วันนี้ (4 เม.ย. 49) ที่พรรคประชาธิปัตย์ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ กล่าวว่าจากการที่ พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้ประกาศชัดเจนในคืนวานนี้ว่าพร้อมจะลาออกจากตำแหน่ง เพื่อให้เกิดความสมานฉันท์ในสังคม โดยหนึ่งในข้อเสนอนั้น คือให้ 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านลงสมัครรับเลือกตั้งในสมัยหน้า หลังจากที่คณะกรรมการฯ ได้หารือกันแล้วมีข้อสรุปว่าหาก พ.ต.ท. ทักษิณลาออกจากตำแหน่ง และ ภายหลังจากนั้นมีการปฏิรูปการเมือง ทั้ง 3 พรรคก็พร้อมลงสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากมีเป้าหมายให้เกิดความสงบสุขในบ้านเมืองอยู่แล้ว แต่ทั้ง 3 พรรคเพียงขอให้นายกรัฐมนตรีรักษาคำพูดที่ได้ให้ไว้
นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ยังตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่างๆในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ประการแรก การที่ประชาชนลงคะแนนช่องไม่ออกเสียงถึง 10 ล้านคนสะท้อนให้เห็นว่าการบอยคอตการเลือกตั้งไม่ได้เกิดขึ้นในหมู่ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง 3 พรรคหรือในกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างไปถึงประชาชนทั่วไปจำนวนมาก
ประการที่สอง การรักษากติกาการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในการปฏิบัติของ กกต. ที่ประชุม 3 พรรค เห็นร่วมกันว่า ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้เกิดความสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เคยเสนอ กกต. ถึงมาตราการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบไปแล้ว แต่ไม่ได้รับเสียงตอบสนองแต่อย่างใด
“ทางพรรคเห็นว่ากฎระเบียบที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการเอื้อประโยชน์เชิงบูรณาการซึ่งเป็นขบวนการที่เป็นลำดับอันจะนำไปสู่เป้าหมายที่อาจจะทำให้เกิดการทุจริตการเลือกตั้งได้ง่าย” นายจุรินทร์กล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการพรรคร่วมฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งว่า การใช้ตรายางในการลงคะแนน ควรยกเลิกและเปลี่ยนมาปากกากากบาทเพียงอย่างเดียว เนื่องจากตรายางนำไปสู่การทุจริตได้ง่ายและไม่สามารถช่วยลดบัตรเสียได้
“ถ้าต้องการลดบัตรเสีย กกต.ควรที่จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจวิธีกากบาทอย่างจริงจังมากกว่า” นายจุรินทร์ชี้แจง
ส่วนเรื่องการตั้งคูหาที่ให้ผู้ลงคะแนนหันหลังให้กับคณะกรรมการ ที่ประชุมพรรคร่วมฯ ได้เคยท้วงติงแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจ จนวันนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ถือว่าเป็นการทำลายเสรีภาพในการตัดสินใจในทางลับซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และข้อสังเกตประการที่สาม คือคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้ติดรูปและหมายเลขผู้สมัครไว้ที่ผนังหน้าคูหาลงคะแนนเพื่อการอำนวยความสะดวก กรณีนี้คล้ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองบางพรรคที่ส่งผู้สมัครเพียงคนเดียวและพรรคเดียวใน 200 กว่าเขตเลือกตั้ง
