ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลไตรมาส 3 ปีนี้ขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.51 ธปท. เปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมเพื่อ
ที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ปี 49 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
3.69 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2.89 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.35 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 11.51 โดยแบ่งเป็นสินเชื่อจาก
ธ.พาณิชย์ 6.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.21 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 3.38 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
7.41 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 12.32 สินเชื่อจาก ธ.ออมสิน 1.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ
1.27 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.39 สินเชื่อจาก ธ.อาคารสงเคราะห์ 5.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน 1.35 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2.68 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.96 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 13.04 สินเชื่อของ บง.
และ บงล. 965 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 245 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 20.25 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
4.37 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 81.94 และสินเชื่อของ บค. 135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 51 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.71
และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 43 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.74 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนจากต่างประเทศยังไหลเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
ข้อเท็จจริงเรื่องการลงทุนชัดเจนว่ามีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยมีเงินไหลเข้านับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น เงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก หากไม่เชื่อมั่นก็คงไม่นำเงินเข้ามาในไทย ส่วนการลงทุนโดยตรง (FDI) ปีนี้สูงกว่าปีก่อน
และสูงกว่าช่วงต้นปี ซึ่งเรื่องการลงทุนได้พบกับนักลงทุนต่างประเทศหลังจากไทยประกาศว่าจะทำขนส่งมวลชนจาก 3 สาย เป็น 5 สาย และ
กำหนดเวลาชัดเจนว่าจะเริ่มประมูลได้ในเดือน มี.ค.50 ทำให้บรรยากาศทุกอย่างดีขึ้นมาก ทุกคนมีความเชื่อมั่น เงินลงทุนจากต่างประเทศจะ
เข้ามามากในโครงการรถไฟฟ้า เชื่อว่าระบบขนส่งมวลชนจะเป็นตัวช่วยให้ต่างชาติเชื่อว่ารัฐบาลนี้ทำเป็นทำได้เร็วและทำอย่างมีเป้าหมายที่
แน่ชัด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งตัวต่อเนื่องถึงสิ้นปีนี้ นักค้าเงิน ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า ในสิ้นปีนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะปรับตัวมาอยู่
ที่ระดับ 36.20 — 36.80 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยการปรับตัวดังกล่าวมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงรวมถึงการเลือกตั้ง
ของ สรอ. ที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยจาก ธ.กลาง สรอ. ที่หลายฝ่ายมองว่าไม่น่าจะมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ หรือหากมีการปรับขึ้นก็
อาจขึ้นอีกเพียงครั้งเดียว ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความไม่แน่ใจจึงต้องทำการโยกย้ายการลงทุนหรือขายพอร์ตการลงทุนที่มีอยู่เพื่อหาผลตอบที่ดีกว่า
โดยเล็งการลงทุนมาในยุโรปและเอเชียมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในต้นปีหน้าค่าเงินบาทจะมีโอกาสปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 36.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.
โดยปัจจัยที่ต้องจับตาดูในปีหน้าคือเศรษฐกิจของ สรอ. และค่าเงินหยวนของจีนว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร ประกอบกับการเมืองของไทยว่าจะ
มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติที่เข้าไม่ค่อยสนใจลงทุนในระยะยาวมากนัก ทั้งนี้ การที่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน
ผู้ว่าการ ธ.กลางจีนให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการปรับการถือครองเงินตราสกุลต่างประเทศในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน ทำให้มีการเทขาย
เงินดอลลาร์ สรอ. ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนคาดว่าเงินสกุลที่จะถูกปรับหรือถูกลดการถือครองเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.
(ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลัง ขายพันธบัตรออมทรัพย์ ปี งปม.50 อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้าน
เศรษฐกิจการคลัง รก.ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ก.คลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ปี งปม.50 ครั้งที่ 2
รุ่นอายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 ระหว่างวันที่ 15 — 24 พ.ย.49 ที่ ธ.กรุงเทพทุกสาขา ทั้งนี้ การกำหนด
อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว สบน. ได้คำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยในตลาดและสภาพคล่องของพันธบัตรในช่วงปีแรกที่อาจจะมีค่อนข้างน้อย แต่เชื่อว่า
อัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี จะสามารถจูงใจนักลงทุนได้เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการลงทุนทางเลือกอื่น อาทิ การฝากเงินกับ
ธ.พาณิชย์ หรือการลงทุนในกองทุนรวม (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 จะลดลงร้อยละ 0.4 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 พ.ย.49 ผลสำรวจ
โดยรอยเตอร์ พบว่า นักวิเคราะห์ 88 คนคาดการณ์ว่ายอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 จะลดลงร้อยละ 0.4 ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.4 เช่นเดียวกัน และหากไม่นับรวมยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน ก.ย.49
ที่ลดลงร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ ยอดขายปลีกของ สรอ.ที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือน ก.ย.เนื่องจากยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงอย่างมาก
โดยราคาน้ำมันที่ลดลงจากปีก่อนทำให้คาดว่าจะส่งผลกระทบถึงยอดขายปลีกในเดือน ต.ค.ด้วย อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ยังคาดว่า ราคาน้ำมัน
ที่ลดลงน่าจะทำให้ผู้บริโภคมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้มีการใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ ในช่วงฤดูกาลวันหยุดเทศกาลเพิ่มขึ้น อนึ่ง การใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.5 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย.49
The Cabinet Office เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.5 สูงกว่าไตรมาส
ก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.4 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 สาเหตุหลักจากการขยายตัว
ของการส่งออกและใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งสามารถชดเชยกับการชะลอตัวลงร้อยละ 0.7 ของการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีสัดส่วนเป็นร้อยละ
55 ของจีดีพี โดยการส่งออกที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าค่อยๆ ชะลอลง เป็นปัจจัยผลักดันการขยายตัวของจีดีพีถึงร้อยละ
0.4 ประกอบกับการลงทุนในสินค้าทุนซึ่งขยายตัวเกินความคาดหมายถึงร้อยละ 2.9 แม้จะต่ำกว่าการขยายตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ
3.5 ก็ตาม สำหรับเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีขยายตัวร้อยละ 2.0 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ การ
ขยายตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาส 3 ดังกล่าวเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ผลักดันให้เงินเยนและตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น และ
เป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ของ ธ.กลางญี่ปุ่นในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปในการประชุมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ สำหรับ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะมีขึ้นอีกครั้งในปีหน้า หลังจากที่มีการปรับเพิ่มไปแล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา
