วันนี้ (7 ธ.ค.48) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านและหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวผ่านรายการวิทยุรัฐสภา ในช่วง “ผู้นำฝ่ายค้านคุยกับประชาชน”ว่าในสัปดาห์ที่ผ่านมาถือว่าเป็นช่วงระยะเวลามงคลยิ่งกับชาวไทยทุกคน เนื่องในวโรกาสวันเฉลิมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งในสัปดาห์ที่ผ่านมาก็มีการจัดกิจกรรมหลายอย่างที่ประชาชนจัดขึ้นเพื่อเป็นการถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเฉพาะวันที่ 4 ธ.ค. 48 ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำรัสพระราชทานแก่ชาวไทยทั้งประเทศนั้น ซึ่งถือว่าเป็นพระราชดำรัสที่ทำให้สถานการณ์บ้านเมืองเป็นไปในทางที่ดี ลดความตึงเครียดและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ ให้คลี่คลายไปในทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งนับเป็นพระมหากรุณาอันล้นพ้น
ตนก็ต้องแสดงความชื่นชมหลายฝ่ายที่ดำเนินการสนองแนวพระราชดำรัส และแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานให้ในวันที่ 4 ธ.ค. 48 ที่ผ่านมา ในทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่นายกฯได้ตัดสินใจที่จะถอนฟ้องและยุติการดำเนินคดีต่างในกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านก็มีความหวังว่านายกฯจะดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับคดีความต่างๆที่เป็นคดีความระหว่างบุคคล หรือสื่อสารมวลชน ที่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
เพราะการมีการยุติการดำเนินคดีในกรณีต่างๆเหล่านั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก และเป็นการสนองพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการที่นายกฯตัดสินใจเช่นนี้ก็เชื่อว่าจะคลี่คลายบรรยากาศทางการเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในแง่ของแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานยังมีหลายเรื่อง ซึ่งตนเห็นว่ามีหลายหน่วยงานที่มีความกระตือรือร้นมาก ในการที่จะนำไปดำเนินการ เช่นเรื่องของพลังทดแทน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ในเรื่องการใช้พลังงาน หรือ เชื้อเพลิง ในอนาคตนั้น ซึ่งเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริมานาน แต่การดำเนินการในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องไบโอ ดีเซล หรือเชื้อเพลิงทดแทนอื่นนั้น ต้องทำงานหนักอีกมาเพื่อให้พลังงานเหล่านั้นเกิดขึ้น ในประเทศไทย เพื่อลดการพึ่งพิงต่างประเทศน้อยลง
และอีกเรื่องคือแนวพระราชดำริในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เพียงในแง่ของการโครงการ แต่ควรจะเป็นปรัชญา ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ในส่วนนี้พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะได้นำมาหารือกัน โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น หลังปิดสมัยประชุมสภาในสัปดาห์หน้า พรรคประชาธิปัตย์จะได้มีการจัดสัมมนา ส.ส.ขึ้นที่ จังหวัดอุดรธานี ในช่วงวันที่ 16- 17 ธันวาคม 2548 ซึ่งมติจากการที่ประชุมพรรค ส.ส.เมื่อวานนี้(6ธ.ค.48) ว่าการประชุมใน 2 วันนี้จะเป็นเรื่องของการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณา เพื่อจัดทำเป็นนโยบาย หรือโครงการ ทั้งในแง่นโยบายที่เตรียมไว้เมื่อพรรคได้เป็นผู้บริหาร และ แง่ของนโยบายที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลในปัจจุบัน รวมทั้งโครงการที่พรรคการเมืองสามารถดำเนินการไปได้แม้ว่ามีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน
