ข่าวเศรษฐกิจในประเทศ
1. ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นมากและเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบ
ต่อภาพรวมเศรษฐกิจได้ โดยการแข็งค่าของเงินบาท เป็นผลจากเงินลงทุนของต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทย
ด้วย ทั้งการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับการที่ ธ.กลาง สรอ.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% อย่างไรก็ตาม ทิศทาง
ค่าเงินของประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเกาหลีและอินโดนีเซีย ซึ่งค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากกว่าไทย ขณะเดียวกัน ธปท.
อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อขยายวงเงินและผ่อนกฎเกณฑ์ให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น จากเดิมที่ ธปท.จัดสรรวงเงินลงทุนให้
นักลงทุนไทยและบริษัทต่างๆ ไว้จำนวนจำกัดในแต่ละปี ซึ่งคาดว่าจะหาข้อสรุปได้เร็วๆ นี้ (ข่าวสด 28, กรุงเทพธุรกิจ 28, ไทยโพสต์ 28)
2. ก.คลัง และ ธปท.ร่วมจัดทำร่าง กม.การเงิน 5 ฉบับ รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา
ได้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนจาก ก.คลัง และ ธปท. เพื่อหารือแนวทางแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม
สภานิติบัญญัติพิจารณาให้ทันสมัยนี้ โดย รักษาการผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ก.คลัง และ ธปท.ได้ตกลงกันในหลักการในการจัดทำร่าง กม.การเงิน
ทั้ง 5 ฉบับเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ ธปท.จะทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารเพื่อเสนอร่าง กม.ดังกล่าวให้ ก.คลังพิจารณาตามลำดับ คาดว่าจะ
เสนอได้ทันในเดือน ธ.ค.นี้ โดยแหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ร่าง กม.การเงินทั้ง 5 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย 2) ร่าง พ.ร.บ.เงินตรา 3) ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 4)ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก และ 5)ร่าง พ.ร.บ.
ยกเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับร่าง พ.ร.บ.ที่คาดว่าจะยังไม่สามารถออกมาได้อย่างเร็วเนื่องจากมีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง
คือ ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ที่มีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ ธปท.ในการกำกับดูแลธุรกิจสถาบันการเงินให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น
และให้ ธปท.สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขและสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินได้ตั้งแต่เบื้องต้น โดยไม่ต้องรอให้เงินกงอทุนเป็นศูนย์หรือติดลบ รวมทั้ง
ให้อำนาจ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ด้วย นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดอำนาจของ ธปท.ไว้ชัดเจน โดย
เฉพาะอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและการได้มาของคณะกรรมการและผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งจะเปลี่ยจากเสนอให้ ครม.เห็นชอบมาเป็นการตั้ง
คณะกรรมการสรรหาจากบุคคลภายนอกที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเพิ่มอิสระให้กับ ธปท.ค่อนข้างมาก (ไทยโพสต์ 28)
3. ธปท.ยืนยันพร้อมใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ในปี 52 นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงความคืบหน้าการกำหนดเกณฑ์การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 (บาเซล 2) ของ ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ
(บีไอเอส) โดยยืนยันว่าจะเริ่มทดลองใช้ได้ในปี 51 และจะแล้วเสร็จใช้งานได้จริงในปี 52 (ข่าวสด 28)
4. ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของไทยในปี 48 ขาดดุล 8.65 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) แจ้งผลสำรวจฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 48 ว่า ฐานะการลงทุนระหว่าง
ประเทศซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ มียอดขาดดุลสุทธิ 8.65 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 5.1 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือเพิ่มขึ้น 6.2% เนื่องจากธุรกรรมในด้านหนี้สินต่างประเทศมีปริมาณสูงถึง 9.57 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ด้านสินทรัพย์ต่างประเทศ