ที่ระดับร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 48.2 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 13 พ.ย.49
The Cabinet Office เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคญี่ปุ่น (ซึ่งรวมถึงมุมมองทางด้านรายได้และแรงงาน) ในเดือน
ต.ค.49 ว่า เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 48.2 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากระดับ 46.3 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวได้จากการ
สำรวจครอบครัวทั่วไป (หมายถึง ครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิก 2 คน หรือมากกว่า) 4,281 ครัวเรือน และครอบครัวเดี่ยว 1,433 ครอบครัว
อันแสดงถึงมุมมองสภาวะการครองชีพ รายได้ ภาวะแรงงาน และความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าคงทน โดยหากอยู่ระดับเหนือ 50 แสดงว่าผู้บริโภคมี
มุมมองด้านบวก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวเตือนให้ผู้ใช้ตัวเลขพิจารณาอย่งระมัดระวัง เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขเดือนต่อเดือน
เนื่องจากตัวเลขของเดือน มี.ค., มิย., ก.ย. และ ธ.ค. ของทุกปี ได้จากการสำรวจแบบเผชิญหน้า ขณะที่ตัวเลขในเดือนอื่นเป็นการสำรวจ
ทางโทรศัพท์ (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะปรับเพิ่มภาษีการขายจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 49
นาย Lee Hsien Loong นรม.สิงคโปร์เปิดเผยว่า จะจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ (goods and Services Tax — GST) เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 สร้างความประหลาดใจให้แก่นักเศรษฐศาสตร์หลายคน ทั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดเวลาว่าแผนการจัดเก็บ GST ใหม่ดังกล่าว
จะมีผลใช้บังคับเมื่อใด แต่เสริมว่าการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวจะถูกชดเชยไปกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือชนชั้นกลาง กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
และกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน และจะไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับคนเหล่านี้ ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยกับ
คนจน และขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัว โดยธ.กลางสิงคโปร์คาดว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.5 — 7.5 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 6.4 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปัญหาช่องว่างของรายได้ยังคง
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการสำรวจเมื่อปี 48 ชี้ว่าภาคครัวเรือนทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1.8
อยู่ที่ระดับ 5,400 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (3,435 ดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเห็นว่ารายได้ต่อเดือนของพวกเขาในช่วงเวลา
เดียวกันลดลงร้อยละ 4.3 อยู่ที่ระดับ 1,180 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 พ.ย. 49 13 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.512 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3299/36.6301 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.83/15.51 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,800/10,900 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.8 55.09 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.29/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. สินเชื่อที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลไตรมาส 3 ปีนี้ขยายตัวสูงกว่าช่วงเดียวกันปีก่อนร้อยละ 11.51 ธปท. เปิดเผยว่า เงินให้กู้ยืมเพื่อ
ที่อยู่อาศัยส่วนบุคคลของสถาบันการเงินล่าสุด ณ ไตรมาส 3 ปี 49 มียอดสินเชื่อคงค้างรวม 1.31 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า