และอีกประการหนึ่งคือเรื่องช่องผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆช่องนี้จะอยู่ด้านบนสุดของบัตรเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ (2 เม.ย.) ช่องดังกล่าวได้ถูกนำมาไว้ล่างสุดและไม่ปรากฎชัดเจนเหมือนช่องกาหมายเลขผู้สมัคร ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ จึงอยากขอให้ กกต. ไปทบทวนอีกครั้งหนึ่งและขอให้ กกต. คุ้มครองสิทธิของผู้ไปเลือกตั้งมากกว่าไปคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้สมัครบางพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 เม.ย. 2549--จบ--
นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ยังตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับปรากฎการณ์ต่างๆในการเลือกตั้งครั้งนี้ คือ ประการแรก การที่ประชาชนลงคะแนนช่องไม่ออกเสียงถึง 10 ล้านคนสะท้อนให้เห็นว่าการบอยคอตการเลือกตั้งไม่ได้เกิดขึ้นในหมู่ผู้สนับสนุนพรรคการเมือง 3 พรรคหรือในกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเท่านั้น แต่ขยายวงกว้างไปถึงประชาชนทั่วไปจำนวนมาก
ประการที่สอง การรักษากติกาการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในการปฏิบัติของ กกต. ที่ประชุม 3 พรรค เห็นร่วมกันว่า ต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงกติกาการเลือกตั้งเพื่อให้เกิดความยุติธรรมแก่ทุกฝ่าย และให้เกิดความสุจริตเที่ยงธรรมมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ 3 พรรคร่วมฝ่ายค้านได้เคยเสนอ กกต. ถึงมาตราการปรับปรุงแก้ไขกฎระเบียบไปแล้ว แต่ไม่ได้รับเสียงตอบสนองแต่อย่างใด
“ทางพรรคเห็นว่ากฎระเบียบที่มีอยู่ในปัจจุบันเป็นการเอื้อประโยชน์เชิงบูรณาการซึ่งเป็นขบวนการที่เป็นลำดับอันจะนำไปสู่เป้าหมายที่อาจจะทำให้เกิดการทุจริตการเลือกตั้งได้ง่าย” นายจุรินทร์กล่าว
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการพรรคร่วมฯ ยังได้ตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการทุจริตการเลือกตั้งว่า การใช้ตรายางในการลงคะแนน ควรยกเลิกและเปลี่ยนมาปากกากากบาทเพียงอย่างเดียว เนื่องจากตรายางนำไปสู่การทุจริตได้ง่ายและไม่สามารถช่วยลดบัตรเสียได้
“ถ้าต้องการลดบัตรเสีย กกต.ควรที่จะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจวิธีกากบาทอย่างจริงจังมากกว่า” นายจุรินทร์ชี้แจง
ส่วนเรื่องการตั้งคูหาที่ให้ผู้ลงคะแนนหันหลังให้กับคณะกรรมการ ที่ประชุมพรรคร่วมฯ ได้เคยท้วงติงแล้ว แต่ไม่ได้รับความสนใจ จนวันนี้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างมาก ถือว่าเป็นการทำลายเสรีภาพในการตัดสินใจในทางลับซึ่งรับรองโดยรัฐธรรมนูญ และข้อสังเกตประการที่สาม คือคณะกรรมการการเลือกตั้งได้กำหนดให้ติดรูปและหมายเลขผู้สมัครไว้ที่ผนังหน้าคูหาลงคะแนนเพื่อการอำนวยความสะดวก กรณีนี้คล้ายเป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับพรรคการเมืองบางพรรคที่ส่งผู้สมัครเพียงคนเดียวและพรรคเดียวใน 200 กว่าเขตเลือกตั้ง
และอีกประการหนึ่งคือเรื่องช่องผู้ไม่ประสงค์ลงคะแนน ในการเลือกตั้งครั้งก่อนๆช่องนี้จะอยู่ด้านบนสุดของบัตรเลือกตั้ง แต่ในการเลือกตั้งครั้งนี้ (2 เม.ย.) ช่องดังกล่าวได้ถูกนำมาไว้ล่างสุดและไม่ปรากฎชัดเจนเหมือนช่องกาหมายเลขผู้สมัคร ทำให้เกิดความเข้าใจว่าเป็นเรื่องไม่ปกติ จึงอยากขอให้ กกต. ไปทบทวนอีกครั้งหนึ่งและขอให้ กกต. คุ้มครองสิทธิของผู้ไปเลือกตั้งมากกว่าไปคุ้มครองประโยชน์ให้ผู้สมัครบางพรรค
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 4 เม.ย. 2549--จบ--