วันนี้ (22 ต.ค. 49) นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ ให้สัมภาษณ์ ณ ที่ทำการพรรค ถึงโอกาสที่ได้เดินทางไปประเทศญี่ปุ่น และมีโอกาสพบปะพูดคุยกับนักการเมืองชั้นนำ อาทิ นายโยชิโร โมริ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น รวมถึงผู้สมัครแถวหน้าชิงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนล่าสุด และนักการเมืองอีกหลายท่าน ว่า การทำรัฐประหารในเมืองไทยที่ผ่านมา เป็นที่สนใจของนักการเมือง และนักธุรกิจในประเทศญี่ปุ่น และสร้างความตกใจในระยะแรกพอสมควร แต่หลังจากที่ได้มีระยะเวลาผ่านพ้นไปพอสมควร รวมทั้งนักการเมือง และนักธุรกิจของญี่ปุ่นได้รับทราบข้อเท็จจริงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในเมืองไทยแล้ว ก็เข้าใจการเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่เกิดขึ้น และเข้าใจถึงปัญหาและเหตุผลต่าง ๆ ของสิ่งที่เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศไทย
นอกจากนั้นในส่วนของความเห็นจากนักการเมือง และนักลงทุนของญี่ปุ่น นายองอาจเล่าว่า กลุ่มนี้พร้อมให้ความร่วมมือและให้คงสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศไทยไว้เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ประเทศรวมทั้งการลงทุนต่าง ๆ นั้น ในประเทศไทยคงไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง การประกอบธุรกิจ การลงทุนต่าง ๆ ก็ยังเดินหน้าไปตามปกติ
จากประเด็นที่มีการพูดถึงกันมาก กรณีการให้สัมภาษณ์ของนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการขยายเวลาที่จะอยู่ในอำนาจของรัฐบาลจาก 1 ปี เป็น 1 ปี 5 เดือน นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นว่า การให้สัมภาษณ์ในกรณีนี้อาจจะเป็นเจตนาดีของนายธีรภัทร์ ที่ต้องการชี้ให้คณะรัฐมนตรี และสังคม ให้รับรู้ถึงระยะเวลาที่รัฐบาลจะอยู่ในอำนาจ ซึ่งจะต้องเพิ่มจาก 1 ปี เป็น 1 ปี 5 เดือน แต่ในความเป็นจริงนั้น นายองอาจเห็นว่า ถึงแม้กรอบระยะเวลาที่รัฐบาลวางไว้สำหรับดำเนินการในการร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นเช่นนั้น แต่ประชาชนจะรู้สึกรับไม่ได้ที่จะได้ยินการขยายเวลาการอยู่ในอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร เพราะเหตุผลที่มารองรับการอยู่ยาวออกไปนั้นยังไม่เพียงพอที่จะให้สังคมเข้าใจได้
“ผมคิดว่ารัฐบาลต้องเข้าใจว่า ตนเองนั้น เป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงคำมั่นสัญญา โดยเฉพาะคำมั่นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการอยู่ในอำนาจ ซึ่งจะแตกต่างจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” นายองอาจ กล่าว
พร้อมกันนี้นายองอาจยังได้ชี้ว่าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการสื่อสารกรณีนี้อีก คนในรัฐบาลจะต้องคำนึง และสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารนั้น มีความอ่อนไหวในความรู้สึกของประชาชนมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐบาลชุดนี้ควรใช้เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี มากำหนดงานที่จะทำ ไม่ใช่เอางานมากำหนดระยะเวลาของการอยู่ในอำนาจ
จากช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามเสนอนโยบาย รวมถึงงานที่จะทำในช่วง 1 ปี โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า การนำเสนอของรัฐมนตรีบางท่านนั้น เป็นการเสนอนโยบายที่ยังไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารืออย่างรอบด้าน ทำให้นโยบายดี ๆ หลายเรื่องนั้น ต้องถูกท้วงติง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้น้ำหนักของนโยบายที่ดี ๆ เหล่านั้นไขว้เขวไป เช่น ความพยายามที่จะออกร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายการขายสุรากับผู้มีอายุไม่เกิน 25 ปี เป็นต้น หรือการพยายามที่จะจัดการกับหวยบนดินบนรูปแบบต่าง ๆ