3.69 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2.89 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.35 แสนล้านบาท หรือร้อยละ 11.51 โดยแบ่งเป็นสินเชื่อจาก
ธ.พาณิชย์ 6.75 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 2.21 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 3.38 และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
7.41 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 12.32 สินเชื่อจาก ธ.ออมสิน 1.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 1.5 พันล้านบาท หรือร้อยละ
1.27 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 6.7 พันล้านบาท หรือร้อยละ 5.39 สินเชื่อจาก ธ.อาคารสงเคราะห์ 5.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก
ไตรมาสก่อน 1.35 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 2.68 สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 5.96 หมื่นล้านบาท หรือร้อยละ 13.04 สินเชื่อของ บง.
และ บงล. 965 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสก่อน 245 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 20.25 และลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน
4.37 พันล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 81.94 และสินเชื่อของ บค. 135 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อน 51 ล้านบาท หรือร้อยละ 60.71
และเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 43 ล้านบาท หรือร้อยละ 46.74 (โพสต์ทูเดย์, กรุงเทพธุรกิจ)
2. เงินทุนจากต่างประเทศยังไหลเข้าไปลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รอง นรม. และ รมว.คลัง กล่าวว่า
ข้อเท็จจริงเรื่องการลงทุนชัดเจนว่ามีการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เพิ่มขึ้น โดยมีเงินไหลเข้านับตั้งแต่วันที่ 19 ก.ย.ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ดัชนี
ตลาดหลักทรัพย์ปรับเพิ่มขึ้น เงินทุนไหลเข้าจำนวนมาก หากไม่เชื่อมั่นก็คงไม่นำเงินเข้ามาในไทย ส่วนการลงทุนโดยตรง (FDI) ปีนี้สูงกว่าปีก่อน
และสูงกว่าช่วงต้นปี ซึ่งเรื่องการลงทุนได้พบกับนักลงทุนต่างประเทศหลังจากไทยประกาศว่าจะทำขนส่งมวลชนจาก 3 สาย เป็น 5 สาย และ
กำหนดเวลาชัดเจนว่าจะเริ่มประมูลได้ในเดือน มี.ค.50 ทำให้บรรยากาศทุกอย่างดีขึ้นมาก ทุกคนมีความเชื่อมั่น เงินลงทุนจากต่างประเทศจะ
เข้ามามากในโครงการรถไฟฟ้า เชื่อว่าระบบขนส่งมวลชนจะเป็นตัวช่วยให้ต่างชาติเชื่อว่ารัฐบาลนี้ทำเป็นทำได้เร็วและทำอย่างมีเป้าหมายที่
แน่ชัด (กรุงเทพธุรกิจ, ผู้จัดการรายวัน)
3. คาดว่าค่าเงินบาทจะแข็งตัวต่อเนื่องถึงสิ้นปีนี้ นักค้าเงิน ธ.ไทยธนาคาร กล่าวว่า ในสิ้นปีนี้คาดว่าค่าเงินบาทจะปรับตัวมาอยู่
ที่ระดับ 36.20 — 36.80 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ. โดยการปรับตัวดังกล่าวมีปัจจัยมาจากเศรษฐกิจของ สรอ. ที่ชะลอตัวลงรวมถึงการเลือกตั้ง
ของ สรอ. ที่ผ่านมา ประกอบกับปัจจัยจาก ธ.กลาง สรอ. ที่หลายฝ่ายมองว่าไม่น่าจะมีโอกาสปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยต่อ หรือหากมีการปรับขึ้นก็
อาจขึ้นอีกเพียงครั้งเดียว ทำให้นักลงทุนเริ่มมีความไม่แน่ใจจึงต้องทำการโยกย้ายการลงทุนหรือขายพอร์ตการลงทุนที่มีอยู่เพื่อหาผลตอบที่ดีกว่า
โดยเล็งการลงทุนมาในยุโรปและเอเชียมากขึ้น ซึ่งคาดว่าในต้นปีหน้าค่าเงินบาทจะมีโอกาสปรับตัวมาอยู่ที่ระดับ 36.50 บาท ต่อดอลลาร์ สรอ.
โดยปัจจัยที่ต้องจับตาดูในปีหน้าคือเศรษฐกิจของ สรอ. และค่าเงินหยวนของจีนว่าจะมีทิศทางต่อไปอย่างไร ประกอบกับการเมืองของไทยว่าจะ
มีเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นหรือไม่ ซึ่งที่ผ่านมานักลงทุนต่างชาติที่เข้าไม่ค่อยสนใจลงทุนในระยะยาวมากนัก ทั้งนี้ การที่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อน
ผู้ว่าการ ธ.กลางจีนให้สัมภาษณ์ว่าจะมีการปรับการถือครองเงินตราสกุลต่างประเทศในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศของจีน ทำให้มีการเทขาย