คงค้างมีปริมาณ 9.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม แม้สินทรัพย์ต่างประเทศของภาคเอกชนจะมีปริมาณน้อยกว่าหนี้สินต่างประเทศอย่างมาก
จนทำให้ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศขาดดุล แต่สินทรัพย์ต่างประเทศในปี 48 จำนวน 9.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากปีก่อนถึง 2.6 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นถึง 39% อันเป็นผลจากการที่ไทยให้สินเชื่อทางการค้ากับประเทศอื่นๆ และการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
(มติชน)
5. ตลาดรถยนต์ของไทยยังคงแนวโน้มที่ดีทั้งตลาดในและต่างประเทศ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวถึงตลาดรถยนต์ของไทยว่า ในแง่ของตลาดในประเทศขณะนี้สัดส่วนของคนไทยต่อการมีรถยนต์โดยเฉลี่ย
ประมาณ 9 คน/คัน ซึ่งมีระยะเวลาอีกนานกว่าจะถึงจุดอิ่มตัว ส่วนตลาดส่งออก เชื่อว่าในระยะ 4-5 ปีข้างหน้า การส่งออกรถยนต์ของไทยยัง
ไม่ถึงทางตัน โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตันยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ได้ 1.8 ล้านคันหรือ 2 ล้านคัน/ปี
ภายในปี 53 เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวในระดับสูงเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก
(ข่าวสด 28)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ต.ค.49 เพิ่มสูงขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 30 ต.ค.49 บริษัท
ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ Hometrack รายงานราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.9 ต่อปีในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดใน
รอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีเมื่อ
เดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านโดยรวม โดยบ้านในลอนดอนและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศมีราคาสูงขึ้นกว่าบ้าน
ในส่วนอื่น ๆ ของประเทศและมีส่วนทำให้ราคาบ้านโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยราคาบ้านในลอนดอนสูงขึ้นร้อยละ 9.9 และบ้านในภาคตะวันออกเฉียงใต้
สูงขึ้นร้อยละ 4.4 ในขณะที่บ้านในตอนเหนือของประเทศเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บ้านในลอนดอนสูงขึ้นมาจากจำนวนบ้านที่
จะขายมีน้อย แต่กระนั้นก็ตาม ราคาบ้านในลอนดอนก็ยังชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและโดยเฉลี่ยกว่าที่จะขายบ้านได้ก็ต้องใช้ระยะเวลา
เกือบ 4 สัปดาห์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีตั้งเป้าลดการกู้ยืมใหม่ปี 49 ให้เหลือประมาณ 29 พันล้านยูโร รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
28 ต.ค.49 Peer Steinbrueck รมว.คลังของเยอรมนี กล่าวว่า เยอรมนีต้องการปรับลดการกู้ยืมในปีนี้ให้เหลือยอดสุทธิประมาณ
29 พันล้านยูโร (36.76 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 38.2 พันล้านยูโร ซึ่งการจัดเก็บรายได้จากภาษีสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
จะทำให้การกู้ยืมลดลง โดยคาดว่าในปีนี้รัฐบาลกลางจะจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ถึง 10 พันล้านยูโร อันจะส่งผลให้การขาดดุล งปม.
ของเยอรมนีลดลงเหลือร้อยละ 2 ของจีดีพีในปีนี้ ทั้งนี้ เยอรมนีขาดดุล งปม. เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี อันเป็นการฝ่าฝืนกฎของสหภาพยุโรปนับ
ตั้งแต่ปี 45 จนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการคลังของประเทศ รัฐบาลเยอรมนีได้มีแผนที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 ขึ้นไป
อยู่ที่ระดับร้อยละ 19 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 (รอยเตอร์)
3. จีนพร้อมแล้วที่จะปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานจากเชียงไฮ้เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 49 นาย Xia Bin และนาย
Chen Daofu นักเศรษฐศาสตร์ 2 คนของรัฐบาลจีนกล่าวในรายงานที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ว่า ได้เวลาที่เหมาะสมแล้วที่ทางการจีนจะ
ปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนเพื่อจัดการกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้การปฎิรูปจะเป็นไปอย่างช้าๆ ตามขั้นตอน