“ผมเข้าใจว่านโยบาย หรือความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ ของรัฐมนตรี หรือคนในรัฐบาลนั้นเป็นเจตนาดี แต่สิ่งที่อยากจะฝากไว้ก็คือว่า เจตนาดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรทำด้วยความรอบคอบ และควรสร้างการตกผลึกทางความคิดกันภายในรัฐบาล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวง ก่อนนำมาเสนอสู่สาธารณะ และสิ่งที่นำเสนอต่าง ๆ นั้น จะต้องคำนึงว่าสามารถปฏิบัติได้จริงมากกว่าเพียงได้ชื่อว่าออกกฎหมายมาบังคับใช้ แต่ไม่สามารถบังคับได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งก็จะไม่เกิดผลต่อการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างแท้จริง” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
จากมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม และปรับปรุงทางด้านการศึกษานั้น นายองอาจแสดงความเห็นเอาไว้ว่า ตนเห็นด้วยกับการผ่อนผันการห้ามชุมนุม เพราะเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับความเป็นจริงกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สิ่งที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อออกพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคปค. ฉบับที่ 7 แต่ยังมีประกาศคปค. ฉบับที่ 15 และ 27 ยังคงอยู่ ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่ระบุว่าห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการใด ๆ ในทางการเมืองจนกว่า ครม.จะมีมติเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นในเมื่อ คปค. ผ่อนผันฉบับที่ 7 แล้ว นายองอาจเห็นว่าเมื่อครม.จะออกพรบ.แก้ไขประกาศฉบับที่ 7 ก็ควรพิจารณา ประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และ 27 ด้วย
สำหรับกรณีชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายองอาจ กล่าวว่า จากช่วงที่ผ่านมาเราเห็นการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงแม้ว่าตัวบุคคลที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นผู้ชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะไม่ได้ออกมาแสดงตนที่ต้องการเป็นหรือรับตำแหน่งนี้ก็ตาม แต่ภาพที่ออกมานั้น ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นภาพที่ไม่สวยงามของสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ที่มีภาพการแย่งกันเป็นประธานออกมาจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเฉพาะสภานิติบัญญัติชุดนี้ต้องยอมรับความจริงว่าเป็นสภาแต่งตั้งที่มาจากการทำรัฐประหาร ซึ่งแตกต่างจากสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
“ขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่าน ที่จะต้องมีส่วนในการลงมติเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น พิจารณาเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยวิจารณญาณของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่ต้องไปฟังเสียงคำชี้แนะ ชี้นำ จากใครทั้งสิ้น อยากจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่าน ตระหนักสำนึกในพระราชดำรัสเนื่องในงานรัฐพิธีเปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ตระหนักถึงความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ และการปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังด้วยความซื่อสัตย์ สุขุม รอบคอบ และมีเหตุผล”