เงินดอลลาร์ สรอ. ออกมาอย่างต่อเนื่อง เพราะนักลงทุนคาดว่าเงินสกุลที่จะถูกปรับหรือถูกลดการถือครองเป็นเงินสกุลดอลลาร์ สรอ.
(ผู้จัดการรายวัน)
4. ก.คลัง ขายพันธบัตรออมทรัพย์ ปี งปม.50 อายุ 3 ปี ดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ที่ปรึกษาด้าน
เศรษฐกิจการคลัง รก.ผอ.สนง.บริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า ก.คลังจะเปิดจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ปี งปม.50 ครั้งที่ 2
รุ่นอายุ 3 ปี วงเงิน 500 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.5 ระหว่างวันที่ 15 — 24 พ.ย.49 ที่ ธ.กรุงเทพทุกสาขา ทั้งนี้ การกำหนด
อัตราดอกเบี้ยดังกล่าว สบน. ได้คำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยในตลาดและสภาพคล่องของพันธบัตรในช่วงปีแรกที่อาจจะมีค่อนข้างน้อย แต่เชื่อว่า
อัตราดอกเบี้ยที่ร้อยละ 5.5 ต่อปี จะสามารถจูงใจนักลงทุนได้เนื่องจากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าการลงทุนทางเลือกอื่น อาทิ การฝากเงินกับ
ธ.พาณิชย์ หรือการลงทุนในกองทุนรวม (โพสต์ทูเดย์)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. คาดว่ายอดขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 จะลดลงร้อยละ 0.4 รายงานจากนิวยอร์ก เมื่อ 13 พ.ย.49 ผลสำรวจ
โดยรอยเตอร์ พบว่า นักวิเคราะห์ 88 คนคาดการณ์ว่ายอดการขายปลีกของ สรอ.ในเดือน ต.ค.49 จะลดลงร้อยละ 0.4 ไม่เปลี่ยนแปลงจาก
เดือนก่อนหน้าที่ลดลงร้อยละ 0.4 เช่นเดียวกัน และหากไม่นับรวมยอดขายสินค้าหมวดรถยนต์คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับเดือน ก.ย.49
ที่ลดลงร้อยละ 0.5 ทั้งนี้ ยอดขายปลีกของ สรอ.ที่ลดลงอย่างไม่คาดคิดในเดือน ก.ย.เนื่องจากยอดขายน้ำมันเชื้อเพลิงลดลงอย่างมาก
โดยราคาน้ำมันที่ลดลงจากปีก่อนทำให้คาดว่าจะส่งผลกระทบถึงยอดขายปลีกในเดือน ต.ค.ด้วย อย่างไรก็ตามนักวิเคราะห์ยังคาดว่า ราคาน้ำมัน
ที่ลดลงน่าจะทำให้ผู้บริโภคมีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น สนับสนุนให้มีการใช้จ่ายในด้านอื่น ๆ ในช่วงฤดูกาลวันหยุดเทศกาลเพิ่มขึ้น อนึ่ง การใช้จ่ายของ
ผู้บริโภคมีสัดส่วนถึง 2 ใน 3 ของระบบเศรษฐกิจ สรอ. (รอยเตอร์)
2. จีดีพีของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาส 3 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.5 รายงานจากโตเกียวเมื่อ 14 พ.ย.49
The Cabinet Office เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ในประเทศ (จีดีพี) ของญี่ปุ่นในช่วงไตรมาสที่ 3 ปี 49 ขยายตัวร้อยละ 0.5 สูงกว่าไตรมาส
ก่อนหน้าซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.4 และสูงกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์ซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 0.2 สาเหตุหลักจากการขยายตัว
ของการส่งออกและใช้จ่ายเพื่อการลงทุน ซึ่งสามารถชดเชยกับการชะลอตัวลงร้อยละ 0.7 ของการใช้จ่ายภายในประเทศที่มีสัดส่วนเป็นร้อยละ
55 ของจีดีพี โดยการส่งออกที่ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การนำเข้าค่อยๆ ชะลอลง เป็นปัจจัยผลักดันการขยายตัวของจีดีพีถึงร้อยละ
0.4 ประกอบกับการลงทุนในสินค้าทุนซึ่งขยายตัวเกินความคาดหมายถึงร้อยละ 2.9 แม้จะต่ำกว่าการขยายตัวในช่วงไตรมาสก่อนหน้าร้อยละ
3.5 ก็ตาม สำหรับเมื่อเทียบต่อปี จีดีพีขยายตัวร้อยละ 2.0 สูงกว่าที่นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์ว่าจะขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ทั้งนี้ การ
ขยายตัวของจีดีพีในช่วงไตรมาส 3 ดังกล่าวเป็นการขยายตัวต่อเนื่องเป็นไตรมาสที่ 7 ผลักดันให้เงินเยนและตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวดีขึ้น และ
เป็นปัจจัยสนับสนุนการคาดการณ์ของ ธ.กลางญี่ปุ่นในการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมต่อไปในการประชุมที่จะมีขึ้นในสัปดาห์นี้ สำหรับ
การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายคาดว่าจะมีขึ้นอีกครั้งในปีหน้า หลังจากที่มีการปรับเพิ่มไปแล้วเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเมื่อเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา
ที่ระดับร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 0 (รอยเตอร์)
3. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคของญี่ปุ่นในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 48.2 รายงานจากโตเกียว เมื่อ 13 พ.ย.49
The Cabinet Office เปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคญี่ปุ่น (ซึ่งรวมถึงมุมมองทางด้านรายได้และแรงงาน) ในเดือน
ต.ค.49 ว่า เพิ่มขึ้นอยู่ที่ระดับ 48.2 (ตัวเลขก่อนปรับปัจจัยทางฤดูกาล) จากระดับ 46.3 ในเดือนก่อนหน้า ทั้งนี้ ผลสำรวจดังกล่าวได้จากการ
สำรวจครอบครัวทั่วไป (หมายถึง ครอบครัวที่มีจำนวนสมาชิก 2 คน หรือมากกว่า) 4,281 ครัวเรือน และครอบครัวเดี่ยว 1,433 ครอบครัว
อันแสดงถึงมุมมองสภาวะการครองชีพ รายได้ ภาวะแรงงาน และความเต็มใจที่จะซื้อสินค้าคงทน โดยหากอยู่ระดับเหนือ 50 แสดงว่าผู้บริโภคมี
มุมมองด้านบวก อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์และรัฐบาลญี่ปุ่นกล่าวเตือนให้ผู้ใช้ตัวเลขพิจารณาอย่งระมัดระวัง เมื่อเปรียบเทียบตัวเลขเดือนต่อเดือน
เนื่องจากตัวเลขของเดือน มี.ค., มิย., ก.ย. และ ธ.ค. ของทุกปี ได้จากการสำรวจแบบเผชิญหน้า ขณะที่ตัวเลขในเดือนอื่นเป็นการสำรวจ
ทางโทรศัพท์ (รอยเตอร์)
4. สิงคโปร์จะปรับเพิ่มภาษีการขายจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 รายงานจากสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 49
นาย Lee Hsien Loong นรม.สิงคโปร์เปิดเผยว่า จะจัดเก็บภาษีจากสินค้าและบริการ (goods and Services Tax — GST) เพิ่มขึ้นจาก
ร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 7 สร้างความประหลาดใจให้แก่นักเศรษฐศาสตร์หลายคน ทั้งนี้ยังไม่ได้กำหนดเวลาว่าแผนการจัดเก็บ GST ใหม่ดังกล่าว
จะมีผลใช้บังคับเมื่อใด แต่เสริมว่าการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวจะถูกชดเชยไปกับมาตรการในการให้ความช่วยเหลือชนชั้นกลาง กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำ
และกลุ่มผู้สูงอายุที่ยากจน และจะไม่เป็นการเพิ่มภาระให้กับคนเหล่านี้ ทั้งนี้ทางการสิงคโปร์มีเป้าหมายที่จะลดช่องว่างรายได้ระหว่างคนรวยกับ
คนจน และขณะนี้เป็นเวลาที่เหมาะสมในการปรับเพิ่มภาษีดังกล่าวเนื่องจากเศรษฐกิจของประเทศกำลังขยายตัว โดยธ.กลางสิงคโปร์คาดว่า
เศรษฐกิจในปีนี้จะขยายตัวระหว่างร้อยละ 6.5 — 7.5 หลังจากที่เติบโตร้อยละ 6.4 เมื่อปีที่แล้ว อย่างไรก็ตามปัญหาช่องว่างของรายได้ยังคง
เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจากผลการสำรวจเมื่อปี 48 ชี้ว่าภาคครัวเรือนทั่วไปมีรายได้เฉลี่ยเพิ่มขึ้นสูงกว่าเมื่อ 5 ปีที่แล้วประมาณร้อยละ 1.8
อยู่ที่ระดับ 5,400 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (3,435 ดอลลาร์ สรอ.) ขณะที่ครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำเห็นว่ารายได้ต่อเดือนของพวกเขาในช่วงเวลา
เดียวกันลดลงร้อยละ 4.3 อยู่ที่ระดับ 1,180 ดอลลาร์ สิงคโปร์ (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 14 พ.ย. 49 13 พ.ย. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อม
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.512 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.3299/36.6301 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12063 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 736.83/15.51 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,700/10,800 10,800/10,900 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 56.8 55.09 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่มลิตรละ 40 สตางค์ เมื่อ 14 พ.ย. 49 25.69*/23.84 25.29/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--