แท็ก
กรมการค้าต่างประเทศ
นายราเชนทร์ พจนสุนทร อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมการค้าต่างประเทศ (คต.) กำหนดจัดงานรวมพลคนข้าวหอมมะลิไทย โดยเชิญผู้ที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โรงสี ห้างสรรพสินค้า ภัตตาคาร ผู้ส่งออก และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องให้มาพบปะหาช่องทางในการนำข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตสู่ผู้บริโภคภายใต้ชื่องาน “ข้าวหอมมะลิไทยของแท้จากแหล่งผลิต” (Value of the Origin THAI HOM MALI RICE) ในวันพุธที่ 10 พฤษภาคม 2549 ตั้งแต่เวลา 13.00 - 16.00 น. ณ ห้องประชุม 30410 ชั้น 4 กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ จังหวัดนนทบุรี
การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินนโยบาย เชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทยเพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premium) โดยในปี 2548 ได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด กำกับดูแลคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงส่งออกให้ได้มาตรฐานสูงสุด โดยทำการคัดเลือกและรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่มีมาตร-ฐานตามที่กำหนดและยังสนับสนุนให้จังหวัดสร้างตราข้าวหอมมะลิจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้คุณค่าที่แตกต่างของจังหวัดตนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่แตกต่างของข้าวหอมมะลิไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 14 ล้านคนที่เดินทางมาประเทศไทย ให้ได้รับรู้และลิ้มลองข้าวหอมมะลิไทยเกิดความประทับใจกลับไปบอกต่อ บริโภคและหาซื้อในภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศ
สำหรับกิจกรรมและแผนการประชาสัมพันธ์ในปี 2549 เป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา โดยปีนี้กรมฯ จะจัดแคมเปญส่งข้าวหอมมะลิไทยเจาะตรงถึงกลุ่มผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมในต่างประเทศ ได้แก่ ส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต / ห้างสรรพสินค้าในประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น ผลักดันให้ภัตตาคาร / ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เสริฟข้าวหอมมะลิไทย และร่วมกิจกรรมครัวไทยสู่ครัวโลกในตลาดต่างประเทศ ส่วนกิจกรรมในประเทศ ได้แก่ การส่งเสริมการขายร่วมกับผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีก เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเห็น ความพิเศษของข้าวหอมมะลิไทย ตลอดจนเน้นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับแนวทางการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิไทยของแท้ ขอความร่วมมือจากภัตตาคาร / ร้านอาหาร ให้ใช้ข้าวหอมมะลิเสริฟกับอาหารเมนูหลัก โดยประสานให้ซื้อข้าวหอมมะลิจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองแล้ว และร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดบูธให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ลิ้มลองรสชาดข้าวหอมมะลิไทยในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น งานลอยกระทง เป็นต้น
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดผู้ผลิตข้าวหอมมะลิที่เป็นแหล่งผลิตโดยตรง ได้แก่ โรงสีที่ได้รับการรับรองจากจังหวัดว่าผลิตข้าวหอมมะลิ จำนวน 40 โรงสี ใน 4 จังหวัด คือ สุรินทร์ , บุรีรัมย์ , ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มผู้ขายข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ผู้ส่งออกข้าวไปต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มภัตตาคารชั้นนำของประเทศซึ่งขาย และเสริฟข้าวหอมมะลิ เปิดโอกาสให้ทั้ง 3 กลุ่มได้รู้จักพบปะกันโดยตรง เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตผ่านภัตตาคารสู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในงานยังมีการจัดแสดงบูธสินค้าข้าวหอมมะลิจากจังหวัดต่าง ๆ ด้วย
“ กรมฯ คาดหวังว่า ข้าวหอมมะลิไทยจะเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ และเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสบริโภคข้าวหอมมะลิแท้ ๆ อีกช่องทางหนึ่ง ” นายราเชนทร์ กล่าวในที่สุด
อนึ่ง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึง 2 พฤษภาคม 2549 ประเทศไทยส่งออกข้าวแล้วจำนวนทั้งสิ้น 2.413 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 30,328 ล้านบาท หรือ 768 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับราคาส่งออกเฉลี่ยยังคงอยู่ที่ตันละ 318 เหรียญสหรัฐฯ ยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยตันละ 305 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2548 ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกข้าวหอมมะลิจำนวน 0.887 ล้านตัน มูลค่า 12,762 ล้านบาท หรือ 327 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36.7 และ 42.5 ตามลำดับ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในระยะนี้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อการส่งออกบ้างแต่เป็นเพียงระยะสั้น เชื่อว่าในระยะยาวไทยจะสามารถส่งออกได้ตามปริมาณเป้าหมาย 7.5 ล้านตัน ในปี 2549