พร้อมกันนี้นายองอาจยังฝากเพิ่มเติมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ไม่ควรลืมความคาดหวังของพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่แสดงจุดยืน แสดงการต่อสู้ตามระบอบสันติวิธีในการล้มล้างระบอบทักษิณให้ออกไปจากสังคมไทย ด้วยความเหนื่อยยาก ตลอดระยะเวลาเป็นปีที่ผ่านมานั้น อยากจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติคำนึกถึงสิ่งเหล่านี้ด้วยในการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะถึงนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ต.ค. 2549--จบ--
นอกจากนั้นในส่วนของความเห็นจากนักการเมือง และนักลงทุนของญี่ปุ่น นายองอาจเล่าว่า กลุ่มนี้พร้อมให้ความร่วมมือและให้คงสัมพันธไมตรีอันดีกับประเทศไทยไว้เหมือนกับในอดีตที่ผ่านมา พร้อมทั้งเชื่อมั่นว่าการติดต่อสัมพันธ์กันระหว่าง 2 ประเทศรวมทั้งการลงทุนต่าง ๆ นั้น ในประเทศไทยคงไม่น่าจะมีอะไรเปลี่ยนแปลง การประกอบธุรกิจ การลงทุนต่าง ๆ ก็ยังเดินหน้าไปตามปกติ
จากประเด็นที่มีการพูดถึงกันมาก กรณีการให้สัมภาษณ์ของนายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในเรื่องการขยายเวลาที่จะอยู่ในอำนาจของรัฐบาลจาก 1 ปี เป็น 1 ปี 5 เดือน นั้น โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ แสดงความเห็นว่า การให้สัมภาษณ์ในกรณีนี้อาจจะเป็นเจตนาดีของนายธีรภัทร์ ที่ต้องการชี้ให้คณะรัฐมนตรี และสังคม ให้รับรู้ถึงระยะเวลาที่รัฐบาลจะอยู่ในอำนาจ ซึ่งจะต้องเพิ่มจาก 1 ปี เป็น 1 ปี 5 เดือน แต่ในความเป็นจริงนั้น นายองอาจเห็นว่า ถึงแม้กรอบระยะเวลาที่รัฐบาลวางไว้สำหรับดำเนินการในการร่างรัฐธรรมนูญ จะเป็นเช่นนั้น แต่ประชาชนจะรู้สึกรับไม่ได้ที่จะได้ยินการขยายเวลาการอยู่ในอำนาจของรัฐบาลที่มาจากการทำรัฐประหาร เพราะเหตุผลที่มารองรับการอยู่ยาวออกไปนั้นยังไม่เพียงพอที่จะให้สังคมเข้าใจได้
“ผมคิดว่ารัฐบาลต้องเข้าใจว่า ตนเองนั้น เป็นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้ง ไม่ใช่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะฉะนั้นรัฐบาลที่มาจากการแต่งตั้งนั้น จะต้องคำนึงถึงคำมั่นสัญญา โดยเฉพาะคำมั่นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับระยะเวลาในการอยู่ในอำนาจ ซึ่งจะแตกต่างจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง” นายองอาจ กล่าว
พร้อมกันนี้นายองอาจยังได้ชี้ว่าเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาที่เกี่ยวกับการสื่อสารกรณีนี้อีก คนในรัฐบาลจะต้องคำนึง และสำนึกอยู่ตลอดเวลาว่ารัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารนั้น มีความอ่อนไหวในความรู้สึกของประชาชนมากกว่ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และรัฐบาลชุดนี้ควรใช้เวลาที่กำหนดไว้ 1 ปี มากำหนดงานที่จะทำ ไม่ใช่เอางานมากำหนดระยะเวลาของการอยู่ในอำนาจ
จากช่วงที่ผ่านมารัฐบาลได้พยายามเสนอนโยบาย รวมถึงงานที่จะทำในช่วง 1 ปี โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ พบว่า การนำเสนอของรัฐมนตรีบางท่านนั้น เป็นการเสนอนโยบายที่ยังไม่ได้ผ่านการปรึกษาหารืออย่างรอบด้าน ทำให้นโยบายดี ๆ หลายเรื่องนั้น ต้องถูกท้วงติง ถูกวิพากษ์วิจารณ์ ทำให้น้ำหนักของนโยบายที่ดี ๆ เหล่านั้นไขว้เขวไป เช่น ความพยายามที่จะออกร่างกฎหมายเพื่อแก้ไขกฎหมายการขายสุรากับผู้มีอายุไม่เกิน 25 ปี เป็นต้น หรือการพยายามที่จะจัดการกับหวยบนดินบนรูปแบบต่าง ๆ