และรวมทั้งการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลของก.คลังจีนด้วย โดยปัจจุบันจีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากที่สุดในโลก ซึ่งมียอดสุทธิรวมทั้งสิ้น
987.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และจีนเกินดุลการค้าในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ถึง 109.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการเกินดุลการค้าที่ทำสถิติ
สูงสุดในปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. จีนเผชิญปัญหาการลอกเลียนสินค้าลิขสิทธิ์ รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 49 นสพ. Kyodo ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า
สรอ. ญี่ปุ่น แคนาดา และสหภาพยุโรป จะร่วมมือกันบังคับจีนโดยผ่านองค์การการค้าโลก (World Trade Organization — WTO) เพื่อกดดันจีน
ในการดำเนินการกับการลอกเลียนสินค้าลิขสิทธิ์โดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้คาดว่า สรอ. จะนำประเด็นดังกล่าวส่งให้ WTO อย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
ขณะที่ ญี่ปุ่น แคนาดา และสหภาพยุโรปจะร่วมมือกับ สรอ. ในการต่อต้านจีนด้วย โดยประเทศต่างๆดังกล่าวตัดสินใจนำประเด็นการละเมิดสิขสิทธิ์
ร้องเรียน WTO เนื่องจากกิจการในประเทศของพวกเขาได้รับความเสียหายอย่างมากจากการคัดลอก DVD CDs และการปลอมแปลงชื่อผลิตภัณฑ์
ที่มีจำหน่ายในประเทศจีน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ต.ค. 49 27 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.893 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.7070/37.0054 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 725.77/12.16 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,350/10,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.35 n.a. 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 ส.ต. เมื่อ 28 ต.ค. 49 25.69*/24.24* 25.29/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--
1. ธปท.เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อป้องกันผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ รักษาการผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
เปิดเผยว่า ธปท.ได้เข้าแทรกแซงค่าเงินบาทเมื่อวันที่ 27 ต.ค.ที่ผ่านมา เนื่องจากเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นมากและเร็วเกินไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบ
ต่อภาพรวมเศรษฐกิจได้ โดยการแข็งค่าของเงินบาท เป็นผลจากเงินลงทุนของต่างชาติที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นแถบเอเชีย รวมทั้งตลาดหุ้นไทย
ด้วย ทั้งการลงทุนระยะสั้นและระยะยาว ประกอบกับการที่ ธ.กลาง สรอ.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 5.25% อย่างไรก็ตาม ทิศทาง
ค่าเงินของประเทศอื่นๆ ในเอเชียก็แข็งค่าขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะเกาหลีและอินโดนีเซีย ซึ่งค่าเงินแข็งค่าขึ้นมากกว่าไทย ขณะเดียวกัน ธปท.
อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อขยายวงเงินและผ่อนกฎเกณฑ์ให้นักลงทุนไทยสามารถลงทุนในต่างประเทศได้มากขึ้น จากเดิมที่ ธปท.จัดสรรวงเงินลงทุนให้
นักลงทุนไทยและบริษัทต่างๆ ไว้จำนวนจำกัดในแต่ละปี ซึ่งคาดว่าจะหาข้อสรุปได้เร็วๆ นี้ (ข่าวสด 28, กรุงเทพธุรกิจ 28, ไทยโพสต์ 28)
2. ก.คลัง และ ธปท.ร่วมจัดทำร่าง กม.การเงิน 5 ฉบับ รอง นรม.และ รมว.คลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 ต.ค.ที่ผ่านมา
ได้มีการประชุมร่วมกับตัวแทนจาก ก.คลัง และ ธปท. เพื่อหารือแนวทางแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุม
สภานิติบัญญัติพิจารณาให้ทันสมัยนี้ โดย รักษาการผู้ว่าการ ธปท.กล่าวว่า ก.คลัง และ ธปท.ได้ตกลงกันในหลักการในการจัดทำร่าง กม.การเงิน
ทั้ง 5 ฉบับเรียบร้อยแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ ธปท.จะทำหน้าที่ในการจัดทำเอกสารเพื่อเสนอร่าง กม.ดังกล่าวให้ ก.คลังพิจารณาตามลำดับ คาดว่าจะ
เสนอได้ทันในเดือน ธ.ค.นี้ โดยแหล่งข่าวจาก ธปท.กล่าวว่า ร่าง กม.การเงินทั้ง 5 ฉบับ ประกอบด้วย 1) ร่าง พ.ร.บ.ธนาคารแห่ง
ประเทศไทย 2) ร่าง พ.ร.บ.เงินตรา 3) ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน 4)ร่าง พ.ร.บ.สถาบันประกันเงินฝาก และ 5)ร่าง พ.ร.บ.
