอดีร้อยละ 100 ตามจำนวนยอด นำเข้าจริง ขณะที่สินค้าชนิดอื่นให้วางเงินค้ำประกันภาษีเอดี ในอัตราที่ต่ำกว่ามาก คือ ประมาณร้อยละ 10 ซึ่ง นายเอกพจน์กล่าวว่า แม้เป็นมาตรการที่ออกมาบังคับให้ผู้นำเข้าต้องไปวางเงินค้ำประกันภาษี แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ส่งออกต้องรับภาระหนัก ทำให้ผู้ส่งออกกุ้งไม่มีเงินพอที่จะนำไปวางเงินค้ำประกันภาษีมูลค่าสูงไว้ล่วงหน้าเป็นระยะยาวได้
ดังนั้นตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ผู้เพาะลูกกุ้งกว่า 100 คน นำโดยนายเอกพจน์ ยอดพินิจ ประธานชมรมผู้เลี้ยงกุ้งสุราษฎร์ธานี จึงได้ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึงนายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ผ่านเอกอัครราชฑูตสหรัฐฯประจำประเทศไทย เพื่อขอความเป็นธรรมทางการค้าต่อกรณีศุลกากรสหรัฐฯ ออกมาตรการเก็บภาษีซ้ำซ้อนสินค้ากุ้งของไทย
ความเคลื่อนไหวของราคาสัตว์น้ำที่สำคัญประจำสัปดาห์นี้มีดังนี้ คือ
2.1 ปลาดุกบิ๊กอุย ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 31.13 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 31.69 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.56 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯไม่มีรายงานราคาจากองค์การสะพานปลากรุงเทพฯ
2.2 ปลาช่อน ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.92 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 57.76 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.84 บาท
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 95.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 92.50 บาท ของสัปดาห์ก่อน 2.50 บาท
2.3 กุ้งกุลาดำ ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 141.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 148.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 7.00 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 144.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.00 บาท
2.4 กุ้งขาวแวนนาไม ราคาที่ชาวประมงขายได้ขนาดกลาง (51-60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 140.90 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 145.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 4.56 บาท
สำหรับราคา ณ ตลาดกลางกุ้งสมุทรสาครขนาดกลาง (60 ตัว/กก.) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 135.00 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 140.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 5.00 บาท
2.5 ปลาทู ปลาทูสดขนาดกลาง ราคาที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 42.59 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 55.75 บาท ลดลงจากกิโลกรัมละ 55.00 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.25 บาท
2.6 ปลาหมึก ราคาปลาหมึกกระดองสดที่ชาวประมงขายได้ ไม่มีรายงานราคา
สำหรับราคาประมูลจำหน่ายที่สะพานปลากรุงเทพฯเฉลี่ยกิโลกรัมละ 120.00 บาท ทรงตัวเท่ากับสัปดาห์ก่อน
2.7 ปลาเป็ดและปลาป่น ราคาปลาเป็ดที่ชาวประมงขายได้เฉลี่ยกิโลกรัมละ 5.27 สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 5.04 บาท ของสัปดาห์ก่อน 0.23 บาท
สำหรับราคาขายส่งปลาป่นชนิดโปรตีนต่ำกว่า 60% (ระหว่างวันที่ 27 ก.พ. — 3 มี.ค. 2549) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 25.12 บาท สูงขึ้นจากกิโลกรัมละ 23.46 บาท ของสัปดาห์ก่อน 1.66 บาท
--ข่าวการผลิต การตลาด ผลิตผลการเกษตร ฉบับที่ 10 ประจำวันที่ 6-12 มีนาคม 2549--
-พห-