หลังจากจัดรายการนี้แล้ว จะมีการประชุมร่วมของรัฐสภา ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการประชุมร่วม สืบเนืองมากจากพรรคได้เสนอญัตติ ในเรื่องปัญหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่เคยรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของนางรัตนา สัจจเทพ ซึ่งประธานรัฐสภาได้บรรจุรายงานเป็นวาระเพื่อทราบ แต่โดยกฎหมายของสิทธิมนุษยชน และกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น การรายงานเช่นนั้น นอกเหนือจากเป็นการรายงานให้รับทราบว่ามีการละเมิดสิทธิฯ และทางคณะกรรมการสิทธิ์ ได้มีการรายงานไปยังผู้เกี่ยวข้องซึ่งกรณีนี้คือ กรุงเทพฯ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 (นายสมัคร สุนทรเวช) และหลังจากนั้นก็มีการรายงานไปยังนายกฯ ในปี พ.ศ. 2546 เช่นกัน แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับการตอบสนอง คือไม่ได้รับการแก้ไข ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเสนอ จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการรายงานเรื่องนี้มาที่สภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องดำเนินการเรื่องนี้ไม่ว่าทางหนึ่งทางใด เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วที่สุด ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยมาให้ความสำคัญประเด็นและวาระของการประชุมสภามากขึ้นด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเรื่องผู้ว่าสตง. ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค้างมานานมากแล้ว ทั้งที่ สตง.คตง. ถือว่าเป็นกลไลที่มีความสำคัญมาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านประสานไปยังสมาชิกวุฒิสภา ว่าหากมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการประชุมร่วมรัฐสภา และต้องการให้วุฒิสภาหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาได้ในสมัยประชุมนิติบัญญัติ ทางพรรคฝ่ายค้านมีความพร้อมและยินดีที่จะสนับสนุนเพื่อหาทางออกให้กับปัญหา
ส่วนเรื่องร่างพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในส่วนของพรรประชาธิปัตย์จะเสนอทางออกอีกทางหนึ่ง เพราะกรรมาธิการของพรรคได้ขอแปรญัตติเอาไว้ ประเด็นคือแทนที่จะเขียนขอบเขตกว้างเรื่องความสมัครใจ พรรคได้เสนอว่าการถ่ายโอนการศึกษา น่าจะใช้หลักสำคัญ 2 หลัก ประการที่ 1. ควรอิงกฏหมายการศึกษแห่งชาติ หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากจะมีการจัดการศึกษา จะต้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินของทางกระทรวง เพื่อเป็นความมั่นใจในแง่คุณภาพการศึกษา และที่สำคัญต้องเขียนให้ชัดเจนว่าในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปจัดการเรื่องการศึกษา การจัดสรรงบในการสนับสนุนด้านการศึกษาต้องเท่าเทียมกันทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ประการที่ 2.ในแง่ของบุคคลากรด้านการศึกษา ควรหยิบยกกฎหมายกลางในเรื่องบุคคลากรทางการศึกษา คือระเบียบบริหารรชการครูมาใช้โดยอนุโลม และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครู หลังการถ่ายโอนแล้วต้องไม่ลดน้อยลงกว่าเดิม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ธ.ค. 2548--จบ--
ตนก็ต้องแสดงความชื่นชมหลายฝ่ายที่ดำเนินการสนองแนวพระราชดำรัส และแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานให้ในวันที่ 4 ธ.ค. 48 ที่ผ่านมา ในทางการเมืองถือเป็นเรื่องที่น่าดีใจ ที่นายกฯได้ตัดสินใจที่จะถอนฟ้องและยุติการดำเนินคดีต่างในกรณีของนายสนธิ ลิ้มทองกุล ซึ่งพรรคฝ่ายค้านก็มีความหวังว่านายกฯจะดำเนินการในลักษณะเดียวกันกับคดีความต่างๆที่เป็นคดีความระหว่างบุคคล หรือสื่อสารมวลชน ที่ทำหน้าที่วิพากษ์วิจารณ์ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม
เพราะการมีการยุติการดำเนินคดีในกรณีต่างๆเหล่านั้น ตนคิดว่าเป็นเรื่องที่เป็นประโยชน์มาก และเป็นการสนองพระราชดำรัสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการที่นายกฯตัดสินใจเช่นนี้ก็เชื่อว่าจะคลี่คลายบรรยากาศทางการเมืองให้เป็นไปในทิศทางที่ดีขึ้น ในแง่ของแนวพระราชดำริที่ได้พระราชทานยังมีหลายเรื่อง ซึ่งตนเห็นว่ามีหลายหน่วยงานที่มีความกระตือรือร้นมาก ในการที่จะนำไปดำเนินการ เช่นเรื่องของพลังทดแทน ซึ่งถือว่ามีความสำคัญมาก ในเรื่องการใช้พลังงาน หรือ เชื้อเพลิง ในอนาคตนั้น ซึ่งเรื่องนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวพระราชดำริมานาน แต่การดำเนินการในหลายเรื่องไม่ว่าจะเป็นเรื่องไบโอ ดีเซล หรือเชื้อเพลิงทดแทนอื่นนั้น ต้องทำงานหนักอีกมาเพื่อให้พลังงานเหล่านั้นเกิดขึ้น ในประเทศไทย เพื่อลดการพึ่งพิงต่างประเทศน้อยลง