ยกเลิกทุนรักษาระดับอัตราแลกเปลี่ยน สำหรับร่าง พ.ร.บ.ที่คาดว่าจะยังไม่สามารถออกมาได้อย่างเร็วเนื่องจากมีการพูดคุยกันอย่างกว้างขวาง
คือ ร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ที่มีการแก้ไขอำนาจหน้าที่ของ ธปท.ในการกำกับดูแลธุรกิจสถาบันการเงินให้เป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น
และให้ ธปท.สามารถเข้าไปจัดการแก้ไขและสั่งปิดกิจการสถาบันการเงินได้ตั้งแต่เบื้องต้น โดยไม่ต้องรอให้เงินกงอทุนเป็นศูนย์หรือติดลบ รวมทั้ง
ให้อำนาจ ธปท.กำหนดส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยได้ด้วย นอกจากนี้ พ.ร.บ.ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งกำหนดอำนาจของ ธปท.ไว้ชัดเจน โดย
เฉพาะอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและการได้มาของคณะกรรมการและผู้ว่าการ ธปท. ซึ่งจะเปลี่ยจากเสนอให้ ครม.เห็นชอบมาเป็นการตั้ง
คณะกรรมการสรรหาจากบุคคลภายนอกที่เป็นที่ยอมรับของสังคม ซึ่งเพิ่มอิสระให้กับ ธปท.ค่อนข้างมาก (ไทยโพสต์ 28)
3. ธปท.ยืนยันพร้อมใช้เกณฑ์บาเซิล 2 ในปี 52 นายสามารถ บูรณวัฒนาโชค ผู้ช่วยผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)
กล่าวถึงความคืบหน้าการกำหนดเกณฑ์การกำกับและตรวจสอบสถาบันการเงินฉบับที่ 2 (บาเซล 2) ของ ธ.เพื่อการชำระหนี้ระหว่างประเทศ
(บีไอเอส) โดยยืนยันว่าจะเริ่มทดลองใช้ได้ในปี 51 และจะแล้วเสร็จใช้งานได้จริงในปี 52 (ข่าวสด 28)
4. ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของไทยในปี 48 ขาดดุล 8.65 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. รายงานข่าวจากธนาคารแห่ง
ประเทศไทย (ธปท.) แจ้งผลสำรวจฐานะการลงทุนระหว่างประเทศของภาคเอกชนที่ไม่ใช่ธนาคาร ณ สิ้นปี 48 ว่า ฐานะการลงทุนระหว่าง
ประเทศซึ่งประกอบด้วยสินทรัพย์และหนี้สินต่างประเทศ มียอดขาดดุลสุทธิ 8.65 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 5.1 พัน ล.ดอลลาร์
สรอ. หรือเพิ่มขึ้น 6.2% เนื่องจากธุรกรรมในด้านหนี้สินต่างประเทศมีปริมาณสูงถึง 9.57 หมื่น ล.ดอลลาร์ สรอ. ขณะที่ด้านสินทรัพย์ต่างประเทศ
คงค้างมีปริมาณ 9.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. อย่างไรก็ตาม แม้สินทรัพย์ต่างประเทศของภาคเอกชนจะมีปริมาณน้อยกว่าหนี้สินต่างประเทศอย่างมาก
จนทำให้ฐานะการลงทุนระหว่างประเทศขาดดุล แต่สินทรัพย์ต่างประเทศในปี 48 จำนวน 9.2 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงขึ้นจากปีก่อนถึง 2.6 พัน
ล.ดอลลาร์ สรอ. หรือเพิ่มขึ้นถึง 39% อันเป็นผลจากการที่ไทยให้สินเชื่อทางการค้ากับประเทศอื่นๆ และการออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น
(มติชน)
5. ตลาดรถยนต์ของไทยยังคงแนวโน้มที่ดีทั้งตลาดในและต่างประเทศ นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์
สมาคมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย กล่าวถึงตลาดรถยนต์ของไทยว่า ในแง่ของตลาดในประเทศขณะนี้สัดส่วนของคนไทยต่อการมีรถยนต์โดยเฉลี่ย
ประมาณ 9 คน/คัน ซึ่งมีระยะเวลาอีกนานกว่าจะถึงจุดอิ่มตัว ส่วนตลาดส่งออก เชื่อว่าในระยะ 4-5 ปีข้างหน้า การส่งออกรถยนต์ของไทยยัง
ไม่ถึงทางตัน โดยเฉพาะรถกระบะขนาด 1 ตันยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง สำหรับเป้าหมายในการผลิตรถยนต์ได้ 1.8 ล้านคันหรือ 2 ล้านคัน/ปี
ภายในปี 53 เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยาก โดยเฉพาะผลกระทบจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวในระดับสูงเป็นอุปสรรคต่ออุตสาหกรรมรถยนต์ทั่วโลก
(ข่าวสด 28)
ข่าวเศรษฐกิจต่างประเทศ
1. ราคาบ้านในอังกฤษในเดือน ต.ค.49 เพิ่มสูงขึ้นในอัตราสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี รายงานจากลอนดอนเมื่อ 30 ต.ค.49 บริษัท
ที่ปรึกษาด้านอสังหาริมทรัพย์ Hometrack รายงานราคาบ้านในอังกฤษเพิ่มสูงขึ้นร้อยละ 4.9 ต่อปีในเดือน ต.ค.49 เพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดใน
รอบกว่า 2 ปีนับตั้งแต่เดือน ส.ค.47 เป็นต้นมา แสดงให้เห็นว่าการขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของ ธ.กลางอังกฤษเป็นร้อยละ 4.75 ต่อปีเมื่อ
เดือน ส.ค.49 ที่ผ่านมาไม่ได้ส่งผลกระทบต่อตลาดบ้านโดยรวม โดยบ้านในลอนดอนและภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศมีราคาสูงขึ้นกว่าบ้าน
ในส่วนอื่น ๆ ของประเทศและมีส่วนทำให้ราคาบ้านโดยเฉลี่ยสูงขึ้น โดยราคาบ้านในลอนดอนสูงขึ้นร้อยละ 9.9 และบ้านในภาคตะวันออกเฉียงใต้
สูงขึ้นร้อยละ 4.4 ในขณะที่บ้านในตอนเหนือของประเทศเพิ่มขึ้นเพียงร้อยละ 0.4 โดยสาเหตุหนึ่งที่ทำให้บ้านในลอนดอนสูงขึ้นมาจากจำนวนบ้านที่
จะขายมีน้อย แต่กระนั้นก็ตาม ราคาบ้านในลอนดอนก็ยังชะลอตัวลงเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกันและโดยเฉลี่ยกว่าที่จะขายบ้านได้ก็ต้องใช้ระยะเวลา
เกือบ 4 สัปดาห์ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา (รอยเตอร์)
2. เยอรมนีตั้งเป้าลดการกู้ยืมใหม่ปี 49 ให้เหลือประมาณ 29 พันล้านยูโร รายงานจากกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมนี เมื่อวันที่
28 ต.ค.49 Peer Steinbrueck รมว.คลังของเยอรมนี กล่าวว่า เยอรมนีต้องการปรับลดการกู้ยืมในปีนี้ให้เหลือยอดสุทธิประมาณ
29 พันล้านยูโร (36.76 พันล้านดอลลาร์ สรอ.) จากแผนเดิมที่กำหนดไว้ 38.2 พันล้านยูโร ซึ่งการจัดเก็บรายได้จากภาษีสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้
จะทำให้การกู้ยืมลดลง โดยคาดว่าในปีนี้รัฐบาลกลางจะจัดเก็บภาษีได้สูงกว่าที่ประมาณการไว้ถึง 10 พันล้านยูโร อันจะส่งผลให้การขาดดุล งปม.
