สศอ.-กรอ.เดินหน้าให้ความรู้ผู้ประกอบการ ดึงผู้เชี่ยวชาญเคมีจากทั่วโลก จัดเวิร์คชอปให้กระจ่าง เรื่องการจัดระบบรหัสสารเคมี หวังรู้รอบพร้อมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ปูทางก่อนกฏเหล็กมีผลบังคับ ปี 2551
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีแผนที่จะจัดการสัมมนาครั้งใหญ่ ภายใต้หัวข้อเรื่อง Seminar on Globally Harmonized System (GHS) Implementation and Technical Assistance ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย.2549 ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจะมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากทั่วโลกมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มีความชัดเจนและเกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำเวิร์คชอปไปปฏิบัติจริง เนื่องจากในอนาคตอันใกล้ทั่วโลกมีแนวโน้มกีดกันสินค้าที่มีส่วนผสมของสารเคมีต้องห้าม โดยเฉพาะสหภาพยุโรป หรือ อียู ได้เกิดแนวคิดว่าประเทศต่างๆทั่วโลกควรจะมีรหัสสารเคมีเป็นรหัสเดียว เพื่อความสะดวกต่อการตรวจสอบ ทั้งผลิต การนำเข้า และการส่งออกสินค้าจากประเทศคู่ค้าด้วยกัน
“ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศในลำดับต้นๆที่มีการจัดเวิร์คชอปในลักษณะนี้ โดยเป็นผลงานสืบเนื่องมาจากการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development หรือ WSSD) เมื่อปี 2545 ซึ่งเห็นชอบให้ทุกประเทศต้องนำระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี การติดฉลาก และข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีไปใช้ในปี 2551 โดยสมาชิกเอเปครวมถึงประเทศไทยได้ประกาศยอมรับเงื่อนไขนี้ด้วย สศอ.และ กรอ.ต่างมีความตระหนักในความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันร่างโครงการเสนอของบประมาณสนับสนุนจากเอเปค เพื่อขอจัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ในครั้งนี้”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ถือเป็นความโอกาสดีที่เอเปคสนับสนุนการส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะมีผลบังคับจริงในปี 2551 ซึ่งถือว่าขณะนี้ยังพอมีเวลาเตรียมตัวอยู่บ้าง ถ้าหากไม่มีการปูทางเตรียมพร้อมให้มีความรู้ร่วมกันเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงอาจจะมีปัญหา การจัดสัมนาครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกจะมาถ่ายทอดความรู้และให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ โดยจะมีทั้งการบรรยายภาคทฤษฎี และนำกรณีศึกษาจากการปฏิบัติจริงมาถ่ายทอด รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้คำปรึกษาแนะนำอย่างเปิดกว้าง ถึงปัญหาและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องหลังจากมีผลบังคับใช้ เพื่อให้เข้ากับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จะมีการประกาศใช้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมเวิร์คชอปจะได้นำแนวปฏิบัติไปถ่ายทอดสู่ภาคราชการและผู้ประกอบการ เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบาย แผนงานในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-
ดร.อรรชกา สีบุญเรือง บริมเบิล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า สศอ.ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) มีแผนที่จะจัดการสัมมนาครั้งใหญ่ ภายใต้หัวข้อเรื่อง Seminar on Globally Harmonized System (GHS) Implementation and Technical Assistance ระหว่างวันที่ 20-22 ก.ย.2549 ณ โรงแรมโนโวเทล สยามสแควร์ กรุงเทพฯ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในประเทศไทย โดยจะมีวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านเคมีจากทั่วโลกมาเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน มีความชัดเจนและเกิดความเข้าใจในทิศทางเดียวกัน สามารถนำความรู้ที่ได้จากการทำเวิร์คชอปไปปฏิบัติจริง เนื่องจากในอนาคตอันใกล้ทั่วโลกมีแนวโน้มกีดกันสินค้าที่มีส่วนผสมของสารเคมีต้องห้าม โดยเฉพาะสหภาพยุโรป หรือ อียู ได้เกิดแนวคิดว่าประเทศต่างๆทั่วโลกควรจะมีรหัสสารเคมีเป็นรหัสเดียว เพื่อความสะดวกต่อการตรวจสอบ ทั้งผลิต การนำเข้า และการส่งออกสินค้าจากประเทศคู่ค้าด้วยกัน
“ประเทศไทยถือว่าเป็นประเทศในลำดับต้นๆที่มีการจัดเวิร์คชอปในลักษณะนี้ โดยเป็นผลงานสืบเนื่องมาจากการประชุมสุดยอดว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน (World Summit on Sustainable Development หรือ WSSD) เมื่อปี 2545 ซึ่งเห็นชอบให้ทุกประเทศต้องนำระบบสากลการจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมี การติดฉลาก และข้อมูลความปลอดภัยสารเคมีไปใช้ในปี 2551 โดยสมาชิกเอเปครวมถึงประเทศไทยได้ประกาศยอมรับเงื่อนไขนี้ด้วย สศอ.และ กรอ.ต่างมีความตระหนักในความสำคัญของเรื่องนี้เป็นอย่างดี จึงได้ร่วมกันร่างโครงการเสนอของบประมาณสนับสนุนจากเอเปค เพื่อขอจัดการสัมมนาเพื่อให้ความรู้ ในครั้งนี้”
นอกจากนี้ ดร.อรรชกา ยังได้กล่าวอีกว่า ถือเป็นความโอกาสดีที่เอเปคสนับสนุนการส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้ความรู้ แก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายทั้งหน่วยงานภาครัฐ และผู้ประกอบการ ซึ่งถือเป็นการเตรียมพร้อมก่อนที่จะมีผลบังคับจริงในปี 2551 ซึ่งถือว่าขณะนี้ยังพอมีเวลาเตรียมตัวอยู่บ้าง ถ้าหากไม่มีการปูทางเตรียมพร้อมให้มีความรู้ร่วมกันเมื่อถึงเวลาปฏิบัติจริงอาจจะมีปัญหา การจัดสัมนาครั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกจะมาถ่ายทอดความรู้และให้ความกระจ่างในเรื่องนี้ โดยจะมีทั้งการบรรยายภาคทฤษฎี และนำกรณีศึกษาจากการปฏิบัติจริงมาถ่ายทอด รวมทั้งจะเปิดโอกาสให้คำปรึกษาแนะนำอย่างเปิดกว้าง ถึงปัญหาและแนวทางการปฏิบัติที่ถูกต้องหลังจากมีผลบังคับใช้ เพื่อให้เข้ากับเงื่อนไขและข้อกำหนดที่จะมีการประกาศใช้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ร่วมเวิร์คชอปจะได้นำแนวปฏิบัติไปถ่ายทอดสู่ภาคราชการและผู้ประกอบการ เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดนโยบาย แผนงานในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นต่อไป
--สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม--
-พห-