และอีกเรื่องคือแนวพระราชดำริในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งตรงนี้ไม่ใช่เพียงในแง่ของการโครงการ แต่ควรจะเป็นปรัชญา ในการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ในส่วนนี้พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคร่วมฝ่ายค้าน จะได้นำมาหารือกัน โดยในส่วนของพรรคประชาธิปัตย์นั้น หลังปิดสมัยประชุมสภาในสัปดาห์หน้า พรรคประชาธิปัตย์จะได้มีการจัดสัมมนา ส.ส.ขึ้นที่ จังหวัดอุดรธานี ในช่วงวันที่ 16- 17 ธันวาคม 2548 ซึ่งมติจากการที่ประชุมพรรค ส.ส.เมื่อวานนี้(6ธ.ค.48) ว่าการประชุมใน 2 วันนี้จะเป็นเรื่องของการนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาพิจารณา เพื่อจัดทำเป็นนโยบาย หรือโครงการ ทั้งในแง่นโยบายที่เตรียมไว้เมื่อพรรคได้เป็นผู้บริหาร และ แง่ของนโยบายที่จะนำเสนอต่อรัฐบาลในปัจจุบัน รวมทั้งโครงการที่พรรคการเมืองสามารถดำเนินการไปได้แม้ว่ามีสถานะเป็นพรรคฝ่ายค้าน
หลังจากจัดรายการนี้แล้ว จะมีการประชุมร่วมของรัฐสภา ซึ่งสาเหตุที่ต้องมีการประชุมร่วม สืบเนืองมากจากพรรคได้เสนอญัตติ ในเรื่องปัญหาคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน ที่เคยรายงานต่อสภาผู้แทนราษฎร ว่ามีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน ในเรื่องของนางรัตนา สัจจเทพ ซึ่งประธานรัฐสภาได้บรรจุรายงานเป็นวาระเพื่อทราบ แต่โดยกฎหมายของสิทธิมนุษยชน และกฎหมายรัฐธรรมนูญนั้น การรายงานเช่นนั้น นอกเหนือจากเป็นการรายงานให้รับทราบว่ามีการละเมิดสิทธิฯ และทางคณะกรรมการสิทธิ์ ได้มีการรายงานไปยังผู้เกี่ยวข้องซึ่งกรณีนี้คือ กรุงเทพฯ ซึ่งเรื่องนี้เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2546 (นายสมัคร สุนทรเวช) และหลังจากนั้นก็มีการรายงานไปยังนายกฯ ในปี พ.ศ. 2546 เช่นกัน แต่ปรากฎว่าไม่ได้รับการตอบสนอง คือไม่ได้รับการแก้ไข ตามที่คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนเสนอ จึงเป็นเหตุให้ต้องมีการรายงานเรื่องนี้มาที่สภาผู้แทนราษฎร ดังนั้นสภาผู้แทนราษฎรจึงต้องดำเนินการเรื่องนี้ไม่ว่าทางหนึ่งทางใด เพื่อแก้ปัญหาในเรื่องดังกล่าวโดยเร็วที่สุด ดังนั้นจึงอยากเรียกร้องให้รัฐบาลแสดงความรับผิดชอบต่อรัฐสภา โดยมาให้ความสำคัญประเด็นและวาระของการประชุมสภามากขึ้นด้วย
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องสิทธิมนุษยชน หรือเรื่องผู้ว่าสตง. ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ค้างมานานมากแล้ว ทั้งที่ สตง.คตง. ถือว่าเป็นกลไลที่มีความสำคัญมาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ เพราะฉะนั้นสิ่งที่พรรคฝ่ายค้านประสานไปยังสมาชิกวุฒิสภา ว่าหากมีความจำเป็นที่จะต้องให้มีการประชุมร่วมรัฐสภา และต้องการให้วุฒิสภาหยิบเรื่องนี้ขึ้นมาได้ในสมัยประชุมนิติบัญญัติ ทางพรรคฝ่ายค้านมีความพร้อมและยินดีที่จะสนับสนุนเพื่อหาทางออกให้กับปัญหา
ส่วนเรื่องร่างพ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนั้น ในส่วนของพรรประชาธิปัตย์จะเสนอทางออกอีกทางหนึ่ง เพราะกรรมาธิการของพรรคได้ขอแปรญัตติเอาไว้ ประเด็นคือแทนที่จะเขียนขอบเขตกว้างเรื่องความสมัครใจ พรรคได้เสนอว่าการถ่ายโอนการศึกษา น่าจะใช้หลักสำคัญ 2 หลัก ประการที่ 1. ควรอิงกฏหมายการศึกษแห่งชาติ หมายความว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หากจะมีการจัดการศึกษา จะต้ององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ผ่านการประเมินของทางกระทรวง เพื่อเป็นความมั่นใจในแง่คุณภาพการศึกษา และที่สำคัญต้องเขียนให้ชัดเจนว่าในกรณีที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปจัดการเรื่องการศึกษา การจัดสรรงบในการสนับสนุนด้านการศึกษาต้องเท่าเทียมกันทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น
ประการที่ 2.ในแง่ของบุคคลากรด้านการศึกษา ควรหยิบยกกฎหมายกลางในเรื่องบุคคลากรทางการศึกษา คือระเบียบบริหารรชการครูมาใช้โดยอนุโลม และสิทธิประโยชน์ของข้าราชการครู หลังการถ่ายโอนแล้วต้องไม่ลดน้อยลงกว่าเดิม
ทีมโฆษกพรรคประชาธิปัตย์ 7 ธ.ค. 2548--จบ--