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-
การจัดงานครั้งนี้สืบเนื่องจากการที่กรมการค้าต่างประเทศได้ดำเนินนโยบาย เชิงรุกในการจัดทำโครงการสร้างตราข้าวหอมมะลิไทยเพื่อผลักดันและยกระดับข้าวหอมมะลิไทยให้เป็นสินค้าชั้นเลิศ (Premium) โดยในปี 2548 ได้ร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัดแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิไทยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด กำกับดูแลคุณภาพข้าวหอมมะลิไทยตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตจนถึงส่งออกให้ได้มาตรฐานสูงสุด โดยทำการคัดเลือกและรับรองโรงสีที่ผลิตข้าวหอมมะลิที่มีมาตร-ฐานตามที่กำหนดและยังสนับสนุนให้จังหวัดสร้างตราข้าวหอมมะลิจังหวัดขึ้น โดยบ่งชี้คุณค่าที่แตกต่างของจังหวัดตนเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือเป็นพันธมิตรกับ 10 องค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันเผยแพร่ภาพลักษณ์ที่แตกต่างของข้าวหอมมะลิไทย ไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า 14 ล้านคนที่เดินทางมาประเทศไทย ให้ได้รับรู้และลิ้มลองข้าวหอมมะลิไทยเกิดความประทับใจกลับไปบอกต่อ บริโภคและหาซื้อในภัตตาคาร ร้านค้า และห้างสรรพสินค้าที่จำหน่ายข้าวหอมมะลิไทยในต่างประเทศ
สำหรับกิจกรรมและแผนการประชาสัมพันธ์ในปี 2549 เป็นการต่อยอดจากปีที่ผ่านมา โดยปีนี้กรมฯ จะจัดแคมเปญส่งข้าวหอมมะลิไทยเจาะตรงถึงกลุ่มผู้บริโภคในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งจะมีกิจกรรมทั้งในและต่างประเทศ กิจกรรมในต่างประเทศ ได้แก่ ส่งเสริมการขายร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ต / ห้างสรรพสินค้าในประเทศที่มีศักยภาพ ได้แก่ จีน ฮ่องกง สิงคโปร์ มาเลเซีย สหรัฐอเมริกา เกาหลี ไต้หวัน และญี่ปุ่น ผลักดันให้ภัตตาคาร / ร้านอาหารไทยในต่างประเทศ เสริฟข้าวหอมมะลิไทย และร่วมกิจกรรมครัวไทยสู่ครัวโลกในตลาดต่างประเทศ ส่วนกิจกรรมในประเทศ ได้แก่ การส่งเสริมการขายร่วมกับผู้ค้าส่ง/ผู้ค้าปลีก เพื่อจูงใจให้ผู้บริโภคเห็น ความพิเศษของข้าวหอมมะลิไทย ตลอดจนเน้นการให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคเกี่ยวกับแนวทางการเลือกซื้อข้าวหอมมะลิไทยของแท้ ขอความร่วมมือจากภัตตาคาร / ร้านอาหาร ให้ใช้ข้าวหอมมะลิเสริฟกับอาหารเมนูหลัก โดยประสานให้ซื้อข้าวหอมมะลิจากผู้ผลิตที่ได้รับการรับรองแล้ว และร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดบูธให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้ลิ้มลองรสชาดข้าวหอมมะลิไทยในเทศกาลสำคัญต่าง ๆ เช่น งานลอยกระทง เป็นต้น
นายราเชนทร์ ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวันที่ 10 พฤษภาคม 2549 ได้เชิญผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการข้าวหอมมะลิ ประกอบด้วย กลุ่มจังหวัดผู้ผลิตข้าวหอมมะลิที่เป็นแหล่งผลิตโดยตรง ได้แก่ โรงสีที่ได้รับการรับรองจากจังหวัดว่าผลิตข้าวหอมมะลิ จำนวน 40 โรงสี ใน 4 จังหวัด คือ สุรินทร์ , บุรีรัมย์ , ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มผู้ขายข้าวหอมมะลิ ได้แก่ ผู้ส่งออกข้าวไปต่างประเทศ ห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มภัตตาคารชั้นนำของประเทศซึ่งขาย และเสริฟข้าวหอมมะลิ เปิดโอกาสให้ทั้ง 3 กลุ่มได้รู้จักพบปะกันโดยตรง เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายข้าวหอมมะลิแท้จากแหล่งผลิตผ่านภัตตาคารสู่ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ในงานยังมีการจัดแสดงบูธสินค้าข้าวหอมมะลิจากจังหวัดต่าง ๆ ด้วย
“ กรมฯ คาดหวังว่า ข้าวหอมมะลิไทยจะเป็นที่รู้จักและยอมรับอย่างแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ และเป็นช่องทางให้ผู้บริโภคได้มีโอกาสบริโภคข้าวหอมมะลิแท้ ๆ อีกช่องทางหนึ่ง ” นายราเชนทร์ กล่าวในที่สุด
อนึ่ง ตั้งแต่เดือนมกราคมถึง 2 พฤษภาคม 2549 ประเทศไทยส่งออกข้าวแล้วจำนวนทั้งสิ้น 2.413 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่า 30,328 ล้านบาท หรือ 768 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สำหรับราคาส่งออกเฉลี่ยยังคงอยู่ที่ตันละ 318 เหรียญสหรัฐฯ ยังสูงกว่าราคาเฉลี่ยตันละ 305 เหรียญสหรัฐฯ ในช่วงเดียวกันของปี 2548 ในจำนวนนี้เป็นการส่งออกข้าวหอมมะลิจำนวน 0.887 ล้านตัน มูลค่า 12,762 ล้านบาท หรือ 327 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 36.7 และ 42.5 ตามลำดับ ทั้งนี้ถึงแม้ว่าค่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้นในระยะนี้ ซึ่งก็อาจจะส่งผลต่อการส่งออกบ้างแต่เป็นเพียงระยะสั้น เชื่อว่าในระยะยาวไทยจะสามารถส่งออกได้ตามปริมาณเป้าหมาย 7.5 ล้านตัน ในปี 2549
--กรมการค้าต่างประเทศ--
-สส-