“ผมเข้าใจว่านโยบาย หรือความคิดเห็นต่าง ๆ เหล่านี้ ของรัฐมนตรี หรือคนในรัฐบาลนั้นเป็นเจตนาดี แต่สิ่งที่อยากจะฝากไว้ก็คือว่า เจตนาดีอย่างเดียวนั้นไม่เพียงพอ ควรทำด้วยความรอบคอบ และควรสร้างการตกผลึกทางความคิดกันภายในรัฐบาล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องหลายกระทรวง ก่อนนำมาเสนอสู่สาธารณะ และสิ่งที่นำเสนอต่าง ๆ นั้น จะต้องคำนึงว่าสามารถปฏิบัติได้จริงมากกว่าเพียงได้ชื่อว่าออกกฎหมายมาบังคับใช้ แต่ไม่สามารถบังคับได้จริงในทางปฏิบัติ ซึ่งก็จะไม่เกิดผลต่อการแก้ไขปัญหานั้นๆ อย่างแท้จริง” โฆษกพรรคประชาธิปัตย์ กล่าว
จากมติคณะรัฐมนตรีแก้ไขประกาศคณะปฏิรูปการปกครอง ฉบับที่ 7 ที่ห้ามชุมนุมทางการเมืองเกิน 5 คน เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นเสนอแนะเกี่ยวกับการร่างรัฐธรรมนูญ การปรับปรุงกระบวนการยุติธรรม และปรับปรุงทางด้านการศึกษานั้น นายองอาจแสดงความเห็นเอาไว้ว่า ตนเห็นด้วยกับการผ่อนผันการห้ามชุมนุม เพราะเป็นเรื่องที่สอดคล้องกับความเป็นจริงกับสถานการณ์ปัจจุบัน แต่สิ่งที่ยังไม่มีความชัดเจนว่าเมื่อออกพระราชบัญญัติแก้ไขประกาศคปค. ฉบับที่ 7 แต่ยังมีประกาศคปค. ฉบับที่ 15 และ 27 ยังคงอยู่ ซึ่งประกาศทั้ง 2 ฉบับนี้ มีเนื้อหาสาระที่ระบุว่าห้ามพรรคการเมืองประชุมหรือดำเนินกิจการใด ๆ ในทางการเมืองจนกว่า ครม.จะมีมติเป็นอย่างอื่น เพราะฉะนั้นในเมื่อ คปค. ผ่อนผันฉบับที่ 7 แล้ว นายองอาจเห็นว่าเมื่อครม.จะออกพรบ.แก้ไขประกาศฉบับที่ 7 ก็ควรพิจารณา ประกาศ คปค. ฉบับที่ 15 และ 27 ด้วย
สำหรับกรณีชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) นายองอาจ กล่าวว่า จากช่วงที่ผ่านมาเราเห็นการแย่งชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ถึงแม้ว่าตัวบุคคลที่ถูกคาดการณ์ว่าจะเป็นผู้ชิงตำแหน่งประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติจะไม่ได้ออกมาแสดงตนที่ต้องการเป็นหรือรับตำแหน่งนี้ก็ตาม แต่ภาพที่ออกมานั้น ต้องพูดอย่างตรงไปตรงมาว่าเป็นภาพที่ไม่สวยงามของสภานิติบัญญัติแห่งชาติชุดนี้ตั้งแต่เริ่มต้น ที่มีภาพการแย่งกันเป็นประธานออกมาจากผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ โดยเฉพาะสภานิติบัญญัติชุดนี้ต้องยอมรับความจริงว่าเป็นสภาแต่งตั้งที่มาจากการทำรัฐประหาร ซึ่งแตกต่างจากสภาที่มาจากการเลือกตั้ง
“ขอให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่าน ที่จะต้องมีส่วนในการลงมติเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น พิจารณาเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติด้วยวิจารณญาณของตนเองเป็นที่ตั้ง โดยไม่ต้องไปฟังเสียงคำชี้แนะ ชี้นำ จากใครทั้งสิ้น อยากจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติทุกท่าน ตระหนักสำนึกในพระราชดำรัสเนื่องในงานรัฐพิธีเปิดสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาที่ให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาตินั้น ตระหนักถึงความรับผิดชอบอันยิ่งใหญ่ และการปฏิบัติหน้าที่เต็มกำลังด้วยความซื่อสัตย์ สุขุม รอบคอบ และมีเหตุผล”
พร้อมกันนี้นายองอาจยังฝากเพิ่มเติมถึงสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติว่า ไม่ควรลืมความคาดหวังของพี่น้องประชาชนจำนวนมากที่แสดงจุดยืน แสดงการต่อสู้ตามระบอบสันติวิธีในการล้มล้างระบอบทักษิณให้ออกไปจากสังคมไทย ด้วยความเหนื่อยยาก ตลอดระยะเวลาเป็นปีที่ผ่านมานั้น อยากจะให้สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติคำนึกถึงสิ่งเหล่านี้ด้วยในการเลือกประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติที่จะถึงนี้
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 22 ต.ค. 2549--จบ--