ของเยอรมนีลดลงเหลือร้อยละ 2 ของจีดีพีในปีนี้ ทั้งนี้ เยอรมนีขาดดุล งปม. เกินร้อยละ 3 ของจีดีพี อันเป็นการฝ่าฝืนกฎของสหภาพยุโรปนับ
ตั้งแต่ปี 45 จนถึงปัจจุบัน และเพื่อเป็นการสนับสนุนด้านการคลังของประเทศ รัฐบาลเยอรมนีได้มีแผนที่จะปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่มอีกร้อยละ 3 ขึ้นไป
อยู่ที่ระดับร้อยละ 19 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2550 (รอยเตอร์)
3. จีนพร้อมแล้วที่จะปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา รายงานจากเชียงไฮ้เมื่อวันที่ 30 ต.ค. 49 นาย Xia Bin และนาย
Chen Daofu นักเศรษฐศาสตร์ 2 คนของรัฐบาลจีนกล่าวในรายงานที่พิมพ์เผยแพร่เมื่อวันจันทร์ว่า ได้เวลาที่เหมาะสมแล้วที่ทางการจีนจะ
ปฎิรูประบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินหยวนเพื่อจัดการกับทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ทั้งนี้การปฎิรูปจะเป็นไปอย่างช้าๆ ตามขั้นตอน
และรวมทั้งการออกจำหน่ายพันธบัตรรัฐบาลของก.คลังจีนด้วย โดยปัจจุบันจีนมีทุนสำรองเงินตราต่างประเทศมากที่สุดในโลก ซึ่งมียอดสุทธิรวมทั้งสิ้น
987.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. และจีนเกินดุลการค้าในช่วง 9 เดือนแรกปีนี้ ถึง 109.9 พัน ล.ดอลลาร์ สรอ. สูงกว่าการเกินดุลการค้าที่ทำสถิติ
สูงสุดในปีที่แล้ว (รอยเตอร์)
4. จีนเผชิญปัญหาการลอกเลียนสินค้าลิขสิทธิ์ รายงานจากโตเกียวเมื่อวันที่ 28 ต.ค. 49 นสพ. Kyodo ของญี่ปุ่นเปิดเผยว่า
สรอ. ญี่ปุ่น แคนาดา และสหภาพยุโรป จะร่วมมือกันบังคับจีนโดยผ่านองค์การการค้าโลก (World Trade Organization — WTO) เพื่อกดดันจีน
ในการดำเนินการกับการลอกเลียนสินค้าลิขสิทธิ์โดยผิดกฎหมาย ทั้งนี้คาดว่า สรอ. จะนำประเด็นดังกล่าวส่งให้ WTO อย่างเร็วที่สุดในสัปดาห์หน้า
ขณะที่ ญี่ปุ่น แคนาดา และสหภาพยุโรปจะร่วมมือกับ สรอ. ในการต่อต้านจีนด้วย โดยประเทศต่างๆดังกล่าวตัดสินใจนำประเด็นการละเมิดสิขสิทธิ์
ร้องเรียน WTO เนื่องจากกิจการในประเทศของพวกเขาได้รับความเสียหายอย่างมากจากการคัดลอก DVD CDs และการปลอมแปลงชื่อผลิตภัณฑ์
ที่มีจำหน่ายในประเทศจีน (รอยเตอร์)
ข้อมูลเศรษฐกิจ 30 ต.ค. 49 27 ต.ค. 49 31 ม.ค. 49 แหล่งข้อมูล
อัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยระหว่างธนาคาร (Bht/1US$) 36.893 39.078 ธปท.
อัตราซื้อถัวเฉลี่ยตั๋วเงิน/อัตราขายถัวเฉลี่ยของ ธพ. (Bht/1US$) 36.7070/37.0054 38.9113/39.2013 ธปท.
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระหว่าง ธพ. ขนาดใหญ่ระยะ 7 วัน (ร้อยละ) 5.12125 4.29375 รอยเตอร์
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ฯ (จุด)/มูลค่าซื้อ/ขาย (พันล้านบาท) 725.77/12.16 762.63/12.66 ตลท.
ราคาทองคำแท่ง (ซื้อ/ขายบาทละ) 10,400/10,500 10,350/10,450 10,350/10,450 สมาคมค้าทองคำ
ราคาน้ำมันดิบดูไบ (US$/บาเรล) 57.35 n.a. 60.96 ปตท./รอยเตอร์
ราคาน้ำมันเบนซิน 95/ดีเซล (บาท) * ปรับเพิ่ม 40 ส.ต. เมื่อ 28 ต.ค. 49 25.69*/24.24* 25.29/23.84 27.24/24.69 ปตท.
--ธนาคารแห่งประเทศไทย--